ประเพณีสรงน้ำธาตุ
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้ชม 2,663
[17.0633689, 98.3370152, ประเพณีสรงน้ำธาตุ]
ตำบลพระธาตุเป็นตำบลหนึ่งในจำนวน 6 ตำบล ของอำเภอแม่ระมาด ซึ่งแยกเป็นตำบล มาจากตำบลแม่จะเรา มีหมู่บ้านจำนวน 8 หมู่บ้าน ประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวกะเหรี่ยง 6 หมู่บ้าน อีก 2 หมู่บ้าน เป็นชาวไทยพื้นราบ ชาวตำบลพระธาตุมีความแตกต่างกันทางด้านภาษาและวัฒนธรรม แต่มีความผสมกลมกลืนกันไม่มีความขัดแย้งกัน และมีประเพณีสรงน้ำพระธาตุ ในทุกปีหลังเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี จะมีการจัดงานประเพณีสรงน้ำพระธาตุ ณ สำนักสงฆ์บ้านตีนธาตุ หมู่ที่ 2 ซึ่งเป็นที่ตั้งของพระธาตุ อันเป็นที่เคารพและสักการะของชาวตำบลพระธาตุและตำบลใกล้เคียงการ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสามัคคีของคนในหมู่บ้านและตำบลพระธาตุ เป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติสืบทอดกันมายาวนาน ซึ่งพระธาตุนี้ได้นำมาเป็นตราสัญลักษณ์ขององค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุ ในปัจจุบันนี้ด้วย
คำสำคัญ : ประเพณีสรงน้ำธาตุ
ที่มา : http://123.242.165.136/?module=acticle&pages=acticle_detail&acti_code=A0000317
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). ประเพณีสรงน้ำธาตุ. สืบค้น 7 ธันวาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=694&code_db=610004&code_type=TK008
Google search
ประเพณีสรงน้ำธาตุเพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบสานศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นให้คงอยู่องค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุ จึงได้จัดทำโครงการประเพณีสรงน้ำธาตุ ขึ้น ประจำทุกปี
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 2,663
ตำบลพระธาตุเป็นตำบลหนึ่งในจำนวน 6 ตำบล ของอำเภอแม่ระมาด ซึ่งแยกเป็นตำบลมาจากตำบลแม่จะเรา มีหมู่บ้านจำนวน 8 หมู่บ้าน ประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวกะเหรี่ยง 6 หมู่บ้าน อีก 2 หมู่บ้าน เป็นชาวไทยพื้นราบ ชาวตำบลพระธาตุมีความแตกต่างกันทางด้านภาษาและวัฒนธรรม แต่มีความผสมกลมกลืนกันไม่มีความขัดแย้งกัน และมีประเพณีสรงน้ำพระธาตุในทุกปีหลังเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี จะมีการจัดงานประเพณีสรงน้ำพระธาตุ ณ สำนักสงฆ์บ้านตีนธาตุ หมู่ที่ 2 ซึ่งเป็นที่ตั้งของพระธาตุ อันเป็นที่เคารพและสักการะของชาวตำบลพระธาตุและตำบลใกล้เคียง
เผยแพร่เมื่อ 27-01-2022 ผู้เช้าชม 771
คำว่า “ตานต๊อด” ภาษากลาง คือ ทานทอด เป็นคำประสมระหว่างคำว่า ทาน กับ ทอด ความหมายคือ “วางของให้” ก็คือการให้ทาน ซึ่งเป็นประเพณีที่แสดงถึงความเอื้ออาทรของชาวบ้านที่มีต่อคนทุกข์ยาก เป็นการทำบุญด้วยใจไม่หวังผลตอบแทน ประเพณีตานต๊อดมีต้นกำเนิดมาจากล้านนา ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการทำบุญประเภทนี้จึงมีแต่เฉพาะทางภาคเหนือของประเทศไทยเท่านั้น และในปัจจุบันการตานต๊อดไม่ค่อยแพร่หลาย เด็กและเยาวชนรุ่นหลังส่วนใหญ่ไม่รู้จักประเพณีตานต๊อดกันแล้ว จึงน่าเป็นห่วงอย่างยิ่งว่า หากไม่มีการอนุรักษ์ฟื้นฟู ประเพณีที่ดีงามดังกล่าวจะสูญหายไปจากสังคมไทย
เผยแพร่เมื่อ 27-01-2022 ผู้เช้าชม 2,279
คำว่า “ตานต๊อด” ภาษากลาง คือ ทานทอด เป็นคำประสมระหว่างคำว่า ทาน กับ ทอด ความหมายคือ “วางของให้” ก็คือการให้ทาน ซึ่งเป็นประเพณีที่แสดงถึงความเอื้ออาทรของชาวบ้านที่มีต่อคนทุกข์ยาก เป็นการทำบุญด้วยใจไม่หวังผลตอบแทน ประเพณีตานต๊อดมีต้นกำเนิดมาจากล้านนา ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการทำบุญประเภทนี้จึงมีแต่เฉพาะทางภาคเหนือของประเทศไทยเท่านั้น และในปัจจุบัน การตานต๊อดไม่ค่อยแพร่หลาย เด็กและเยาวชนรุ่นหลังส่วนใหญ่ไม่รู้จักประเพณีตานต๊อดกันแล้ว จึงน่าเป็นห่วงอย่างยิ่งว่า หากไม่มีการอนุรักษ์ฟื้นฟู ประเพณีที่ดีงามดังกล่าวจะสูญหายไปจากสังคมไทย ประเพณีตานต๊อด ยังพอมีให้พบเห็นอยู่บ้างที่ตำบลแม่จะเรา อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก เนื่องจากประชาชน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชนที่ย้ายถิ่นฐานมาจากจังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดลำปาง และจังหวัดลำพูน ดังนั้น จึงสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นดั้งเดิมของชาวล้านนาไว้ แต่จะจัดกิจกรรมเฉพาะกลุ่มผู้เฒ่าผู้แก่เท่านั้นส่วนเด็กและเยาวชนในตำบลมีน้อยคนนักที่จะรู้จักประเพณีตานต๊อด เนื่องจากข้อจำกัดของพิธีตานต๊อดที่เป็นสาเหตุให้เด็กและเยาวชนไม่รู้จักก็คือ พิธีตานต๊อดจะจัดในช่วงกลางคืน เว ลาประมาณ ๒๒.๐๐ –๒๔.๐๐ น. ซึ่งเด็ก ๆ นอนหลับกันหมดแล้ว จึงมีแต่กลุ่มผู้ใหญ่เท่านั้นที่ไปร่วมกิจกรรมดังกล่าว
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 883