ประเพณีตานต้อด

ประเพณีตานต้อด

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้ชม 886

[17.0633689, 98.3370152, ประเพณีตานต้อด]

จากคำบอกเล่าของ ลุงหนานต๊ะ (นายจรูญ  สร้อยคำ)   ภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลแม่จะเรา
เล่าว่า  “ตานต๊อด”  หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  “ตานต๊อดผ้าป่า”  นิยมจัดในฤดูหนาว   เดือนพฤศจิกายนหรือในช่วงเทศกาลลอยกระทง   หลังจากที่มีการลอยกระทงไปแล้ว  การตานต๊อด จะทำวันใดเดือนใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับความเดือดร้อนของเพื่อนบ้าน  ส่วนมากจะถวายแด่พระผู้เฒ่า หรือมีข่าวว่าพระรูปนี้จะสิกขา ลาเพศ เป็นที่น่าเสียดายของบรรดาศรัทธา   การตานต๊อดผ้าป่า   จึงเป็นการป้องกันการลาศึกของพระสงฆ์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเคร่งครัดในพระธรรมวินัย  การทำบุญประเภทนี้จะจัดกันอย่างเรียบง่าย รวมกันพร้อมแล้วก็ทำได้เลย  พิธีการทำบุญ “ตานต๊อด”หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ตานต๊อดผ้าป่า”   เป็นการช่วยเหลือหรือสงเคราะห์กันเองของชาวบ้าน  เรียกว่า  ทานมัย    ถือเป็นการสร้างกุศลอันยิ่งใหญ่ และชาวบ้านมีความเชื่อว่าหากทำให้ผู้ที่ได้รับตกใจมากเท่าใด  ก็ยิ่งได้บุญกุศลมาก  และในแต่ละปีจะทำวันใดก็ได้ไม่จำกัด ขึ้นอยู่กับความเดือดร้อนของเพื่อนบ้าน  หรือพระสงฆ์ก็ได้   ประเพณีการตานต๊อด  โดยมีผู้นำในการตานต๊อด  อาจจะเป็นผู้นำชุมชน  หรือผู้ใหญ่บ้าน  กำนัน  พระภิกษุสงฆ์  หรือบุคคลทั่วไปที่มีความประสงค์ต้องการทำบุญ
โดยมีรายละเอียดและขั้นตอนพิธีกรรม ดังนี้  จัดประชุมชาวบ้าน เพื่อปรึกษาหารือและสำรวจความคิดเห็นว่า บุคคลใดในหมู่บ้าน  ที่ได้รับความเดือดร้อน สมควรได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนบ้าน และนัดหมายเวลา พร้อมจุดนัดพบ  เพื่อรวมตัวกันไปทำพิธีตานต๊อด ณ บ้านของเพื่อนบ้านที่ต้องการจะช่วยเหลือ  การเตรียมงานเริ่มที่บ้านหรือศาลาวัด เพื่อรวบรวมสิ่งของให้ครบทั้งเครื่องอุปโภค และบริโภค ตลอดจเครื่องมือ เครื่องใช้   ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต   อาทิ   ข้าวสารอาหารแห้ง  ปลากระป๋อง  พริกแห้ง  กะปิ  น้ำปลา เกลือหัวหอม  หัวกระเทียม   น้ำมันพืช  ขนม นม  ฯลฯ  และถ้าเป็นของใช้ ได้แก่  สบู่   ยาสีฟัน  ผงซักฟอก  ยาสระผม  มีด พร้า ขวาน  จอบ  เสียม  หม้อข้าว  หม้อแกง  ถ้วย ชาม หม้อน้ำ  หม้อนึ่งข้าว  เสื่อสาด หมอน มุ้ง  รองเท้า  เสื้อผ้า  ผ้าขาวม้า  ผ้าเช็ดตัว  ฯลฯ แล้วแต่จิตศรัทธาจะทำบุญ นำสิ่งของทั้งหมดมาแต่งดา  และอาจมีต้นเงินเพื่อนำเงินที่ชาวบ้านทำบุญมาเสียบไว้ที่ต้นเงิน  จัดทำกันแบบเงียบ ๆ  และเรียบง่ายไม่มีพิธีรีตองโดยรู้กันเฉพาะกลุ่มที่จะทำบุญเท่านั้น ใครรู้ก็มาช่วยกัน   การตานต๊อด  จะทำในเวลากลางคืน เวลาประมาณ  ๔ - ๕ ทุ่ม  เมื่อชาวบ้านมารวมตัวกัน  นัดพบหรือจุดที่เตรียมของแล้ว  อาจนิมนต์พระสงฆ์มาทำพิธี หรือคนที่เคยบวชเรียนมาแล้ว ชาวบ้านเรียกว่า “พ่อหนาน” จะเป็นผู้ทำพิธีสวดและพรมน้ำมนต์สิ่งของทั้งหมดที่จะตานต๊อด  เพื่อความเป็นสิริมงคล   แล้วจึงช่วยกันถือของที่จะตานต๊อดพากันเดินไปยังบ้านหรือกุฏิอย่างเงียบ ๆ  ไม่ส่งเสียงดังแล้วนำเอาของทั้งหมดไปวางไว้บริเวณหน้าบ้าน  เช่น  หัวกระไดบ้าน หรือหน้ากุฏิ  เป็นที่เรียบร้อยแล้ว   ก็จุดเทียน  ธูปบูชา  ตั้งจิตภาวนา  เอาบุญเสร็จแล้ว   จึงจุดประทัดชนิดต่าง ๆ ที่มีเสียงดัง เพื่อให้เจ้าของบ้านตกใจตื่น  ส่วนคณะศรัทธาเจ้าภาพที่มากันทุกคน  ก็พากันหลบซ่อนหมดไม่ให้เห็นตัว คอยแอบดูว่าผู้รับจะออกมารับด้วยวิธีใด  เมื่อเจ้าของบ้านเปิดประตูออกมาจะเห็นเทียนจุดอยู่หลายเล่มใกล้ ๆ  กับสิ่งของที่นำไปให้ก็จะทราบว่ามีคนเอาของมาวางไว้ให้   ถ้าคนเคยบวชเรียนมาแล้วก็จะกล่าวว่า “อิทังเป๋นะปะติถัง”“นี่เป็นของผีหรือของคน”แล้วเข้าไปจุดธูปไหว้พระในบ้าน   ทำเช่นนี้ประมาณ ๓  ครั้ง จึงพูดว่า “เห็นทีจะเป็นของคนแน่แล้ว จะรับไว้แล้วนะ ขอให้รับพรด้วย”แล้วก็กล่าวคำให้ศีลให้พรคณะศรัทธาทั้งหมดที่หมอบอยู่ก็พากันยกมือไหว้รับพร   เสร็จแล้วจึงแยกย้ายกันกลับบ้านด้วยความอิ่มเอมใจในผลบุญที่ได้ทำร่วมกัน

