ประวัติอำเภอขาณุวรลักษบุรี

ประวัติอำเภอขาณุวรลักษบุรี

เผยแพร่เมื่อ 09-02-2018 ผู้ชม 7,263

[16.0202541, 99.3790042, ประวัติอำเภอขาณุวรลักษบุรี]

 ประวัติอำเภอขาณุวรลักษบุรี
       พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งเสด็จประพาสต้นและพักแรมที่อำเภอขาณุวรลักษบุรี ตอนหนึ่งว่า "เวลาบ่ายสี่โมง แวะจอดถ่ายรูปที่หาด แล้วลงเรือซลาประพาสเที่ยวต่อไป แวะบ้านข้างฝั่งตะวันออกถึงบ้านตาแสนปมเป็นปมไปทั้งตัวแม้ไม่มีอะไรแดดเผาจึงได้ลงเรือ ต่อมาจะเวลาย่ำค่ำขึ้นที่บ้านหาดแสนตอเดินข้ามไปวัดสว่างอารมณ์ ตำบลที่เรียกว่าแสนตอ เป็นชื่อเมืองขาณนี้ มีตอมากจริง ๆ เรือได้โดนครั้งหนึ่งเพราะเหตุที่เป็นตลิ่งพังมาก เดินตามถนนฝั่งตะวันตกแวะเก็บอะไรต่ออะไรบ้าง มาจนถึงวัดซึ่งเป็นวัดสร้างใหม่เรียกว่าวัดหัวเมือง ต่อแต่วัดนั้นมาถึงที่ว่าการเมือง ซึ่งเป็นเรือนหลังคามุงแฝกอยู่ทั้งนั้นที่จอดเรืออยู่เหนือที่ว่าการนิดหนึ่ง"       
       อำเภอขาณุวรลักษบุรี ตั้งอยู่ที่หมู่ 2 ตำบลแสนตอ อยู่ริมแม่น้ำปิง ด้านทิศตะวันตกห่างจากลำน้ำปิง ประมาณ 300 เมตร มีถนนจากที่ว่าการอำเภอไปจรดถนนพหลโยธินที่ตลาดสลกบาตร ตำบลสลกบาตร อำเภอขาณุวรลักษบุรี ระยะทางประมาณ 9 กิโลเมตร แต่เดิมอำเภอขาณุวรลักษบุรีมีฐานะเป็นกิ่งอำเภอ เรียกว่า "กิ่งอำเภอแสนตอ" แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 5 ตำบล 29 หมู่บ้าน คือ ตำบลแสนดอ ตำบลยางสูง ตำบลระหาน ตำบลสลกบาตร และตำบลบ่อถ้ำ โดยขึ้นตรงกับอำเภอคลองขลุง จังหวัด
กำแพงเพชร
       ที่ว่าการอำเภอแสนตอ เดิมตั้งอยู่หน้าโรงเรียนวัดน้อยวรลักษณ์ หมู่ที่ 3 ตำบลแสนต่อ ห่างจากที่ว่าการอำเภอปัจจุบันประมาณ 2 กิโลเมตร สาเหตุที่ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งอยู่ที่ปัจจุบันนี้ เนื่องจากที่ว่าการอำเภอมีเนื้อที่คับแคบและตลิ่งหน้าที่ว่าการอำเภอพังลงอยู่เสมอ ขณะนี้ที่ดินตรงที่ปลูกสร้างที่ว่าการอำเภอได้พังลงลำน้ำปิงไปหมดแล้ว
       จากการที่สถานที่ตั้งอำเภอคับแคบและดสิ่งหน้าที่ว่าการอำเภอพังลงทุกปี นายอำเภอคลองขลุง และนายดำ ระตะจาร ปลัดอำเภอดรี ซึ่งดำรงดำแหน่งหัวหน้ากิ่งอำเภอแสนตอสมัยนั้น จึงได้คิดขยับขยายกิ่งอำเภอเสียใหม่ ได้รับความเอื้อเฟื้อจากนายสมพงษ์ พงษ์พูล พ่อค้าตลาดแสนตอได้อุทิศที่ดินให้ปลูกสร้างสถานที่ราชการอย่างกว้างขวาง โดยไม่คิดมูลค่าแต่อย่างใด จึงได้ย้ายสถานที่ราชการมาปลูกสร้างใหม่ ณ หมู่ที่ 2 ตำบลแสนตอ ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ว่าการอำเภอหลังเก่าในปัจจุบัน
