ผักกูด
เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้ชม 11,641
[16.4258401, 99.2157273, ผักกูด]
ผักกูด ชื่อสามัญ Paco fern, Small vegetable fern, Vegetable fern
ผักกูด ชื่อวิทยาศาสตร์ Diplazium esculentum (Retz.) Sw. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Athyrium esculentum (Retz.) Copel.) จัดอยู่ในวงศ์ ATHYRIACEAE
สมุนไพรผักกูด มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า ผักกูดขาว (ชลบุรี), หัสดำ (นครราชสีมา, สุราษฎร์ธานี), กูดน้ำ (แม่ฮ่องสอน), ไก้กวิลุ ปู่แปลเด๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), แลโพโด้ แหละโพะโด้ะ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), แทรอแปล๊ะ (กะเหรี่ยงแดง), หย่ายจ๊วด (เมี่ยน), เหล้าชั้ว (ม้ง), บ่ะฉ้อน (ลั้วะ), ร่านซู้ล (ขมุ), กูดคึ (ภาคเหนือ), ผักกูด (ภาคกลาง), กูดกิน เป็นต้น
รู้จักกับผักกูด : ผักกูดหรือกูดกิน ความจริงแล้วผักกูดไม่ได้เป็นพืชผัก แต่เป็นพืชที่เป็นเฟิร์นชนิดหนึ่งที่สามารถนำมารับประทานเป็นผักได้ เป็นพืชที่มีลำต้นเป็นเหง้าแบบตั้งตรง ต้นเมื่อมีอายุน้อยมักจะเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว เมื่ออายุมากขึ้นจะพบว่าเป็นใบประกอบแบบสองชั้น โดยส่วนที่นำมาปรุงเป็นอาหารก็คือส่วนของ ฟรอนด์ (Frond) หรือก้านใบใหม่ที่โผล่ขึ้นมาจากลำต้น มีส่วนปลายม้วนงอ และส่วนปลายนี้แหละจะค่อย ๆ พัฒนาไปเป็นใบอ่อนและใบแก่ตามลำดับ แต่จะนิยมรับประทานฟรอนด์อ่อนๆ ซะมากกว่า นอกจากนี้ผักกูดยังมีอยู่ด้วยกันอีกหลายชนิด และเกือบทุกชนิดสามารถนำมารับประทานได้ แต่บางชนิดยอดใบจะมีรสขมมาก บางชนิดมีขนสีน้ำตาลปกคลุมตามต้น และแต่ละชนิดก็มีรสชาติที่แตกต่างกันออกไป นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณทางยาที่แตกต่างกันออกไปด้วย
ลักษณะของผักกูด
- ต้นผักกูด จัดเป็นเฟิร์นขนาดใหญ่ที่มีเหง้าตั้งตรง และมีความสูงมากกว่า 1 เมตรขึ้นไป เหง้าปกคลุมไปด้วยใบเกล็ด เกล็ดมีขนาดกว้างประมาณ 1 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 1 เซนติเมตร เกล็ดมีสีน้ำตาลเข้มถึงสีดำ ขอบใบเกล็ดหยักเป็นซี่ โดยเฟิร์นชนิดนี้มักจะขึ้นหนาแน่นตามชายป่าที่มีแดดส่องถึง ในบริเวณที่ลุ่มชุ่มน้ำ ตามริมลำธาร บริเวณต้นน้ำ หนองบึง ชายคลอง ในที่ที่มีน้ำขังแฉะและมีอากาศเย็น รวมไปถึงในพื้นที่เปิดโล่ง หรือในที่ที่มีร่มเงาบ้าง และจะเจริญเติบโตได้ดีบริเวณที่ชื้นแฉะ มีความชื้นสูง เติบโตในช่วงฤดูฝน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เหง้า ใช้สปอร์ หรือไหล มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ในเขตร้อนทั่วไปของเอเชีย ไล่ตั้งแต่ภาคกลางของประเทศจีน ภาคใต้ของญี่ปุ่น ไปจนถึงหมู่เกาะแปซิฟิก ส่วนในประเทศไทยบ้านเราจะพบผักกูดได้ทั่วไปแทบทุกภูมิภาคในที่มีสภาพดินไม่แห้งแล้ง
- ใบผักกูด ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น มีความยาวได้มากกว่า 1 เมตรและกว้างได้ถึง 50 เซนติเมตร ใบมีสีเขียวอ่อน แม้แก่จะมีสีเขียวเข้ม มีใบย่อย 1-2 คู่ล่างจะเล็กกว่าใบย่อยที่อยู่ช่วงกลาง ซึ่งมีขนาดใหญ่ได้ถึง 25 เซนติเมตร ช่วงขนาดสอบเล็กลงทันทีเป็นหลายแหลม ส่วนใบย่อยชั้นกลางจะมีใบที่มีขนาดใหญ่กว่า มีก้านสั้นหรือกึ่งไม่มีก้าน โคนใบมีลักษณะเว้าเป็นรูปหัวใจหรือเป็นติ่งหู ปลายสอบแหลมมีขนาด 2.5 เซนติเมตร ขอบหยัก ลึกประมาณ 1 ใน 4 ของระยะถึงเส้นกลางใบ ปลายเป็นรูปมน ขอบเป็นฟันเลื่อย เนื้อใบมีลักษณะบางคล้ายกระดาษ มีเส้นใบแตกแขนงแบบขนนก มีปลายเส้นถึง 10 คู่ กลุ่มสปอร์จะอยู่ใกล้และยาวตลอดความยาวของเส้นใบส่วนปลาย ส่วนก้านใบยาวประมาณ 70 เซนติเมตร
