ตำนานพระซุ้มกอ

ตำนานพระซุ้มกอ

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้ชม 8,940

[16.4782052, 99.5089194, ตำนานพระซุ้มกอ]

         "มีกูไว้แล้วไม่จน" คือถ้อยคำประจำองค์พระซุ้มกอ ซึ่งหมายถึง พระซุ้มกอสุดยอดทางโชคลาภ เมตตามหานิยม ใครมีไว้แล้วจะร่ำรวย เป็นมหาเศรษฐี เจริญรุ่งเรือง ในชีวิต ทำให้ผู้คนทั้งประเทศปรารถนาที่จะเป็นเจ้าของพระซุ้มกอ การเช่าจึงอยู่ที่หลักล้านขึ้นไป พระซุ้มกอจึงกลายเป็น หนึ่งในเบญจภาคี หรือหนึ่งในจักรพรรดิแห่งวงการพระเครื่อง  
     
    เบญจภาคี คือ การนำเอาพระเครื่องที่เป็นพระเครื่องชั้นยอดมารวมกัน 5 องค์ โดยผู้ทรงคุณวุฒิท่านหนึ่ง ในวงการพระเครื่องยุคแรก ที่วงการพระรู้จักท่านในนามปากกา " ตรียัมปวาย " เป็นผู้บัญญัติจัดตั้งขึ้น จนเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป พระเบญจภาคี 5 องค์ ประกอบด้วย
         1. พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่
         พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์พระประธาน หรือที่นิยมเรียกว่า พระพิมพ์ใหญ่ เป็นพระพิมพ์ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในบรรดาพระสมเด็จวัดระฆังทั้ง 4 พิมพ์ ด้วยความงดงามสง่าผ่าเผย ขององค์พระ และความสมบรูณ์สมส่วนขององค์ประกอบโดยรวมขององค์ประกอบศิลป์ทั้งหมด ประกอบกับจำนวนพระที่มีปริมาณเหมาะสม จึงส่งผลให้พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์พระประธานนี้ นับเป็นสุดยอดของพระในตะกูลสมเด็จทั้งหมด          
       
