ตำนานพระบรมธาตุเจดีย์นครชุม

ตำนานพระบรมธาตุเจดีย์นครชุม

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้ชม 4,788

[16.4789595, 99.5174023, ตำนานพระบรมธาตุเจดีย์นครชุม]

        วัดพระบรมธาตุเจดียารามเป็นวัดเก่าแก่ ตั้งแต่สมัยเมื่อ 600 กว่าปีที่แล้ว ก็ยุคสุโขทัย ดินดอนบริเวณนี้ มีชื่อว่า "นครชุม" และวัดแห่งนี้ก็เป็นพระอารามหลวงประจำเมืองนครชุม มาแต่สมัยนั้น ตามข้อมูลประวัติศาสตร์ที่ค้นพบจากหลักศิลาจารึก หลักที่ 3 (จารึกนครชุม) ได้บันทึกไว้ว่า พระยาลิไท แห่งราชวงษ์สุโขทัย โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมธาตุเจดีย์ เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และปลูกพระศรีมหาโพธิ์จากลังกา ณ วัดพระบรมธาตุเจดียาราม เมื่อปี พ.ศ. 1900 ภายในวัดมีเจดีย์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่า "พระบรมธาตุเจดีย์" เป็นเจดีย์เก่าแก่ ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเช่นกันกับตัววัด พระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ (ดอกบัวตูม) ตั้งเรียงกันสามองค์ อยู่บนฐานเดียวกัน โดยองค์กลางของพระเจดีย์นั้นประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุ 9 องค์ อยู่ภายในภาชนะเงินรูปสำเภา พระเจดีย์องค์ปัจจุบันเป็นพระเจดีย์ทรงมอญซึ่งได้รับการบูรณะ ขึ้นภายหลัง สิ่งสำคัญอีกอย่างในวัดคือ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งชาวกำแพงเพชรเชื่อกันว่า เป็นต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พระยาลิไททรงปลูกเมื่อ พ.ศ.1900 เป็นต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ ประมาณ 9 คนโอบ 

ประวัติการบูรณะของวัดพระบรมธาตุเจดียาราม
        พ.ศ.2329 สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) แห่งวัดระฆังโฆษิตาราม ได้เสด็จมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร พักที่วัดเสด็จได้อ่านจารึกนครชุมที่ประดิษฐาน ณ อุโบสถวัดเสด็จ ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ได้ทราบว่ามีเจดีย์โบราณบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ อยู่ริมน้ำปิง ฝั่งตะวันตกตรงข้าม เมืองเก่าสามองค์ ได้ให้เจ้าเมืองกำแพงเพชรพระยารามณรงค์สงคราม (น้อย) ได้ป่าวร้องให้ประชาชน แผ้วถางพบเจดีย์ตามจารึกและปฏิสังขรณ์ขึ้น  
        พ.ศ.2414 มีคหบดีชาวพม่า ซึ่งมีอาชีพค้าไม้ชื่อ พระยาตะก่า(ซงพอ)  มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้ขอราชานุญาตในการปฏิสังขรณ์วัดพระบรมธาตุนครชุม ซึ่งมีสภาพทรุดโทรมจากการถูกทิ้งร้างมานาน พระยากำแพงเพชร เจ้าเมืองได้ทำหนังสือขออนุญาตลงมาที่กรุงเทพฯ ทางกรุงเทพฯจึงตอบอนุโมทนา และอนุญาตให้ซ่อมแซมได้ โดยได้บูรณะพระเจดีย์ขึ้นใหม่ เป็นพระเจดีย์ขนาดใหญ่ทรงมอญองค์เดียว ครอบแทนพระเจดีย์เดิมทั้งสามองค์ แต่ไม่แล้วเสร็จ พ.ศ.2418 ซงพอถึงแก่กรรม การปฏิสังขรณ์ชะงักไป 
        พ.ศ.2447-2448 พะโป้ น้องชายพระยาตะก่า ได้ทำการบูรณะต่อ และได้นำยอดฉัตรมาจากพม่า ขึ้นประดิษฐานบนยอดพระเจดีย์พระบรมธาตุ ในเดือน 6 พ.ศ.2449 ก่อนที่พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพียง 3 เดือน 
        วัดพระบรมธาตุเจดียาราม ตั้งอยู่ที่ ถนนทางหลวง 1078 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

