สาบแร้งสาบกา

สาบแร้งสาบกา

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้ชม 10,507

[16.4258401, 99.2157273, สาบแร้งสาบกา]

สาบแร้งสาบกา ชื่อสามัญ Goat Weed

สาบแร้งสาบกา ชื่อวิทยาศาสตร์ Ageratum conyzoides (L.) L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Ageratum obtusifolium Lam., Cacalia mentrasto Vell. Conc.) จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)

สมุนไพรสาบแร้งสาบกา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า หญ้าสาบแฮ้ง (เชียงใหม่), หญ้าสาบแร้ง (ราชบุรี), ตับเสือเล็ก (สิงห์บุรี) เทียมแม่ฮาง (เลย), เซ้งอั่งโซว (จีนแต้จิ๋ว), เซิ่งหงจี้ (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของสาบแร้งสาบกา

  • ต้นสาบแร้งสาบกา จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกและจัดเป็นวัชพืชอย่างหนึ่ง มีอายุเพียงปีเดียวก็ตาย ลำต้นมีลักษณะตรง แตกกิ่งก้านสาขา สูงได้ประมาณ 30-70 เซนติเมตร ทั้งต้นมีขนสีขาวปกคลุมอยู่ เมื่อเด็ดมาขยี้ดมจะมีกลิ่นเฉพาะตัว กิ่งก้านเป็นสีเขียวอมม่วงเล็กน้อย ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด เป็นพรรณไม้พื้นเมืองของอเมริกาเขตร้อน แต่ในปัจจุบันพบขึ้นทั่วไปตามที่รกร้างว่างเปล่าหรือตามริมถนนทั่วไป ในประเทศไทยพบได้ตามชายป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ทุ่งหญ้า และริมทาง
  • ใบสาบแร้งสาบกา ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ แต่ส่วนยอดของใบจะเรียงสลับกัน ก้านใบยาวประมาณ 7-26 มิลลิเมตร ลักษณะของใบเป็นรูปกลมมนรี ปลายใบแหลม โคนใบกลมมนหรือเว้าเข้าหากันเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบเป็นจักฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-5.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-13 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวและมีขนสั้น ๆ อ่อน ๆ ขึ้นปกคลุมอยู่ ยาวประมาณ 2-5 นิ้ว ก้านใบมีขนปกคลุมตลอดทั้งก้าน
  • ดอกสาบแร้งสาบกา ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบและบริเวณส่วนยอดของลำต้น ในช่อหนึ่งจะมีดอกขนาดเล็ก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-6 มิลลิเมตร และดอกย่อยอยู่อัดตัวกันแน่นเป็นจำนวนมาก ดอกเป็นสีฟ้า สีม่วงน้ำเงิน หรือสีขาว กลีบดอกมีขนาดเล็กเป็นหลอดเส้นๆ ปลายแหลม เรียงซ้อนกัน 2-3 ชั้น หลังกลีบดอกมีขนเล็กน้อย ส่วนปลายมีรอยแยกเป็น 5 กลีบ ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน อยู่ที่ใจกลางดอก
  • ผลสาบแร้งสาบกา ผลมีขนาดเล็กสีดำ ลักษณะของผลเป็นรูปคล้ายทรงกระบอกปลายแหลมเป็นเส้น มีร่อง 5 ร่อง

