ผักกูด

ผักกูด

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้ชม 10,885

[16.4258401, 99.2157273, ผักกูด]

ผักกูด ชื่อสามัญ Paco fern, Small vegetable fern, Vegetable fern

ผักกูด ชื่อวิทยาศาสตร์ Diplazium esculentum (Retz.) Sw. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Athyrium esculentum (Retz.) Copel.) จัดอยู่ในวงศ์ ATHYRIACEAE

สมุนไพรผักกูด มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า ผักกูดขาว (ชลบุรี), หัสดำ (นครราชสีมา, สุราษฎร์ธานี), กูดน้ำ (แม่ฮ่องสอน), ไก้กวิลุ ปู่แปลเด๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), แลโพโด้ แหละโพะโด้ะ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), แทรอแปล๊ะ (กะเหรี่ยงแดง), หย่ายจ๊วด (เมี่ยน), เหล้าชั้ว (ม้ง), บ่ะฉ้อน (ลั้วะ), ร่านซู้ล (ขมุ), กูดคึ (ภาคเหนือ), ผักกูด (ภาคกลาง), กูดกิน เป็นต้น

รู้จักกับผักกูด : ผักกูดหรือกูดกิน ความจริงแล้วผักกูดไม่ได้เป็นพืชผัก แต่เป็นพืชที่เป็นเฟิร์นชนิดหนึ่งที่สามารถนำมารับประทานเป็นผักได้ เป็นพืชที่มีลำต้นเป็นเหง้าแบบตั้งตรง ต้นเมื่อมีอายุน้อยมักจะเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว เมื่ออายุมากขึ้นจะพบว่าเป็นใบประกอบแบบสองชั้น โดยส่วนที่นำมาปรุงเป็นอาหารก็คือส่วนของ ฟรอนด์ (Frond) หรือก้านใบใหม่ที่โผล่ขึ้นมาจากลำต้น มีส่วนปลายม้วนงอ และส่วนปลายนี้แหละจะค่อย ๆ พัฒนาไปเป็นใบอ่อนและใบแก่ตามลำดับ แต่จะนิยมรับประทานฟรอนด์อ่อนๆ ซะมากกว่า นอกจากนี้ผักกูดยังมีอยู่ด้วยกันอีกหลายชนิด และเกือบทุกชนิดสามารถนำมารับประทานได้ แต่บางชนิดยอดใบจะมีรสขมมาก บางชนิดมีขนสีน้ำตาลปกคลุมตามต้น และแต่ละชนิดก็มีรสชาติที่แตกต่างกันออกไป นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณทางยาที่แตกต่างกันออกไปด้วย

