ภาษาท้องถิ่นกำแพงเพชร

ภาษาท้องถิ่นกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 09-03-2020 ผู้ชม 9,069

[16.4264988, 99.2157188, ภาษาท้องถิ่นกำแพงเพชร]

        ภาษาพูด แบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ คือ ภาษาพูดของกลุ่มชนดั้งเดิมของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้มาแต่อดีต และภาษาคำพูดของกลุ่มชนที่อพยพโยกย้ายมาจากถิ่นอื่น ซึ่งมีอยู่หลายกลุ่มหลายภาษา ชุมชนดั้งเดิมคือ ชุมชนที่อยู่ริมแม่น้ำปิงทั้งสองข้าง ได้แก่ เมืองชากังราว (กำแพงเพชร) นครชุม ไตรตรึงษ์ และคณที กับชุมชนที่อยู่ลึกเข้าไป ระหว่างจังหวัดกำแพงเพชรกับจังหวัดสุโขทัย คือ เมืองบางพาน หรือพรานกระต่ายในปัจจุบัน กลุ่มชนดังกล่าวนี้ใช้ภาษาพูดที่เป็นภาษาถิ่นไทยกลาง แต่มีเสียงและความหมาย ของคำผิดเพี้ยนไปบ้างเล็กน้อยที่เรียกกันว่า เหน่อ หรือภาษาชนบท เสียง-เหน่อของภาษาถิ่นกำแพงเพชรคือ เสียงวรรณยุกต์ต่างไปจากภาษาไทยมาตรฐาน เช่น เสียงเอกเป็นเสียงจัตวา เสียงจัตวาเป็นเสียงเอก อาจจำแนกออกเป็นสามกลุ่มคือ
       ภาษาชาวอำเภอพรานกระต่าย มีสำเนียงคล้ายชาวสุโขทัย คำที่มีเสียงวรรณยุกต์จัตวาจะเปลี่ยนเป็นเสียงวรรณยุกต์เอก และเสียงเอกจะเปลี่ยนเป็นเสียงจัตวา และมีคำศัพท์เฉพาะอื่น ๆ แตกต่างออกไปจากกลุ่มชนดั้งเดิมในจังหวัดกำแพงเพชร
       ภาษาของชุมชนนครชุมและกำแพงเพชร ชาวกำแพงเพชรในเขตตำบลหนองปลิง ออกเสียงเหน่ออยู่บ้าง ส่วนชาวนครชุมมีเสียงเหน่อค่อนข้างชัด และมีศัพท์บางคำผิดแผกจากคำมาตรฐานทั่วไป
       ภาษาของชาวไตรตรึงษ์และคณที กลุ่มชนทั้งสองกลุ่มนี้มีบางส่วนที่สืบเชื้อสายมาจากกลุ่ม-ชนดั้งเดิมครั้งอาณาจักรสุโขทัย แต่ประชากรส่วนใหญ่ในปัจจุบันส่วนมากอพยพมาจากจังหวัด อื่น ๆ ไม่มีเสียงเหน่อเด่นชัดเหมือนชาวนครชุม แต่มีสำเนียงห้วนสั้นกว่าภาษาไทยมาตรฐานเล็กน้อย และมีสร้อยคำ "ฮิ" ต่อท้ายบ้างเป็นบางคำ
       ภาษาไทยถิ่นอีสาน ใช้ในกลุ่มชนที่อพยพมาจากภาคอีสานหลายจังหวัด มาตั้งกลุ่มชนในอำเภอต่าง ๆ เช่น อำเภอคลองขลุง อำเภอคลองลาน อำเภอทรายทองวัฒนา และอำเภอปางศิลาทอง เป็นต้น
       ภาษาไทยดำหรือโซ่ง ใช้ในกลุ่มชนเชื้อสายชาวโซ่ง มีถิ่นเดิมอยู่ในแคว้นเดียนเบียนฟู อพยพผ่านลาวเข้ามาตั้งถิ่นฐานในภาคเหนือตอนล่างหลายจังหวัด ในเขตจังหวัดกำแพงเพชรมีอยู่ที่ตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล อำเภอเมือง ฯ อำเภอไทรงาม และอำเภอลานกระบือ
       ภาษาไทยยวนหรือภาษาล้านนา ใช้ในกลุ่มชนที่อพยพจากภาคเหนือมาอยู่ในอำเภอเมือง ฯ อำเภอคลองขลุง และอำเภอคลองลาน
       ภาษาชาวเขา เป็นภาษาของชนกลุ่มน้อยที่อพยพเข้ามาอยู่ในเขตอำเภอคลองลานเป็นส่วน-ใหญ่และส่วนหนึ่งอยู่ในเขตอำเภอปางศิลาทองกับกิ่งอำเภอโกสัมพีนคร แบ่งเป็นกลุ่มต่าง ๆ ได้ดังนี้
          - ภาษาม้ง เป็นภาษาที่มีเสียงก้องและเป็นคำโดด มีคำศัพท์ที่ยืมมาจากจีน ไทยและลาว มีพยัญชนะมากกว่าภาษาไทย มีสระคล้ายคลึงกัน แต่ไม่มีเสียงตัวสะกดชัดเจน
          - ภาษาเย้า คล้ายกับภาษาม้ง ได้รับอิทธิพลจากภาษาจีนมาก ลักษณะเป็นคำเดียวโดด ๆ ไม่มีภาษาเขียนของตนเอง บางคนใช้อักษรจีนเขียนและอ่านเป็นภาษาเย้า บางท้องที่ใช้ภาษาจีนฮ่อ
          - ภาษากะเหรี่ยง มีพยัญชนะต้นควบกล้ำมากกว่าภาษาไทย มีวรรณยุกต์เพียงสามเสียง และตัวสะกดหนึ่งเสียงคือ อ.
          - ภาษาลีซอ ชาวลีซอมีความสามารถทางภาษาสูง สามารถพูดได้หลายภาษา เช่น ภาษาจีนยูนนาน ไทยใหญ่คำเมือง (ไทยยวน) และอีก้อ เป็นต้น ไม่มีเสียงตัวสะกด
          - ภาษามูเซอ มีระดับเสียงวรรณยุกต์ถึงเจ็ดเสียง ไม่มีเสียงพยัญชนะตัวสะกดเช่นเดียวกับชาวเขาเผ่าอื่น ๆ