       การที่อำเภอขาณุวรลักษบุรี เดิมตั้งชื่อว่ากิ่งอำเภอแสนตอนั้น ได้ทราบมาว่า สมัยก่อนการค้าขายได้ใช้ทางเรือเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากถนนหนทางไม่สะดวกรวดเร็วเหมือนปัจจุบันพวกชาวเรือที่มาค้าขายในลำน้ำปิง  พอเข้ามาในเชตตำบลแสนตอก็จะเห็นตอโผล่อยู่ตามลำน้ำบ้าง ตามหาดทรายบ้างมากมาย จนสุดคณานับได้ ถ้าใครเดินเรือไม่ระมัดระวังเรือก็จะชนตอได้รับความเสียหาย พวกชาวเรือจึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า "บ้านแสนตอ" และเมื่อตั้งเป็นตำบล ทางราชการก็นำชื่อมาตั้งเป็นตำบลแสนตอ ต่อมามีการดั้งกิ่งอำเภอทางราชการก็นำชื่อมาตั้งเป็น "กิ่งอำเภอแสนตอ" ต่อมากระทรวงมหาดไทยได้เสนอให้ตั้งชื่อใหม่ว่า "กิ่งอำเภอขาณุบุรี" ซึ่งแปลได้ความว่า เมืองแสนตอเช่นเดิม เพียงแต่ใช้ศัพท์ให้ฟังดูไพเราะและสละสลวยขึ้น แต่ปรากฏว่าเมื่อกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศตั้งเป็นกิ่งอำเภอในปีพ.ศ. 2483 ได้เพิ่มคำว่า "วรลักษณ" ให้ด้วย จึงมีชื่อว่า "กิ่งอำเภอขาณวรลักษบุรี" คำว่า "ขาณุวรลักษณบุรี" นั้น ประกอบด้วยคำว่า ขาญ แปลว่า ตอคำว่า วร เป็นชื่อของขุนวรผู้ริเริ่มก่อตั้งกึ่งอำเภอเป็นคนแรก คำว่า ลักษณ แปลว่า หมื่นแสน คำว่า บุรี แปลว่า เมือง เมื่อมารวมกันก็ยังคงมีความหมายเช่นเดิม และในปี พ.ศ.2490 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอ  และได้พิจารณาตัดพยัญชนะตัว "ณ" ออก จึงมีชื่อว่า"อำเภอขาณุวรลักษบุรี"
       เมื่อได้มีการย้ายที่ว่าการเดิมมาก่อสร้างใหม่ ณ หมู่ที่ 2 ตำบลนั้น การก่อสร้างในระยะแรกสร้างในลักษณะอาคารไม้ชั้นเดียว กระเบื้อง มีมุขข้าง 2 มุข ขนาดกว้าง 7.28 เมตร ยาว 30.25 เมตร ต่อมามีประชากรเพิ่มมากขึ้นจึงต้องมีเจ้าหน้าที่และพนักงานเพิ่มขึ้น ทำให้สถานที่ราชการที่สร้างไว้คับแคบ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานไม่สะดวก ที่การอำเภอเดิมนั้นก่อสร้างเป็นอาคารชั้นเดียวแบบใต้ถุนสูง นายธรรมศักดิ์ คำเพ็ญ นายอำเภอขาณุวรลักษบุรี ในสมัยนั้นได้ขอความร่วมมือจากข้าราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และพ่อค้าประชาชน ช่วยบริจาคเงินเทคอนกรีตชั้นล่างและทำฝาประตู หน้าต่าง ชั้นล่างจนครบเท่ากับชั้นบน โดยดำเนินการเสร็จสิ้นในปี พ.ศ.2502 คิดเป็นเงินค่าก่อสร้างประมาณ 20,000 บาท โดยได้ใช้เงินงบประมาณแต่อย่างใด ทำให้สถานที่ราชการกว้างขวางเพียงพอที่ให้แผนกต่าง ๆ ปฏิบัติงานได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตีอาคารที่ว่าการอำเภอได้ก่อสร้างมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว ทำให้หลังคาชำรุดทรุดโทรม ตัวอาคารซึ่งเป็นไม้ก็ชำรุดไปตามกาลเวลา ดังนั้น ในปี พ.ศ.2519 ทางราชการจึงได้จัดสรรงบประมาณให้ก่อสร้างที่ว่าการอำเภอขึ้นใหม่ในบริเวณที่ดินเดียวกับที่ว่าการอำเภอเดิม แต่ถัดออกไปด้านหลัง เป็นอาคารตึกสองชั้นซึ่งเป็นที่ว่าการอำเภอในปัจจุบัน