 2. พระสมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม
         พระสมเด็จวัดระฆังเป็นพระที่สร้างจากเนื้อผงวิเศษ 5 ชนิด คือ ปถมัง , อิธะเจ , มหาราช , พุทธคุณ และตรีนิสิงเห ตามลำดับ การเกิดผงวิเศษทั้ง 5 นี้ นับเป็นขบวนการหล่อหลอมพระเวทย์วิทยาคมอันศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 5 มาเป็นหนึ่งเดียว วิธีการสร้างผงวิเศษนั้นเริ่มมาจากการบริกรรมพระคาถา เขียนสูตร ชักยันต์ด้วยชอล์คลงในกระดาษชนวน เขียนแล้วลบ ลบแล้วเขียนใหม่ทำเช่นนี้นับเป็นร้อยๆครั้ง จนเกิดเศษชอล์คจากการลบ ซึ่งถือว่าเป็นผงศักดิ์สิทธิ์ที่เกิดจากการตั้งจิตบริกรรมพระเวทย์ในขณะที่เขียนให้ครบถ้วนตามจำนวนที่พระเวทย์ในแต่ละบทกำหนดไว้ ขั้นผงที่ได้ออกมาเป็นผงที่ได้ออกมาเป็นผงที่มีชื่อ “ ปถมัง ” เมื่อได้ผง “ ปถมัง ” แล้ว นำผงนี้มาปั้นเป็นดินสอ ตากแห้ง แล้วนำแท่งดินสอชอล์ดที่เกิดจากผงปถมัง มาเขียนสูตรพระเวทย์อีกบทหนึ่งเขียนแล้วลบ ทำซ้ำกันตามจำนวนครั้งที่พระเวทย์บทใหม่กำหนด จนเกิดผงชอล์ดครั้งใหม่ ที่เรียกว่า “ ผงอิธะเจ ” แล้วก็ผงอิธะเจมาปั้นเป็นแท่งชอล์ด เขียนสูตรพระเวทย์อีก เขียนแล้วลบ ลบแล้วเขียนเช่นนี้จนได้ ผงมหาราช แล้วก็ผงมหาราช กระทำเช่นเดียวกับขั้นตอนการทำตอนการผงอื่นๆ หากแตกต่างกันที่สูตรในการเขียน อักขระเลขยันต์ และจำนวนครั้งที่ถือเป็นเฉพาะแต่ละสูตรจนได้ ผงพุทธคุณ และสุดท้ายคือ ผงตรีนิสิงเห อันเกิดจากหลอมรวมสูตรทั้ง ๕ มาเป็นหนึ่งเดียวจากนั้นสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) จึงนำผงวิเศษนี้มาผสมรวมกันกับเปลือกหอยที่บดหอยที่บดละเอียดอันเป็นส่วนผสมหลัก นอกจากนี้ก็จะมีข้าวสุก ดินสอพอง กล้วย โดยมีน้ำตังอิ๊วเป็นตัวประสานส่วนผสมเหล่านี้ จากนั้นจึงนำพระที่ผสมเสร็จแล้วนั้น กดลงในแม่พิมพ์ซึ่งแกะพิมพ์โดย นายเทศ แห่งช่างหล่อ          
         3. พระรอด วัดมหาวัน จ.ลำพูน
         วัดมหาวัน จ.ลำพูน พระอารามที่มีชื่อเสียงเลื่องลือไป ทั่วทุกภูมิภาคของเมืองไทย ทั้งนี้มิใช่เพราะเรื่องอื่นใด นอกจากเพียงประการเดียวคือ เป็นแหล่งกำเนิดของ "พระรอด" ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องชุดเบญจภาคี พระรอด วัดมหาวัน มีพระพุทธศิลป์เป็นยุคสมัยทวาราวดี ประทับนั่งปางมารวิชัยและขัดเพชรบนฐานบัว 2 ชั้น ด้านหลังขององค์พระเป็นปรกโพธิ์เรียงตั้งแต่หัวเข่าขององค์พระขึ้นเป็นซุ้มครอบองค์พระ จำนวนใบโพธิ์และเอกลักษณ์ของ ก้านโพธิ์ที่ชัดเจนในแต่ละพิมพ์จะมีจำนวนไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของพระรอดในแต่ละพิมพ์ การขุดหาพระรอดมีกันหลายครั้งหลายหน จนประมาณครั้งมิได้ เท่าที่สืบทราบมีดังนี้ การพบกรุพระรอดในสมัยยเจ้าหลวงเหมพินธุไพจิตร เมื่อปี 2435-2445 พระเจดีย์มหาวันชำรุดทรุดโทรมและพังทลายลงมาเป็นส่วนมาก ดังนั้น เจ้าเหมพินธุไพรจิตร จึงดำริให้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์ขึ้นใหม่ โดยการสร้างสวมครอบองค์เดิมลงไป ส่วนเศษปรักหักพังที่กองทับถมกันอยู่นั้น ได้จัดการให้โกยเอาไปถมหนองน้ำซึ่งอยู่ระหว่างหอสมุดของวัด โอกาสนั้นได้พบพระรอดเป็นจำนวนมากมายภายในกรุพระเจดีย์มหาวัน พระรอดส่วนหนึ่งได้รับการบรรจุ กลับคืนเข้าไปในพระเจดีย์ตามเดิม อีกส่วนหนึ่งมีผู้นำไปสักการบูชา และส่วนสุดท้ายได้ปะปนกับสร้างกรุและ เศษดินทรายจมอยู่ในหนองน้ำพระรอดได้ขุดพบที่วัดมหาวัน พุทธศิลป์อยู่ในยุคกลางของสมัยหริภุญไชย (ลำพูน) อาณาจักรหริภุญไชย สร้างขึ้นราวต้นศตวรรษที่ 13-14 เป็นอาณาจักรของ กลุ่มชนมอญโบราณ ทางภาคเหนือของประเทศไทย นับถือพระพุทธศาสนาหินยาน ใช้ภาษาบาลีจดคำสอนทางศาสนา ได้มีการกำหนดอายุและ ศิลปะพระรอดว่า สร้างในสมัยกษัตริย์จามเทวี เป็นยุคต้นของสมัยหริภุญไชย มีศิลปะสมัยทวารวดี ในทางพุทธศิลป์แล้ว พระรอดน่าจะมีอายุอยู่ในช่วงหลังสมัยทวาราวดี รูปแบบของพระรอดคือประทับพระบาทสมาธิเพชร (ท่านั่งขัดเพชร) ในสมัยทวาราวดีสร้างพระพุทธรูปนั่งขัดหลวมและหงายฝ่าพระบาทกางออก และไม่ปรากฏพระพุทธรูปนั่งขัดเพชรในศิลปะทวาราวดี พระพุทธรูปนั่งขัดเพชรเป็นแบบอย่างเฉพาะของพระพุทธรูปอินเดียฝ่ายเหนือ (มหายาน) พระพุทธรูปและพระเครื่องในลำพูนได้ปรากฏศิลปะสมัยต่างๆ รวมอยู่หลายสมัย คือ สมัยทวาราวดี ลพบุรี แบบหริภุญไชย พุกาม อู่ทองและสมัยล้านนา
