จอมพลถนอม กิตติขจร

จอมพลถนอม กิตติขจร

เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้ชม 2,818

[16.8778126, 98.877919, จอมพลถนอม กิตติขจร]

          จอมพล ถนอม กิตติขจร เกิดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2454 ณ บ้านหนองพลวง อำเภอเมือง จังหวัดตาก เป็นบุตรของขุนโสภิตบรรณารักษ์ (นายอำพัน กิตติขจร) และนางโสภิตบรรณารักษ์ (ลิ้นจี่) สมรสกับท่านผู้หญิงจงกล กิตติขจร จอมพล ถนอม กิตติขจร เริ่มการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนประชาบาลวัดโคกพลู จังหวัดตาก หลังจากนั้น ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก และในระหว่างรับราชการได้ศึกษาต่อที่โรงเรียนแผนที่ทหาร กองทัพบก โรงเรียนทหารราบ กองทัพบก และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (รุ่นที่ 1) ตามลำดับรับราชการครั้งแรกในตำแหน่งผู้บังคับหมวดกรมทหารราบที่ 8 กองพันที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาได้ร่วมก่อรัฐประหารเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 ในขณะที่มียศเป็นร้อยโท ตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารบกที่ 11 ต่อมาได้เป็นรองผู้บัญชาการกองพลที่ 1 ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รองผู้บัญชาการภาคทหารบกที่ 1 และแม่ทัพกองทัพภาคที่ 1 มาโดยลำดับ

          จอมพล ถนอม กิตติขจร ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงคราม และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาลของนายพจน์ สารสิน
จอมพล ถนอม กิตติขจร ได้รับการซาวเสียงจากสภาผู้แทนราษฎรให้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 10 ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2501 บริหารประเทศได้ 9 เดือนเศษก็ลาออกจากตำแหน่งเพื่อเปิดทางให้ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ถึงแก่อสัญกรรม จอมพล ถนอม กิตติขจร ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง ในช่วงระยะเวลาที่จอมพล ถนอม กิตติขจร บริหารประเทศได้สร้างทางหลวงสายต่างๆ ทั่งประเทศหลายสาย สร้างเขื่อน อาทิ เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนอุบลรัตน์ นอกจากนี้ท่านยังได้ทำการปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัยทัดเทียมกับนานาประเทศ และในปี พ.ศ. 2508 ได้ส่งทหารไปร่วมรบในสงครามเวียดนาม

          ปี 2514 จอมพลถนอมได้ทำรัฐประหารตัวเอง และจัดตั้งสภาบริหารคณะปฏิวัติขึ้น จนกระทั่งมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญการปกครองแห่งราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2515 และสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามธรรมนูญการปกครองดังกล่าวได้มีมติให้ จอมพล ถนอม เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป
จอมพล ถนอม กิตติขจร ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2516 อันเนื่องมาจากเหตุการณ์เรียกร้องรัฐธรรมนูญของกลุ่มนิสิต นักศึกษา และเกิดเหตุการณ์ไม่สงบเรียบร้อยขึ้นภายในประเทศ จึงเดินทางออกนอกประเทศเพื่อให้สถานการณ์คลี่คลาย รวมระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีทั้งสิ้น 10 ปี 6 เดือนเศษ ปัจจุบันท่านพำนักอยู่ที่บ้านพักในกรุงเทพมหานคร และได้ยุติบทบาททางการเมือง

คำสำคัญ : จอมพลถนอม กิตติขจร บุคคลสำคัญ

ที่มา : https://rb.gy/jaozz5

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). จอมพลถนอม กิตติขจร. สืบค้น 26 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1825&code_db=610003&code_type=TK001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1825&code_db=610003&code_type=TK001

Google search

Mic

จอมพลถนอม กิตติขจร

จอมพลถนอม กิตติขจร

จอมพล ถนอม กิตติขจร ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงคราม และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาลของนายพจน์ สารสิน จอมพลถนอม กิตติขจร ได้รับการซาวเสียงจากสภาผู้แทนราษฎรให้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 10 ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2501 บริหารประเทศได้ 9 เดือนเศษก็ลาออกจากตำแหน่งเพื่อเปิดทางให้ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ถึงแก่อสัญกรรม จอมพลถนอม กิตติขจร ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง

เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 2,818

นายอุดร ตันติสุนทร

นายอุดร ตันติสุนทร

อุดร ตันติสุนทร เกิดเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2476 เป็นบุตรของนายซ้งกี่ กับนางแจง ตันติสุนทร และเป็นพี่ชายของนายรักษ์ ตันติสุนทร สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี เศรษฐศาสตรบัณฑิต และ ปริญญาโท รัฐศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. จังหวัดตาก ในปี 2512 – 2519  ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำให้มีผลงานในด้านการพัฒนาการเกษตร ช่วยให้เกษตกรมีรายได้เพิ่มขึ้ และเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งสะพานมิตรภาพไทย – พม่า

เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 1,546

นางสังวาลย์ อิ่มเอิบ

นางสังวาลย์ อิ่มเอิบ

นางสังวาลย์ อิ่มเอิบ เกิดวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2456 บิดาชื่อนางจั่น น้อยเจริญ มารดาชื่อนางบุญมา น้อยเจริญ อยู่บ้านเลขที่ 96 ซอย 21 ถนนมหาดไทยบำรุง ตำบลระแหง อำเภอเมือง จังหวัดตาก เมื่ออายุ 7-8 ขวบได้ไปชมการเล่นหุ่นกระบอก "คณะแม่ตาด" จากอ่างทอง ซึ่งมาแสดงที่วัดมะเขือแจ้ เกิดชอบใจ ตาจันทร์จึงหาไม้มาแกะเป็นตัวเล็กๆให้เล่น

เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 543

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงมีพระนามเดิมว่า “สิน” (ชื่อจีนเรียกว่า “เซิ้นเซิ้นซิน) พระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2277 พระราชบิดาเป็นชาวจีนแต้จิ๋ว ชื่อ “นายไหฮอง” ได้สมรสกับหญิงไทยชื่อ”นางนกเอี้ยง” ในช่วงรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (สมเด็จพระธรรมราชาธิราชที่ 3) ซึ่งเจ้าพระยาจักรีได้ขอไปอุปการะเป็นบุตรบุญธรรมตั้งแต่ครั้งเยาว์วัย ครั้นอายุ 5 ปี เจ้าพระยาจักรีได้นำไปฝากเรียนกับพระอาจารย์ทองดี วัดโกษาวาส (วัดคลัง) ทรงศึกษาหนังสือขอมและหนังสือไทยจนจบบริบูรณ์ ตลอดจนศึกษาพระไตรปิฎกจนแตกฉาน ต่อมาเมื่ออายุครบ 13 ปี เจ้าพระยาจักรีได้นำตัวเด็กชายสิน ไปถวายตัวเป็นมหาดเล็ก ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศและได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ทำราชการกับหลวงศักดิ์นายเวร ซึ่งเป็นบุตรของเจ้าพระยาจักรี เมื่อมีเวลาว่างจะศึกษาหาความรู้ กับอาจารย์ชาวจีน อาจารย์ชาวญวน และ อาจารย์ชาวแขก จนเชี่ยวชาญและสื่อสารได้อย่างคล่องแคล่วทั้ง 3 ภาษา

เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 1,181