ความเป็นมา
       เมืองแสนตอเป็นชื่อเดิมของ อำเภอขาณุวรลักษบุรี ตั้งอยู่บริเวณทางใต้ลุ่มแม่น้ำปิง เป็นชุมชนโบราณเรียกว่า เมืองแสนตอ สันนิษฐานว่าเป็นเมืองโบราณรุ่นเดียวกับเมืองเทพนคร เมืองไตรตรึงษ์ เมืองพาน เมืองคณฑี เมืองนครชุม เมืองซากังราว มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานในสมัยสมเด็จพระมหาจักพรรดิ์ แห่งกรุงศรีอยุธยา มีบันทึกในพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ ว่าพ.ศ. 2102 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสด็จมาคล้องช้าง ณ เมืองแสนตอ ซึ่งขึ้นกับเมืองกำแพงเพชร ได้ช้าง 40 เชือก
       ชุมชนเก่าแก่ของอำเภอขาณุวรลักษบุรี คือชุมชนเขากะล่อน บริเวณบ้านป่าพุทรา เป็นชุมชนในยุคหินใหม่มีอายุประมาณ 5,000 – 10,000 ปี จากการสำรวจของมหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อปีพุทธศักราช 2530 พบโบราณวัตถุเป็นจำนวนมาก อาทิ ขวานหินขัด หัวธนู กำไล ลูกปัด เศษภาชนะดินเผา จากหลักฐานดังกล่าวยืนยันได้ว่าชุมชนเมืองแสนตอเป็นเมืองเก่าแก่ก่อนประวัติศาสตร์ของจังหวัดกำแพงเพชร
แต่เดิมอำเภอขาณุวรลักษบุรี มีฐานะเป็นกิ่งอำเภอ แยกจากอำเภอคลองขลุง มีชื่อว่า "กิ่งอำเภอแสนตอ" ที่ว่าการกิ่งอำเภอแสนตอเดิมตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำปิง (หน้าโรงเรียนวัดน้อยวรลักษณ์ในปัจจุบัน) เนื่องจากถูกน้ำกัดเซาะจึงย้ายมาตั้งในสถานที่ปัจจุบันนี้
       เมืองแสนตอ ” เป็นเมืองโบราณหลายร้อยปี ต่อมาลดฐานะมาเป็นตำบล แสนตอ เมื่อมีการตั้งกิ่งอำเภอ ทางราชการก็นำชื่อมาตั้งเป็น “ กิ่งอำเภอแสนตอ ที่เรียกว่าเมืองแสนตอเพราะ มีตอจำนวนมากในแม่น้ำปิงช่วงนี้ สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นรอ ที่เมืองแสนตอ ทำดักเรือของพม่าเมื่อไปตีกรุงศรีอยุธยา หรือ บางท่านว่า มีการตัดไม้มาก เมื่อตลิ่งพังตอเหล่านั้นได้ตกลงไปในน้ำทำให้ลำน้ำปิงช่วงแสนตอ มีตอมากมาย จึงเรียกว่าเมืองแสนตอ
       กระทรวงมหาดไทยได้เสนอ ให้ตั้งชื่อใหม่ว่า “กิ่งอำเภอขาณุบุรี ” ซึ่งแปลได้ความว่า เมืองแสนตอ คงเดิม แต่ปรากฏว่า เมื่อกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศตั้งเป็นกิ่งอำเภอ ในปี พ.ศ. 2483 ได้เพิ่มคำว่า “ วรลักษณ์ ” ต่อท้ายด้วย จึงมีชื่อว่า “ กิ่งอำเภอขาณุวรลักษณบุรี ” คำว่า ” ขาณุวรลักษณบุรี ” นั้นประกอบด้วยคำว่า ขาณุ แปลว่า ตอ คำว่า วร เป็นชื่อขุนวรลักษณ์ เจ้าเมืองแสนตอในอดีต คำว่า ลักษณ์ แปลว่า หมื่นแสน คำว่า บุรี แปลว่าเมือง เมื่อมารวมกันก็ยังมีความหมายเช่นเดิม และในปี พ.ศ. 2490 กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศยกฐานะเป็นอำเภอ และได้พิจารณาตัดพยัญชนะตัว “ ณ ” ออกไป จึงมีชื่อว่า “ อำเภอขาณุวรลักษบุรี มาจนถึงทุกวันนี้
       อำเภอขาณุวรลักษบุรี แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 5 ตำบล 29 หมู่บ้าน คือ ตำบลแสนตอ ตำบลยางสูง ตำบลระหาน ตำบลสลกบาตร และตำบลบ่อถ้ำ ต่อมาภายหลังได้เปลื่ยนชื่อเป็น "กิ่งอำเภอขาณุบุรี" และ "กิ่งอำเภอขาณุวรลักษณบุรี" ตามลำดับ และได้ประกาศตั้งเป็น "อำเภอขาณุวรลักษบุรี" เมื่อ พ.ศ.2490 นับว่ามีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจยิ่งนัก