คุณค่าทางโภชนาการของผักกูด ต่อ 100 กรัม
สมุนไพรผักกูด ในส่วนที่รับประทานได้ จะให้พลังงาน 19 กิโลแคลอรี เส้นใยอาหาร 1.4 กรัม ธาตุแคลเซียม 5 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 36.3 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 35 มิลลิกรัม นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 และวิตามินบี 3 ค่อนข้างสูง
สรรพคุณของผักกูด
- ช่วยเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันและช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ (ใบ)
- ผักกูดอุดมไปด้วยธาตุเหล็กและเบตาแคโรทีน การรับประทานผักกูดร่วมกับเนื้อสัตว์จะช่วยทำให้ร่างกายดูดซึมแร่ธาตุต่าง ๆ ได้ดีขึ้น และยังช่วยบำรุงร่างกายอีกด้วย (ใบ)
- ใบผักกูดนำมาต้มเป็นน้ำดื่ม ช่วยแก้ไข้ตัวร้อน (ใบ)
- ผักกูดเป็นผักที่มีคุณสมบัติช่วยดับร้อน ทำให้ร่างกายปรับสภาพอุณหภูมิให้เข้ากับฤดูได้
- ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเม็ดเลือด (ใบ)
- ช่วยบำรุงโลหิต เนื่องจากผักกูดเป็นผักที่มีธาตุเหล็กมากที่สุดเป็นอันดับ 1 (ใบ)
- ช่วยแก้โรคโลหิตจาง (ใบ)
- ช่วยบำรุงสายตา (ใบ)
- ช่วยลดความดันโลหิตสูง (ใบ)
- ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันได้ (ใบ)
- ผักกูดเป็นผักที่มีเส้นใยอาหารสูงมาก จึงช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างดี (ใบ)
- ช่วยขับปัสสาวะ (ใบ)
- ช่วยแก้พิษอักเสบ (ใบ)
ประโยชน์ของผักกูด
- ผักกูด เป็นผักที่มีรสจืดอมหวานและกรอบ ยอดอ่อนและใบอ่อนนิยมนำมาบริโภค โดยนำมาปรุงเป็นอาหารได้อย่างหลากหลาย ด้วยการนำมายำ ผัด ทำเป็นแกงจืด แกงเลียง แกงส้ม แกงแคร่วมกับผักชนิดต่าง ๆ ต้มกะทิ ฯลฯ ส่วนเมนูผักกูดก็เช่น ยำผักกูด ผักกูดผัดน้ำมันหอย แกงจืดผักกูดหมูสับ ไข่เจียวผักกูด ผัดกับไข่หรือแหนม นำมาแกงกับปลาน้ำจืด ทำเป็นแกงกะทิกับปลาย่าง หรือนำมาราดด้วยน้ำกะทิรับประทานร่วมกับน้ำพริกหรือแกงรสจืด ส่วนชาวอีสานจะรับประทานยอดสดร่วมกับลาบ ก้อย ยำ ส้มตำ ปลาป่น หรือจะนำไปดัดแปลงเป็นเมนูอื่น ๆ ก็ทำได้ไม่ยาก นอกจากนี้ยังนิยมนำมาใช้ลวกหรือต้มให้สุก จิ้มกินกับน้ำพริก ใช้เป็นผักจิ้มกินกับน้ำพริกตาแดง น้ำพริกถั่ว หรือน้ำพริกต่าง ๆ แต่จะไม่นิยมนำมารับประทานแบบสด ๆ เพราะจะมียางเป็นเมือกอยู่ที่ก้าน โดยในช่วงหน้าแล้งผักกูดจะมีรสชาติอร่อยกว่าฤดูอื่น ๆ
- ในปัจจุบันมีการเก็บผักกูดไว้ขายส่งไปญี่ปุ่น โดยชาวญี่ปุ่นจำนำผักกูดไปดองกับเกลือไว้รับประทาน หรือที่เรียกว่า "วาราบิ"
- ต้นผักกูด สามารถใช้เป็นดัชนีเพื่อชี้วัดความสมบูรณ์ของสภาพแวดล้อมได้ ถ้าหากบริเวณไหนมีอากาศไม่ดี หรือดินไม่บริสุทธิ์ หรือมีสารเคมีเจือปนอยู่ ผักกูดจะไม่เจริญหรือแตกต้นในบริเวณนั้น เพราะผักกูดจะขึ้นเฉพาะในพื้นที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ ดินสมบูรณ์และไม่มีสารเคมีเจือปน
ข้อควรระวัง : ไม่ควรรับประทานผักกูดแบบดิบๆ หรือแบบสดๆ เนื่องจากผักกูดมีสารออกซาเลตในปริมาณที่สูง อาจทำให้ไตอักเสบและทำให้เป็นนิ่วได้ จึงควรนำไปต้มหรือปรุงให้สุกก่อนการนำมารับประทาน
คำสำคัญ : ผักกูด