ภาพโดย : http://travel.kpppao.go.th/travel/detail/6

คำสำคัญ : พระบรมธาตุเจดีย์นครชุม

ที่มา : ชูชีพ ชาญเชี่ยว. (2540). กำแพงเพชร อัญมณีเม็ดงามแห่งลุ่มน้ำปิง.กำแพงเพชร: ศรีสวัสดิ์การพิมพ์.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). ตำนานพระบรมธาตุเจดีย์นครชุม. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610006&code_type=01&nu=pages&page_id=652

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=652&code_db=610006&code_type=01

Google search

Mic

ตำนานศาลพ่อปู่วังหว้า

ตำนานศาลพ่อปู่วังหว้า

พ่อปู่วังหว้า เริ่มต้นคือ การอพยพของบรรพบุรุษชาวตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเลมาจากอีสาน พ.ศ. 2499 มาเลือกทำเลในการดำรงชีวิต หลังจากนั้นได้ถักล้างถางพงบริเวณศาล ถางไปบริเวณคลองวังกันไปเจอศาลเพียงตาที่คนโบราณมาทำไว้ก่อนแล้ว สันนิษฐานว่า คนตั้งแต่สมัยมาอยู่ก่อน 2499 เขาทำเป็นศาลเพียงตาเอาไว้ เวลาเขามีการตัดไม้ มีการหาปลา หาอยู่หากิน ได้มีการกราบไหว้ เป็นขวัญกำลังใจ แต่ก่อนศาลพ่อปู่วังหว้าเป็นสังกะสีแผ่นน้อยๆ เล็กๆ มีเสาต้นเดียว มีเพิงเล็กๆ อยู่ใต้ต้นตะคร้อ 2 ต้น 

เผยแพร่เมื่อ 09-01-2020 ผู้เช้าชม 2,539

ตำนานคลองลุน (วัดกาทิ้ง)

ตำนานคลองลุน (วัดกาทิ้ง)

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีพระเจ้าโลตึง อยู่ที่ดงอ่อนใจ เป็นคนมีอวัยวะเพศใหญ่มาก มีขนาดเท่าต้นตาล และมีนางโหตี อยู่ที่บ้านแสนตอ มีอวัยวะเพศเท่ากับวงบ่อ เวลาไปไหนมาไหนต้องมีลูกน้องแบกไป วันหนึ่งทั้งสองมาเจอกันจึงเกิดชนกันเข้าอย่างจัง ทั้งพระเจ้าโลตึงและพระนางโหตี จึงลุน (การผลักดันทำให้เกิดการเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งจนเป็นทางยาวไปเรื่อย ๆ) จึงเกิดเป็นคลองน้ำที่เรียกว่า “คลองลุน” 

เผยแพร่เมื่อ 10-03-2020 ผู้เช้าชม 974

ภาษาท้องถิ่นกำแพงเพชร

ภาษาท้องถิ่นกำแพงเพชร

ภาษาพูด แบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ คือ ภาษาพูดของกลุ่มชนดั้งเดิมของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้มาแต่อดีต และภาษาคำพูดของกลุ่มชนที่อพยพโยกย้ายมาจากถิ่นอื่น ซึ่งมีอยู่หลายกลุ่มหลายภาษา ชุมชนดั้งเดิมคือ ชุมชนที่อยู่ริมแม่น้ำปิงทั้งสองข้าง ได้แก่ เมืองชากังราว (กำแพงเพชร) นครชุม ไตรตรึงษ์ และคณที กับชุมชนที่อยู่ลึกเข้าไป ระหว่างจังหวัดกำแพงเพชรกับจังหวัดสุโขทัย คือ เมืองบางพาน หรือพรานกระต่ายในปัจจุบัน กลุ่มชนดังกล่าวนี้ใช้ภาษาพูดที่เป็นภาษาถิ่นไทยกลาง แต่มีเสียงและความหมาย ของคำผิดเพี้ยนไปบ้างเล็กน้อยที่เรียกกันว่า เหน่อ