สรรพคุณของสาบแร้งสาบกา

  1. ทั้งต้นมีรสเผ็ดขม เป็นยาสุขุม ออกฤทธิ์ต่อปอดและหัวใจ ใช้เป็นยาขับพิษร้อนถอนพิษไข้ (ทั้งต้น)
  2. ใช้เป็นยาแก้หวัดตัวร้อน ให้ใช้ต้นสดประมาณ 70 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม (ต้น) ส่วนอีกวิธีใช้รักษาไข้หวัด ด้วยการใช้ใบสาบแร้งสาบกาสดประมาณ 60 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน ส่วนรากและทั้งต้นก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้เช่นกัน (ใบ, ราก, ทั้งต้น)
  3. ช่วยขับเสมหะ (ทั้งต้น)
  4. ใบนำมาคั้นเอาน้ำดื่ม ช่วยทำให้อาเจียน (ใบ)
  5. ชาวเขาเผ่าอีก้อ แม้ว และมูเซอ จะใช้รากและใบนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดศีรษะ รวมทั้งเป็นยาแก้ไข้ด้วย (รากและใบ)[3]
  6. น้ำคั้นจากใบใช้เป็นยาหยอดตาแก้ตาเจ็บ (ใบ)
  7. ใช้รักษาหูชั้นกลางอักเสบ ด้วยการใช้ยอดสดนำมาคั้นเอาแต่น้ำแล้วนำมาใช้หยอดหู (ใบ) แก้หูน้ำหนวก (ทั้งต้น)
  8. หากปากเป็นแผล ให้ใช้ใบสด 120 กรัม และกากเมล็ดชา 15 กรัม นำมาผสมกันแล้วตำพอก (ใบ)
  9. ใช้เป็นยาแก้คอเจ็บ คออักเสบปวดบวม ต่อมทอนซิลอักเสบ ทางเดินหายใจติดเชื้อ (ทั้งต้น), ตำรายารักษาคออักเสบ ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 30-60 กรัม นำมาล้างให้สะอาด แล้วคั้นเอาแต่น้ำผสมกับน้ำตาลกรวด ใช้รับประทานวันละ 3 ครั้ง (ใบ)
  10. สาบแร้งสาบกาทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาแก้ลม (ทั้งต้น)
  11. ใบใช้ทาภายนอก ช่วยแก้อาการท้องขึ้นอืดเฟ้อ (ใบ)
  12. ตำรับยาแก้ปวดกระเพาะ ปวดท้อง กระเพาะลำไส้อักเสบ จุกเสียดแน่นท้อง ให้ใช้ยาแห้งนำมาคั่วให้เหลือง แล้วบดให้เป็นผง ใช้ครั้งละ 1.5-2 กรัม นำมาชงกับน้ำดื่ม (ทั้งต้น)
  13. ส่วนชาวเขาเผ่าอีก้อ แม้ว และมูเซอ จะใช้รากและใบนำมาเคี้ยวกินหรือต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดท้อง อาหารเป็นพิษ อาหารไม่ย่อย รวมถึงโรคกระเพาะอาหาร (รากและใบ)
  14. ใช้เป็นยาแก้บิด (ทั้งต้น)
  15. รากใช้เป็นยายับยั้งการเจริญเติบโตของก้อนนิ่ว (ราก)
  16. ใช้เป็นยาขับนิ่วในไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (ทั้งต้น)
  17. ช่วยแก้ช่องท้องทวารหนักหย่อนยาน (ทั้งต้น)
  18. ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาขับระดูของสตรี (ทั้งต้น)
  19. ใช้เป็นยาแก้สตรีตกเลือด (ทั้งต้น)
  20. ใช้รักษาแผลฟกช้ำ แผลสด แผลถลอก มีเลือดออก ใช้เป็นยาห้ามเลือด ด้วยการใช้ยอดและใบนำมาตำแล้วพอกบริเวณที่เป็น (ใบ)
  21. ใช้รักษาแผลเรื้อรังที่เนื้อเยื่อเมือกบวมอักเสบ ด้วยการนำใบสดและยอดมาล้างน้ำให้สะอาด ผสมกับเกลือและข้าวหมัก ตำให้เข้ากัน ใช้พอกบริเวณที่เป็น (ใบ)
  22. รากและใบใช้ตำพอกและคั้นเอาน้ำเป็นยาแก้อาการอักเสบจากพิษงู ตะขาบ แมงป่อง หรือแมลง (รากและใบ)
  23. ใบใช้ตำพอกแก้อาการคัน ผดผื่นคัน (ใบ, ทั้งต้น)
  24. ใช้รักษาแผลเรื้อรังมีหนอง ฝี ด้วยการใช้ใบสดนำมาผสมกับน้ำตาลทรายแดงเล็กน้อย แล้วตำพอกบริเวณที่เป็น (ใบ) ส่วนวิธีใช้รักษาฝีหนองภายนอกอีกวิธี ให้ใช้ต้นสาบแร้งสาบกาสด, ต้นแบเกาจี้, จุ๋ยฉังฉิก นำมารวมกัน ใช้ตำพอกแผลที่เป็น โดยให้เปลี่ยนยาที่พอกวันละ 1 ครั้ง (ต้น)
  25. ช่วยรักษาตาปลาอักเสบ ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 120 กรัม และกากเมล็ดชา 15 กรัม นำมาผสมกันแล้วตำพอก (ใบ)
  26. ใบใช้ทาภายนอกเป็นยาแก้อาการปวดบวม (ใบ)
  27. ช่วยแก้อาการปวดข้อ ปวดกระดูก ด้วยการใช้ใบสดนำมาตำพอกบริเวณที่เป็น (ใบ)

ขนาดและวิธีใช้ : การใช้ตาม [2] ยาสดให้ใช้ครั้งละ 35-70 กรัม นำมาตำคั้นเอาน้ำรับประทาน หรือใช้ตำพอกรักษาแผลภายนอก ส่วนยาแห้งให้ใช้ครั้งละ 15-35 กรัม ถ้านำมาใช้ภายนอกให้นำมาบดเป็นผง ใช้โรยแผลตามต้องการ

