ความแตกต่างของเนื้อพระกรุ

ความแตกต่างของเนื้อพระกรุ

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้ชม 9,795

[16.4821705, 99.5081905, ความแตกต่างของเนื้อพระกรุ]

       ความแตกต่างของเนื้อพระกรุ พระกำแพงต่างๆ ซึ่งเป็นพระกรุจังหวัดเดียวกันเหตุใดจึงมีเนื้อหาที่ต่างกัน ทำไมบางองค์เนื้อแดงดูฉ่ำมีแร่ใหญ่ ชัด บางองค์ละเอียดเนื้อแทบไม่มีเม็ดแร่ใหญ่ให้เห็น บางองค์ก็เหมือนเป็นพระที่ผ่านการใช้มามาก ลักษณะลื่นๆ เรียบๆ การที่พระเครื่องมีเนื้อหาต่างกัน ถ้าจะให้ผมสันนิษฐานน่าจะเกิดจากสาเหตุการสร้างพระจำนวนมากคงไม่ได้มีการผสมเนื้อครั้งเดียวเป็นแน่ ดังนั้น พระที่ผสมหลายครั้งอาจจะมีเนื้อหาแตกต่างกันไป เช่น ถ้าครั้งใดมีส่วนผสมที่แก่ว่านและเกสรก็อาจจะหนึกนุ่มกว่าที่ครั้งที่แก่ดิน แม้แต่พระเนื้อผงอย่างพระสมเด็จก็มีแบบหยาบที่เรียกตามๆกันมาว่า ก้นครก (ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าถูกหรือไม่) บางครั้งก็แก่น้ำมันที่เป็นตัวประสาน ส่วนเนื้อโลหะอย่างพระกริ่งแม้แต่หล่อครั้งเดียวกันวรรณะหรือกระแสก็ยังไม่เท่ากัน ผมไม่สันทัดเรื่องพระกริ่งแต่เคยได้ยินเขาบอกว่าที่วรรณะต่างกันเกิดจากการเซทตัวของเนื้อโลหะที่ต่างกัน สภาพของกรุ พระที่สร้างครั้งเดียวกัน ที่บรรจุกรุ หรืออยู่ในพื้นดินที่มีสภาพต่างกัน ความแห้ง ความชื้น ที่ต่างกัน ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ ทำให้เนื้อของพระต่างกัน คำว่า เนื้อนี้ผมพูดให้คนที่ถามมาเข้าใจง่าย อันที่จริงเนื้อก็เหมือนกัน เพียงแต่สภาพของผิว คราบ นั้นจะต่างกันเพราะสภาพกรุต่างหาก ตัวอย่างพระสนิมแดงเช่นพระร่วงหนังรางปืน บางองค์สนิมสีลูกหว้า บางองค์มีแต่ไขขาวหนา บางองค์สีแดงจัด ประการสุดท้ายเกิดจากการเลี่ยมใช้ ในสมัยก่อนมีคติว่าการห้อยพระต้องเลี่ยมเปิดหน้าเปิดหลัง พระที่ถูกเหงื่อไคล จึงมักดูหนึกนุ่มคนที่ดูพระไม่ชำนาญก็ชอบมาก บอกว่าดูง่าย แม้แต่การใส่ตลับก็จะมีไอเหงื่อและความร้อนจากร่างกายทำให้เนื้อพระดูนุ่ม ไม่แห้งผาก ส่วนบางองค์ขึ้นจากกรุก็เลี่ยมแบบกันน้ำรักษาสภาพเดิม พระสมเด็จบางองค์ไม่ผ่านการเลี่ยมห้อยคอ เรียกว่าสภาพหิ้งผิวแห้งนวลสะอาดตา พวกที่สายตาไม่กล้าแข็งก็นึกว่าพระใหม่ พระกำแพงบางองค์ขึ้นมาจากกรุยิ่งพบในภาชนะบางอย่างที่ฝังไว้ เอาขึ้นมาเลี่ยมดูแล้วเหมือนสีหม้อใหม่ เมื่อถูกเหงื่อและผ่านการจับต้องจึงจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นหนึกนุ่มขึ้น ซึ่งที่จริงแล้วถ้ารักษาสภาพเดิมๆ จะน่าดูกว่ามาก    
