วัดโพธิ์เตี้ย

วัดโพธิ์เตี้ย

เผยแพร่เมื่อ 06-09-2019 ผู้ชม 2,038

[16.6220151, 99.8766013, วัดโพธิ์เตี้ย]

ชื่อวัด : 
        วัดโพธิ์เตี้ย (วัดปลักไม้ดำ)

สถานที่ตั้ง :
     
  ตั้งอยู่ที่บ้านปลักไม้ดำ ม.3 ตำบลลานกระบือ อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร

ประวัติความเป็นมา : 
        วัดโพธิ์เตี้ย (วัดปลักไม้ดำ) อยู่ที่บ้านปลักไม้ดำ ม.3 ตำบลลานกระบือ อำเภอลานกระบือ เป็นวัดโบราณวัดหนึ่ง เดิมชาวบ้านเรียกกันว่า “วัดงิ้วงาม” มีหลวงพ่อกล้ายเป็นเจ้าอาวาส หลังจากที่ท่านมรณภาพแล้ว หลวงพ่อขำได้เป็นเจ้าอาวาสรูปต่อมาและเปลี่ยนชื่อวัดจากวัดงิ้วงาม เป็นวัดโพธิ์เตี้ย ตามสัญลักษณ์ของต้นโพธิ์ที่มีลักษณะเตี้ยแคระ ซึ่งปัจจุบันต้นโพธิ์นี้ได้ตายแล้ว            
         พระโพธิ์ พัชยาโน รักษาการเจ้าอาวาส ซึ่งบวชมาได้ เพียง 4 พรรษา แต่ดูมีความตั้งใจและจริงใจในการบริหารและดูแลวัดเป็นอย่างมาก เล่าว่าพระเจดีย์โบราณอายุราว 150 ปี ซึ่งมีสามองค์ แต่โดนขุดทำลายไป 1 องค์ เหลือให้เห็นเพียง 2 องค์ อยู่ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ มีผู้มาขุดทำลายพระเจดีย์ประมาณ 30 คน ไม่มีใครที่ตายดีสักคน น่าจะเป็นอุทาหรณ์ให้คนรุ่นหลังได้รับทราบและระมัดระวังมากขึ้น ในการทำลายโบราณสถานและโบราณวัตถุ เพราะผู้สร้างสาปแช่งไว้ ด้านหลังพระเจดีย์เป็นพระอุโบสถ อายุราว 150 ปี สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 เป็นอุโบสถขนาดย่อม เรียกกันโดยทั่วไปว่าโบสถ์มหาอุตม์ คือมีทางเข้าด้านหน้าทางเดียวไม่มีทางออก เหมาะสำหรับปลุกเสกเครื่องรางของขลังหรือแม้แต่บวชพระ สภาพค่อนข้างทรุดโทรมตามอายุขัยและยังไม่ไดัรับการดูแลอย่างถูกวิธีจากกรมศิลปากรหรือกรมศิลปากรอาจยังไม่ทราบ ว่ามีโบสถ์เก่าแก่อยู่ที่วัดนี้ จึงยังมิได้ขึ้นทะเบียนไว้ ข้างซ้ายของพระอุโบสถเป็นพระวิหาร ที่ได้รับการบูรณะและดัดแปลงแก้ไขแล้ว ทำให้สถาปัตยกรรมเดิมถูกดัดแปลงแก้ไขไปโดยไม่ทราบถึงความสำคัญ อย่างถูกต้องและแท้จริง ทางด้านหน้ามีวิหารขนาดเล็ก มีรูปจำลองหลวงปู่ขำ อดีตเจ้าอาวาส ขนาดเท่าองค์จริง ประดิษฐานไว้คู่กับรอยพระพุทธบาทจำลอง ที่ย้ายมาจากหน้าพระเจดีย์ ยังอยู่ในสภาพงดงาม สมบูรณ์
          สมัยเมื่อปี พ.ศ.2499 เส้นทางคมนาคมทางบก ทุรกันดารมาก ถนนหนทางเป็นดินโคลน จากตัวจังหวัดมา อ.บางระกำ ระยะทาง 15 กม. แต่ก็ต้องใช้เวลาเดินทางเป็นวัน ไม่มีไฟฟ้า-น้ำประปาใช้การเดินทางมาต้องอาศัยมาทางเรือ โดยนั่งรถโดยสารขึ้นเหนือไปลงเรือที่บ้านกงไกรลาศมากับเรือบรรทุกสินค้า นำผู้โดยสารมาตลาดบางระกำก็ใช้เวลาหนึ่งวันเต็มๆ มาถึงตลาดบางระกำก็ใกล้ค่ำ ชื่อเสียงเกียรติคุณและวัตถุมงคลของหลวงพ่อขำ อินทปัญญา จึงเป็นที่รู้จักของคนใน อ.บางระกำ มากกว่าที่อื่นๆ เพราะคนในตลาดบางระกำ ติดต่อค้าขายกับ อ.ลานกระบือ และหมู่บ้านใกล้เคียงเป็นจำนวนมาก หลายๆ คนที่เคยค้าขายไปๆ มาๆ
         ในยุคสมัยที่หลวงพ่อขำยังคงมีชีวิต วัตถุมงคลของท่าน ช่วยปกป้องคุ้มครองชีวิตให้พ้นภัยจากสัตว์ร้ายซึ่งมีอยู่ชุกชุม และคนร้ายที่ประพฤติตนเป็นโจรอยู่เป็นอันมากในสมัยนั้น ตัวอย่างเช่น นายอั้ง แซ่ลิ้ม ที่เคยนำสินค้าไปขายที่ อ.ลานกระบือ ก็ได้รับความเมตตาอนุเคราะห์จากหลวงพ่อขำ โดยได้รับตะกรุดโทนและลูกด้านลงอักขระ ซึ่งมีจำนวนน้อยมาก (ลูกด้าน ก็คือลูกปืนพระรามหก ที่ตำรวจสมัยก่อนใช้ประจำกาย เป็นปืนเล็กยาว เมื่อยิงแล้วไม่ระเบิด ท่านจึงได้นำมาลงอักขระเป็นมหาอุด ถือได้ว่าท่านเป็นเกจิอาจารย์ในยุคแรกที่ทำของอย่างนี้) ตะกรุดและลูกด้าน ก็ยังคงตกทอดมาถึงบุตรหลานในปัจจุบัน
          หลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย (วัดปลักไม้ดำ) อ.ลานกระบือ มีความรู้ด้านไสยเวทและอาคมเข้มขลังสูงมาก ได้สร้างเครื่องรางต่างๆ แจกลูกศิษย์ไว้มากในสมัยก่อน ตะกรุดโทนของท่านมีชื่อเสียงมาก มีผู้นำไปใช้ได้ผลกันมากจนท่านทำไม่ทันตะกรุดโทน เป็นลักษณะของตะกั่วทุบด้วยมือ เช่นเดียวกับตะกรุด ของหลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง จังหวัดพิจิตร ในฤดูแล้งเมื่อหนทางคมนาคมไปมาสะดวก จะมีข้าราชการผู้ใหญ่จากตัวจังหวัดกำแพงเพชร และจังหวัดใกล้เคียงเดินทางมาหาท่าน เพื่อขอมงคลวัตถุจากหลวงพ่อขำเอาไว้คุ้มครองตนอยู่เสมอๆ
          หลวงพ่อขำ อินทปัญญา ก็เป็นศิษย์ของหลวงพ่อเงิน วัดบางคลานอีกด้วย จากคำบอกเล่าของคุณลุงทองดี หมีคุ้ม ที่เป็นลูกศิษย์คอยรับใช้หลวงพ่อขำมาตลอด ได้เคยเดินทางไปพร้อมหลวงพ่อไปพบหลวงพ่อเงินที่วัดบางคลานหลายครั้ง เพราะหลวงพ่อขำ มักไปพบเพื่อปรึกษาหารือในเรื่องการสร้างมงคลวัตถุ และการเรียนวิชาอาคมจากหลวงพ่อเงินอยู่เสมอ การสร้างตะกรุดโทนของหลวงพ่อขำ จึงมีอานุภาพเข้มขลังเป็นอย่างยิ่ง เช่นเดียวกับตะกรุดของหลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานของหลวงพ่อเงิน เป็นศิษย์รุ่นเดียวกัน แต่ตะกรุดของหลวงพ่อพิธ ท่านสร้างเอาไว้มากกว่า คนจึงรู้จักแต่ตะกรุดของหลวงพ่อพิธ ส่วนตะกรุดของหลวงพ่อขำมีน้อยมาก ยากต่อการแสวงหาน้อยคนจะได้รู้จัก นอกจากบุคคลที่ได้รับมากับมือของท่านโดยตรง หลวงพ่อพิธ มรณภาพ ปี พ.ศ.2488 หลวงพ่อขำมรณภาพ ปีพ.ศ.2482

