“กำแพงเพชร-ตาก” เส้นทางมรดกโลกด้านวัฒนธรรม สัมผัสทุกวิถีที่จะรัก..ไม่รู้ลืม

“กำแพงเพชร-ตาก” เส้นทางมรดกโลกด้านวัฒนธรรม สัมผัสทุกวิถีที่จะรัก..ไม่รู้ลืม

เผยแพร่เมื่อ 14-03-2019 ผู้ชม 1,825

[16.6944501, 99.1171182, “กำแพงเพชร-ตาก” เส้นทางมรดกโลกด้านวัฒนธรรม สัมผัสทุกวิถีที่จะรัก..ไม่รู้ลืม]

        “กำแพงเพชร” เป็นจังหวัดในภาคเหนือตอนล่างของประเทศ ทางทิศเหนือและทิศใต้ของจังหวัดเป็นที่ราบ ทางทิศตะวันตกเป็นภูเขาสลับซับซ้อนและเป็นต้นน้ำของลำธารต่าง ๆ เช่น คลองสวนหมาก คลองวังเจ้า คลองขลุง และคลองแขยง ซึ่งจะไหลลงสู่แม่น้ำปิง แม่น้ำสำคัญที่ไหลผ่านกลางพื้นที่ของจังหวัดตั้งแต่เหนือสุดจนใต้สุดมีชื่อเรียกว่าเมืองไตรตรึงษ์ เป็นนครแห่งแรกของเมืองกำแพงเพชร นับว่ายิ่งใหญ่ และเกรียงไกรอย่างยิ่ง เมืองไตรตรึงษ์คู่กับเมืองเทพนคร ตั้งอยู่คนละฟากฝั่งลำน้ำปิง เมืองไตรตรึงษ์คือเมืองของนางอุษา เมืองเทพนคร คือเมืองของท้าวชินเสน หรือท้าวแสนปม ทั้งสองยังมีหลักฐานที่ชัดเจน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร มีคำขวัญที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ในอดีตของนครไตรตรึงษ์ ว่า “เจดีย์เจ็ดยอดงามสม ท้าวแสนปมนามกระเดื่อง วัดวังพระธาตุฟูเฟื่อง เลื่องลือไกลไตรตรึงษ์”
       “วัดวังพระธาตุ” (วัดท้าวแสนปม) ภายในมีโบราณสถานที่สำคัญคือ เจดีย์พระประธานทรงข้าวบิณฑ์ (ทรงดอกบัว) ศิลปะสุโขทัย ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ โดยเห็นรูปทรงของเจดีย์ได้อย่างครบถ้วน เป็นเจดีย์ทรงดอกบัวที่นับว่าใหญ่ที่สุดในเมืองกำแพงเพชร ด้านหน้าพระเจดีย์มีพระวิหารฐานก่อด้วยอิฐ มีพระประธานประดิษฐานบนฐานชุกชี ด้านข้างอุโบสถมีศาลท้าวแสนปม
        “รูปปั้นท้าวแสนปม” หน้าเจดีย์วังพระธาตุ เป็นสัญลักษณ์สำคัญของนครไตรตรึงษ์ มีนิทานเล่ากันมาว่า เจ้าเมืองไตรตรึงษ์ มีพระธิดาสิริโสภาองค์หนึ่งซึ่งเป็นที่รักใคร่ดังดวงแก้วตาทรงพระนามว่า นางอุษา ที่ใกล้เมืองไตรตรึงษ์นี้มีชายคนหนึ่งซึร่างกายเต็มไป ด้วยปุ่มปม ชาวบ้านเรียกเขาว่า นายแสนปม มีอาชีพปลูกผักสวนครัวขายเลี้ยงตัว มะเขือที่เขาปลูกเอาไว้ต้นหนึ่งมีผลโตน่ากินเพราะ นายแสนปมถ่ายปัสสาวะรดเป็นประจำ อยู่มาวันหนึ่งเทวดาดลใจให้พระธิดานีกอยากเสวยมะเขือพวกนางข้าหลวงจึงออกเสาะหาจนมาพบมะเขือในสวนของนายแสนปม ลูกใหญ่อวบจึงขอซื้อไปถวาย หลังจากพระราชธิดาเสวยมะเขือของนายแสนปมได้ไม่นานก็เกิดตั้งครรภ์ขึ้น ท้าวไตรตรึงษ์รู้สึกอับอายขายหน้า พยายามสอบถามอย่างไรพระธิดาก็ไม่ยอมบอกว่าใครคือพ่อของเด็กในท้อง ครั้นเมื่อพระกุมารได้ เติบโตพอรู้ความ ท้าวไตรตรึงษ์จึงประกาศให้บรรดาขุนนางและเหล่าราษฎร์ทั้งหลายให้นำของกินเข้ามาในวัง