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของสาบแร้งสาบกา

  • ทั้งต้นพบสารจำพวกน้ำมันระเหย Ageratochromene, มีกรดอินทรีย์, กรดอะมิโน, โพแทสเซียมคลอไรด์, อัลคาลอยด์, ฟลาโวนอยด์, coumarin, β-Sitosterol, friedelin, stigmasterol
  • สารสกัดจากทั้งต้นมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ Staphylococcus aureus
  • จากการทดลองในสัตว์ทดลองพบว่า สารสกัดแอลกอฮอล์และน้ำต้มจากทั้งต้นหรือรากมีฤทธิ์ระงับอาการปวด โดยมีความรุนแรงเท่ากับมอร์ฟีน แต่ควรมีการศึกษาวิจัยต่อไป

คำสำคัญ : สาบแร้งสาบกา

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). สาบแร้งสาบกา. สืบค้น 16 สิงหาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1791

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1791&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

บัวบก

บัวบก

บัวบก มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักหนอก (ภาคเหนือ), ผักแว่น (ภาคใต้), กะโต่ เป็นต้น จัดเป็นพืชสมุนไพรที่มีต้นกำเนิดในแถบเอเชีย เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก มีกลิ่นฉุน มีรสขมหวาน เมื่อพูดถึงบัวบก สมุนไพรชนิดนี้ขึ้นมาทีไร หลาย ๆ คนคงนึกไปว่ามันแค่ช่วยแก้อาการช้ำในเฉย ๆ (ส่วนอาการอกหักนี้ไม่เกี่ยวกันนะ) แต่ในความเป็นจริงแล้ว บัวบกหรือใบบัวบกนั้นมีสรรพคุณมากมาย เพราะได้รับการกล่าวขานเกี่ยวการรักษาโรคได้หลายชนิด อย่างโรคลมชัก โรคผิวหนัง ท้องเสีย ท้องอืด แผลในกระเพาะอาหาร มีฤทธิ์กล่อมประสาท ช่วยบำรุงสมอง เพิ่มความจำ ช่วยลดความอ่อนล้าของสมอง

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 2,739

กุยช่าย

กุยช่าย

กุยช่าย (Chinese Chive) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกผัก ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียกหัวซู ภาคอีสานเรียกหอมแป้น กูไฉ่ หรือผักแป้น เป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปกุยช่ายนั้นจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ กุยช่ายเขียว และกุยช่ายขาว โดยทั้งสองสายพันธุ์นี้ก็ไม่ได้แตกต่างอะไรกันเลย เพียงแต่จะต่างในเรื่องของการปลูกและดูแลรักษาเท่านั้น

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 2,637

ถั่วเหลือง

ถั่วเหลือง

ถั่วเหลือง (Soya Bean, Soybean) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเถา ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ถั่วหนัง, ถั่วเน่า, ถั่วพระเหลือง หรือถั่วแระ เป็นต้น ซึ่งถั่วเหลืองนั้นถือได้ว่าเป็นพืชที่มีความสำคัญชนิดหนึ่งของโลกกันเลยก็ว่าได้ เนื่องจากเป็นพืชที่ถือกำเนิดและรู้จักกันมาอย่างยาวนานประมาณกว่า 4,700 ปีเลยทีเดียว โดยมีแหล่งกำเนิดอยู่ในประเทศจีน ส่วนของไทยเรานิยมปลูกมากทางภาคเหนือและภาคกลางตอนบน

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 3,962

แคดอกแดง

แคดอกแดง

แคดอกแดง (Cork Wood Tree) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคกลางเรียกแค หรือแคบ้านดอกแดง ส่วนเชียงใหม่เรียกแคแดง เป็นต้น แคดอกแดงนี้เป็นไม้พื้นบ้านเนื้ออ่อน นิยมนำมาปลูกเพื่อเป็นรั้วบ้านเรือน สามารถปลูกได้ในทุกพื้นที่ สามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยเมล็ดที่แก่จัด และจะยืนต้นตายมีอายุได้ไม่นาน

เผยแพร่เมื่อ 30-04-2020 ผู้เช้าชม 10,513

เห็ดเข็มทอง

เห็ดเข็มทอง

หากเอ่ยถึงเห็ดเหมันต์ หลายคนอาจเริ่มขมวดคิ้วเข้าหากันและสงสัยว่ามันคือเห็ดอะไร แต่หากพูดถึงเห็ดเข็มทอง เชื่อว่าแทบทุกคนต้องร้องอ๋อรู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะในปัจจุบันเรียกว่าเห็ดชนิดนี้เป็นที่นิยมบริโภคกันเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีรสชาติดีอร่อยกรุบกรอบในปาก และยังสามารถนำมาประกอบอาหารรับประทานได้หลากหลาย

