พระสมัครสรรพการ

พระสมัครสรรพการ

เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้ชม 1,400

[16.7555144, 98.5736416, พระสมัครสรรพการ]

          พระสมัครสรรพการ (ช่วง ทัศนียานนท์) เป็นบุตรหลวงบำรุ่งอุทัยสถาน (พลอย ทัศนียานนท์) ต้นตระกูลทัศนียานนท์ ได้รับพระราชทานนามสกุลจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เม่อวันที่ 29 กันยายน 2457  สมรสกับนางสาวฟู อัมนะเศวต บุตรีพระยาชัยนฤนาถ ผู้ว่าราชกาลเมื่องชัยนาท มีบุตรรวมกัน 11 คน เสียชีวิตตั้งแต่ยังเยาว์ 2 คน

    เมื่อจบการศึกษาระดับชั้นประโยคแล้ว พระสมัครสรรพการได้สมัครเข้ารับราชการเป็นเสมียนมหาดไทยได้เป็นเสมียนตราอักษรเลขที่เมืองอุทัยธานี ด้วยความเป็นผู้ขยันขันแข็งในการทำงาน มีความกระตือรือร้น และความริริ่มสร้างสรรค์ จึงได้เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นไป จนได้บรรดาศักดิ์เป็น ขุนสมัครสรรพการ และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอแม่สอดเป็นครั้งแรกระหว่าง พ.ศ. 2464 ถึง 2467 เป็นนายอำเภอชายแดนติดกับประเทศพม่า

           พ.ศ. 2467 – พ.ศ. 2469 พระสมัครสรรพการได้ไปดำรงตำแหน่งนายอำเภอพยุหะคีรี เมืองนครสวรรค์พร้อมกับย้ายมาดำรงตำแหน่งนายอำเภอแม่สอดอีกครั้ง ด้วยแม่สอดเป็นด่านติดต่อการค้าขายกับอังกฤษ ซึ่งปกครอมงพม่าในขณะนั้น การเจรจาในเรื่องต่างๆ ต้องอยู่ในระดับของเจ้าเมืองที่เสมอกัน ประกอบกับการเดินทางระหว่างตาก – แม่สอด ลำบากมากทางราชการจึงเลื่อนตำแหน่งนายอำเภอเป็นผู้ว่าราชการอำเภอเทียบเท่าผ็ว่าราชการจังหวัด ท่านได้ดินทางไปเจรจากับฝ่ายอังกฤษหลายครั้งที่เมืองกรุงกริกประเทศพม่า ในฐานะผู้ว่าราชการอำเภอแม่สอด การเจรจาสำเร็จไปได้ด้วยดีทุกครั้งนับว่าท่านเป็นผู้ว่าราชการคนแรกและคนเดียวเท่านั้น เพราะเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 ทางราชการได้มีการยกเลิกตำแหน่งผู้ว่าราชการอำเภอ พระสมัครสรรพการจึงกลับมาดำรงตำแหน่งนายอำเภอแม่สอดเหมือนเดิม

          ในระหว่างดำรงตำแหน่งนายอำเภอแม่สอดทั้ง 2 สมันยนั้น พระสมัครสรรพการได้พยายามสร้างความเจริญในเรื่องต่างๆ ให้แก่ท้องถิ่น เช่น สร้างสร้างถนนไปยังตำบลต่างๆ ออกเยี่ยมเยียน ราษฎรตลอดเวลา ทำให้รู้ถึงความเป็นอยู่และความต้องการของราฎรเป็นอย่างดี จึงพยายามสร้างและส่งเสริมในเรื่องต่าง ๆ  ดดยเฉพาะในด้านศึกษา ท่านพยายามส่งเสริมให้ราษฎรได้รับการศึกษามากขึ้น  ท่านได้ดำเนินการของบประมาณจากกระทรวงการศึกษาธิการมาสร้างอาคารเรียนในที่ราชพัสดุ ริมถนนประสาทวิถี ขยายการสอนให้ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในพ.ศ. 2478 ทำให้การศึกษาของอำเภอแม่สอดเจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับที่อื่นๆ ชาวอำเภอแม่สอดจึงให้เกียรติลัยกย่องท่านในฐานะผู้ก่อตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอแม่สอด  โดยขออนุญาตตั้งชื่อโรงเรียนตามราชทินนามของท่านว่า โรงเรียนสรรพวิทยาคม