คำสำคัญ : วัดโพธิ์เตี้ย

ที่มา : http://oknation.nationtv.tv/blog/guidepong/2010/05/23/entry-12

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). วัดโพธิ์เตี้ย. สืบค้น 27 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1254&code_db=610009&code_type=11

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1254&code_db=610009&code_type=11

Google search

Mic

วัดโพธิ์เตี้ย

วัดโพธิ์เตี้ย

วัดโพธิ์เตี้ย (วัดปลักไม้ดำ) อยู่ที่บ้านปลักไม้ดำ ม.3 ตำบลลานกระบือ อำเภอลานกระบือ  เป็นวัดโบราณวัดหนึ่ง เดิมชาวบ้านเรียกกันว่า “ วัดงิ้วงาม ” มีหลวงพ่อกล้ายเป็นเจ้าอาวาส หลังจากที่ท่านมรณภาพแล้ว หลวงพ่อขำ ได้เป็นเจ้าอาวาสรูปต่อมาและเปลี่ยนชื่อวัดจากวัดงิ้วงาม เป็นวัดโพธิ์เตี้ย ตามสัญลักษณ์ของต้นโพธิ์ที่มีลักษณะเตี้ยแคระ ซึ่งปัจจุบันต้นโพธิ์นี้ได้ตายแล้ว     

เผยแพร่เมื่อ 06-09-2019 ผู้เช้าชม 2,038

วัดแก้วสุริย์ฉาย

วัดแก้วสุริย์ฉาย

เจ้าอาวาสวัดแก้วสุริย์ฉาย และเจ้าคณะตำบลลานกระบือ เล่าประวัติวัดแก้วสุริย์ฉายว่า ได้สร้างราวพุทธศักราช 2400 ในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ผู้ที่ยกที่ดินให้สร้างวัดคือ นายแก้ว และนางฉาย ประชาชนจึงร่วมกันสร้างวัดขึ้น ณ ที่ดินแห่งนี้และขนานนามวัดแห่งนี้ว่า “วัดแก้วสุริย์ฉาย” ในวัดประดิษฐาน หลวงพ่อขำ หลวงพ่อกลับ ซึ่งมีรูปหล่อของท่านทั้งสองอยู่ในศาลากลางวัด 

เผยแพร่เมื่อ 06-09-2019 ผู้เช้าชม 1,788