         4. พระนางพญา
         จากหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์พบว่า วัดนางพญาสร้างโดยกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา คือ พระวิสุทธิกษัตริย์ เป็นพระราชธิดา ท้าวศรี สุริโยทัย และเป็นพระมารดาขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ผู้สร้างวัดราชบูรณะ คือพระมหาธรรมราชา จากเหตุการณ์บ้านเมืองในขณะนั้นอยู่ในระ หว่างศึกสงครามถูกพม่ารุกราน จึงมีการสร้างพระเครื่องมอบให้เป็นขวัญและกำลังใจแก่ทหารที่ออกรบ พระเครื่องรุ่นแรกๆจะมีรูปทรงและองค์พระไม่สวย งาม การทำแม่พิมพ์ก็ทำกันแบบรีบร้อน คือพิมพ์ได้ครั้งละ 3 องค์ แล้วนำไปตัดแยกออกด้วยตอก เนื่องจากในขณะนั้นเป็นช่วงของสงครามถูกพม่ารุกราน จึงทำกันอย่างรีบร้อนทำให้บางองค์ไม่ได้ตัดแบ่งแยกออกจากกันก็มี คือ ยังติดกันเป็นแผงสามองค์ หลังจากองค์สมเด็จพระนเรศวรทรงประกาศอิสรภาพ เป็นกษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยาแล้ว จึงหันมาพัฒนาวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดนางพญา วัดราชบูรณะที่พระราชบิดาและพระราชมารดาทรงสร้างและสร้าง พระเครื่องให้เป็นขวัญและกำลังใจแก่ทหารที่ออกรบอีกครั้ง ที่เหลือก็นำไปบรรจุไว้ในกรุวัดทั้งสามเพราะมีเขตขัณฑสีมาติดต่อกัน
         พระนางพญาที่สร้างขึ้นมี 6 พิมพ์ด้วยกัน คือพิมพ์เข่าตรง พิมพ์เข่าโค้ง พิมพ์สังฆาฏิ พิมพ์เทวดา พิมพ์อกนูนใหญ่ พิมพ์อกนูนเล็ก
ยุคแรกสร้างโดยพระวิสุทธิกษัตริย์ รูปทรงองค์พระไม่สวยงามนัก ยุคที่สองสร้างโดยองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช รูปทรงองค์พระสวยงามกว่ารุ่นแรกมาก พระนางพญาทั้งสองยุคนี้อายุการสร้างใกล้เคียงกัน มีพุทธคุณเหมือนกันคือเน้นหนักในเรื่องแคล้วคลาด อยู่ยงคงกระพัน โชคลาภ ค้าขายดี และเมตตามหา นิยมเป็นหลัก พิธีปลุกเสกใช้วิธีอัญเชิญเทพฯ เทวดา ฤาษี พระสงฆ์ผู้ทรงศีลและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในเมืองพิษณุโลกอันได้แก่หลวงพ่อพระพุทธชินราชเป็นต้น ปลุก เสกกันที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
         มีประสบการณ์เล่าต่อๆกันมาว่า ทหารขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไปรบที่ไหนก็ประสบชัยชนะที่นั่น เป็นที่หวั่นเกรงแก่พม่าในขณะนั้น และอีกประสบการณ์หนึ่งคือเมื่อครั้งที่ทหารไทยไปรบในสงครามอินโดจีนมีชัยชนะครั้งแล้วครั้งเล่า ต่อมามีนักสะสมพระเครื่องนำพระนางพญามาจัดเข้าชุด เบญจภาคี พุทธศิลป์ศิลปะอยุธยาประเภทเนื้อดินเผา ผสมมวลสารพระธาตุเหล็กไหล เหล็กน้ำพี้ โพรงเหล็กไหล พระธาตุสีขาวขุ่น พระธาตุสีชมพู ผงถ่าน ใบลาน เกสรดอกไม้ 108 ว่าน 108 น้ำมนต์ทิพย์ ดินมงคลตามที่ต่างๆ ทรายเงิน ทรายทอง และศาสตราวุธต่างๆ
         ความหมายของมวลสารที่นำมาผสมในพระสมเด็จนางพญา มีดังนี้
              1. พระธาตุเหล็กไหล มีความสำคัญด้านคงกระพัน
              2. เหล็กน้ำพี้ มีความสำคัญ ด้านแก้เคล็ดและความแข็งแกร่ง
              3. โพรงเหล็กไหล มีความสำคัญด้านคงกระพัน แคล้วคลาด
              4. พระธาตุสีขาวขุ่นและพระธาตุสีชมพู มีความสำคัญด้านสิริ มงคลและแก้อาถรรพ์
              5. ผงถ่านใบลาน มีความสำคัญด้านอยู่ยงคงกระพัน
              6. เกสรดอกไม้ มีความสำคัญด้านเมตตามหานิยม
              7. ว่าน 108 มีความสำคัญ ทางด้านแคล้วคลาดและคงกระพัน
              8. น้ำมนต์ทิพย์ มีความสำคัญทางด้านแก้เคล็ดและแก้อาถรรพ์
              9. ดินมงคลตามที่ต่างๆ มีความสำคัญทางด้านสิริมงคล
              10. ทรายเงินทรายทอง มีความสำคัญทางด้านโชคลาภและเงินทอง
         5. พระผงสุพรรณ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรรณบุรี
         
