กระทงสายเมืองตากโบราณ

กระทงสายเมืองตากโบราณ

เผยแพร่เมื่อ 25-01-2022 ผู้ชม 2,612

[16.9642725, 99.0265044, กระทงสายเมืองตากโบราณ]

       หากเอยถึงกระทงสายจังหวัดตากย่อมเป็นที่ปรากฏถึงความสวยงามและความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น แต่หากย้อนมองกลับไปประเพณีลอยประทงสายที่รู้จักกันนั้น เกิดขึ้นมาอยู่คู่ชาวจังหวัดตากมาช้านาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนที่ตั้งริมแม่น้ำปิง เมื่อข้าพเจ้ามีโอกาสได้พูดคุยกับผู้สูงอายุหลายท่าน ที่มีอายุราว 70 -90 ปี ท่านเล่าว่าประเพณีลอยกระทงสายคือ การแสดงความกตัญญูที่มีต่อธรรมชาติ นั้นก็คือแม่ปิง การแสดงออกทางความรัก ที่ส่งผ่านการทำพิธีที่เรียกว่า "การลอยผ้าป่าน้ำ"
       การลอยผ้าป่าน้ำ คือ การทำกระทงขนาดใหญ่ประดับตบแต่งให้สวยงาม บางชุมชนอาจสลักกระทงเป็นลายไทย(แทงหยวก) ภายในบรรจุด้วยเครื่องผ้าป่า แล้วจึงแห่ไปริมน้ำปิง หลังจากนั้นจึงนิมนต์พระสงฆ์มารับองค์ผ้าป่าน้ำ แล้วชาวบ้านโดยเฉพาะเด็ก ๆ จึงนำกระทงไปลอยกลางแม่น้ำปิง ในส่วนของตัวกระทงสายก็มิได้จำกัดเฉพาะกะลามะพร้าวเท่านั้น ชาวบ้านกับนิยมนำกาบกล้วยมาตัดให้ได้ขนาด บรรจุด้วยขี้ไต้แล้วจึงพากันลงเรือชะล่า ล่องไปกลางลำน้ำปิงในบริเวณที่มีร่องน้ำไหลลึกและเป็นสาย หลังจากนั้นจึงพากันลอยกระทที่เตรียมมาตามจำนวนและกำลังความสามารถ กระทงเมื่อลอยไปกลางลำน้ำปิง จะไหลเป็นสายเรียงต่อกันสวยงาม ส่งผลให้เรียกประเพณีีว่า ลอยกระทงสายสืบมา
       ในส่วนบ้านต่าง ๆ ก็จะตามประทีป บริเวณหน้าบ้านของตนเองเพื่อบูชาพระจันทร์ นอกจากนั้นในชุมชนที่เป็นชาวไทยเหนือก็จะนำเส้นด้ายสายญิจน์มาวัดความยาวจากขนาดศีรษะและลำตัวนำไปชุบน้ำมันมะพร้าวหลังจากนั้นจึงนำไปทำพิธีส่งเคราะห์ด้วยการนำไปเผาที่วัดในชุมชน เช่น วัดพร้าว วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง
       ต่อมาเมื่อประเพณีลอยกระทงสายเป็นที่รู้จักในวงกว้างขึ้น มีการถูกกำหนดมาตรฐานด้วยเกณฑ์ต่าง ๆ มากมาย มีการผูกเรื่องราวให้กระทงกะลามะพร้าวเป็นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น โดยนำไปโยงกับวัฒนธรรมการแปรรูปมะพร้าวให้เป็นไส้เมียงเมืองตาก พร้อมทั้งกำหนดให้ให้ภายในกระทงสายต้องมีด้ายที่ฟั่นเป็นรูปตีนกาโดยให้ความหมายทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับความเชื่ิอในเรื่องพระเจ้าห้าพระองค์
       ในปัจจุบันประเพณีลอยกระทงสายในการรับรู้ คือการลอยกะลามะพร้าวหนึ่งพันดวง เป็นงานเทศกาลที่ยิ่งใหญ่และผู้คนจากทั่วทิศอยากไปชม ข้าพเจ้ายังดีใจที่เคยเห็นบรรยากาศลอยกระสายแบบคลาสสิคที่คนในรุ่นคุณตาคุณยายมาร่วมกันร้องเพลงเชียร์กระทงสาย ยังได้ยินเพลงรำวงแบบพื้นบ้านจากชาวบ้านจริง ๆ ริมตลิ่งยังประดับด้วยตะเกียงน้ำมัน เมื่อใกล้เทศกาลนี้ภาพบรรยากาศสุดคลาสสิคนั้นก็หวนคืนมาอีกครั้ง เพราะเทศกาลลอยกระสายในวันนี้ถูกเกณฑ์เป็นตัวตั้งไปแล้วเสียหมด

(ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ อาจารย์วิไลวรรณ อินทร์อยู่ , อาจารย์เยาวเรศ บัวทอง ,รัชนิดา น้ำใจดี)

คำสำคัญ : กระทงสาย

ที่มา : https://www.facebook.com/laoruengmuengtak/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). กระทงสายเมืองตากโบราณ. สืบค้น 30 มิถุนายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610004&code_type=TK001&nu=pages&page_id=2010

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2010&code_db=610004&code_type=TK001

Google search

Mic

พระราชนิยมในสมัยพระพุทธเจ้าหลวงกับการปลูกต้นไม้ริมถนน

พระราชนิยมในสมัยพระพุทธเจ้าหลวงกับการปลูกต้นไม้ริมถนน

เมืองตากในช่วงที่พระยาสุจริตรักษา เป็นเจ้าเมืองตากในขณะนั้นได้สนองตามแนวพระราชนิยมด้วยการตัดถนนตากสินและปลูกต้นมะขามไว้สองข้างถนนเพื่อความร่มเงา อันมีหลักฐานจากเอกสารท้องถิ่นคือ นิราศเมืองตาก ของขุนวัชรพุุกก์ศึกษาการกล่าวไว้ ดังนั้นจึงขอรณรงค์ให้เทศบาลและชาวเมืองตากร่วมกันอนุรักษ์ต้นไม้โบราณที่คงคุณค่าของเมืองเป็นหมุดหมายของกาลเวลาที่เราก็เลือนไปพร้อมกับผู้ที่มีชีวิตอยู่ร่วมสมัยนั้น

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 520

ต๋าแหลว

ต๋าแหลว

ต๋าแหลวหรือตาเหลวเครื่องจักรสานทำจากไม้ไผ่และหญ้าคาถักเป็นรูปแฉกมีความหมายถึงตาของนกเหยี่ยว (นกแหลว) ไว้เพื่อเป็นการป้องกันสิ่งชั่วร้าย โรคภัยไข้เจ็บและสิ่งที่เป็นอวมงคลต่าง ๆ เป็นสัญลักษณ์แห่งพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ในยามที่บ้านเมืองเกิดการระบาดด้วยโรคภัย

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 3,441

การเชิดหุ่นกระบอกจากคณะสังวาลย์ศิลป์

การเชิดหุ่นกระบอกจากคณะสังวาลย์ศิลป์

หุ่นกระบอกอายุร่วมร้อยปี ถูกเก็บไว้อย่างดีในพิพิธภัณฑ์วัดพระบรมธาตุ จังหวัดตาก จากเดิมถูกเก็บไว้อยู่ในบ้านคุณยายเจียมจิตต์ บำรุงศรี ทายาทรุ่นที่ 3 หลังจากที่เจ้าของคณะหุ่นกระบอก ผู้ก่อตั้งคุณแม่สังวาลย์ อิ่มเอิบ ถึงแก่กรรม คุณยายเจียมจิตต์ ได้มามอบให้วัดพระบรมธาตุ เพื่อให้คนรุ่นหลัง ได้เห็นถึงความรุ่งเรืองของหุ่นกระบอกคนเมืองตาก