คำสำคัญ : ภาษาถิ่น ภาษาพื้นบ้าน

ที่มา : http://www.kpp-local.go.th/index.php

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ภาษาท้องถิ่นกำแพงเพชร. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610006&code_type=01&nu=pages&page_id=1364

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1364&code_db=610006&code_type=01

Google search

Mic

นิทานพื้นบ้าน เรื่องตาทอง

นิทานพื้นบ้าน เรื่องตาทอง

ตาทองอาศัยอยูํกับภรรยาเพียงลำพัง ตาทองชอบเลํนการพนันเป็นชีวิตจิตใจ เลํนทีไรก็ เสียเงินหมด แล้วแกก็ขอเมียแก ขอแล้วขออีก แตํก็ไม่เคยเหลือกลับมา คราวนี้ตาทองก็บอกเมียอีกวำ “แม่มึงขอเงินอีก เงินไม่พอเรียนหมอ” เมียแกเอ่ยวำ “เอ้า แกเอาเงินไปเรียนหมอรึ ข้าเพิ่งรู้” แล๎วก็สํงเงินให้ตาทองก็เอาไป วันต่อมาตาทองมาขอเงินอีก แต่เมียบอกวำไม่มีเหลือควาย 2 ตัว เอาไปขายซะ แล้วตาทอง ก็ถามวำ “เมื่อไรแกจะเรียนหมอจบลํะ ” “เดี๋ยวก็จบแล๎ว ตาทองตอบ แล้วตาทองก็เอาเงินไปเลํนการพนันอีกตามเคย เวลาผำนไป เมียก็ถามวำ “พ่อมึงเรียนจบยังลํะ หมอนํะ” ตาทองตอบวำ “วันนี้ก็จบแล๎วแมํมึง” ตาทองเลํนการพนันจนเงินหมดก็กลับบ้าน ระหวำงเดินกลับบ้านก็แอบเห็นคนขโมยควายอยูํใต้ต้นไทร หยุดแอบดูแล้วก็กลับบ้านเพราะไมํได้เกี่ยวอะไร กับตนเอง เวลาตํอมามีชายคนหนึ่งตะโกนวำควายหาย ถูกลักไป มีคนบอกวำไปหาตาทองซิ แกไปเรียนดูหมอมา ชายผู้นี้ก็ไปหาตาทองให้ดูวำควายที่ถูกขโมยไปอยูํที่ไหน บังเอิญตาทองรู้วำควายอยูํตรงไหนก็แอบยิ้มในใจ ทำทำหยิบไม้มาเขยำ แล้วบอกวำ “อ๋อ ควาย เจ้าหายเหรอ เจ้าไปใต้ต้นไทรใหญํท้ายหมูํบ้านสิ แล้วจะเจอควายของเจ๎า ชายคนนั้นก็เดินไปแล้วพบควายที่หายไปจริง ๆ จึงพูดชมเชยวำตาทองเป็นหมอดูที่แมํนจริง ๆ 