เมืองตอเป็นแสน
       อำเภอขาณุ มีตออยู่ในแม่น้ำปิงจำนวนมาก ดังในบทพระราชนิพนธ์ประพาสต้นของพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 เมืองคราวเสด็จผ่าน เมืองขาณุเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2449 ทรงบันทึกไว้ว่า ตำบลที่เรียกว่าแสนตอ จนเป็นชื่อเมืองขาณุนี้ มีตอมากจริงเรือได้โดนครั้งหนึ่ง เพราะเหตุที่เป็นที่ตลิ่งพังมาก ในปัจจุบันในฤดูน้ำแล้ง เราไม่เห็นตอไม้ที่ตำบลแสนตอโพล่มาอีก เพราะตอไม้ได้เปลี่ยนแปลงมีราคามากขึ้น ผู้คนต่างเก็บเอาไปจำหน่ายหรือนำไปประดับบ้านเรือน จีงมองไม่เห็นตอ เหลือเพียงชื่อว่า เมืองแสนตอเป็นอนุสรณ์เท่านั้น

ดินแดนประพาสต้น
       ในเดือนสิงหาคม ปีพระพุทธศักราช 2449 พระพุทธเจ้าหลวงได้เสด็จประพาสต้นหัวเมืองเหนือ เพื่อได้ทรงทอดพระเนตร ความเป็นอยู่ของอาณาประชาราษฎร์ด้วยพระเนตรของพระองค์ พระบารมีปกเกล้าชาวแสนตอ ในวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๔๔๙ พระองค์ทรงบันทึกจดหมายเหตุไว้ว่า จนเวลาย่ำค่ำขึ้นที่หาดบ้านแสนตอ เดินข้ามไปวัดสว่างอารมณ์ ตำบลที่เรียกว่าแสนตอ จนเป็นชื่อเมืองขาณุ นี้มีตอมากจริง เรือได้โดนครั้งหนึ่ง เพราะเหตุที่เป็นตลิ่งพังมาก เดินตามถนนฝั่งตะวันตก แวะเก็บอะไรต่ออะไรบ้าง มาจนถึงวัดซึ่งเป็นวัดสร้างใหม่ เรียกว่าวัดหัวเมือง ต่อแต่วัดนั้นมาถึงที่ว่าการเมือง ซึ่งยังเป็นหลังคามุงแฝกอยู่ทั้งนั้น ที่จอดเรืออยู่เหนือที่ว่าการนิดหนึ่ง พระองค์ทรงประทับแรม ณ ที่ นี้ หนึ่งราตรี ชาวแสนตอ มีความภาคภูมิใจมากว่า ครั้งหนึ่งพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ได้เสด็จพระราชดำเนินจากวัดสว่างอารมณ์ถึงที่ว่าการเมืองแสนตอ ชาวแสนตอยังประทับใจอยู่มิรู้ลืม