เผยแพร่เมื่อ 09-03-2020 ผู้เช้าชม 9,065

บ้านห้างพะโป้ บ้านร.5 บ้านห้างล่ำซำ บ้านผีสิง

บ้านห้างพะโป้ บ้านร.5 บ้านห้างล่ำซำ บ้านผีสิง

เมืองกำแพงเพชร มีบ้านโบราณ จำนวนมาก เนื่องจากกำแพงเพชร เป็นเมืองเก่าแก่ อายุหลายร้อยปี บ้านหลังหนึ่ง เป็นห้างทำไม้ของพะโป้ ในอดีต ยังหลงเหลือความยิ่งใหญ่ ให้เห็น เพียงไม่ถึงครึ่งหนึ่งของอดีต จากตัวเมืองกำแพงเพชรเดินทางไปยังฝั่งนครชุมแล้วข้ามคลองสวนหมากผ่านวัดสว่างอารมณ์ ขึ้นไปชมบ้านไม้สองชั้นใต้ถุนสูงหลังใหญ่ ชาวบ้านเรียกกันว่า บ้านห้าง หรือ บ้านห้าง ร.5 หรือบ้านพะโป้ ตั้งตระหง่านอยู่ริมคลองด้วยสภาพที่ทรุดโทรม พื้นบ้านผุพัง เรือนไม้หลังนี้ มีประวัติความเป็นมาที่ทรงคุณค่าของชาวนครชุม และเมืองกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 20-04-2020 ผู้เช้าชม 2,762

หลวงพ่อยักษ์ กินเณร ที่วัดสว่างอารมณ์

หลวงพ่อยักษ์ กินเณร ที่วัดสว่างอารมณ์

หลวงพ่อยักษ์ เป็นพระพุทธรูป ปางมารวิชัย ขนาดใหญ่ ประดิษฐานอยู่ในวิหารริมคลองสวนหมาก ด้านหน้าของหลวงพ่ออุโมงค์ มีพุทธลักษณะพระพักตร์เป็นแบบ ศิลปะท้องถิ่นกำแพงเพชร เล่ากันว่า ผู้ปั้นคือปู่นวนและปู่เกิด สองพี่น้องนามสกุลธรรมสอน เป็นช่างทองมาจากจังหวัดตาก พร้อมๆ กับหลวงพ่อบุญมี เจ้าอาวาสรูปแรกของวัดสว่างอารมณ์ ปากคลองเหนือ ช่วยกันปั้นเศียรเปลี่ยนให้ใหม่ แต่เดิมหลวงพ่อยักษ์นี้ไม่มีชื่อเสียงเรียงนามแต่อย่างใด

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 2,565

ตำนานวัดกาทิ้ง

ตำนานวัดกาทิ้ง

ริมฝั่งลำน้ำปิง มีเมืองโบราณคือเมืองคณฑี หรือที่คนทั่วไปเรียกกันว่าบ้านโคน เป็นชุมชนโบราณที่ไม่มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิง พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธสยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จทอดพระเนตรชุมชนโบราณแห่งนี้ เมื่อปีพุทธศักราช 2450 ทรงกล่าวถึงชุมชนบ้านโคนว่า คงเป็นเมืองมาแต่โบราณ แต่หาคูหรือเทินและกำแพงไม่ได้ วัดเก่าที่ตั้งอยู่บริเวณนี้ชื่อวัดกาทิ้ง