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 597

เจลใส่ผมน้ำมันมะพร้าวออแกรนนิค

เจลใส่ผมน้ำมันมะพร้าวออแกรนนิค

สมัยโบราณ คนเฒ่าคนแก่ยังนิยมมวยผมจ๊อกน้อย ๆ ที่ท้ายทอยนุ่งซิ่นสมัยนิยมคือผ้าลายเลียนแบบผ้ามัสกาตี นิยมจับผมให้เข้ารูปด้วยน้ำมันมะพร้าว วันแรก ๆ ก็หอมน้ำมันมะพร้าวดี ผ่านไปสองสามวันกลิ่นออกจะเหม็นหืนไปสักหน่อย ผู้เขียนจึงได้ความรู้ใหม่ว่าคนโบราณช่างคิดสามารถนำไขจากมะพร้าวมาทำเป็นเจลใส่ผมจากธรรมชาติ ช่วยให้ผมเงาดำเสียด้วย ใครทำน้ำมันมะพร้าวใส่ผมเป็นบ้างครับ เดียวนี้คงเลิกนิยมทำกันแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 357

เทศน์มหาชาติในเมืองตาก ภาษากลุ่มที่เลือนไปตามบริบท

เทศน์มหาชาติในเมืองตาก ภาษากลุ่มที่เลือนไปตามบริบท

ในระหว่างเทศกาลเข้าพรรษาตามหัววัดในชุมชนคนกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในตัวเมืองตาก ทั้งกลุ่มไทยพื้นถิ่น ลาว (ยวน) มอญ ฯลฯ ล้วนสืบสานประเพณีนี้กันทั้งสิ้น ในงานตั้งธรรมหลวง(เทศน์มหาชาติ) พระท่านเทศน์เป็นคำเมือง(ปากลาว) ในปัจจุบันตามหัววัดต่าง ๆ ที่ตั้งในชุมชนต่าง ๆ ไม่แน่ใจว่ายังเทศน์ด้วยภาษาชาติพันธ์ุอยู่หรือไม่ หรือกลืนกลายไปแล้วตามกาลเวลา เพราะคนในแต่ละชุมชนสื่อสารภาษากลุ่มน้อยลงไปทุกที

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 702

การลอยโคม

การลอยโคม

ตามความเชื่อดั้งเดิมของชาวล้านนา ในวันเพ็ญเดือนสิบสองจะมีการลอยโคม เพื่อบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ โดยโคมจะมีด้วยกัน 2 แบบ คือ โคมลมหรือเรียกอีกอย่างว่า ว่าวควัน จะลอยในช่วงกลางวัน และโคมไฟที่ใช้ในตอนกลางคืน ในปัจจุบันเกิดความเชื่อใหม่ขึ้น คือ ลอยโคมเพื่อปล่อยทุกข์ปล่อยโศกหรือเรื่องร้ายไปกับโคม ไม่ใช่เพื่อนมัสการพระเกศแก้วจุฬามณีอีกต่อไป

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 6,884

กระทงสายเมืองตากโบราณ

กระทงสายเมืองตากโบราณ

หากเอยถึงกระทงสายจังหวัดตากย่อมเป็นที่ปรากฏถึงความสวยงามและความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น แต่หากย้อนมองกลับไปประเพณีลอยประทงสายที่รู้จักกันนั้น เกิดขึ้นมาอยู่คู่ชาวจังหวัดตากมาช้านาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนที่ตั้งริมแม่น้ำปิง เมื่อข้าพเจ้ามีโอกาสได้พูดคุยกับผู้สูงอายุหลายท่าน ที่มีอายุราว 70 -90 ปี ท่านเล่าว่าประเพณีลอยกระทงสายคือ การแสดงความกตัญญูที่มีต่อธรรมชาติ นั้นก็คือแม่ปิง การแสดงออกทางความรัก ที่ส่งผ่านการทำพิธีที่เรียกว่า "การลอยผ้าป่าน้ำ"