หากพระกุมารยอมกิน ของผู้ใดผู้นั้นจะได้เป็นเขยหลวง บรรดาชายหนุ่มในเมืองต่างก็รีบเดินทางเข้าวังพร้อมของกินดี ๆ นายแสนปมทราบข่าวก็เข้าวังมาด้วยเช่นกัน โดยถือเพียงข้าวสุกติดมือมาก้อนเดียว แต่พระกุมารรับไปเสวย ท้าวไตรตรึงษ์ทรงกริ้ว ที่พระธิดาไปได้กับคนชั้นไพร่ มิหนำซ้ำยังอัปลักษณ์จึงขับไล่ออกจากวัง นายแสนปมพาพระธิดากับพระกุมารเดินทางเข้าไปหาที่อยู่ใหม่ ร้อนถึงพระอินทร์ต้องแปลงเป็นลิงนำกลองวิเศษมามอบให้ กลองนี้อยากได้อะไรก็ตีเอาตามได้ดังสารพัดนึก นายแสนปมอธิษฐานให้ปุ่มปมตามตัวหายไปแล้วตีกลองวิเศษ ร่างก็กลับเป็นชายรูปงาม จึงตีกลองขอบ้านเมืองขึ้นมาเมืองหนึ่ง ให้ชื่อ ว่า เมืองเทพนคร และสถาปนาตัวเองเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระนามว่า ท้าวแสนปม ปกครองไพร่ฟ้าด้วยความสงบสุข และเชื่อกันว่าราชโอรสของท้าวแสนปมคือพระเจ้าอู่ทอง กษัตริย์ผู้ก่อตั้งกรุงศรีอยุธยา เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้านำไปพระราชนิพนธ์ เรื่อง ท้าวแสนปม ทำให้คนทั้งประเทศรู้จักท้าวแสนปมมากขึ้น
        “เจดีย์เจ็ดยอดงามสม” หมายถึง ภายในกำแพงเมืองโบราณของนครไตรตรึงษ์ มีวัดประจำเมืองคือวัดเจดีย์เจ็ดยอด ซึ่งเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าหลวง (ร.5) เสด็จประพาสต้นกำแพงเพชร ในเดือนสิงหาคม พุทธศักราช 2449 เมื่อถึงนครไตรตรึงษ์ ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ว่า...วิหารเจดีย์พังตั้งอยู่เบื้องหลัง ถัดเข้าไปอีกหน่อยหนึ่ง เรียกว่าเจดีย์เจ็ดยอด จะเป็นด้วยผู้มาตรวจตราค้นพบ สามารถจะถางเข้าไปได้แค่เจ็ดยอดแต่ที่จริงคราวนี้ เขาถางได้ดีกว่า จึงได้พบมากกว่า 7 คือ พระเจดีย์ใหญ่ขนาดพระมหาธาตุริมน้ำอยู่กลาง มีพระเจดีย์สามด้าน... เจดีย์เจ็ดยอด มีเจดีย์รายล้อม พระมหาเจดีย์ อยู่ 3 ด้าน รวม 14 องค์ ยังมีเศียรหลวงพ่อโต เดิมเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนวิหาร เป็นพระที่สร้างขึ้นมาใหม่ จากคำบอกเล่าของนางเสนอ สิทธิ ปราชญ์ชาวบ้านเมืองไตรตรึงษ์ เล่าว่า เป็นพระที่สร้างขึ้นมาใหม่ ทางวัดได้จัดหาลิเกมาเล่นและเล่นบนวิหารโบราณ ในคืนนั้นฝนตกหนัก ตอนเช้าได้พบว่าองค์พระได้โค่นลงมา พังเสียหายหมด เหลือแต่เศียรเท่านั้นทางวัดจึงยกเศียรขึ้นตั้งอย่างที่เห็นในปัจจุบัน บริเวณหน้าวัดมีศาลของท้าวแสนปมและใน บริเวณวัด ก็มีมีรูปปั้นท้าวแสนปม ที่คนทั่วไปให้ความเคารพนับถือในฐานะเป็นตำนานของท้าวแสนปม ผู้สร้างเมืองเทพนคร ฝั่งตรงกันข้ามกับนครไตรตรึงษ์ตามตำนาน ภายในโบสถ์ ได้รับการต่อเติมจากใหม่จากชาวบ้าน มีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ชาวบ้านเรียกขานกันว่า"หลวงพ่อเพชร" ใต้ฐานพระอุโบสถ ขุดลงไปทะลุไปทั้งสองด้าน ทำให้งดงาม ลมพัดผ่านเย็น เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญนิยมทีนักท่องเที่ยวนิยมมาลอดใต้โบสถ์ขอพรเพื่อความเป็นศิริมงคล ที่หมู่บ้านเพชรนิยม อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร ผู้นำชุมชนกล่าวต้อนรับพร้อมชมการแสดงต้อนรับ ทำกิจกรรมร่วมกัน ชมการสาธิตการทำจักสาน สินค้าโอทอป นั่งรถอีต๊อกชมวิวิถีปกาเกอะญอ เที่ยวชมถ้ำแสงเพชร
        “วิถีชาวปกาเกอะญอ” หรือกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีการอพยพย้ายถิ่นฐานกระจายไปทั่วประเทศไทย และส่วนหนึ่งได้มาตั้งถิ่นฐานที่ อำเภอคลองลาน มี 2 หมู่บ้าน คือ บ้านคลองน้ำไหลใต้และบ้านกะเหรี่ยงน้ำตก ตำบลคลองลานพัฒนา อาชีพหลัก คือ รับจ้างทำไร่มันสำปะหลังและหาของป่าขาย ปัจจุบันพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับเอกลักษณ์ทางชาติพันธุ์ทั้งภาษาและชุดประจำเผ่า ที่ชาวปกาเกอะญอ ยังคงใส่ในงานประเพณีสำคัญ โดยวิถีชีวิตของชาวบ้านที่นี่ยังคงเรียบง่าย มีการปลูกผัก เลี้ยงหมูและไก่ไว้รับประทานในครอบครัว หมู่บ้านแห่งนี้ยังคงความเป็นธรรมชาติที่เงียบสงบ มีธารน้ำตกไหลผ่าน ให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสความเย็นของสายน้ำ บริเวณน้ำตกยังมีแอ่งน้ำขนาดใหญ่ใสสะอาดเป็นสายน้ำที่หล่อเลี้ยงชีวิตคนในหมู่บ้าน ที่นี่มีอาคารศูนย์วัฒนธรรมกระเหรี่ยงน้ำตก เป็นหมู่บ้านอัตลักษณ์โอทอปเพื่อการท่องเที่ยว เพื่อการเรียนรู้ มีสินค้าหลากหลายภายในชุมชนที่เกิดจากภูมิปัญญาชุมชน สามารถสร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างชัดเจน โดยเฉพาะเครื่องจักสานและผลงานปักผ้า
       “หมู่บ้านห้วยปลาหลด” อ.แม่สอด ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ชาวกะเหรี่ยงเคยอาศัยมาก่อน ชาวมูเซอเกือบทั้งหมู่บ้านทำมาหากินโดยปลูกและค้าฝิ่น ใช้ที่ดินจนหมดความสมบูรณ์ หรือที่เรียกว่าไร่เลื่อนลอย ผืนป่ามหาศาลจึงกลายสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรม เมื่อป่าถูกทำลาย แหล่งน้ำจึงแห้งแล้ง และดินเสื่อมสภาพ เมื่อเดือนมกราคม ปี 2517 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรชุมชนบ้านห้วยปลาหลดและทรงมีพระราชกระแสให้ปลูกพืชที่ทำรายได้ทดแทนฝิ่น พร้อมกับตั้งตลาดมูเซอ เพื่อจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรของชุมชน เป็นแรงบันดาลใจให้ชาวบ้านหันมาปลูกกาแฟผสมในพื้นที่ป่า นำไปสู่การดูแลรักษาป่า อีกทั้งยังปลูกผักหลากหลายชนิด เช่น ฟักแม้ว หรือมะระหวาน ซึ่งให้ผลผลิตตลอดปี สามารถเก็บขายและเป็นรายได้หลักให้กับชุมชนปี 