จังหวัดสุพรรณบุรี นอกจากเป็นดินแดนแห่ง ยุทธหัตถีแล้ว ยังเป็นเสมือนเมืองแห่งพระเครื่อง พระบูชา หลายสิบชนิด ตั้งแต่สมัยอมรวดี ทวาราวดี ศรีวิชัย ปาละ ลพบุรี อู่ทอง อยุธยา และรัตนโกสินทร์ ในจำนวนพระที่ขุดพบนั้น พระผงสุพรรณ กรุวัด พระศรีรัตนมหาธาตุ ถือว่าเป็นสุดยอดของพระทั้งหมด โดยจัดให้อยู่ในชุดพระเบญจภาคี วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือที่ชาวสุพรรณเรียกสั้นๆ ว่า วัดพระธาตุ เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองสุพรรณ สมัยอู่ทองและอยุธยา ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี มีองค์พระปรางค์สูงตระหง่าน ส่วนใครเป็นผู้สร้างวัดนั้น นักประวัติศาสตร์ไม่กล้ายืนยัน เพียงแต่สันนิษฐานว่า น่าจะสร้างใน สมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) หรือสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
         พระซุ้มกอ จากพระราชนิพนธ์ประพาสต้นกำแพงเพชรของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบันทึกไว้ว่า นายชิด มหาดเล็กหลานพระยาประธานนคโรทัยจางวางเมืองอุทัยธานีเดิมได้รับราชการในกระทรวงมหาดไทยเป็นตำแหน่งนายอำเภอ อยู่ในมณฑลนครชัยศรี ป่วยลาออกมารักษาตัว อยู่บ้านภรรยาที่เมืองกำแพงเพชร ไปได้ตำนานพระพิมพ์มาให้ ว่ามีกษัตริย์องค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระยาศรีธรรมมาโศกราช จะบำรุงพระพุทธศาสนาจึงไปเชิญพระธาตุมาแต่ลังกา สร้างเจดีย์ บรรจุไว้แควน้ำปิงและน้ำยมเป็นจำนวนพระเจดีย์ 84,000 องค์ พระฤาษีจึงได้สร้างพระพิมพ์ขึ้นถวายพระยาศรีธรรมาโศกราชเป็นอุปการะ จึงได้บรรจุพระธาตุและพระพิมพ์ไว้ ในพระเจดีย์แต่นั้นมา เหตุที่จะพบพระพิมพ์กำแพงเพชรขึ้นนี้ว่า เมื่อปีระกาเอกศก จุลศักราช 1211 สมเด็จพระพุฒาจารย์โต วัดระฆัง ขึ้นมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ได้อ่านศิลาจารึกไทยโบราณมีอยู่ที่วัดเสด็จได้ความว่า มีพระเจดีย์โบราณบรรจุพระบรมาตุอยู่ริมน้ำปิง ฝั่งตะวันตกตรงข้ามเมือง จึงได้ค้นคว้ากันขึ้น พบพระเจดีย์สามองค์นี้ ชำรุดทั้งสามองค์ เมื่อพญาตะก่าขอสร้างรวมเป็นองค์เดียว รื้อพระเจดีย์ลงจึงได้พบพระพิมพ์กับได้ลานเงินจารึกอักษรขอม เป็นตำนานสร้างพระพิมพ์ และวิธีบูชา นายชิดได้คัดตำนานและวิธีบูชามาให้ด้วย ของถวายในเมืองกำแพงเพชรนี้มีพระพิมพ์เป็นพื้น ได้คัดตำนานติด ท้ายหนังสือเล่มนี้ไว้ด้วย