       ความแตกต่างของเนื้อพระกรุ มีผู้ถามมาว่า พระกำแพงต่างๆ ซึ่งเป็นพระกรุจังหวัดเดียวกันเหตุใดจึงมีเนื้อหาที่ต่างกัน ทำไมบางองค์เนื้อแดงดูฉ่ำมีแร่ใหญ่ ชัด บางองค์ละเอียดเนื้อแทบไม่มีเม็ดแร่ใหญ่ให้เห็น บางองค์ก็เหมือนเป็นพระที่ผ่านการใช้มามาก ลักษณะลื่นๆ เรียบๆ
       การที่พระเครื่องมีเนื้อหาต่างกัน ถ้าจะให้ผมสันนิษฐานน่าจะเกิดจากสาเหตุดังนี้
       1. การสร้างพระจำนวนมากคงไม่ได้มีการผสมเนื้อครั้งเดียวเป็นแน่ ดังนั้น พระที่ผสมหลายครั้งอาจจะมีเนื้อหาแตกต่างกันไป เช่น ถ้าครั้งใดมีส่วนผสมที่แก่ว่านและเกสรก็อาจจะหนึกนุ่มกว่าที่ครั้งที่แก่ดิน แม้แต่พระเนื้อผงอย่างพระสมเด็จก็มีแบบหยาบที่เรียกตามๆกันมาว่า ก้นครก (ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าถูกหรือไม่) บางครั้งก็แก่น้ำมันที่เป็นตัวประสาน ส่วนเนื้อโลหะอย่างพระกริ่งแม้แต่หล่อครั้งเดียวกันวรรณะหรือกระแสก็ยังไม่เท่ากัน ผมไม่สันทัดเรื่องพระกริ่งแต่เคยได้ยินเขาบอกว่าที่วรรณะต่างกันเกิดจากการเซทตัวของเนื้อโลหะที่ต่างกัน
       2. สภาพของกรุ พระที่สร้างครั้งเดียวกัน ที่บรรจุกรุ หรืออยู่ในพื้นดินที่มีสภาพต่างกัน ความแห้ง ความชื้น ที่ต่างกัน ปัจจัยต่างๆเหล่านี้ทำให้เนื้อของพระต่างกัน คำว่า เนื้อนี้ผมพูดให้คนที่ถามมาเข้าใจง่าย อันที่จริงเนื้อก็เหมือนกัน เพียงแต่สภาพของผิว คราบ นั้นจะต่างกันเพราะสภาพกรุ ต่างหาก ตัวอย่างพระสนิมแดงเช่นพระร่วงหนังรางปืน บางองค์สนิมสีลูกหว้า บางองค์มีแต่ไขขาวหนา บางองค์สีแดงจัด
       3. ประการสุดท้ายเกิดจากการเลี่ยมใช้ ในสมัยก่อนมีคติว่าการห้อยพระต้องเลี่ยมเปิดหน้าเปิดหลัง พระที่ถูกเหงื่อไคล จึงมักดูหนึกนุ่มคนที่ดูพระไม่ชำนาญก็ชอบมาก บอกว่าดูง่าย แม้แต่การใส่ตลับก็จะมีไอเหงื่อและความร้อนจากร่างกายทำให้เนื้อพระดูนุ่ม ไม่แห้งผาก ส่วนบางองค์ขึ้นจากกรุก็เลี่ยมแบบกันน้ำรักษาสภาพเดิม พระสมเด็จบางองค์ไม่ผ่านการเลี่ยมห้อยคอ เรียกว่าสภาพหิ้งผิวแห้งนวลสะอาดตา พวกที่สายตาไม่กล้าแข็งก็นึกว่าพระใหม่ พระกำแพงบางองค์ขึ้นมาจากกรุยิ่งพบในภาชนะบางอย่างที่ฝังไว้ เอาขึ้นมาเลี่ยมดูแล้วเหมือนสีหม้อใหม่ เมื่อถูกเหงื่อและผ่านการจับต้องจึงจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นหนึกนุ่มขึ้น ซึ่งที่จริงแล้วถ้ารักษาสภาพเดิมๆจะน่าดูกว่ามาก
       เมื่อเป็นดังที่ว่านี้แล้ว ขอแนะนำให้ดูพิมพ์เป็นประการแรก จากนั้นจึงพิจารณาเนื้อ และธรรมชาติ คำแนะนำก็คือว่าท่านต้องแม่นพิมพ์ และพยายามดูพระแบบเดียวกันหลายๆลักษณะ ถ้ามีโอกาสได้ดูพระแท้ๆ ก็ส่องพิจารณาจดจำไว้ พระแท้จะเป็นครูของเรามากกว่าตำราเล่มใด

