วัดพระนารายณ์มหาราช
เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้ชม 1,267
[16.4478644, 99.5117436, วัดพระนารายณ์มหาราช]
วัดพระนารายณ์มหาราช เป็นวัดที่ตั้งอยู่ ใจกลางเมือง ติดกับศาลหลักเมือง เรียกกันมาตั้งแต่สมัยโบราณว่า “วัดกลาง” หรือ”วัดกลางนคร” โดยถือเอาสถานที่ตั้งเป็นสำคัญ วัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร หรือ วัดกลาง สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นผู้ทรงสร้างตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จัดเป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองที่ประชาชนให้ความเคารพนับถือ ในสมัยก่อนมีพิธีอย่างหนึ่งคือ พิธีที่ข้าราชการทุกแผนก จะต้องสาบานตนว่าตนจะต้องรับราชการสนองพระเดชพระคุณด้วยความจงรักภักดี ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต พิธีนี้เรียกว่า พิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ทางราชการได้ใช้วัดพระนารายณ์มหาราช เป็นสถานที่ในการประกอบพิธี รวมทั้งให้เป็นสถานที่ทำพิธีสวดเสกน้ำพระพุทธมนต์ถวายในงานพระราชพิธีเสวยราชสมบัติ
พ.ศ.2478 พระเริงรุกปัจจามิตร ผู้บังคับการมณฑลทหารบกที่ 3 ได้ทำรายงานเสนอ พระยากำธรพายัพทิศ ข้าหลวงประจำจังหวัดนครราชสีมา ให้ขอพระราชทานยกฐานะวัดขึ้นเป็นพระอารามหลวง ได้รับพระราชทานยกฐานะเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2478 ในสมัยรัชกาลที่ 8 มีนามเต็มว่า "วัดกลางนคร วรวิหาร" ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 9 พระราชทานนามวัดใหม่ว่า "วัดพระนารายณ์มหาราช วรวิหาร
วัดนี้เคยเป็นที่ตั้ง โรงเรียนประจำจังหวัดนครราชสีมา (โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย สมัยเมื่อเริ่มตั้งใหม่ๆ) เคยเป็นที่พำนักของเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา ในอดีตหลายรูป เคยเป็นที่ตั้งอนุสาวรีย์บรรจุอัฐิของท่านท้าวสุรนารี ตรงมุมทิศพายัพของวัด ต่อมา พ.ศ. 2477 จึงได้ย้ายออกจากวัดไปประดิษฐานที่ประตูชุมพล จนทุกวันนี้ และในปัจจุบันวัดพระนารายณ์ ยังมีศิลปะวัตถุ พร้อมทั้งแบบสถาปัตยกรรมของสมัยกรุงศรีอยุธยา และปูชนียสถานภายในวัดประกอบด้วย พระอุโบสถที่ตั้งอยู่เกาะกลางสระบัวทิศตะวันออกของวัด พระวิหารหลวงและเทวรูปพระนารายณ์สี่กร เป็นเทวรูปยืนสูงสิบเจ็ดนิ้ว จำหลักด้วยหินทรายฝีมือขอมโบราณ อันเป็นสัญลักษณ์แสดงพระนามผู้สร้างวัด
คำสำคัญ : วัดพระนารายณ์มหาราช, บุคคลสำคัญ
ที่มา : https://sites.google.com/site/hiwphranimeuxngkhorach/4-wad-rxb-meuxng/wad-phra-narayn-mharach
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). วัดพระนารายณ์มหาราช. สืบค้น 10 ธันวาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1840&code_db=610009&code_type=TK001
Google search
วัดเขาถ้ำ ตั้งอยู่ที่บ้านแพะ ถนนพหลโยธิน หมู่ที่ 6 ตำบลไม้งาม อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 82 ไร่ อาณาเขต ทิศเหนือยาว 304 เมตร ติดต่อกับที่ดินของนางอมรา และนายธรรม ทิศใต้ยาว 450 เมตร ติดต่อกับที่ดินเขตทหาร ทิศตะวันออกยาว 450 เมตร ติดต่อกับที่ดินเขตทหาร ทิศตะวันตกยาว 505เมตร ติดต่อกับที่ดินของนายชัยไชย์ โคติบุลโล
เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 502
วัดวังม่วง ตั้งอยู่เลขที่ ๑๑๓ บ้านวังม่วง หมู่ที่ ๕ ตำบลไม้งาม อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๔ ไร่ ๒ งาน ๔ ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือติดต่อกับบ้านของนายเทา ธิงาม ทิศใต้ติดต่อกับซอยสาธารณะ ทิศตะวันออกติดต่อกับเชิงเขา ทิศตะวันตกติดต่อกับถนนสาธารณะและแม่น้ำปิง
เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 1,054
วัดดอยคีรี ตั้งอยู่เลขที่ ๗๒๑ บ้านหัวเดียด ตำบลหัวเดียด อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๔ ไร่ ๑ งาน ๕.๒๐ ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือยาว ๕๕ วา ติดต่อกับทางสาธารณะ ทิศใต้ยาว ๓๒ วา ติดต่อกับที่ดินเอกชน ทิศตะวันออกยาว ๓๕ วา ติดต่อกับที่ดินเอกชน ทิศตะวันตกยาว ๕๓ วา ๒ ศอก ติดต่อกับถนนรามคำแหง โดยมีโฉนดที่ดินเลขที่ ๓๒ เป็นหลักฐาน และมีที่ธรณีสงฆ์จำนวน ๒ แปลง เนื้อที่ ๑๐ ไร่ ๓ งาน ตามโฉนดที่ดินเลขที่ ๓๐ , ๓๑
เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 1,684
วัดดอยข่อยเขาแก้ว หรือ วัดพระเจ้าตาก ตั้งอยู่บนเนินเขา ขนาด 100 x 600 สูง 20 เมตร ทางทิศใต้ของห้วยแม่ท้อและอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง วัดนี้ตั้งห่างจากแม่น้ำปิง ประมาณ 250 เมตร อยู่ในเขต ตำบลแม่ท้อ อำเภอเมือง จังหวัดตาก ปัจจุบันไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา แต่มีพระธุดงค์แวะพักปักกรด ณ บริเวณสถานที่แห่งนี้ไม่ขาด ซึ่งนับว่าเป็นมงคลธรรมแก่สถานที่อย่างต่อเนื่องเลยทีเดียว ในปีพุทธศักราช 2534 - 2547 มูลนิธิสมเด็จพระเจ้าตากฯ และ จังหวัดตาก พร้อมด้วย กรมศิลปากร ได้ร่วมกันขุดค้น และบูรณะโบราณสถานภายในบริเวณวัดแห่งนี้ จากการศึกษาพบว่าบริเวณดังกล่าว มีการตั้งรกรากถิ่นฐาน และสร้างอาคารศาสนสถาน สมัยที่ 1 ในระหว่าง 1,500 – 2,000 ปีมาแล้ว สมัยกรุงศรีอยุธยาสมัยที่ 2 กลุ่มชนสมัยอยุธยา เข้ามาตั้งถิ่นฐาน จากหลักฐานในพระราชพงศวดาร กล่าวว่าในสมัยของ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พุทธศักราช 2091-2111) พระเจ้าหงสาวดี ได้ให้ พระเจ้าเชียงใหม่ ต่อเรือรบไว้ที่ ตำบลระแหง (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดตาก) จึงเป็นชุมชนตั้งแต่ครั้ง กรุงศรีอยุธยา เข้าตี หัวเมืองเชียงใหม่
เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 919
วัดเชียงทอง ตั้งอยู่เลขที่ ๑๘๕ บ้านเชียงทอง ถนนไทยชนะ ตำบลระแหง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๖ ไร่ ๑ งาน ๔๑ ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือติดต่อกับที่ดินเลขที่ ๓ – ๔ ทางสาธารณะ ทิศใต้ติดต่อกับถนนมหาดไทยบำรุง ทิศตะวันออกติดต่อกับถนนมหาดไทยบำรุง ทิศตะวันตกติดต่อกับที่ดินเลขที่ ๔ และถนนไทยชนะ โดยมีโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๘๖๒ เป็นหลักฐาน และมีที่ธรณีสงฆ์ ๑ แปลง เนื้อที่ ๓ งาน ตามโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๘๖๔
เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 1,963
วัดกลางสวนดอกไม้ ตั้งอยู่ บ้านปากห้วยแม่ท้อ สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ประมาณ พศ. 2459 แต่เดิมชาวบ้านเรียกว่า “วัดกลางสวนดอก” บ้างก็เรียกว่า “วัดสวนดอกไม้” พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบต่ำจึงมักถูกน้ำท่วมประจำ สภาพแวดล้อมเป็นทุ่งนาหมู่บ้านและภูเขา อาคารเสนาสนะต่างๆ มี ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ 1 ชั้น กุฎีสงฆ์ จำนวน 1 หลัง เป็นอาคารไม้ หอฉัน วิหาร และมีหอระฆัง สำหรับ ปูชนียวัตถุมี พระพุทธรูปปางสมาธิจำนวน 7 องค์ อยู่ในวิหาร เจดีย์ 2 องค์
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 959
วัดดงปู ตั้งอยู่ที่บ้านดงปู หมู่ที่ 4 ตำบลหนองบัวใต้ อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 6 ไร่ 70 ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือยาว 52 วา ติดต่อกับถนนสายตาก – แม่สอด ทิศใต้ยาว 60 วา ติดต่อกับที่ดินของผู้ใหญ่เทียม จันทรรอด ทิศตะวันออกยาว 66 วา ติดต่อกับทางสาธารณะ ทิศตะวันตกยาว 56 วา ติดต่อกับที่นาของผู้ใหญ่เทียม จันทรรอด โดยมี น.ส. 3 ก. เลขที่ 136 เป็นหลักฐาน
เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 1,447
วัดท่าไม้แดง ตั้งอยู่เลขที่ ๑๖๓ บ้านท่าไม้แดง หมู่ที่ ๓ ตำบลวังหิน อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๔ ไร่ ๑ งาน ๙๖.๘๐ ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือติดต่อกับทางสาธารณะ ทิศใต้ติดต่อกับที่ดินนายคง คุ้มมี ทิศตะวันออกติดต่อกับคลองส่งน้ำชลประทาน ทิศตะวันตกติดต่อกับถนนบ้านวังหิน โดยมีโฉนดที่ดินเลขที่ ๓๘๑๔ เป็นหลักฐาน และมีธรณีสงฆ์ ๑ แปลง เนื้อที่ ๔ ไร่ ๑ งาน ๑๒.๕๐ ตารางวา ตามโฉนดที่ดินเลขที่ ๖๔๗๑
เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 1,411
เป็นเจดีย์คู่กัน 2 องค์นั้น สมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า เดิมเห็นจะมีเจดีย์คู่สร้างไว้แต่ครั้งสมเด็จพระนเรศวร มหาราชกับสมเด็จพระเอกาทศรถ เมื่อคราวตีได้เมืองเชียงใหม่กลับคืนมาเป็นของไทย ชะรอย ของเดิมคงจะชํารุดทรุดโทรมลง สมเด็จพระนารายณ์มหาราชจึงโปรดให้บูรณะขึ้นใหม่ แล้วทํา ช่องตามประทีปไว้ที่ฐานเจดีย์ตามแบบอย่างที่พระองค์โปรด
เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 908
ตั้งอยู่เลขที่ ๑๑๒ บ้านปากคลองน้อย ตำบลระแหง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๕ ไร่ ๓๙.๕๐ ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือติดต่อกับถนนมหาดไทยบำรุง ทิศใต้ติดต่อกับหมู่บ้านประชาชน ทิศตะวันออกติดต่อกับมหาดไทยบำรุง ทิศตะวันตกติดต่อกับหมู่บ้านประชาชน โดยมีโฉนดที่ดินเลขที่ ๖๔๙ เป็นหลักฐาน และมีที่ ธรณีสงฆ์ ๑ แปลง เนื้อที่ ๕ ไร่ ๓๘ ตารางวา ตามโฉนดที่ดินเลขที่ ๒๑๗๑
เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 1,105