ภาพโดย : https://talk.mthai.com/uploads/2014/05/08/145481-attachment.jpg

 

คำสำคัญ : พระซุ้มกอ

ที่มา : http://sunti-apairach.com/06N/06NT.htm

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ตำนานพระซุ้มกอ. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610006&code_type=01&nu=pages&page_id=153

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=153&code_db=610006&code_type=01

Google search

Mic

นิทานพื้นบ้าน เรื่องเหตุที่งูเหลือมไม่มีพิษ

นิทานพื้นบ้าน เรื่องเหตุที่งูเหลือมไม่มีพิษ

เดิมทีงูเหลือมเป็นสัตว์เพียงชนิดเดียวที่มีพิษมาก อาศัยอยูํใกล้กอไผ่ วางไข่เป็นจำนวนมาก และก็หวงไข่ของตนเองเป็นที่สุด ใครเดินผำนจะต้องฉกตายทุกคน มีชายคนหนึ่งคิดจะลองดีกับงูเหลือม จึงเอากระทะครอบหัวเป็นหมวก แล้วเดินผำนบริเวณที่งูเหลือมอาศัย อยู่ งูเหลือมเห็นคนเดิ่นผ่านมาก็ฉกอย่างแรงไปโดนกระทะ ชายคนนั้นก็วิ่งหนีไป งูเหลือมเคยกัดคนตาย เห็นตาคนนี้ไม่ตายก็เลยนึกว่าตนเองไม่มีพิษสงอีกต่อไป โมโหตัวเองคายพิษออกมากองไว้สัตว์เลื้อยคลานต่างๆ ได้ข่าวว่างูเหลือม คายพิษทิ้ง ก็อยากจะมีพิษกับเขาบ้างรีบเดินทางมาเอาพิษกันแน่นขนัด ใครมาเร็วก็ได้ไปมาก อย่างเช่น งูเห่าไฟเอาตัวคลุกพิษจนแดงไปทั้งตัว งูจงอาง งูแมวเซา งูที่ปัจจุบันมีพิษทั้งหลายมาเร็วก็ได้ไปมาก เจ้าแมงป่องมาช้าเบียดเข้าไปไม่ถึง หันหลังเข้าไป ได้แค่หางจุ่มก็เลยมีพิษที่หาง ส่วนเจ้ามดตะนอยอยากได้กะเขาบ้าง เบียดเข้าไปเลยถูกหนีบจนเอวคอด เหตุการณ์ครั้งนี้เลยทำให้สัตว์ต่างๆ มีพิษ และงูเหลือมไม่มีพิษ ตั้งแต่นั้นมา