เผยแพร่เมื่อ 03-09-2019 ผู้เช้าชม 1,821

นิทานเรื่อง เหตุเกิดเมื่อฉันเสร็จ

นิทานเรื่อง เหตุเกิดเมื่อฉันเสร็จ

วันนี้เป็นวันพระ มีญาติโยมมาทำบุญกันเต็มศาลา ปกติพอฉันเสร็จพระมักใช้เณรให้เป็นคนล้างจาน เณรเจ็บใจมาเรื่อย วันนี้คิดจะเอาคืน พอฉันเสร็จเณรจึงยกมือขึ้นพนมแล้วสวดกรวดน้ำว่า “ยถาวริวโหน ยัดห่าหลายคน ให้กูล้างคนเดียว” พระได้ยินก็สวดตอบมาทันทีว่า “สัพพีตีโยม เสียงดังโครม เณรหัวแตก” เณรสวนมาว่า “เณรเตะพระ เณรชนะ พระหัวแตก” วันนั้นพระกับเณรช่วยกันล้างจานจนเลือดสาด

เผยแพร่เมื่อ 27-03-2020 ผู้เช้าชม 1,508

นิทานพื้นบ้าน เรื่องอีกากับนกยูง

นิทานพื้นบ้าน เรื่องอีกากับนกยูง

อีกากับนกยูงเป็นเพื่อนเกลอกัน วันหนึ่งอีกากับนกยูงผลัดกันลงรักปิดทอง อีกาลงรักให้กับนกยูงกํอน โดยปิดทองลงไปด้วย ทำให้นกยูงมีลวดลายสวยงามจนถึงปัจจุบัน ก็มาถึงตานกยูงทำให้กับอีกาบ้าง พอลงรักจนสีดำสนิทแล้ว ถึงขั้นจะปิดทอง อีกาแลเห็นหมาเนำลอยมาในแมํน้ำ ก็เลยรีบไปกินตามสัญชาติญาณชอบกินของเน่า นกยูงเห็นเข้าเลยไมํยอมปิดกองให้กับอีกา อีกาเลยมีสีดาสนิทมาจนทุกวันนี้

เผยแพร่เมื่อ 03-09-2019 ผู้เช้าชม 2,257

แหย่งพระที่นั่งต้องห้าม

แหย่งพระที่นั่งต้องห้าม

พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้นกำแพงเพชร คือตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2449 และกลับพระนคร ในวันที่ 27 สิงหาคม 2449 มีอยู่หนึ่งวันที่พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสบ้านปากคลอง คือวันที่ 25 สิงหาคม ตอนเช้าเสด็จเข้าไปในคลองสวนหมากไปบ้านพะโป้ มีเรื่องเล่าว่า พะโป้ได้นำแหย่ง (ที่นั่งบนหลังช้าง) ให้พระพุทธเจ้าหลวงประทับนั่ง เมื่อพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จกลับ พะโป้ได้บูชาแหย่งองค์นี้อย่างดี โดยเก็บไว้ในฐานะสิ่งสักการะบูชาเลยทีเดียว เมื่อพะโป้สิ้น (ถึงแก่กรรม) แล้ว ทรัพย์สมบัติของท่านถูกแบ่งปันกันไปหลายส่วน แหย่งได้ตกไปอยู่กับหลายท่าน แต่มีเรื่องมหัศจรรย์เล่าขานกันว่าเมื่อผู้ใดขึ้นนั่งมักจะมีปัญหาเกิดกับผู้นั่งเสมอ ทั้งร้ายแรงและไม่ร้ายแรง จนเล่าขานเลื่องลือไปทั่วปากคลอง ไม่มีใครกล้านั่งหรือแตะต้องแหย่งองค์นี้อีกเลย

