ม่อนไข่

ม่อนไข่

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้ชม 12,351

[16.4258401, 99.2157273, ม่อนไข่]

ม่อนไข่ ชื่อสามัญ Canistel, Egg fruit, Tiesa, Yellow sapote, Canistelsapote, Chesa (ฟิลิปปินส์), Laulu lavulu หรือ Lawalu (ศรีลังกา)
ม่อนไข่ ชื่อวิทยาศาสตร์ Pouteria campechiana (Kunth) Baehni (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Lucuma campechiana Kunth) จัดอยู่ในวงศ์พิกุล (SAPOTACEAE)
สมุนไพรม่อนไข่ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ลูกท้อพื้นบ้าน (ราชบุรี), ท้อเขมร (ปราจีนบุรี), ทิสซา (เพชรบูรณ์)[3],[4], เซียนท้อ เขมา ละมุดเขมร ละมุดสวรรค์ หมากป่วน โตมา (กรุงเทพฯ)

ลักษณะของต้นม่อนไข่
       ต้นม่อนไข่ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงโดยทั่วไปไม่เกิน 8 เมตร และอาจสูงได้ถึง 27-30 เมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นประมาณ 1 เมตร ลำต้นมียางสีขาวๆ ที่กิ่งอ่อนเป็นสีน้ำตาล[1],[2] ผลไม้ม่อนไข่ เป็นผลไม้พื้นเมืองที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ (ประเทศเม็กซิโก) และในอเมริกาใต้ (ประเทศเบลีซ, กัวเตมาลา, คอสตาริกา, เอลซัลวาดอร์, ฮอนดูรัส, ปานามา, นิการากัว)
       ใบม่อนไข่ ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม ยาวประมาณ 11.25-28 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4-7.5 เซนติเมตร ใบเป็นมันและบาง
       ดอกม่อนไข่ ดอกมีสีครีมและมีกลิ่นหอม
       ผลม่อนไข่ ผลมีลักษณะเป็นกลมรูปรี ปลายผลมีหลายแหลมหรือจะงอย ผลมีขนาดกว้างประมาณ 5-7.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 7.5-12.5 เซนติเมตร ผลเมื่อสุกจะเป็นสีเหลืองอ่อน เปลือกผลบาง เนื้อในผลเป็นสีเหลืองสดน่ารับประทาน เนื้อมีลักษณะเหนียวคล้ายกับแป้งทำขนม เนื้อนิ่มคล้ายกับไข่แดง (จึงเป็นที่มาของชื่อ Egg fruit) ภายในผลมีเมล็ดขนาดใหญ่ และมีลักษณะเป็นรูปรีสีดำ รสหวาน

สรรพคุณของม่อนไข่
1. เปลือกของต้นม่อนไข่ใช้เป็นยารักษาอาการไข้ ตัวร้อน (เปลือกต้น)
2. ผลสุกใช้รับประทาน ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน (ผล)
3. เมล็ดใช้เป็นยาสำหรับช่วยรักษาแผลเน่าเปื่อย (เมล็ด)
4. ช่วยรักษาผดผื่นคัน (เปลือกต้น)

ประโยชน์ของม่อนไข่
1. ผลม่อนไข่นิยมใช้รับประทานเป็นผลไม้สด เห็นว่าอร่อยนัก ชาวฟลอริดานิยมรับประทานร่วมกับเกลือ พริกไทย มายองเนส หรือน้ำมะนาว
2. นอกจากผลจะใช้รับประทานสดแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ทำเป็นขนมได้อีก เช่น แพนเค้ก แยม คัสตาร์ด ทาร์ต ใช้อบให้สุก หรือนำมาใช้ผสมกับนมหรือโยเกิร์ต เป็นต้น
3. เนื้อไม้ของต้นม่อนไข่มีความละเอียดและแข็งแรง สามารถนำมาใช้ทำเป็นไม้กระดานหรือใช้ในงานก่อสร้างต่าง ๆ ได้

คำสำคัญ : ม่อนไข่

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ม่อนไข่. สืบค้น 30 มิถุนายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1672

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1672&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