ที่มา : https://medthai.com/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ผักกูด. สืบค้น 16 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1688&code_db=610010&code_type=01
Google search
พิกุล มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ศรีลังกา ไทย พม่า อินโดจีน และในหมู่เกาะอันดามัน จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ไม่ผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 10-25 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกว้างหนาทึบ เปลือกต้นเป็นสีเทาอมสีน้ำตาลและแตกเป็นรอยแตกระแหงตามแนวยาว ทั้งต้นมีน้ำยางสีขาว ส่วนกิ่งอ่อนและตามีขนสีน้ำตาลขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และวิธีการปักชำกิ่ง ชอบขึ้นในพื้นที่ดินดี ชอบแสงแดดจัด ทนทานต่อสภาพน้ำท่วมขังได้นานถึง 2 เดือน
เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 11,819
เต่าร้าง (Fishtail Palm, Wart Fishtail Palm) หรือเต่ารั้ง เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น อยู่ในตระกูลปาล์ม มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก เกี๋ยง, เขืองหลวง, เต่ารั้ง หรือเต่าร้าง ส่วนน่านเรียก หมากมือ เป็นต้น ซึ่งพืชสมุนไพรอย่างเต่าร้างนั้นเป็นพืชที่พบการกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศอินเดีย, ตอนใต้ของจีน, ศรีลังกา, เวียดนาม และไทยเราด้วย ชอบอยู่ในป่าดิบทุกแห่ง มักขึ้นตรงที่มีความชุ่มชื้นสูง โดยลำต้นจะเป็นปล้องสูงชะลูดขึ้นไปไม่เท่ากัน โดยบางต้นอาจเตี้ย ในขณะที่บางต้นอาจสูง
เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 9,986
ลักษณะทั่วไป วัชพืชน้ำขนาดเล็ก ลำต้นทอดขนานไปกับผิวน้ำ มีระบบรากแก้วและมีรากฝอยจำนวนมาก อายุยืนหลายปี เจริญเติบโตติดกันเป็นกลุ่มลอยอยู่บนผิวน้ำ ลำต้นมีไหล ต้นใหม่เกิดจากโคนต้นและเกิดบนไหล ใบเป็นใบเดี่ยวเกิดบริเวณส่วนโคน ของลำต้นเรียงซ้อนกันหลายชั้น ไม่มีก้านใบรูปร่างใบไม่แน่นอน บางครั้งรูปรี แต่วนมากเป็นรูปสามเหลี่ยมปลายกลีบหยักลอนเป็นคลื่น ฐานใบมนสอบแคบ ขอบใบเรียบสีแดงมีขนขึ้นปกคลุมแผ่นใบทั้งสองด้าน บริเวณบานใบพองออกมีลักษณะอ่อนนุ่มคล้ายฟองน้ำ ทำให้ลอยน้ำได้ ออกดอกเป็นช่ออยู่ตรงกลางต้นหรือต้นโคนใบระหว่างกลาง ซึ่งดอกนั้นจะมีกาบหุ้มดอกอยู่ 2-3 อันมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในช่อเดียวกัน
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 7,584
ผักเป็ด มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลางและกระจายพันธุ์ไปทั่วโลก ในประเทศไทยพบได้มากในภาคกลาง โดยจัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็ก มีอายุราว 1 ปี ที่มีลำต้นตั้งตรงหรืออาจเลื้อยก็แล้วแต่สภาพแวดล้อมที่อยู่ ตามข้อของลำต้นจะมีราก ระหว่างข้อต่อมีร่องและมีขนปกคลุมเล็กน้อย ลำต้นมีทั้งสีแดงและสีขาวอมเขียว โดยต้นผักเป็ดนี้จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ขึ้นได้ในทุกสภาพของดิน ไม่ว่าจะเป็นดินแห้งหรือดินแฉะ โดยมักจะพบได้ตามที่รกร้างทั่วไปหรือตามที่ชื้นข้างทาง
เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 17,145