 

คำสำคัญ : ประเพณีตานต้อด

ที่มา : http://123.242.165.136/?module=acticle&pages=acticle_detail&acti_code=A0000317

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). ประเพณีตานต้อด. สืบค้น 13 ธันวาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=688&code_db=610004&code_type=TK008

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=688&code_db=610004&code_type=TK008

Google search

Mic

ประเพณีตานต้อด

ประเพณีตานต้อด

คำว่า “ตานต๊อด” ภาษากลาง คือ ทานทอด เป็นคำประสมระหว่างคำว่า ทาน กับ ทอด ความหมายคือ “วางของให้” ก็คือการให้ทาน ซึ่งเป็นประเพณีที่แสดงถึงความเอื้ออาทรของชาวบ้านที่มีต่อคนทุกข์ยาก เป็นการทำบุญด้วยใจไม่หวังผลตอบแทน ประเพณีตานต๊อดมีต้นกำเนิดมาจากล้านนา ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการทำบุญประเภทนี้จึงมีแต่เฉพาะทางภาคเหนือของประเทศไทยเท่านั้น และในปัจจุบันการตานต๊อดไม่ค่อยแพร่หลาย เด็กและเยาวชนรุ่นหลังส่วนใหญ่ไม่รู้จักประเพณีตานต๊อดกันแล้ว จึงน่าเป็นห่วงอย่างยิ่งว่า หากไม่มีการอนุรักษ์ฟื้นฟู ประเพณีที่ดีงามดังกล่าวจะสูญหายไปจากสังคมไทย

เผยแพร่เมื่อ 27-01-2022 ผู้เช้าชม 2,299

‘ลื่อทีบอโค๊ะ' พิธีกรรมเลี้ยงผีฝายของชาวปกาเกอะญอ

‘ลื่อทีบอโค๊ะ' พิธีกรรมเลี้ยงผีฝายของชาวปกาเกอะญอ

"พิธี ลื่อทีบอโค๊ะ" หรือประเพณีการเลี้ยงผีฝาย ของชาวปาเกอะญอ ณ บ้านป่าไร่เหนือ ตำบลพระธาตุ อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก โดยประเพณีนี้จะจัดขึ้นสืบต่อกันมาทุกปี เมื่อฤดูฝนมาเยือน ก่อนมี่ชาวนาจะทำนาปลูกข้าว จะต้องเลี้ยงผีฝาย(ลื่อทีบอโค๊ะ) ก่อน เพื่อเป็นบอกกล่าวผีฝาย เพื่อจะช่วยดูแลข้าว ดูแลน้ำท่าให้ดี ให้ผลผลิตที่ดีและงอกงาม