เผยแพร่เมื่อ 03-09-2019 ผู้เช้าชม 6,412

แหย่งพระที่นั่งต้องห้าม

แหย่งพระที่นั่งต้องห้าม

พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้นกำแพงเพชร คือตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2449 และกลับพระนคร ในวันที่ 27 สิงหาคม 2449 มีอยู่หนึ่งวันที่พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสบ้านปากคลอง คือวันที่ 25 สิงหาคม ตอนเช้าเสด็จเข้าไปในคลองสวนหมากไปบ้านพะโป้ มีเรื่องเล่าว่า พะโป้ได้นำแหย่ง (ที่นั่งบนหลังช้าง) ให้พระพุทธเจ้าหลวงประทับนั่ง เมื่อพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จกลับ พะโป้ได้บูชาแหย่งองค์นี้อย่างดี โดยเก็บไว้ในฐานะสิ่งสักการะบูชาเลยทีเดียว เมื่อพะโป้สิ้น (ถึงแก่กรรม) แล้ว ทรัพย์สมบัติของท่านถูกแบ่งปันกันไปหลายส่วน แหย่งได้ตกไปอยู่กับหลายท่าน แต่มีเรื่องมหัศจรรย์เล่าขานกันว่าเมื่อผู้ใดขึ้นนั่งมักจะมีปัญหาเกิดกับผู้นั่งเสมอ ทั้งร้ายแรงและไม่ร้ายแรง จนเล่าขานเลื่องลือไปทั่วปากคลอง ไม่มีใครกล้านั่งหรือแตะต้องแหย่งองค์นี้อีกเลย

เผยแพร่เมื่อ 20-04-2020 ผู้เช้าชม 878

นิทานพื้นบ้าน เรื่องดงตาจุ้ย ดงตาจันทร์

นิทานพื้นบ้าน เรื่องดงตาจุ้ย ดงตาจันทร์

ตาจุ้ยกับตาจันทร์เป็นชาวบ้านหนองปรือ ทั้งสองคนเป็นเพื่อนรักกันมากเป็นคนขี้ยาและติดฝิ่นด้วยกัน สมัยนั้นเป็นป่าดิบดงดำ วันหนึ่งตาจุ้ยกับตาจันทร์ชวนกันมาตัดหวายที่ชายดง ตาจุ้ยตัดหวายได้เส้นหนึ่ง ยาวสวยมาก ขากลับบ้านตาจุ้ยเดินลากหวายตามทางมา ตาจันทร์กะหยอกเพื่อนเลํน จึงแกล้งใช้มีดฟันหวายผิดๆ ตาจุ้ยบอกวำ “ถ้ามึงฟันหวายกูขาด กูฟันหัวมึงขาด” เผอิญตาจันทร์ฟันโดนหวายขาดจริงๆ เกิดการทะเลาะกัน ตาจุ้ยฟันตาจันทร์ ตาจันทร์ก็ฟันตาจุ้ย ต่อสู้กันอยำงดุเดือด ปรากฏวำฟันกันตายทั้งคูํ ชาวบ๎านเลยตั้งชื่อบริเวณนี้วำบ้านดงตาจุ้ยดงตาจันทร์ แตํทุกวันนี้เรียกวำ “บ้านดงตาจันทร์” ่อย่างเดียว