ลักษณะของผักกูด

  • ต้นผักกูด จัดเป็นเฟิร์นขนาดใหญ่ที่มีเหง้าตั้งตรง และมีความสูงมากกว่า 1 เมตรขึ้นไป เหง้าปกคลุมไปด้วยใบเกล็ด เกล็ดมีขนาดกว้างประมาณ 1 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 1 เซนติเมตร เกล็ดมีสีน้ำตาลเข้มถึงสีดำ ขอบใบเกล็ดหยักเป็นซี่ โดยเฟิร์นชนิดนี้มักจะขึ้นหนาแน่นตามชายป่าที่มีแดดส่องถึง ในบริเวณที่ลุ่มชุ่มน้ำ ตามริมลำธาร บริเวณต้นน้ำ หนองบึง ชายคลอง ในที่ที่มีน้ำขังแฉะและมีอากาศเย็น รวมไปถึงในพื้นที่เปิดโล่ง หรือในที่ที่มีร่มเงาบ้าง และจะเจริญเติบโตได้ดีบริเวณที่ชื้นแฉะ มีความชื้นสูง เติบโตในช่วงฤดูฝน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เหง้า ใช้สปอร์ หรือไหล มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ในเขตร้อนทั่วไปของเอเชีย ไล่ตั้งแต่ภาคกลางของประเทศจีน ภาคใต้ของญี่ปุ่น ไปจนถึงหมู่เกาะแปซิฟิก ส่วนในประเทศไทยบ้านเราจะพบผักกูดได้ทั่วไปแทบทุกภูมิภาคในที่มีสภาพดินไม่แห้งแล้ง 
  • ใบผักกูด ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น มีความยาวได้มากกว่า 1 เมตรและกว้างได้ถึง 50 เซนติเมตร ใบมีสีเขียวอ่อน แม้แก่จะมีสีเขียวเข้ม มีใบย่อย 1-2 คู่ล่างจะเล็กกว่าใบย่อยที่อยู่ช่วงกลาง ซึ่งมีขนาดใหญ่ได้ถึง 25 เซนติเมตร ช่วงขนาดสอบเล็กลงทันทีเป็นหลายแหลม ส่วนใบย่อยชั้นกลางจะมีใบที่มีขนาดใหญ่กว่า มีก้านสั้นหรือกึ่งไม่มีก้าน โคนใบมีลักษณะเว้าเป็นรูปหัวใจหรือเป็นติ่งหู ปลายสอบแหลมมีขนาด 2.5 เซนติเมตร ขอบหยัก ลึกประมาณ 1 ใน 4 ของระยะถึงเส้นกลางใบ ปลายเป็นรูปมน ขอบเป็นฟันเลื่อย เนื้อใบมีลักษณะบางคล้ายกระดาษ มีเส้นใบแตกแขนงแบบขนนก มีปลายเส้นถึง 10 คู่ กลุ่มสปอร์จะอยู่ใกล้และยาวตลอดความยาวของเส้นใบส่วนปลาย ส่วนก้านใบยาวประมาณ 70 เซนติเมตร 

คุณค่าทางโภชนาการของผักกูด ต่อ 100 กรัม

สมุนไพรผักกูด ในส่วนที่รับประทานได้ จะให้พลังงาน 19 กิโลแคลอรี เส้นใยอาหาร 1.4 กรัม ธาตุแคลเซียม 5 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 36.3 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 35 มิลลิกรัม นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 และวิตามินบี 3 ค่อนข้างสูง 

สรรพคุณของผักกูด

  1. ช่วยเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันและช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ (ใบ)
  2. ผักกูดอุดมไปด้วยธาตุเหล็กและเบตาแคโรทีน การรับประทานผักกูดร่วมกับเนื้อสัตว์จะช่วยทำให้ร่างกายดูดซึมแร่ธาตุต่าง ๆ ได้ดีขึ้น และยังช่วยบำรุงร่างกายอีกด้วย (ใบ)
  3. ใบผักกูดนำมาต้มเป็นน้ำดื่ม ช่วยแก้ไข้ตัวร้อน (ใบ)
  4. ผักกูดเป็นผักที่มีคุณสมบัติช่วยดับร้อน ทำให้ร่างกายปรับสภาพอุณหภูมิให้เข้ากับฤดูได้
  5. ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเม็ดเลือด (ใบ)
  6. ช่วยบำรุงโลหิต เนื่องจากผักกูดเป็นผักที่มีธาตุเหล็กมากที่สุดเป็นอันดับ 1 (ใบ)
  7. ช่วยแก้โรคโลหิตจาง (ใบ)
  8. ช่วยบำรุงสายตา (ใบ)
  9. ช่วยลดความดันโลหิตสูง (ใบ)
  10. ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันได้ (ใบ)
  11. ผักกูดเป็นผักที่มีเส้นใยอาหารสูงมาก จึงช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างดี (ใบ)
  12. ช่วยขับปัสสาวะ (ใบ)
  13. ช่วยแก้พิษอักเสบ (ใบ)