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 5,778

ผักปลาบช้าง

ผักปลาบช้าง

ผักปลาบช้าง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นตั้งตรง ส่วนโคนของลำต้นจะทอดราบกับพื้นก่อน แล้วจึงชูตั้งขึ้น ลำต้นมีลักษณะเป็นข้อปล้อง ลำต้นอ่อนเป็นสีเขียวเมื่อแก่เป็นสีม่วงอ่อน ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่ชอบความชุ่มชื้น ดินที่ปลูกจึงควรมีความชื้นให้มาก ในประเทศไทยพบได้ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมักพบขึ้นตามที่ชุ่มชื้นหรือลุ่มน้ำขังบริเวณชายป่าดิบที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,000-1,800 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 2,133

จิงจ้อเหลือง

จิงจ้อเหลือง

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นไม้เถา ขนาดเล็ก  ลำต้นกลม เกลี้ยง หรือตามกิ่งก้านมีขนแข็งสีขาว หรือสีน้ำตาลปนเหลืองกระจายทั่ว  ใบรูปกลม กว้าง ยาว โคนใบรูปหัวใจ ขอบใบจักเป็นแฉกรูปพัด 5-7 แฉก เป็นรูปสามเหลี่ยมกว้าง หรือรูปหอกปลายแหลมหรือมน มีติ่งสั้น ขอบแฉกจักเป็นซี่ฟันหยาบ ๆ หรือเว้าตื้น ๆ หรือค่อนข้างเรียบ มีขนกระจายหนาแน่นทั้ง 2 ด้าน ก้านใบยาว 2-15 ซม. มีขนกระจายหรือเกลี้ยง ดอกออกเป็นช่อตามง่ามใบมี 1-3 หรือหลายดอก ก้านช่อดอกยาว 1-15 ซม. หรือยาวกว่านี้ ก้านดอกยาว 8-20 มม.  เมื่อเป็นผลจะใหญ่ขึ้นเป็นรูปกระบองใบประดับแหลมเรียว ยาว 1.5-2 มม. กลีบรองดอกรูปขอบขนาน หรือแหลม มีติ่งสั้น กลีบที่อยู่ด้านนอกมีขนแข็งหรือเกลี้ยงกลีบอยู่ด้านใน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,726

ผักขี้หูด

ผักขี้หูด

ต้นผักขี้หูด จัดเป็นไม้ล้มลุกมีอายุ 1 ปี หรือ 2 ปี ลำต้นตั้งตรง มีขนแข็งปกคลุมเล็กน้อย ต้นขึ้นเป็นกอเหมือนกับผักกาดเขียว มีความสูงได้ประมาณ 30-100 เซนติเมตร ลำต้นเป็นรูปทรงกลมหรือทรงกระบอก ส่วนกลางของลำต้นจะกลวง ก้านใบแทงขึ้นจากดิน โดยเป็นผักพื้นบ้านทางภาคเหนือ ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ชอบขึ้นในที่มีอากาศหนาวเย็นหรือที่มีความชุ่มชื้น หาพบในภาคอื่นได้น้อยมาก ส่วนทางภาคอีสานก็พบได้เฉพาะบนภูสูงเท่านั้น ดังนั้นผักชนิดนี้จึงเป็นที่รู้จักและใช้กันอย่างกว้างขวางทางภาคเหนือ

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 18,299

มะขามเทศ

มะขามเทศ

สำหรับประโยชน์ของมะขามเทศนั้นมีมากมาย เพราะประกอบไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์หลายชนิด เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก โปรตีน เส้นใย เป็นต้น และยังถือว่ามะขามเทศนั้นเป็นสมุนไพรไทยอีกชนิดหนึ่งด้วย เพราะคนโบราณนิยมนำมาใช้รักษาโรคปากนกกระจอกเทศนั่นเอง และยังช่วยบรรเทาอาการปวดฟันได้อีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 1,510

มะลิลา

มะลิลา

มะลิลาเป็นไม้พุ่ม บางพันธุ์เป็นไม้รอเลื้อย สูง 0.3-3 เมตร ใบเรียงตรงข้าม เป็นใบประกอบชนิดที่มีใบย่อย ใบเดี่ยว รูปไข่ กว้าง 3-6 ซม. ยาว 5-10 ซม. ดอกดอกเป็นช่อเล็ก ๆ มีทั้งดอกลาและดอกซ้อน ดอกสีขาว โคนดอกติดกันเป็นหลอด สีเขียวอมเหลือง ดอกกลางบานก่อน กลีบเลี้ยงแยกเป็นส่วน 7-10 ส่วน มีขนละเอียด ยาว 2 1/2-7ซม. โคนกลีบดอกเชื่อมเป็นหลอด ยาว 7-15 มม. ส่วนปลายแยกเป็นส่วนรูปไข่ แกมรี สีขาว อาจมีสีม่วงด้านนอกหรือเมื่อดอกร่วงยาว 8-15 มม. ดอกอาจซ้อนหรือลา

เผยแพร่เมื่อ 27-05-2020 ผู้เช้าชม 3,393