เผยแพร่เมื่อ 10-03-2020 ผู้เช้าชม 1,577

นิทานเรื่อง พ่อตากับลูกเขยโค่นต้นตาล

นิทานเรื่อง พ่อตากับลูกเขยโค่นต้นตาล

วันหนึ่งลูกเขยชวนพ่อตาไปโค่นต้นตาล ฝ่ายลูกเขยก็พูดว่า “เอ้าพ่อ ! พ่อฟันข้างนอกก่อนเลยฟันเปลือกมันก่อนนะพ่อนะ เดี๋ยวแก่นมันผมฟันเอง” ฝ่ายพ่อตาก็ฟันใหญ่เลยแล้วก็บ่นอีก “โอ๊ยขนาดเปลือกมันยังแข็งขนาดนี้นะเนี่ยไอ้หนู แล้วแก่นมันเอ็งจะฟันไหวรึ มันจะขาดให้เอ็งรึ” พอพ่อตาฟันเสร็จแล้วไอ้ลูกเขยก็ฟันบ้าง แต่มันฟันฉวบๆ เลย ก็ต้นตาลนะมันจะมีอะไรล่ะ ข้างในนะ ไอ้ที่ว่าแก่นแข็งๆ นะมันอยู่ข้างนอกรอบต้นมันนี่ ฝ่ายพ่อตาเห็นลูกเขยตัวก็ยังชมมันอีกว่า “เอ่อไอ้หนูเอ็งนี่แรงดีว่ะ ขนาดพ่อฟันแค่เปลือกมันยังหมดแรงเลยวะ”

เผยแพร่เมื่อ 27-03-2020 ผู้เช้าชม 1,926

นิทานเรื่อง แม่ผัวเกลียดลูกสะใภ้

นิทานเรื่อง แม่ผัวเกลียดลูกสะใภ้

สีมากำพร้าพ่ออยู่กับแม่มาตั้งแต่เล็ก พอโตเป็นหนุ่มก็แต่งงาน ตอนแรกทั้งครอบครัวรักใคร่กันดีแต่บรรดาสาวๆ ที่ผิดหวังจากสีมาไปยุแยงให้แม่ผัวเกลียดลูกสะใภ้ ตอนแรกลูกสะใภ้ไม่โต้ตอบเวลาแม่ผัวดุด่า แต่นานเข้าเริ่มทนไม่ไหวโต้ตอบไปบ้าง สีมาหนักใจ คิดหาวิธีจะทำให้ทั้งสองปรองดองกัน จึงบอกกับแม่ว่าจะฆ่าเมียตัวเองเพื่อให้แม่สบายใจ แต่ต้องทำดีกับลูกสะใภ้สัก 15 วันก่อน แล้วก็ไปบอกเมียตัวเองว่าจะฆ่าแม่ให้แต่ต้องทำดีให้แม่ให้ตายใจ 15 วันก่อน 

เผยแพร่เมื่อ 27-03-2020 ผู้เช้าชม 2,630

ตำนานพระร่วง

ตำนานพระร่วง

คำว่าตำนาน หมายถึง เรื่องแสดงกิจการอันมีมาแล้วแต่ปางหลัง หรือเรื่องราวนมนานที่เล่าสืบต่อกันมา ไม่ได้ยืนยันว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ และไม่ทราบระยะเวลาว่านานเท่าใด มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นอุทาหรณ์สั่งสอนให้นำเป็นแบบอย่างหรือมุ่งเพื่อความบันเทิง เช่น ตำนานขอมดำดิน ตำนานพรานกระต่าย เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 15,195

ตำนานหลวงพ่ออุโมงค์

ตำนานหลวงพ่ออุโมงค์

หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์ วัดสว่างอารมณ์ อยู่ในตำบลนครชุม เป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสนขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง 2.87 เมตร สูงเกือบ 3 เมตร มีพุทธลักษณะที่งดงามยิ่งเป็นหลักฐานสำคัญประกอบข้อเท็จจริงถึงความสัมพันธ์ระหว่างกำแพงเพชรและหัวเมืองฝ่ายเหนือ หลวงพ่ออุโมงค์เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน (ก่อนสุโขทัย) ขนาดหน้าตักกว้าง 2.87 เมตร สูงเกือบ 3 เมตร จากการบอกเล่าพบหลวงพ่อในดินลักษณะคล้ายจอมปลวกจึงขุดกันออกมา มองดูคล้ายท่านอยู่ในอุโมงค์ สันนิษฐานว่าคงหลบพวกพม่าที่มาตีเมืองในสมัยนั้น หรือปราฏิหารย์ของท่านก็ไม่อาจทราบได้ ท่านเป็นที่เคารพบูชาของชาวนครชุม และชาวกำแพงเพชรมาเป็นเวลาช้านาน เมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 4 ชาวจังหวัดกำแพงเพชร จะจัดงานประเพณีนมัสการปิดทอง "หลวงพ่ออุโมงค์" เป็นประจำทุกปี

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 2,601