คำสำคัญ : พระเครื่อง

ที่มา : https://www.facebook.com/taksilaprakruang/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). ความแตกต่างของเนื้อพระกรุ. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610005&code_type=01&nu=pages&page_id=1175

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1175&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

พระสามพี่น้อง

พระสามพี่น้อง

ถ้ากล่าวถึงพระสามพี่น้องนั้น มีอยู่มากมายหลายองค์ด้วยกันพระพุทธรูปบางองค์ได้ชื่อว่าเป็นพระสามพี่น้อง เพราะเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ในจังหวัดเดียวกัน บ้างก็เรียกเพราะสร้างขึ้นมาพร้อมๆ กันเช่นพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศาสดา แต่พระสามพี่น้องที่กล่าวถึงนี้ เชื่อว่าสร้างโดยชายพี่น้องสามคน คนหนึ่งเกิดวันพุธ จึงสร้างพระปางอุ้มบาตร ที่เรารู้จักกันดีในนามหลวงพ่อบ้านแหลม อีกคนเกิดวันพฤหัสจึงสร้างพระปางสมาธิ คือหลวงพ่อโสธร แต่อีกคนไม่ได้สร้างพระประจำวันเกิดแต่สร้างพระเกตุ หรือพระปางมารวิชัย ซึ่งพระปางมารวิชัยองค์นี้แหละที่มีถึงสามวัดที่อ้างว่าเป็นพระพุทธรูปประจำวัดของตนเอง คือหลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน หลวงพ่อวัดไร่ขิง และหลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา ซึ่งบางคนก็เลยรวมเรียกแบบถนอมน้ำใจเหมารวมหมดเลยว่าพระห้าพี่น้อง

เผยแพร่เมื่อ 28-02-2017 ผู้เช้าชม 6,380

กรุ สปจ.

กรุ สปจ.

ที่ตัั้งกรุพระ สปจ. อยุ่ในรั้วที่ทำการศึกษานิเทศก์จังหวัดกำแพงเพชร มุมรั้วทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดถนนราชดำเนิน เข้าด้านถนนเทศา ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระสังกัจจายณ์ พระร่วงนั่งพิมพ์ฐานสูง พระร่วมนั่งพิมพ์สามเหลี่ยม พระอู่ทองกำแพงพิมพ์ใหญ่ พระนางพญากำแพง พระร่วงนั่งพิมพ์ปีกกว้าง พระเชตุพนพิมพ์ฐานบัว พระอู่ทองกำแพงพิมพ์กลาง และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 23-08-2019 ผู้เช้าชม 4,492

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์กลาง

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์กลาง

พระซุ้มกอ พิมพ์กลางขึ้นมาจากหลายกรุในบริเวณทุ่งเศรษฐี แม้ว่าแต่ละกรกุจะมีรายละเอียดทางพิมพ์ที่แตกต่างกันออกไปบ้างแต่หลักการพิจารณาก็คล้ายๆกันกับการพิจารณาพระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ คือ จำเป็นจะต้องพิจารณาลักษณะโดยรวม เนื้อหา และธรรมชาติ เนื่องจากแต่และกรุมีรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆที่แตกต่างกันออกไป จะยึดถือจุดสังเกตตรงนั้นตรงนี้เป็นจุดตายตัวย่อมจะไม่น่าจะถูกต้องนัก ต้องสังเกตลักษณะโดยรวม ลักษณะโดยรวมที่ว่านี้หมายถึงลักษณะของฝีมือช่าง ซึ่งประกอบด้วยลักษณะองค์พระ ลายกนก ลวดลายโพธิ์บัลลังค์ เป็นต้น พุทธศิลปะจะต้องเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ส่วนทางเนื้อหานั้นเช่นเดียวกันกับการพิจารณาพระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ และพระกำแพงชั้นสูงทั่วไป กล่าวคือต้องมีลักษณะนุ่ม ละเอียด มีจุดแดงเล็ก ๆ ในเนื้อเป็นบางแห่ง คราบรารักที่จะมีบ้างไม่มากก็น้อยขึ้นกับสภาพของกรุ ที่สำคัญที่สุดต้องพิจารณาธรรมชาติให้ดี การยุบตัวด้านหลังที่เป็นคลื่น ไม่ราบเรียบตึง เพราะการเซทตัวของเนื้อพระ ด้านขอบข้างจะเห็นว่ามีการตัดด้วยวัตถุบางอย่างทุกองค์