ประโยชน์ของผักกูด

  • ผักกูด เป็นผักที่มีรสจืดอมหวานและกรอบ ยอดอ่อนและใบอ่อนนิยมนำมาบริโภค โดยนำมาปรุงเป็นอาหารได้อย่างหลากหลาย ด้วยการนำมายำ ผัด ทำเป็นแกงจืด แกงเลียง แกงส้ม แกงแคร่วมกับผักชนิดต่าง ๆ ต้มกะทิ ฯลฯ ส่วนเมนูผักกูดก็เช่น ยำผักกูด ผักกูดผัดน้ำมันหอย แกงจืดผักกูดหมูสับ ไข่เจียวผักกูด ผัดกับไข่หรือแหนม นำมาแกงกับปลาน้ำจืด ทำเป็นแกงกะทิกับปลาย่าง หรือนำมาราดด้วยน้ำกะทิรับประทานร่วมกับน้ำพริกหรือแกงรสจืด ส่วนชาวอีสานจะรับประทานยอดสดร่วมกับลาบ ก้อย ยำ ส้มตำ ปลาป่น หรือจะนำไปดัดแปลงเป็นเมนูอื่น ๆ ก็ทำได้ไม่ยาก นอกจากนี้ยังนิยมนำมาใช้ลวกหรือต้มให้สุก จิ้มกินกับน้ำพริก ใช้เป็นผักจิ้มกินกับน้ำพริกตาแดง น้ำพริกถั่ว หรือน้ำพริกต่าง ๆ แต่จะไม่นิยมนำมารับประทานแบบสด ๆ เพราะจะมียางเป็นเมือกอยู่ที่ก้าน โดยในช่วงหน้าแล้งผักกูดจะมีรสชาติอร่อยกว่าฤดูอื่น ๆ
  • ในปัจจุบันมีการเก็บผักกูดไว้ขายส่งไปญี่ปุ่น โดยชาวญี่ปุ่นจำนำผักกูดไปดองกับเกลือไว้รับประทาน หรือที่เรียกว่า "วาราบิ"
  • ต้นผักกูด สามารถใช้เป็นดัชนีเพื่อชี้วัดความสมบูรณ์ของสภาพแวดล้อมได้ ถ้าหากบริเวณไหนมีอากาศไม่ดี หรือดินไม่บริสุทธิ์ หรือมีสารเคมีเจือปนอยู่ ผักกูดจะไม่เจริญหรือแตกต้นในบริเวณนั้น เพราะผักกูดจะขึ้นเฉพาะในพื้นที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ ดินสมบูรณ์และไม่มีสารเคมีเจือปน

    ข้อควรระวัง : ไม่ควรรับประทานผักกูดแบบดิบๆ หรือแบบสดๆ เนื่องจากผักกูดมีสารออกซาเลตในปริมาณที่สูง อาจทำให้ไตอักเสบและทำให้เป็นนิ่วได้ จึงควรนำไปต้มหรือปรุงให้สุกก่อนการนำมารับประทาน

 

คำสำคัญ : ผักกูด

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ผักกูด. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1688

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1688&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

มะปราง

มะปราง

มะปราง มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย ลาว พม่า และมาเลเซีย จัดเป็นไม้ผลที่มีทรงของต้นค่อนข้างแหลมถึงทรงกระบอก มีรากแก้วที่แข็งแรง มีกิ่งก้านสาขาค่อนข้างทึบ ลำต้นสูงประมาณ 15-30 เมตร ลักษณะของใบมะปรางจะคล้ายใบมะม่วงแต่มีขนาดเล็กกว่า และใบเป็นใบเรียวยาว มีสีเขียว ขอบใบเรียบ แผ่นใบเหนียว มีเส้นใบเห็นเด่นชัด ใบอ่อนมีสีม่วงแดง ยาวประมาณ 14 เซนติเมตร กว้างประมาณ 3.5 เซนติเมตร ส่วนดอกมะปราง จะออกดอกเป็นช่อ ออกบริเวณปลายกิ่งแขนง ดอกเมื่อบานจะมีสีเหลือง เป็นดอกสมบูรณ์เพศ และช่อดอกจะยาวประมาณ 8-15 เซนติเมตร