ถิ่นคนผมแดง
       พระพุทธเจ้าหลวง ที่บันทึกเรื่องของคนผมแดงไว้ว่าวันที่ 19 วันนี้ตื่นสายไป แล้วพระวิเชียรพาคนผมแดงมาให้ดู อันลักษณะผมแดงนั้นเป็นผมม้า แดงอย่างอ่อนหรือเหลืองแก่ ผมที่แดงนี้มาข้างพันธุ์พ่อ ถ้าผู้หญิงไปได้ผัวผมดำ ลูกออกมาก็ผมดำไปด้วย ผมแดงนั้นเปลี่ยน 3 อย่าง แรกแดงครั้นอายุมากเข้าก็ดำหม่น ลงแก่ก็เลยขาวทีเดียว บอกพืชพันธุ์ว่า ทราบว่าตัวมาแต่เวียงจันทน์ แต่มาก่อนอนุเป็นขบถ จะได้ตั้งอยู่นานเท่าไรไม่ทราบ พูดเป็นไทยประพฤติอาการกิริยาก็เป็นไทย เฉพาะมีมากอยู่ที่เมืองขาณุ ที่กำแพงเพชรนี้มี แต่กระเส็นกระสาย คนผมแดงในปัจจุบันยังมีอยู่หลายครอบครัว พวกเขามีความสุขและได้รับความชื่นชมและยอมรับในทุกฝ่าย ทำให้คนผมแดงภูมิใจในชาติกำเนิดของพวกเขามาก

แหล่งอารยธรรมโบราณ
      เมื่อประมาณ หมื่นปี ที่ผ่านมา มีขุนเขา เหยียดยาว สามลูกต่อกัน ใกล้ลำน้ำปิง อันอุดมสมบูรณ์ไปด้วย น้ำท่า ข้าวปลา สัตว์ป่า นานาชนิด มนุษย์ยุคหิน ของกำแพงเพชร ได้อาศัยอยู่ในถ้ำและเพิงผา เขาการ้อง ซึ่งเรียกขานกันต่อมาว่าเขากะล่อน ปัจจุบัน อยู่ที่บ้านหาดชะอม ตำบลป่าพุทรา อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร จากการค้นพบขวานหินขัด ขนาดต่างๆ รวมที่ยังทำไม่สำเร็จหลายร้อยอัน หัวธนูหิน กำไลหิน ที่ติดอยู่กับกระดูกท่อนแขน สันนิษฐานว่า น่าจะมีประชากรยุคหินกำแพงเพชร อาศัยอยู่ในถ้ำเขาการ้อง หลายครอบครัว
      ปัจจุบันเขากะล่อน ยังถูกทิ้งร้าง ยังไม่ได้มีการค้นคว้าและศึกษาอย่างจริงจัง น่าเสียดายว่าหลักฐานสำคัญต่างๆ จะมลายไปสิ้น เมืองแสนตอ เป็นเมืองที่น่ามาเยือนอีกเมืองหนึ่ง เดินทางท่องเที่ยวตามคำขวัญประจำอำเภอ ก็คุ้มแล้ว เมืองตอเป็นแสน ดินแดนประพาสต้น ถิ่นคนผมแดง แหล่งอารยธรรมโบราณ