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 39,042

กรุเจดีย์กลางทุ่ง

กรุเจดีย์กลางทุ่ง

ที่ตั้งกรุพระเจดีย์กลางทุ่ง อยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของท่ารถ บขส. ไป ประมาณ 600 เมตร ประเภทพบที่ ได้แก่ พระซุ้มกอ มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอ มีกนกพิมพ์เล็ก พระนางพญากำแพง พิมพ์ลึก พระอู่ทองกำแพง พิมพ์เล็ก พระเชตุพนพิมพ์ใหญ่-เล็ก พระงบน้ำอ้อยสิบพระองค์ พระซุ้มกอ มีกนกพิมพ์กลาง พระเม็ดขนุน พิมพ์ใหญ่ พระนางพญากำแพง พิมพ์ตื้น พระกลีบบัว พระเชตุพน พิมพ์บัวชั้นเดียว พระปรางมารวิจัย และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 7,023

กรุวัดดงหวาย

กรุวัดดงหวาย

ที่ตั้งกรุพระวัดดงหวาย ดูริมถนนกำแพงพรานกระต่าย จากศาลเจ้าพ่อหลักเมืองไปประมาณ 500 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระเปิดโลก พระอู่ทองกำแพงพิมพ์ใหญ่ พระอู่ทองกำแพงพิมพ์เล็ก พระนางพญากำแพงพิมพ์กลาง พระนางพญากำแพงเพชรพิมพ์เล็ก พระซุ้มยอพิมพ์ใหญ่-เล็ก พระเชตุพนบัวสองชั้น พระนางพญากำแพงเศียรโตพิมพ์ใหญ่ พระกำแพงคืบ และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 3,285

กรุวัดพระบรมธาตุ

กรุวัดพระบรมธาตุ

กรุวัดพระบรมธาตุ ทั้งตั้งกรุวัดพระบรมธาตุ ข้ามสะพานกำแพงเพชรไปทางตะวันตก จากหัวสะพานเลี้ยวขวาไปประมาณ 900 เมตร  ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอมีกนกพิมพ์ใหญ่ พระเล็บมือนาง พระซุ้มกอดำไม่มีกนกพิมพ์ใหญ่  พระใบพุทรา พระเม็ดขนุนพิมพ์ใหญ๋ พระกลีบบัว พระเม็ดขนุนพิมพ์กลาง พระนางพญาเศียรโต พระพูลจีบ พระนางพญากำแพงห้าเหลี่ยม พระกำแพงขาวพิมพ์กลาง พระนางพญาตราตาราง พระเปิดโลกเม็ดทองหลาง พระอูทองกำแพงพิมพ์เล็ก พระเปิดโลก พระกำแพงขาโต๊ะปิดทอง พระเปิดโลก พระกำแพงห้าร้อย พระลีลากำแพง พระงบน้ำอ้อยสิบหกพระองค์ พระลีลากำแพง พระท่ามะปราง พระเชยคางข้ามเม็ดพิมพ์ใหญ่ พระเชยคางข้างเม็ดพิมพ์เล็ก พระซุ้มยอ พระยอดขุนพล พระนาคปรก พระเม็ดมะลื่น และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 9,752

พระอู่ทองวังพาน

พระอู่ทองวังพาน

พระกำแพงอู่ทอง วังพาน หรือบางพาน เป็นเมืองเก่าสมัยสุโขทัยเมืองบางพาน เป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี เมืองหนึ่งที่น่าศึกษาอยู่ในเขตอำเภอพรานกระต่าย เป็นเมืองที่สำคัญและเก่าแก่ ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย เป็นราชธานี หรือก่อนหน้านั้น หลักฐานจากจารึกนครชุม ซึ่งจารึกเมื่อปี พ.ศ.1900 ในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท จารึกไว้ว่า "พิมพ์เอารอยตีนอันหนึ่งประดิษฐานไว้ในเมืองบางพาน เหนือจอมเขานางทอง" ซึ่งหมายถึงการนำรอยพระพุทธบาทจำลองมาประดิษฐานไว้ที่เขานางทองเมืองบางพานแสดงว่าเมืองบางพานเคยเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 11,149