2524 ชุมชนบ้านห้วยปลาหลดถูกประกาศพื้นที่เป็นเขตอุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช ทางอุทยาน ฯ จึงขอให้ชุมชนคืนพื้นที่เพื่อดำเนินการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ แต่สภาพพื้นที่อพยพที่จัดเตรียมไว้ ไม่เหมาะสมกับวิถีชีวิตของชาวบ้านชุมชนบ้านห้วยปลาหลดจึงหยุดทำไร่เลื่อนลอยและเริ่มหันมาดูแลรักษาป่าต้นน้ำอย่างจริงจัง การอยู่ร่วมกับป่าของชุมชนบ้านห้วยปลาหลด นับเป็นจุดเริ่มต้นความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชาวมูเซอดำ บ้านห้วยปลาหลดกับหน่วยจัดการป่าต้นน้ำดอยมูเซอ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ปัจจุบันพืชเศรษฐกิจสำคัญของชุมชน ได้แก่ กาแฟอาราบิก้า หน่อไม้ มะขามป้อม และฟักแม้ว(ซาโยเต้) ชาวบ้านจะนำไปขายที่ตลาดมูเซอ ซึ่งเป็นแหล่งรองรับผลผลิตทางการเกษตร ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง สร้างรายได้ให้กับครัวเรือนประมาณ 20,000 - 35,000 บาทต่อเดือน ชุมชนได้พึ่งพิงป่าจากความหลากหลายของพืชและสัตว์ โดยเป็นแหล่งอาหาร และไม้ใช้สอยที่ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์ ชาวบ้านชุมชนบ้านห้วยปลาหลดจึงมีคุณภาพชีวิตบนพื้นฐานความสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติ และสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
        “ถ้ำซามูไร” เป็นที่สนใจของกลุ่มนักท่องเที่ยวจากประเทศญี่ปุ่น ที่ได้เดินทางมาท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น จากการที่หลากหลายหน่วยงานได้ร่วมกันพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่หลายจุด และในพื้นที่บ้านตีนธาตุ ตำบลพระธาตุ อำเภอแม่ระมาด กลุ่มนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นเดินทางมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อมาศึกษาแหล่งท่องเที่ยว ที่เกี่ยวข้องกับชาวญี่ปุ่น นั่นคือเส้นทางเดินทัพของกองทัพจักรพรรดิญี่ปุ่น ดินแดนอาทิตย์อุทัย ณ ถ้ำซามูไร(คลังแสง) ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ทหารญี่ปุ่นเคยใช้เดินทางมาตั้งค่ายพักแรมในถ้ำที่บ้านตีนธาตุ และต่อมามีคนพบเครื่องมือ-อุปกรณ์ ของข้าวเครื่องใช้ของทหารญี่ปุ่นเก็บไว้ในถ้ำ เส้นทางมรดกโลกด้านวัฒนธรรม กำแพงเพชร - ตาก จะทำให้นักท่องเที่ยวสัมผัสถึงชีวิตตลอดจนประวัติศาสาตร์อันยาวนานของชุชนและสถานที่อันน่าสนใจ ที่มีประเพณีดั้งเดิมและการต่อยอดทางด้านภูมิปัญญาในทุกๆด้านที่จะสร้างความประทับใจแก่ผู้มาเยือนอย่างไม่รู้ลืม นอกจากไปเชคอิน แชะ ชม ชิม ช้อป แชร์..แล้วยังจะรัก...ในดินแดนแห่งนี้อย่างไม่รู้ลืม..