เผยแพร่เมื่อ 12-12-2024 ผู้เช้าชม 4

ประเพณีขึ้นธาตุ

ประเพณีขึ้นธาตุ

ตำบลพระธาตุเป็นตำบลหนึ่งในจำนวน 6 ตำบล ของอำเภอแม่ระมาด ซึ่งแยกเป็นตำบลมาจากตำบลแม่จะเรา มีหมู่บ้านจำนวน 8 หมู่บ้าน ประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวกะเหรี่ยง 6 หมู่บ้าน อีก 2 หมู่บ้าน เป็นชาวไทยพื้นราบ ชาวตำบลพระธาตุมีความแตกต่างกันทางด้านภาษาและวัฒนธรรม แต่มีความผสมกลมกลืนกันไม่มีความขัดแย้งกัน และมีประเพณีสรงน้ำพระธาตุในทุกปีหลังเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี จะมีการจัดงานประเพณีสรงน้ำพระธาตุ ณ สำนักสงฆ์บ้านตีนธาตุ หมู่ที่ 2 ซึ่งเป็นที่ตั้งของพระธาตุ อันเป็นที่เคารพและสักการะของชาวตำบลพระธาตุและตำบลใกล้เคียง

เผยแพร่เมื่อ 27-01-2022 ผู้เช้าชม 780

ประเพณีสรงน้ำธาตุ

ประเพณีสรงน้ำธาตุ

ประเพณีสรงน้ำธาตุเพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบสานศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นให้คงอยู่องค์การบริหารส่วนตำบลพระธาตุ จึงได้จัดทำโครงการประเพณีสรงน้ำธาตุ ขึ้น ประจำทุกปี

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 2,669

ประเพณีตานต้อด

ประเพณีตานต้อด

คำว่า  “ตานต๊อด”   ภาษากลาง  คือ  ทานทอด  เป็นคำประสมระหว่างคำว่า ทาน กับ ทอด ความหมายคือ  “วางของให้”   ก็คือการให้ทาน  ซึ่งเป็นประเพณีที่แสดงถึงความเอื้ออาทรของชาวบ้านที่มีต่อคนทุกข์ยาก  เป็นการทำบุญด้วยใจไม่หวังผลตอบแทน ประเพณีตานต๊อดมีต้นกำเนิดมาจากล้านนา   ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการทำบุญประเภทนี้จึงมีแต่เฉพาะทางภาคเหนือของประเทศไทยเท่านั้น และในปัจจุบัน  การตานต๊อดไม่ค่อยแพร่หลาย   เด็กและเยาวชนรุ่นหลังส่วนใหญ่ไม่รู้จักประเพณีตานต๊อดกันแล้ว   จึงน่าเป็นห่วงอย่างยิ่งว่า  หากไม่มีการอนุรักษ์ฟื้นฟู  ประเพณีที่ดีงามดังกล่าวจะสูญหายไปจากสังคมไทย ประเพณีตานต๊อด ยังพอมีให้พบเห็นอยู่บ้างที่ตำบลแม่จะเรา  อำเภอแม่ระมาด  จังหวัดตาก เนื่องจากประชาชน   ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชนที่ย้ายถิ่นฐานมาจากจังหวัดทางภาคเหนือของประเทศไทย  ได้แก่ จังหวัดลำปาง  และจังหวัดลำพูน   ดังนั้น   จึงสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นดั้งเดิมของชาวล้านนาไว้ แต่จะจัดกิจกรรมเฉพาะกลุ่มผู้เฒ่าผู้แก่เท่านั้นส่วนเด็กและเยาวชนในตำบลมีน้อยคนนักที่จะรู้จักประเพณีตานต๊อด เนื่องจากข้อจำกัดของพิธีตานต๊อดที่เป็นสาเหตุให้เด็กและเยาวชนไม่รู้จักก็คือ พิธีตานต๊อดจะจัดในช่วงกลางคืน เว ลาประมาณ  ๒๒.๐๐ –๒๔.๐๐  น. ซึ่งเด็ก ๆ นอนหลับกันหมดแล้ว   จึงมีแต่กลุ่มผู้ใหญ่เท่านั้นที่ไปร่วมกิจกรรมดังกล่าว   

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 886

ผ้าทอกะเหรี่ยง บ้านเลอตอ

ผ้าทอกะเหรี่ยง บ้านเลอตอ

“ผ้าทอกะเหรี่ยง” ซึ่งชาวกะเหรี่ยงมีความเชื่อแต่โบราณว่าลายของผ้าทอกะเหรี่ยงนั้น ได้มาจากลายหนังงูใหญ่ซึ่งเป็นคู่รักในอดีตของหญิงสาวชาวกะเหรี่ยงโดยที่งูตัวนั้นจะเปลี่ยนลายทุกวัน และหญิงสาวก็ทอผ้าตามลายที่ปรากฏจนครบ 7 วัน ทอได้ 7 ลาย คือ ลายโยห่อกือ เกอเปเผลอ ฉุ่ยข่อล่อ ที่ข่า เกอแนเดอ เซอกอพอ และแชะฉ่าแอะ แต่ลายที่นิยมนำมาทอและปัก มี 4 ลายคือ โยห่อกือ เกอเปเผลอ ฉุ่ยข่อลอ และลายทีข่า ปัจจุบันยังมีการคิดค้นลายใหม่ๆ เกิดขึ้นอีกมากมาย ชาวปากอเญอ มีพื้นฐานการทอผ้ามาตั้งแต่บรรพบุรุษ เป็นการผลิตไว้ใช้ในครัวเรือน ที่เหลือจึงนำมาจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว 

เผยแพร่เมื่อ 12-12-2024 ผู้เช้าชม 3