พระนาคปรกยืน ศิลปะทวาราวดี

พระนาคปรกยืน ศิลปะทวาราวดี

พระนาคปรกที่มีชื่อเสียง และมีมากกรุต้องยกให้จังหวัดลพบุรี เช่น พระนาคปรก กรุวัดปืน และวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ส่วนพระนาคปรกที่ทุก ๆ ท่านเห็นอยู่นี้ เป็นพระนาคปรกศิลปะทวาราวดี และที่สำคัญเป็นพระนาคปรกยืนซึ่งปรกติพระนาคปรกนั่งศิลปะทวาราวดีก็หายากมากอยู่แล้ว ส่วนพระนาคปรกยืน ศิลปะทวาราวดีก็ยิ่งหายากเข้าไปใหญ่

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 3,884

พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุฤาษี

พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุฤาษี

พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ลายกนก กรุวัดพิกุล อมตะทั้งพุทธศิลป์ เปี่ยมล้นด้วยพุทธคุณ “มีกูแล้วไม่จน” โดย ไตรเทพ ไกรงูพระเครื่องสกุลกำแพงเพชร ปรากฏหลักฐานชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง เสด็จประพาสกำแพงเพชร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเขียนเมื่อ พ.ศ.2447 ได้กล่าวถึงจารึกบนแผ่นลานทอง อันมีข้อความเกี่ยวกับการขุดพบพระต่างๆ ตามกรุต่างๆ หลักฐานชิ้นสำคัญ อันเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ได้แก่ ศิลาจารึกนครชุม ที่กล่าวถึงการสร้างเมือง โดยพระมหาธรรมราชาลิไท ประมาณ พ.ศ.1279

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2017 ผู้เช้าชม 21,400

เนื้อที่จัดสร้างพระฯกรุ

เนื้อที่จัดสร้างพระฯกรุ

พระเครื่องเนื้อดิน พระเครื่องฝังตัวเมืองกำแพงเพชรจะสร้างด้วยเนื้อดินผสมว่าน เกสรว่าน เมล็ดว่าน ผงใบลานเผา ผงพุทธคุณทรายละเอียดและแร่ พระเครื่องเนื้อดินฝัั่งนครชุม (ทุงเศรษฐี) จะสร้างด้วยเนื้อดินละเอียดผสมว่าน เกสรว่าน เมล็ดว่าน ผงใบลานเผา ผงพุทธคุณ แต่บางกรุผสมทรายละเอียดด้วยก็มี พระเครื่องโลหะวัสดุการสร้างจะแบ่งออกได้ดังนี้ กล่าวคือ 1. ทองคำ 2. เงิน 3. ดีบุก 4. ทองแดง 5. ตะกั่ว 6. ทองเหลือง 7. แร่ เนื้อพระเครื่องโลหะโบราณ ทั้งฝังตัวเมืองกำแพงเพชร และฝั่งทุ่งเศรษฐี การสร้างพระเครื่องโลหะในจำนวน 100 ส่วน จำนวนพระเครื่องจะมี 99 ส่วน สร้างด้วยเนื้อเงินผสมด้วยดีบุกและตะกั่ว เป็นผิว ปรอทเรียกว่าพระชินเงิน 0.2 ส่วนสร้างด้วยเนื้อทองคำผสมดีบุก และทองแดงหรือทองเหลืองเรียกว่าพระเนืื้อสำริด 0.4 ส่วนสร้างด้วยแผ่นเนื้อเงินด้านหลังเป็นเนื้อว่าน เรียกว่าพระว่านหน้าเงิน และอีก 0.4 ส่วนสร้างด้วยแผ่นเนื้อทองคำด้านหลังเป็นเนื้อว่าน เรียกว่าพระว่านหน้าทอง พระชนิดนี้กรุส่วนมากจะมีบางกรุจะมีเพียงคู่เดียวถือเป็นพระประธานของกรุเนื้อว่าน ซึ่งนำมาจากต้นว่านเนื้อจะแกร่งเห็นว่าผุแต่ไม่ยุ่ย

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 4,268