เผยแพร่เมื่อ 25-01-2022 ผู้เช้าชม 2,612

อาสนาพระเจ้า จารีตโบราณในชุมชนลาวเมืองตากที่เลือนราง

อาสนาพระเจ้า จารีตโบราณในชุมชนลาวเมืองตากที่เลือนราง

“เครื่องราชราชกกุธภัณฑ์” หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “เครื่องสูง” บางแห่งเรียกว่า “เครื่องเทียมยศ” มีบทบาทในพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะ “พิธีสมโภชพระเจ้า หรือ, อบรมสมโภชพระเจ้า, บวชพระเจ้า” หมายถึง การสมโภชองค์พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นใหม่ เพื่อเป็นเครื่องแสดงสัญลักษณ์การยกย่องพระพุทธรูปให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ ให้พุทธบริษัทกราบไหว้บูชาในพระวิหาร อุโบสถ สถานที่สำคัญต่าง ๆ พิธีกรรมนี้จะนิยมทำในประเพณีปอยหลวง หรือการฉลองเสนาสนะ เช่น พระวิหาร อุโบสถ กุฎิสงฆ์ เป็นต้น “เครื่องราชราชกกุธภัณฑ์” ต้องอยู่คู่กับอาสนาหรือราชบรรจถรณ์ ลักษณะคล้ายกับเตียงนอนมีหลังคาแต่หลังเล็กกว่า จะนิยมวางไว้ข้าง ๆ กับฐานพระพุทธรูป

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 702

โฮงดำหัวผะเจ้า (ห้องสรงน้ำพระ)

โฮงดำหัวผะเจ้า (ห้องสรงน้ำพระ)

วัดในเขตอำเภอบ้านตาก อำเภอสามเงา และในอำเภอเมืองตาก จะมีห้องสรงน้ำพระอยู่ในบริเวณวัดแทบทุกวัด ซึ่งมีไว้เพื่อใช้สรงน้ำพระในวันพญาวัน วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษา โดยจะสรงน้ำพระในช่วงบ่าย ๆ หรือเย็น ๆ ก่อนสรงน้ำพระก็จะฟังเทศน์อนิสงค์ปีใหม่ และจากนั้นก็จะโอกาดน้ำขมิ้นส้มป่อย เมื่อโอกาดเสร็จก็จะอันเชิญพระพุทธรูป เข้าไปไว้ในห้องสรงน้ำพระเป็นอันดับแรกก่อน จากนั้นผู้คนต่างก็จะนำน้ำขมิ้นส้มป่อยที่เตรียมมานั้น ไปเทที่รางริน ซึ่งรางรินนั้นจะเชื่อมต่อกับห้องสรงน้ำพระ โดยทำเป็นช่องลอดให้พอดีกับรางริน สรงน้ำพระพุทธรูปเสร็จแล้วนั้น ก็จะนิมนต์พระสงฆ์ในวัดทั้งหมดเข้ามาในห้องสรงน้ำพระต่อไป

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 863

เดือนสี่ จี่ข้าวหลาม

เดือนสี่ จี่ข้าวหลาม

ในช่วงวันเดือน 4 เหนือ ขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาวหลังจากที่มีการเก็บเกี่ยวพืชผลทางการเกษตรเรียบร้อยแล้วชาวบ้านมักจะนำข้าวใหม่ที่ได้จากการเก็บเกี่ยวมาทำบุญที่วัด เรียกประเพณี “ตานข้าวใหม่ หิงไฟพระเจ้า” ในเมืองตากมีการสืบทอดประเพณีการถวายข้าวใหม่เช่นเดียวกับวัฒนธรรมภาคเหนือเช่นกัน แต่มีข้อแตกต่างกัน คือชาวเมืองตากนิยมนำข้าวเหนียวใหม่มาเผาเป็นข้าวหลาม เพื่อใช้ในการถวายพระก่อนงานเทศกาล 1 วัน อดีตชาวบ้านเกือบทุกหลังจะนิยมเผาข้าวหลามเพื่อนำไปถวายพระ เป็นกิจกรรมสร้างความรักสามัคคีในครอบครัว

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 1,057