อั้วข้าวตอก จัดเป็นไม้จำพวกกล้วยไม้ดินแตกกอ รากหนา ยาว และมีขน มีลำต้นโผล่ขึ้นมาเหนือพื้นดินเล็กน้อย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของก้านใบ มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบได้ตั้งแต่มาดากัสการ์ อินเดีย พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และประเทศมาเลเซีย จนถึงออสเตรเลีย หมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก และในญี่ปุ่น ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ (ยกเว้นภาคกลาง) โดยมักขึ้นตามใต้ร่มเงาในป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น และป่าดิบเขา ที่ระดับความสูงจนถึงประมาณ 1,600 เมตร ส่วนในต่างประเทศพบได้จนถึง 3,000 เมตร
เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 2,234
ต้นคันทรง จัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลางกึ่งไม้เลื้อย ลำต้นตั้งตรงและมีความสูงของต้นประมาณ 2-3 เมตร บ้างว่าสูงได้ประมาณ 1-9 เมตร แตกกิ่งก้านมากตั้งแต่โคนต้น กิ่งก้านมีขนาดเล็กกลมสีเขียว กิ่งก้านสีเขียวเข้มเป็นมัน เปลือกต้นเป็นสีเทา มีรอยแตกเป็นร่องตื้น ๆ ถี่ ๆ และตามลำต้นจะมีตาที่ทิ้งใบเป็นตุ่มห่าง ๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและวิธีการปักชำลำต้น มักขึ้นเองตามป่าราบ ป่าดงดิบ ป่าละเมาะ หรือที่รกร้างข้างทางทั่วไป โดยจะพบได้มากทางภาคเหนือ บ้างว่าพบได้มากตามชายทะเลหรือชายหาดหินปูน
เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 1,770
ต้นจามจุรีมีชื่อวิทยาศาสตร์ Samanca Saman (Jacq) Merr. เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีอายุได้นานเป็นร้อยปี มีลำต้นสูงได้มากกว่า 25 เมตร และมีขนาดทรงพุ่มกว้่างได้มากกว่า 25 เมตร มักพบทั่วไปตามข้างถนน หัวไร่ ปลายนา และตามสถานที่ราชการต่างๆ
เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 4,510
ผักบุ้งมีชื่อเรียกอื่นว่าผักทอดยอด เป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่เรามักจะคุ้นเคยกันมาตลอดว่ามีส่วนช่วยในการบำรุงสายตา แต่จริงๆ แล้วผักชนิดนี้ยังมีประโยชน์มากกว่านั้น เพราะอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญๆ แต่ก่อนจะไปรู้ถึงประโยชน์มาดูกันก่อนว่าผักบุ้งที่นิยมนำมาใช้รับประทานนั้นมีสายพันธุ์อะไรบ้าง ซึ่งในประเทศไทยจะแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลัก ๆ คือ ผักบุ้งไทยและผักบุ้งจีน
เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 6,794
กุยช่าย (Chinese Chive) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกผัก ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียกหัวซู ภาคอีสานเรียกหอมแป้น กูไฉ่ หรือผักแป้น เป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปกุยช่ายนั้นจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ กุยช่ายเขียว และกุยช่ายขาว โดยทั้งสองสายพันธุ์นี้ก็ไม่ได้แตกต่างอะไรกันเลย เพียงแต่จะต่างในเรื่องของการปลูกและดูแลรักษาเท่านั้น
เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 2,812
ย่านางนับว่าเป็นผักที่มีประโยชน์อีกชนิดหนึ่ง มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ใช้ในการประกอบอาหารพื้นบ้านไทยหลายๆ ตำรับ ในใบย่านางมีวิตามินเอและซีสูง นอกจากนี้ยังประกอบด้วยสารอาหารสำคัญอื่นๆ เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ไฟเบอร์ แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก ไทอะมีน ไรโบฟลาวิน และไนอะซีน
เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 1,833