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 11,737

ฟักแม้ว

ฟักแม้ว

ฟักแม้ว หรือต้นมะระหวาน จัดเป็นเถาไม้เลื้อย ลักษณะทั่วไปจะคล้ายกับพืชที่อยู่ในตระกูลแตง แต่มีลักษณะหลายอย่างที่แตกต่างกัน เช่น ลักษณะของลำต้น ใบ ยอด และมือจับ คล้ายต้นแตงกวาผสมฟักเขียว มีระบบรากสะสมขนาดใหญ่ ลำต้นฟักแม้วมีลักษณะเป็นเหลี่ยม เจริญเป็นเถา มีความยาวประมาณ 15-30 ฟุต มีเถาแขนง 3-5 เถา มีมือเกาะเจริญที่ข้อ

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 6,403

ข่อย

ข่อย

ลักษณะเป็นต้นไม้ขนาดเล็กหรือกลาง เปลือกขรุขระ ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่กลับ หรือรูปรี โนสอบ ขอบใบหยัก ดอกสีเหลืองแกมเขียวออกเป็นช่อสั้น ผลเป็นผลสดทรงกลมเมื่อสุกสีเหลือง ฉ่ำน้ำ ประโยชน์ เปลือกต้น แก้ท้องร่วง บิด รำมะนาด ปวดฟัน โรคผิวหนัง รักษาแผลเมล็ดบำรุงธาตุเจริญอาหาร ขับลม  แก่น ม้วนบุหรี่สูบรักษาริดสีดวงจมูก เปลือกต้ม ต้มน้ำดื่ม แก้ไข้

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,745

ตะลิงปลิง

ตะลิงปลิง

ตะลิงปลิง (Bilimbi, Cucumber Tree) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกไม้ยืนต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคใต้เรียก หลิงปริง หรือกะลิงปริง ส่วนชาวมลายูเรียก บลีมิง เป็นต้น ซึ่งต้นตะลิงปลิงนั้นเป็นพืชในวงศ์เดียวกับมะเฟือง แต่ตะลิงปลิงนั้นจะมีผลเล็กกว่ามะเฟืองอย่างชัดเจน โดยมีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบชายฝั่งทะเลของประเทศบราซิล เป็นพืชสมุนไพรที่นิยมปลูกกัน เนื่องจากลำต้นมีความสวยงาม และต้นตะลิงปลิงนั้นเป็นพืชที่อยู่ในเขตร้อน เป็นพืชสมุนไพรที่ปลูกเลี้ยงง่าย สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย เพราะระบายน้ำดี แต่ไม่ชอบน้ำท่วมขัง และขยายพันธุ์ได้จากการเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง แต่การเพาะเมล็ดจะได้ต้นที่สูงใหญ่กว่าการตอนกิ่ง

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 2,733

ผักปลาบช้าง

ผักปลาบช้าง

ผักปลาบช้าง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นตั้งตรง ส่วนโคนของลำต้นจะทอดราบกับพื้นก่อน แล้วจึงชูตั้งขึ้น ลำต้นมีลักษณะเป็นข้อปล้อง ลำต้นอ่อนเป็นสีเขียวเมื่อแก่เป็นสีม่วงอ่อน ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่ชอบความชุ่มชื้น ดินที่ปลูกจึงควรมีความชื้นให้มาก ในประเทศไทยพบได้ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมักพบขึ้นตามที่ชุ่มชื้นหรือลุ่มน้ำขังบริเวณชายป่าดิบที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,000-1,800 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 2,063