คำสำคัญ : ขาณุวรลักษบุรี อำเภอขาณุวรลักษบุรี

ที่มา : สันติ อภัยราช. (2559). สารคดีโทรทัศน์ วัฒนธรรม จังหวัดกำแพงเพชร : ตอน อำเภอขาณุวรลักษบุรี. กำแพงเพชร: ม.ป.พ.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). ประวัติอำเภอขาณุวรลักษบุรี. สืบค้น 27 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=3&code_db=610001&code_type=06

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=3&code_db=610001&code_type=06

Google search

Mic

ประวัติอำเภอขาณุวรลักษบุรี

ประวัติอำเภอขาณุวรลักษบุรี

พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งเสด็จประพาสต้นและพักแรมที่อำเภอขาณุวรลักษบุรี ตอนหนึ่งว่า "เวลาบ่ายสี่โมง แวะจอดถ่ายรูปที่หาด แล้วลงเรือซลาประพาสเที่ยวต่อไป แวะบ้านข้างฝั่งตะวันออกถึงบ้านตาแสนปมเป็นปมไปทั้งตัวแม้ไม่มีอะไรแดดเผาจึงได้ลงเรือ ต่อมาจะเวลาย่ำค่ำขึ้นที่บ้านหาดแสนตอเดินข้ามไปวัดสว่างอารมณ์ ตำบลที่เรียกว่าแสนตอ เป็นชื่อเมืองขาณนี้ มีตอมากจริง ๆ เรือได้โดนครั้งหนึ่งเพราะเหตุที่เป็นตลิ่งพังมาก เดินตามถนนฝั่งตะวันตกแวะเก็บอะไรต่ออะไรบ้าง มาจนถึงวัดซึ่งเป็นวัดสร้างใหม่เรียกว่าวัดหัวเมือง ต่อแต่วัดนั้นมาถึงที่ว่าการเมือง ซึ่งเป็นเรือนหลังคามุงแฝกอยู่ทั้งนั้นที่จอดเรืออยู่เหนือที่ว่าการนิดหนึ่ง"

เผยแพร่เมื่อ 09-02-2018 ผู้เช้าชม 7,263

ผมแดง คนไทยเชื้อสายเวียงจันทน์ ในจังหวัดกำแพงเพชร

ผมแดง คนไทยเชื้อสายเวียงจันทน์ ในจังหวัดกำแพงเพชร

คนผมแดงในจังหวัดกำแพงเพชรนั้น มีตำนานเล่าว่าอาศัยอยู่ที่เวียงจันทน์ และได้อพยพเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อเกิดสงคราม โดยธิดาของเจ้าเมือง (ไม่ปรากฏชื่อ) ได้หนีมากับทหาร และได้นำพระพุทธรูปมาด้วย 2 องค์ คือพระจักรนารายณ์ และพระนาคปรก ขณะเดินทางผู้คนล้มเจ็บป่วยตายไปเรื่อย ๆ เหลือแต่ทหารผู้ถือพระพุทธรูปทั้ง 2 องค์ และเจ้าหญิงผมสีทอง ต่อมาเจ้าหญิงผมสีทองได้เดินหลงทางไปในป่า ได้พบกับนายพรานซึ่งกำลังนั่งเนื้อ (นั่งบนต้นไม้เพื่อล่าสัตว์ในเวลากลางคืน) และได้ขอขึ้นไปอาศัยอยู่ด้วย แต่พรานป่าไม่ให้ขึ้นไปเพราะเกรงว่าจะเป็นผีโป่งปลอมตัวมา จึงปล่อยให้เจ้าหญิงอยู่ข้างล่างและจุดไฟ พอถึงรุ่งเช้าจึงรู้ว่าเป็นคนและได้เกิดความรักและเห็นอกเห็นใจกัน ต่อมาจึงได้อยู่ร่วมกันเป็นสามีภรรยาจนมีลูกหลานสืบต่อกันมา ลูกหลานที่เกิดมาจากทั้งสองมีผมสีทองออกไปจนสีแดง ซึ่งคนผมแดงได้อพยพมาอยู่ในบริเวณหมู่บ้านแสนตอ หมู่ที่ 2 ตำบลแสนตอ อำเภอขาณุวรลักษณ์บุรี จังหวัดกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 714