เผยแพร่เมื่อ 03-09-2019 ผู้เช้าชม 2,271

บ้านห้างพะโป้ บ้านร.5 บ้านห้างล่ำซำ บ้านผีสิง

บ้านห้างพะโป้ บ้านร.5 บ้านห้างล่ำซำ บ้านผีสิง

เมืองกำแพงเพชร มีบ้านโบราณ จำนวนมาก เนื่องจากกำแพงเพชร เป็นเมืองเก่าแก่ อายุหลายร้อยปี บ้านหลังหนึ่ง เป็นห้างทำไม้ของพะโป้ ในอดีต ยังหลงเหลือความยิ่งใหญ่ ให้เห็น เพียงไม่ถึงครึ่งหนึ่งของอดีต จากตัวเมืองกำแพงเพชรเดินทางไปยังฝั่งนครชุมแล้วข้ามคลองสวนหมากผ่านวัดสว่างอารมณ์ ขึ้นไปชมบ้านไม้สองชั้นใต้ถุนสูงหลังใหญ่ ชาวบ้านเรียกกันว่า บ้านห้าง หรือ บ้านห้าง ร.5 หรือบ้านพะโป้ ตั้งตระหง่านอยู่ริมคลองด้วยสภาพที่ทรุดโทรม พื้นบ้านผุพัง เรือนไม้หลังนี้ มีประวัติความเป็นมาที่ทรงคุณค่าของชาวนครชุม และเมืองกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 20-04-2020 ผู้เช้าชม 2,763

นิทานเรืื่อง คนขี้ลืม

นิทานเรืื่อง คนขี้ลืม

มีชายคนหนึ่งเป็นคนขี้ลืมจริงๆ เรื่องอะไรจำได้ประเดี๋ยวเดียวก็ลืม วันหนึ่งชายคนนี้ถือมีดเดินเข้าไปในป่าจะไปตัดต้นไม้ เดินไปซักพักก็เกิดปวดท้องขี้ขึ้นมา หาที่เหมาะๆ ได้แล้ว ก็เอามีดฟันติดไว้กับต้นไม้ แล้วก็นั่งขี้ พอลุกขึ้น เห็นมีดเล่มหนึ่งอยู่ที่ต้นไม้ ลืมไปว่าเป็นมีดของตัวเอง ดีใจมาก หยิบมีดมาแล้วพูดว่า “วันนี้โชคดีแต่เช้าเลย เจอมีดของใครก็ไม่รู้” พอจะเดินกลับ ก็เหยียบขี้ของตัวเองอีก โมโหมาก ตะโกนด่าว่า “อ้ายคนไหนมาขี้ไว้ ป่าตั้งกว้างใหญ่ไม่อายใครเลย” จากนั้นก็เดินกลับบ้านพร้อมมีดของตัวเอง

เผยแพร่เมื่อ 27-03-2020 ผู้เช้าชม 1,726

ท้าวแสนปม 3 เรื่อง 3 ที่มา

ท้าวแสนปม 3 เรื่อง 3 ที่มา

เรื่อง “ท้าวแสนปม” เป็นเรื่องที่เล่าขานต่อเนื่องกันมาช้านาน กล่าวถึงบุรุษผู้หนึ่ง ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ของเมืองไตรตรึงษ์ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ของตำบลไตรตรึงษ์ อำเภอเมืองกำแพงเพชร ในระยะแรก ผู้เขียนรู้สึกแปลกใจที่พยายามจะศึกษาเรื่องราวของท้าวแสนปม แต่ละคนที่ให้ความรู้ให้ข้อมูลแตกต่างกันออกไปไม่เหมือนกัน จึงได้พยายามสืบค้นจากเอกสารต่าง ๆ จึงรู้ได้ว่าสาเหตุที่แตกต่างกันนั้น เกิดจากต้นเรื่องหรือข้อมูลของเรื่องมาจากหลายแหล่ง ซึ่งพอที่จะกล่าวถึงที่มาและเนื้อเรื่องดังนี้