ยอเถื่อน

ยอเถื่อน

ลักษณะทั่วไป  เป็นไม้ยืนต้น สูง 15 เมตร  ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรี  กว้าง 5-10 ซม. ยาว 10-20 ซม. หูใบอยู่ระหว่างก้านใบ ดอกช่อ ออกเป็นก้อนทรงกลมที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว ผลเป็นผลรวม รูปกลม  การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดประโยชน์    สมุนไพร ตำรายาไทยใช้ ราก แก้เบาหวาน แก่นต้มน้ำดื่ม บำรุงเลือด ผลอ่อน แก้อาเจียน ผลสุก ขับระดู ขับลม ใบ อังไฟพอ ตายนึ่งปิดหน้าอก หน้าท้อง แก้ไอ แก้จุกเสียด หรือตำพอกศีรษะฆ่าเหา

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,306

คันทรง

คันทรง

คันทรง จัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลางกึ่งไม้เลื้อย ลำต้นตั้งตรงและมีความสูงของต้นประมาณ 2-3 เมตร บ้างว่าสูงได้ประมาณ 1-9 เมตร แตกกิ่งก้านมากตั้งแต่โคนต้น กิ่งก้านมีขนาดเล็กกลมสีเขียว กิ่งก้านสีเขียวเข้มเป็นมัน เปลือกต้นเป็นสีเทา มีรอยแตกเป็นร่องตื้นๆ ถี่ๆ และตามลำต้นจะมีตาที่ทิ้งใบเป็นตุ่มห่างๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและวิธีการปักชำลำต้น มักขึ้นเองตามป่าราบ ป่าดงดิบ ป่าละเมาะ หรือที่รกร้างข้างทางทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 3,714

คำฝอย

คำฝอย

คำฝอยเป็นไม้ล้มลุก ลำต้นสูงประมาณ 40-130 ซม. มีลำต้นเป็นสัน แตกกิ่งก้านสาขามาก เป็นใบเดี่ยว ลักษณะแบบเรียงสลับ รูปทรงรี ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย บริเวณปลายเป็นหนามแหลม ออกดอกเป็นช่อ ดกช่อ ออกดอกที่ปลายยอด และมีดอกย่อยขนาดเล็กๆ จำนวนมาก เมื่อบานใหม่ๆ กลีบดอกมีสีเหลือง แล้วจึงค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีแดง ใบประดับแข็งเป็นหนามคอยรองรับช่อดอก ส่วนผลแห้ง ไม่แตก เมล็ดรูปทรงสามเหลี่ยมเล็กเป็นสีขาว

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 2,054

คันทรง

คันทรง

ต้นคันทรง จัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลางกึ่งไม้เลื้อย ลำต้นตั้งตรงและมีความสูงของต้นประมาณ 2-3 เมตร บ้างว่าสูงได้ประมาณ 1-9 เมตร แตกกิ่งก้านมากตั้งแต่โคนต้น กิ่งก้านมีขนาดเล็กกลมสีเขียว กิ่งก้านสีเขียวเข้มเป็นมัน เปลือกต้นเป็นสีเทา มีรอยแตกเป็นร่องตื้น ๆ ถี่ ๆ และตามลำต้นจะมีตาที่ทิ้งใบเป็นตุ่มห่าง ๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและวิธีการปักชำลำต้น มักขึ้นเองตามป่าราบ ป่าดงดิบ ป่าละเมาะ หรือที่รกร้างข้างทางทั่วไป โดยจะพบได้มากทางภาคเหนือ บ้างว่าพบได้มากตามชายทะเลหรือชายหาดหินปูน

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 1,642

หนามโค้ง

หนามโค้ง

หนามโค้ง จัดเป็นพรรณไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น มีเนื้อไม้แข็ง มีหนามแหลมโค้งเป็นคู่ทั่วทั้งลำต้น เปลือกเถาเป็นสีน้ำตาล ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมน โคนใบเบี้ยว แผ่นใบบาง ใบย่อยนั้นมีขนาดเล็ก ออกดอกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกเป็นสีเหลือง กลีบดอกมี 4 กลีบ และมีกลีบเลี้ยงดอก 4 กลีบ ผลมีลักษณะเป็นฝักแบน ปลายฝักแหลม โคนฝักแหลม ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 4-6 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะแบน

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 3,808