กระเช้าถุงทอง

กระเช้าถุงทอง

ต้นกระเช้าถุงทองเป็นไม้เถาล้มลุก ทอดเลื้อยไปตามพื้นและเกี่ยวต้นไม้อื่น ลำต้น มีขนละเอียด ใบกระเช้าถุงทองใบเดี่ยวเรียงสลับรูปไข่กว้างหรือแยกเป็น 3 แฉกแฉกยาวไม่ถึงกึ่งหนึ่งของความยาวใบใบยาว 11-12 เซนติเมตร ปลายใบแหลม หรือมน ปลายแฉกด้านข้างมน โคนใบรูปหัวใจตื้นๆแผ่นใบมีขนและต่อมทั้งสองด้าน เส้นโคนใบ 3 เส้นก้านใบยาว 5-5.2 เซนติเมตร มีขนละเอียด

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 2,387

กรดน้ำ

กรดน้ำ

ต้นกรดน้ำเป็นพรรณไม้ล้มลุกอายุ 2 ปี ลำต้นตั้งตรง มีความสูงได้ประมาณ 30-80 เซนติเมตร เป็นพุ่ม แตกกิ่งแผ่สาขามาก ลำต้นมีลักษณะเป็นเหลี่ยมไม่มีขน กิ่งเล็กเรียว ใบกรดน้ำใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามหรือเป็นวงรอบข้อ ข้อละ 3-4 ใบ แผ่นใบมีขนาดเล็กเป็นสีเขียว ลักษณะของใบเป็นรูปรูปรีเรียว รูปใบหอกแกมรูปไข่ หรือรูปไข่แกมรูปสีเหลี่ยมข้าวหลามตัด ปลายใบแหลม โคนใบเรียวสอบ ส่วนขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยตรงส่วนใกล้โคนใบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-15 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 5-35 มิลลิเมตร ท้องใบมีต่อม ก้านใบสั้นมากหรือแทบไม่มี

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,637

เจตมูลเพลิงขาว

เจตมูลเพลิงขาว

เจตมูลเพลิงขาว (White Leadwort, Ceylon Leadwort) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ปิดปิวขาว ภาคอีสานเรียก ปี่ปีขาว ส่วนชาวกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอนเรียก ตอชุวา ชาวจีนแต้จิ๋วเรียก แปะฮวยตัง และชาวจีนกลางเรียก ป๋ายฮัวตาน เป็นต้น มีการกระจายพันธุ์ในเขตร้อน โดยในประเทศไทยส่วนใหญ่มักพบได้มากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งมีการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 1,305

ผักหนอก

ผักหนอก

ผักหนอก จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุได้หลายปี มีความสูงได้ประมาณ 15-40 เซนติเมตร กิ่งก้านชูตั้งขึ้น ส่วนลำต้นมีลักษณะฉ่ำน้ำ เกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบได้ในเอเชียเขตร้อน จีน ญี่ปุ่น จนถึงออสเตรเลีย ส่วนในประเทศไทยพบได้ทุกภาค มักขึ้นตามที่ชื้นแฉะ และตามชายป่า จนถึงระดับความสูงประมาณ 2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 5,399

ชิงชัน

ชิงชัน

ชิงชัน (Tamalin, Rosewood, Black-wood) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคอีสานเรียก ประดู่ชิงชัน ส่วนภาคเหนือเรียก เกิดแดง เป็นต้น และที่สำคัญคือต้นชิงชันนี้เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดหนองคายอีกด้วย ซึ่งต้นชิงชันนี้จะทำการขยายพันธุ์โดยเมล็ด เป็นไม้กลางแจ้ง ส่วนใหญ่อยู่ในป่าดิบแล้ง หรือป่าเบญจพรรณทั่วไป โดยสามารถเจริญเติบโตได้ดีกับดินทุกชนิดในทุกภาคของประเทศไทย, ลาว และพม่า ยกเว้นในภาคใต้ของไทยเท่านั้นที่ไม่สามารถกระจายพันธุ์ของชิงชันได้ นอกจากนี้จะเห็นได้ว่าต้นชิงชันมักจะเจริญอยู่ร่วมกับไม้ไผ่และไม้สักหรือในป่าเต็งรังด้วย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 24,365