เผยแพร่เมื่อ 20-04-2020 ผู้เช้าชม 879

นิทานพื้นบ้าน เรื่องหลวงตากับเต่า

นิทานพื้นบ้าน เรื่องหลวงตากับเต่า

มีหลวงตารูปหนึ่ง ขณะเดินไปปลดทุกข์ตอนเช้า เห็นเต่าตัวใหญ่ตัวหนึ่งเกิดอยากฉันขึ้นมา พอกลับไปกุฏิมองตามช่องฝาเห็นเด็กวัดมากันแล้ว ก็เริ่มสวดมนต์ดังๆ ว่า “เด็กเอ๋ยตาไปถาน เห็นเต่าคลานตัวมันใหญ่” ซ้ำไปซ้ำมา เด็กวัดได้ยินเสียงสวดมนต์ก็ “เอ๊ะ ! วันนี้หลวงตาสวดมนต์แปลก” พากันไปฟังได้ความแล้วจึงเดินไปที่ถาน เห็นเต่าตัวใหญ่คลานอยู่จริง จึงช่วยกันจับมาฆ่าจะต้มกิน แต่เต่าตัวใหญ่มาก หาหม้อใส่ไม่ได้เถียงกันวุ่นวาย หลวงตาแอบดูอยู่ก็สวดมนต์ต่อ “หม้อนี้ใบเล็กนัก หม้อต้มกรัก จักดีกว่า” ลูกศิษย์ได้ยินจึงไปเอาหม้อต้มกรักที่ใช้ย้อมจีวรพระมาต้ม เกิดปัญหาขึ้นมาอีกว่า ต้มแล้วจะต้องใส่อะไรบ้างถึงจะรสชาติดี หลวงตาได้ยิน เด็กวัดปรึกษากัน ก็รีบสวดมนต์ต่อ “ข่าตะไคร้ มะนาว มะกรูด มะพร้าวขูด น้ำปลาดี” เด็กวัดรีบปรุงตามสูตรหลวงตา กลิ่นหอมฟุ้งไปทั่ว หาช้อนมาชิมกัน หลวงตาเห็นแล้วก็น้ำลายหก ถ้าขืนปล่อยไว้คงอดแน่ จึงท่องมนต์บทสุดท้ายด้วยเสียงอันดังว่า “เนื้อหลังเด็กกินได้ ตับกับไข่เอาไว้ฉันเพล”

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 3,733

ตำนานวัดปราสาท

ตำนานวัดปราสาท

ประวัติของวัดปราสาทในช่วงแรกนั้นยังคลุมเครือ แต่ก็พอสรุปได้ดังนี้ คือ นานมาแล้วมีพวกห่มขาว ได้นำเรือชะล่ามาฝากกับตาเฮง ยายสาท ผัวเมียที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำหน้าวัด เมื่อพวกห่มขาวฝากเรือแล้วก็ขึ้นมาที่ท่านำแล้วก็หายไป โดยที่เรือนั้นก็ยังอยู่กับตาเฮงและยายสาท นานไปคนพวกนั้นก็ไม่มาเอาเรือคืน ตาเฮงและยายสารทก็มาค้นเรือดู พบทองและเงินจำนวนมาก จึงนำมาสร้างวัด ตาเฮงก็มาสร้างศาล เรียกกันว่าศาลตาเฮง ส่วนยายสาทก็นำเงินมาจ้างคนสร้างปราสาทซึ่งใหญ่โตมาก