คำสำคัญ : กำแพงเพชร ตาก การท่องเที่ยว

ที่มา : https://siamrath.co.th/n/51779

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). “กำแพงเพชร-ตาก” เส้นทางมรดกโลกด้านวัฒนธรรม สัมผัสทุกวิถีที่จะรัก..ไม่รู้ลืม. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610002&code_type=01&nu=pages&page_id=952

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=952&code_db=610002&code_type=01

Google search

Mic

ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเพชรชมพู

ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเพชรชมพู

การท่องเที่ยวเชิงเกษตร สวนมะม่วงนพรัตน์ ตำบลเพชรชมภู ที่ริมถนนพหลโยธิน ตำบลเพชรชมพู อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร มีแผงขายมะม่วงตลอดทางทั้งขาขึ้นและขาล่อง มีมะม่วงหลายชนิด เช่น มะม่วงน้ำดอกไม้ เขียวเสวย เพชรบ้านลาด โชคอนันต์ เป็นต้น เนื่องจากตำบลเพชรชมภูแห่งนี้เป็นแหล่งปลูกมะม่วงแหล่งใหญ่ของจังหวัดกำแพงเพชร ทั้งขายเองในพื้นที่ ทั้งส่งขายให้แม่ค้าคนกลางส่งขายในประเทศ และส่งออกต่างประเทศด้วย จึงเป็นที่รู้จักของนักบริโภคและนักท่องเที่ยวที่ขับรถผ่านเส้นทางนี้ ซึ่งถ้าเป็นช่วงเทศกาลจะมีรถจอดตลอดเส้นทางเพื่อซื้อมะม่วงกลับบ้าน 

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 1,385

กำแพงป้อมทุ่งเศรษฐี

กำแพงป้อมทุ่งเศรษฐี

ป้อมทุ่งเศรษฐี เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเมืองกำแพงเพชร มีลักษณะเป็นป้อมปราการรูปสี่เหลี่ยม สร้างด้วยก้อนศิลาแลง ตั้งอยู่บนถนนพหลโยธิน ก่อนถึงตัวเมืองกำแพงเพชรเล็กน้อย จะเห็นกำแพงศิลาแลงเป็นป้อม มีใบเสมาเหลืออยู่ ป้อมก่อด้วยศิลาแลงกว้าง 83.5 เมตร รูปสี่เหลี่ยมสูงประมาณ 6 เมตร มีประตูทางเข้าตรงกลางป้อม 4 ด้าน ทางด้านในมีเชิงเทินพอเดินหลีกกันได้ ตรงฐานป้อมใต้เชิงเทินเป็นห้องมีทางเดินต่อต่อกันได้ ตรงมุมมีป้อมยื่นออก 4 มุม มีรูมองอยู่ติดกับพื้น 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,498