มะขามป้อม

มะขามป้อม

มะขามป้อม ชื่อทางวิทยาศาสตร์ Phyllanthus emblica Linn. วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับมะขามป้อกันนะครับมะขามป้อมถือเป็นที่รู้จักกันดีในวงการการแพทย์ด้วยสรรพคุณที่หลากหลายกับนานาคุณประโยชน์ ลักษนะของมะขามป้อม ผลสด เป็นผลกลมเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2cmในปัจจุบันนี้มีมะขามป้อมพันธ์ยักษ์ซึ่งขนาดผลใหญ่กว่าผลปกติ2-3เท่าในมะขามป้อมมี สารอะนุมูลอิสระ อุดมไปด้วยวิตามินA B3 Cและยังมีสารอาหารจำพวก แคลเซียม คาร์โบไฮเดรต ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,812

มะปราง

มะปราง

มะปราง มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย ลาว พม่า และมาเลเซีย จัดเป็นไม้ผลที่มีทรงของต้นค่อนข้างแหลมถึงทรงกระบอก มีรากแก้วที่แข็งแรง มีกิ่งก้านสาขาค่อนข้างทึบ ลำต้นสูงประมาณ 15-30 เมตร ลักษณะของใบมะปรางจะคล้ายใบมะม่วงแต่มีขนาดเล็กกว่า และใบเป็นใบเรียวยาว มีสีเขียว ขอบใบเรียบ แผ่นใบเหนียว มีเส้นใบเห็นเด่นชัด ใบอ่อนมีสีม่วงแดง ยาวประมาณ 14 เซนติเมตร กว้างประมาณ 3.5 เซนติเมตร ส่วนดอกมะปราง จะออกดอกเป็นช่อ ออกบริเวณปลายกิ่งแขนง ดอกเมื่อบานจะมีสีเหลือง เป็นดอกสมบูรณ์เพศ และช่อดอกจะยาวประมาณ 8-15 เซนติเมตร

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 11,581

ผักกาดหอม

ผักกาดหอม

ต้นผักกาดหอม ลักษณะของลำต้นในระยะแรกมักจะมองไม่เห็น เพราะใบมักปกคลุมไว้ แต่จะเห็นได้ชัดเมื่อถึงระยะแทงช่อดอก ลำต้นมีลักษณะเป็นข้อสั้น โดยแต่ละข้อจะเป็นที่เกิดของใบ ลักษณะของลำต้นจะค่อนข้างอวบอ้วนและตั้งตรงสูงชะลูดขึ้นจนสามารถมองเห็นได้ชัดเจน หากปลูกในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์มากๆ ลำต้นอาจมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางได้ถึง 2 นิ้ว

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 8,490

ขนุน

ขนุน

ขนุน (Jackfruit) เป็นผลไม้และพืชสมุนไพรจำพวกต้นขนาดใหญ่ ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียกมะหนุน เขมรเรียกขะเนอ ภาคอีสนเรียกหมักมี้ กะเหรี่ยงเรียกนะยวยซะ จันทร์บุรีเรียกขะนู ปัตตานีเรียกนากอ และชาวเงี้ยวเรียกล้าง เป็นต้น ซึ่งขนุนนี้มีรสชาติหวานอร่อยเป็นที่ถูกอกถูกใจของหลายๆ คนเลยทีเดียว แต่ผู้เป็นเบาหวานไม่ควรรับประทานนะคะ แถมเม็ดขนุนนั้นก็สามารถนำไปต้มรับประทานได้อีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 3,713

ฆ้องสามย่าน

ฆ้องสามย่าน

ต้นฆ้องสามย่าน จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นตั้งตรง สูงได้ประมาณ 20-100 เซนติเมตร มีผิวเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย ปล้องข้างล่างจะสั้น แต่ปล้องกลางหรือปล้องบนจะยาวขึ้นเล็กน้อย แต่ไม่ค่อยแตกกิ่งก้านมาก ลำต้นและใบมีลักษณะฉ่ำน้ำ พรรณไม้ชนิดนี้เป็นพรรณไม้จำพวกมหากาฬ ใบหูเสือ หรือคว่ำตายหงายเป็น ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ชอบดินร่วน ความชื้นและแสงแดดปานกลาง ชอบขึ้นตามพื้นที่ลุ่มทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 2,564