เผยแพร่เมื่อ 10-03-2020 ผู้เช้าชม 1,723

ท้าวแสนปม 3 เรื่อง 3 ที่มา

ท้าวแสนปม 3 เรื่อง 3 ที่มา

เรื่อง “ท้าวแสนปม” เป็นเรื่องที่เล่าขานต่อเนื่องกันมาช้านาน กล่าวถึงบุรุษผู้หนึ่ง ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ของเมืองไตรตรึงษ์ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ของตำบลไตรตรึงษ์ อำเภอเมืองกำแพงเพชร ในระยะแรก ผู้เขียนรู้สึกแปลกใจที่พยายามจะศึกษาเรื่องราวของท้าวแสนปม แต่ละคนที่ให้ความรู้ให้ข้อมูลแตกต่างกันออกไปไม่เหมือนกัน จึงได้พยายามสืบค้นจากเอกสารต่าง ๆ จึงรู้ได้ว่าสาเหตุที่แตกต่างกันนั้น เกิดจากต้นเรื่องหรือข้อมูลของเรื่องมาจากหลายแหล่ง ซึ่งพอที่จะกล่าวถึงที่มาและเนื้อเรื่องดังนี้

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 5,490

นิทานพื้นบ้าน ซากอ้อยนำทาง

นิทานพื้นบ้าน ซากอ้อยนำทาง

มีครอบครัวหนึ่งมีพ่อแม่และลูกสี่คน พ่อกับแม่ไปทำงานหาของกินมาได้ก็ไม่พอให้ลูกๆ ทั้งสี่คนกิน เพราะทั้งสี่คนกินจุ แม่จึงได้พ่อพาลูกๆ ไปปล่อย เพราะเลี้ยงไม่ไหว คนแรกให้น้ำไปกินแล้วก็ทิ้งไว้ คนที่สองให้ผลไม้ คนที่สามให้ข้าว คนที่สี่น้องสุดท้องให้อ้อย คนที่สี่เป็นคนที่กินจุที่สุด จึงเริ่มกินอ้อยตั้งแต่ออกเดินทาง แล้วคายทิ้งไปตามทาง พอถึงที่หมายพ่อบอกว่าให้รออยู่ แล้วจะกลับมารับ รอจนเช้าพ่อก็ไม่มารับ จึงเดินตามซากอ้อยที่คายไว้ตามทาง ลูกคนสุดท้องจึงกลับบ้านถูก

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 1,452

ตำนานศาลพ่อปู่วังหว้า

ตำนานศาลพ่อปู่วังหว้า

พ่อปู่วังหว้า เริ่มต้นคือ การอพยพของบรรพบุรุษชาวตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเลมาจากอีสาน พ.ศ. 2499 มาเลือกทำเลในการดำรงชีวิต หลังจากนั้นได้ถักล้างถางพงบริเวณศาล ถางไปบริเวณคลองวังกันไปเจอศาลเพียงตาที่คนโบราณมาทำไว้ก่อนแล้ว สันนิษฐานว่า คนตั้งแต่สมัยมาอยู่ก่อน 2499 เขาทำเป็นศาลเพียงตาเอาไว้ เวลาเขามีการตัดไม้ มีการหาปลา หาอยู่หากิน ได้มีการกราบไหว้ เป็นขวัญกำลังใจ แต่ก่อนศาลพ่อปู่วังหว้าเป็นสังกะสีแผ่นน้อยๆ เล็กๆ มีเสาต้นเดียว มีเพิงเล็กๆ อยู่ใต้ต้นตะคร้อ 2 ต้น 

เผยแพร่เมื่อ 09-01-2020 ผู้เช้าชม 2,540

นิทานเรื่อง ชาวนากับหมา

นิทานเรื่อง ชาวนากับหมา

มีชาวนาครอบครัวหนึ่ง มีบ้านอยู่กลางทุ่งนาของฉัน วันหนึ่งเกิดมีหมาเข้ามาลักขโมยข้าวขอในบ้านชาวนากิน ชาวนากลับจากทำนาพอดี พบหมากำลังจะกินอาหารที่อยู่ในครัว จึงวิ่งไล่จับหมาตัวนั้นได้ ด้วยความโมโห ชาวนาจึงจุดไฟที่หางหมาตัวนั้น เจ้าหมาก็ตกใจมาก วิ่งหนีเข้าไปในทุ่งนาของชาวนาที่กำลังเหลืองใกล้เวลาเก็บเกี่ยว ไฟที่หางหมาจึงไหม้ต้นข้าวและลุกลามไหม้ไปทั้งทุ่งนาของชาวนาจนไม่เหลือสักต้น

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 3,860