“กำแพงเพชร-ตาก” เส้นทางมรดกโลกด้านวัฒนธรรม สัมผัสทุกวิถีที่จะรัก..ไม่รู้ลืม

“กำแพงเพชร-ตาก” เส้นทางมรดกโลกด้านวัฒนธรรม สัมผัสทุกวิถีที่จะรัก..ไม่รู้ลืม

“กรมการพัฒนาชุมชน” โดยภารกิจนโยบายลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการเข้าถึงบริการของรัฐ เน้นการสร้างโอกาส อาชีพ และการมีรายได้ที่มั่นคงโดยการกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เกิดความเข้มแข็ง โดยการพัฒนาเส้น ทาง การท่องเที่ยว 8 เส้นทาง 31 จังหวัด 125 หมู่บ้าน บนพื้นฐานของอัตลักษณ์และภูมิปัญญาพื้นถิ่น วัฒนธรรมและประเพณีดั้งเดิมของชุมชน สู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวดึงดูดใจนักท่องเที่ยวเข้าสู่ชุมชนเพื่อสร้างรายได้สร้างความเข้ม แข็งให้กับประชาชนอย่างยั่งยืน ตอบโจทย์โครงการไทยนิยม ยั่งยืน ที่มีกลไกการขับเคลื่อนตั้งแต่ระดับชาติสู่ระดับ พื้นที่ มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในรูปแบบประชารัฐ โดยการวิเคราะห์ปัญหาความต้องการของประชาชนนั้น

เผยแพร่เมื่อ 14-03-2019 ผู้เช้าชม 1,825

สวนเกษตรบ้านลุงฮุย

สวนเกษตรบ้านลุงฮุย

สวนเกษตรบ้านลุงฮุย สถานที่ท่องเที่ยวการเกษตรแบบผสมผสาน มีสวนเงาะ, ทุเรียน, ลำใย, ฯลฯ ผลไม้ที่นี่รสชาติดี โดยเฉพาะเงารซึ่งเป็นจุดเด่นของตำบลสระแก้ว มีรสหวาน กรอบ อร่อย และภายในสวนมีห้องพักซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของที่นี่ เป็นบ้านดินซึ่งสร้างโดยมีรูปแบบสวยงาม และร่มรื่น เหมาะสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจได้เป็นอย่างดี

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,118

มอกล้วยไข่

มอกล้วยไข่

มอกล้วยไข่ เป็นชื่อเรียกตลาดกล้วยไข่ของจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งจำหน่ายกล้วยไข่ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทยเลยก็ว่าได้ครับ มีผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับกล้วยไข่ หลากหลาย ทั้ง เป็นหวี เป็นเครือ กล้วยฉาบ กล้วยแปรรูปต่างๆ หรือจะเลือกซื้อ แบบที่เป็นต้นไปปลุกก็มีจำหน่ายกันด้วย ถือว่าเป็นแหล่งกล้วยไข่และ ของฝากที่น่าสนใจไม่น้อย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,751

เมืองเทินทอง

เมืองเทินทอง

บริเวณวัดหนองปลิงใหม่ที่ติดกับค่ายลูกเสือจังหวัดกำแพงเพชร มีหลักฐานว่ามีเมืองโบราณเมืองหนึ่ง ชาวกำแพงเพชรเรียกว่าเมือง เนินทอง หรือเทินทอง หรือกองทอง ตั้งอยู่บนเขาลูกเตี้ยๆ ปัจจุบันมีการขุดลูกรังบ้าง ไถทำค่ายลูกเสือบ้าง ทำให้หลักฐานต่างๆ ถูกทำลายไปเกือบหมด 

เผยแพร่เมื่อ 19-04-2019 ผู้เช้าชม 769

ศูนย์อนุรักษ์แย้

ศูนย์อนุรักษ์แย้

เป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกกิ้งก่าประเภทหนึ่ง มีชื่อสามัญว่า Butterfly Lizard หรือ Small-scaled Lizard หรือ Ground Lizard แย้จัดเป็นสัตว์ที่อยู่ในสกุล Leiolepis ในวงศ์ Agamidae พบทั่วทั้งโลกทั้งหมด 8 ชนิด พบกระจายทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะภูมิภาคอินโดจีน สำหรับในประเทศไทยพบทั้งหมด 4 ชนิด มีลักษณะเด่นคือ มีสีสวยสด และลำตัวไม่มีปุ่มหนาม ขนาดลำตัววัดจากปลายปากโดยตลอดยาวประมาณ 11.5 เซนติเมตร หางยาวประมาณ 23.8 เซนติเมตร  ตัวแบนหางราบ โคนหางแบนและแผ่บานออก สีข้างแผ่ขยาย ไม่มีแผงหนามที่สันหลัง ช่องหูใหญ่ เยื่อหูจมใต้ผิวหนัง หนังข้างคอมีรอยพับตามขวาง รอบลำตัวมีเกล็ดประมาณ 40 แถว หัวและหลังสีเขียวมะกอก

เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้เช้าชม 4,603

เมืองพลับพลา

เมืองพลับพลา

บริเวณริมถนนพระร่วง ถัดจากจระเข้ปูนมาเล็กน้อย ชาวบ้านแถบนั้นทำไร่มันสำปะหลัง แต่มีบริเวณหนึ่งประมาณ 3 ไร่เศษ ชาวไร่เล่าว่า ไม่สามารถนำรถไถไปไถได้ เพราะเครื่องจะดับ เมื่อเราเข้าใกล้ พบบ่อน้ำโบราณจำนวนมาก ที่ก่อด้วยศิลาแลง วางผังของบ่อน้ำไว้ เป็นแนวสี่เหลี่ยม มีบ่อน้ำทำมุมกับวัดเก่า ซึ่งไม่มีชื่อ อยู่กลาง มีลักษณะเป็นวัดร้างที่ถูกขุดทำลายโดยสิ้นเชิง เจดีย์หรือเฉพาะฐานวิหารโบสถ์ ถูกขุดอย่างยับเยิน แต่แนวกำแพงแก้วยังเห็นได้ชัด เมืองที่เราเห็นนี้ ห่างจากริมถนนพระร่วงเพียงเล็กน้อย 

เผยแพร่เมื่อ 19-04-2019 ผู้เช้าชม 1,480

เสน่ห์แม่น้ำปิง

เสน่ห์แม่น้ำปิง

ลำน้ำที่ใสสะอาด มีหาดทรายขาวบริสุทธิ์มีแห่งเดียวในประเทศไทย คือแม่น้ำปิง หรือแม่พิงค์ ไหลผ่านจังหวัดกำแพงเพชร ช่วงที่งดงามที่สุดคือบริเวณหน้าเมืองกำแพงเพชร หน้าลานอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย สิริจิตต์อุทยาน แม่น้ำปิงมีปลาหลากหลายชนิดที่ไม่เหมือนลำน้ำแห่งใด คือในลำน้ำปิงมีกรวดที่งดงามมากมาย หลากสีสันหลากรูปแบบ เป็นสินค้าสำคัญของกำแพงเพชร ในการนำมาจัดสวนไม้ดอกไม้ประดับได้อย่างลงตัว 

เผยแพร่เมื่อ 06-03-2020 ผู้เช้าชม 2,031

วัดบาง

วัดบาง

วัดบางเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในตัวเมืองกำแพงเพชร จากคำบอกเล่าของผู้อาศัยอยู่บริเวณนั้น ที่มาของวัดบางมาจากวัดแห่งนี้ ตั้งอยู่ใกล้คลองน้ำซึ่งแยกจากแม่น้ำปิงไปสู่หนองรี และคลองน้ำในสมัยก่อนชาวบ้านเรียกกันว่าบาง เมื่อมีวัดตั้งอยู่บริเวณคลองน้ำ จึงเรียกขานกันว่าวัดบาง ซึ่งภายในวัดบาง มีหลวงพ่อเพชร ที่อยากจะเชิญชวนให้ประชาชนทั่วไป เดินทางมายังวัดแห่งนี้ หลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์สมัยเชียงแสนรุ่นแรก (สิงห์หนึ่ง) ที่งดงามที่สุด อายุประมาณ 898 ปี ถูกนำมาประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชร เมื่อราวสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (ครองราชย์ที่อยุธยาระหว่าง พ.ศ. 2034 - 2072) ตามหลักฐานกล่าวว่าประดิษฐานที่วัดตอม่อ นอกกำแพงเมืองกำแพงเพชร (ปัจจุบันคือตลาดศูนย์การค้า)

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,493