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 5,488

ตำนานวัดปราสาท

ตำนานวัดปราสาท

ประวัติของวัดปราสาทในช่วงแรกนั้นยังคลุมเครือ แต่ก็พอสรุปได้ดังนี้ คือ นานมาแล้วมีพวกห่มขาว ได้นำเรือชะล่ามาฝากกับตาเฮง ยายสาท ผัวเมียที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำหน้าวัด เมื่อพวกห่มขาวฝากเรือแล้วก็ขึ้นมาที่ท่านำแล้วก็หายไป โดยที่เรือนั้นก็ยังอยู่กับตาเฮงและยายสาท นานไปคนพวกนั้นก็ไม่มาเอาเรือคืน ตาเฮงและยายสารทก็มาค้นเรือดู พบทองและเงินจำนวนมาก จึงนำมาสร้างวัด ตาเฮงก็มาสร้างศาล เรียกกันว่าศาลตาเฮง ส่วนยายสาทก็นำเงินมาจ้างคนสร้างปราสาทซึ่งใหญ่โตมาก

เผยแพร่เมื่อ 10-03-2020 ผู้เช้าชม 1,721

ตำนานพระร่วง

ตำนานพระร่วง

คำว่าตำนาน หมายถึง เรื่องแสดงกิจการอันมีมาแล้วแต่ปางหลัง หรือเรื่องราวนมนานที่เล่าสืบต่อกันมา ไม่ได้ยืนยันว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ และไม่ทราบระยะเวลาว่านานเท่าใด มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นอุทาหรณ์สั่งสอนให้นำเป็นแบบอย่างหรือมุ่งเพื่อความบันเทิง เช่น ตำนานขอมดำดิน ตำนานพรานกระต่าย เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 15,196

ตำนานศาลพ่อปู่วังหว้า

ตำนานศาลพ่อปู่วังหว้า

พ่อปู่วังหว้า เริ่มต้นคือ การอพยพของบรรพบุรุษชาวตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเลมาจากอีสาน พ.ศ. 2499 มาเลือกทำเลในการดำรงชีวิต หลังจากนั้นได้ถักล้างถางพงบริเวณศาล ถางไปบริเวณคลองวังกันไปเจอศาลเพียงตาที่คนโบราณมาทำไว้ก่อนแล้ว สันนิษฐานว่า คนตั้งแต่สมัยมาอยู่ก่อน 2499 เขาทำเป็นศาลเพียงตาเอาไว้ เวลาเขามีการตัดไม้ มีการหาปลา หาอยู่หากิน ได้มีการกราบไหว้ เป็นขวัญกำลังใจ แต่ก่อนศาลพ่อปู่วังหว้าเป็นสังกะสีแผ่นน้อยๆ เล็กๆ มีเสาต้นเดียว มีเพิงเล็กๆ อยู่ใต้ต้นตะคร้อ 2 ต้น 

เผยแพร่เมื่อ 09-01-2020 ผู้เช้าชม 2,539

ตำนานหลวงพ่ออุโมงค์

ตำนานหลวงพ่ออุโมงค์

หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์ วัดสว่างอารมณ์ อยู่ในตำบลนครชุม เป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสนขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง 2.87 เมตร สูงเกือบ 3 เมตร มีพุทธลักษณะที่งดงามยิ่งเป็นหลักฐานสำคัญประกอบข้อเท็จจริงถึงความสัมพันธ์ระหว่างกำแพงเพชรและหัวเมืองฝ่ายเหนือ หลวงพ่ออุโมงค์เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน (ก่อนสุโขทัย) ขนาดหน้าตักกว้าง 2.87 เมตร สูงเกือบ 3 เมตร จากการบอกเล่าพบหลวงพ่อในดินลักษณะคล้ายจอมปลวกจึงขุดกันออกมา มองดูคล้ายท่านอยู่ในอุโมงค์ สันนิษฐานว่าคงหลบพวกพม่าที่มาตีเมืองในสมัยนั้น หรือปราฏิหารย์ของท่านก็ไม่อาจทราบได้ ท่านเป็นที่เคารพบูชาของชาวนครชุม และชาวกำแพงเพชรมาเป็นเวลาช้านาน เมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 4 ชาวจังหวัดกำแพงเพชร จะจัดงานประเพณีนมัสการปิดทอง "หลวงพ่ออุโมงค์" เป็นประจำทุกปี

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 2,601