         พ.ศ. 2489 ถึง พ.ศ. 2498 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายยกเทศมนตรีตำบลแม่สอดถึง 2 สมัย ท่านได้ทำนุบำรุ่งท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้าขึ้นเป็นอันมาก โยเฉพาะด้านการสร้างถนนติดต่อกับตำบลต่างๆ เป็ยผลให้เศรษฐกิจของอำเภอแม่สอดเจรอญขึ้นเป็นอันมาก ความเป็นอยู่ของประชากรดีขึ้น มรสิ่งอำนวยความสะดวกมากขึ้นอีกมาก เช่น ศาลจังหวัดแม่สอด เปิดทำการเมื่อ พ.ศ. 2478 ทำให้การทำคดีต่าง ๆ สะดวกและรวดเร็วขึ้น บริษัทเดินอากาศ เปิดทำการในปี พ.ศ. 2480 ทำให้การค้าขายสะดวกรวดเร็วมากขึ้น เป็นที่นิยมของคนในอำเภอแม่สอด เพราะยังไม่มีทางรถยนต์ การไฟฟ้า เปิดทำการเมื่อ พ.ศ. 2497 ทำให้คนในแม่สอดมีไฟฟ้าใช้ สถานีวิทยุโทรเลข เปิดทำการเมื่อ พ.ศ. 2495 ทำให้การติดต่อส่งข่าวรวดเร็วขึ้นนอกจากนั้นได้ปรับปรุงอาคารสถานที่ทำงานและสร้างอาคารสำนักงานเทศบาลตำบลแม่สอดขึ้นใหม่ที่ถนนปราสาทวิถี ตรงข้าวกับโรงเรียนสรรพวิทยาคม

คำสำคัญ : พระสมัครสรรพการ บุคคลสำคัญ

ที่มา : วัฒนธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และถูมิปัญาจังหวัดตาก. (2542). ม.ป.ท. : สถาบัน.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). พระสมัครสรรพการ. สืบค้น 20 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1829&code_db=610003&code_type=TK007

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1829&code_db=610003&code_type=TK007

Google search

Mic

พระสมัครสรรพการ

พระสมัครสรรพการ

พระสมัครสรรพการ (ช่วง ทัศนียานนท์) เป็นบุตรหลวงบำรุ่งอุทัยสถาน (พลอย ทัศนียานนท์) ต้นตระกูลทัศนียานนท์ ได้รับพระราชทานนามสกุลจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เม่อวันที่ 29 กันยายน 2457  สมรสกับนางสาวฟู อัมนะเศวต บุตรีพระยาชัยนฤนาถ ผู้ว่าราชกาลเมื่องชัยนาท มีบุตรรวมกัน 11 คน เสียชีวิตตั้งแต่ยังเยาว์ 2 คน

เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 1,400

พระเทพวัชราภรณ์

พระเทพวัชราภรณ์

พระราชวัชราภรณ์(หลวงพ่อต้าน) อายุ 85 พรรษา สถานะเดิมชื่อต้าน นามสกุล ธรรมยศ เกิดวันที่ 21 กันยายน พ.ศ.2455 บิดา ชื่อนายเอี่ยม มารดาชื่อนางดาว บ้านเสากระโจง หมู่ที่ 4 ตำบลขนอนหลวง อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อุปสมบทเมื่อวันอังคาร แรม 3 ค่ำ ปีมะเส็ง วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ.2484 วัดทองบ่อ ตำบลขนอนหลวง อำเภอบางปะอิน จ้งหวัดพระนครศรีอยุธยา ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 11 วัดศรีตลาราม และดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดตาก-กำแพงเพชร-สุโขทัย-พิษณุโลก-อุตรดิตถ์(ธรรมยุต)และเป็นพระอุชฌายะ

เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 1,094