กำแพงป้อมทุ่งเศรษฐี

กำแพงป้อมทุ่งเศรษฐี

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 4,428

[16.473683, 99.502732 , กำแพงป้อมทุ่งเศรษฐี ]

กำแพงป้อมทุ่งเศรษฐี

กำแพงป้อมทุ่งเศรษฐี ตั้งอยู่บนถนนพหลโยธิน ก่อนถึงตัวเมืองกำแพงเพชรเล็กน้อย จะเห็นกำแพงศิลาแลงเป็นป้อม มีใบเสมาเหลืออยู่ ป้อมก่อด้วยศิลาแลงกว้าง 83.5 เมตร รูปสี่เหลี่ยมสูงประมาณ 6 เมตร มีประตูทางเข้าตรงกลางป้อม 4 ด้าน ทางด้านในมีเชิงเทินพอเดินหลีกกันได้ ตรงฐานป้อมใต้เชิงเทินเป็นห้องมีทางเดินต่อต่อกันได้ ตรงมุมมีป้อมยื่นออก 4 มุม มีรูมองอยู่ติดกับพื้น การก่อสร้างป้อมนี้มีความมั่นคงมาก แต่ด้านทิศเหนือถูกรื้อออกเสียด้านหนึ่ง จึงเหลือเพียง 3 ด้าน บริเวณนี้มีวัดเก่าแก่หลายวัด เช่น วัดหนองพิกุล วัดซุ้มกอ วัดหนองลังกา เป็นต้น ที่สำคัญ ต่อนักเลงพระก็คือ เป็นบริเวณที่พบพระเครื่องลือชื่อของเมืองกำแพงเพชร เช่น พระซุ้มกอ ลีลาเม็ดขนุน ทุ่งเศรษฐี หรือกำแพงเขย่ง เป็นต้น

ประโยชน์ทางการท่องเที่ยว: เป็นแหล่งท่องเที่ยว
รายละเอียดทางการท่องเที่ยว: เข้าชมได้ทุกวัน ไม่มีเวลาเปิด–ปิด ไม่เสียค่าธรรมเนียมเข้าชม

หน่วยงานที่ดูแลรักษา: กรมศิลปากร

รายละเอียดการขึ้นทะเบียน:
      1. ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม 2478
      2. ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 54 วันที่ 3 มกราคม 2480
      3. ประกาศขึ้นทะเบียนกำหนดขอบเขตในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 85 ตอนที่ 41 วันที่ 7 พฤษภาคม 2511

 

คำสำคัญ : ป้อมทุ่งเศรษฐี

ที่มา : http://www.sac.or.th/databases/archaeology/archaeology/ป้อมทุ่งเศรษฐี

รวบรวมและจัดทำข้อมูล :


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). กำแพงป้อมทุ่งเศรษฐี . สืบค้น 30 มิถุนายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610002&code_type=01&nu=pages&page_id=236

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=236&code_db=610002&code_type=01

Google search

Mic

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร จัดแสดงโบราณวัตถุสมัยต่างๆ ที่ขุดค้นพบในเมืองกำแพงเพชร โดยส่วนใหญ่จะเป็น เครื่องปั้นดินเผาลวดลายปูนปั้น เครื่องสังคโลก ปูนปั้นรูปยักษ์เทวดา และมนุษย์ซึ่งใช้ประดับฐานเจดีย์ เศียรพระพุทธรูป 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,717

ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนอ่างทอง

ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนอ่างทอง

หมู่บ้านหัถกรรมบ้านวังตะเคียน เป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าทางวัฒนธรรม เช่น ผ้าไหม, ผ้าฝ้าย, ผ้าขาวม้า, ผ้าห่มจากเศษผ้า, ผ้าคุมไหล่, ผ้าโสร่ง, เครื่องประดับจากแก้วขนเหล็ก และของที่ระลึกตัวต่อจากกะลามะพร้าว ซึ่งเป็นการนำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นสินค้าเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 880

วัดป่าเขาเขียว (หลวงพ่อถัง)

วัดป่าเขาเขียว (หลวงพ่อถัง)

เป็นวัดที่มีชื่อเสียงโด่งดังในด้านความเชื่อและศรัทราของประชาชนในจังหวัดกำแพงเพชร และจังหวัดใกล้เคียง โดยมีเจ้าอาวาสชื่อ พระครูสังฆรักษ์ ปัญญาสีลโชโต (ธ) หรือเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ "หลวงพ่อถัง" ชาวบ้านมีความเชื่อว่าท่านเจ้าอาวาสมีความสามารถพิเศษในการลงยันต์ และเสกคาถาอาคมลงบนถังตวงข้าวสาร หากใครนำไปบูชาแล้วจะทำมาค้าขายดี

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,431

วัดบาง

วัดบาง

วัดบางเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในตัวเมืองกำแพงเพชร จากคำบอกเล่าของผู้อาศัยอยู่บริเวณนั้น ที่มาของวัดบางมาจากวัดแห่งนี้ ตั้งอยู่ใกล้คลองน้ำซึ่งแยกจากแม่น้ำปิงไปสู่หนองรี และคลองน้ำในสมัยก่อนชาวบ้านเรียกกันว่าบาง เมื่อมีวัดตั้งอยู่บริเวณคลองน้ำ จึงเรียกขานกันว่าวัดบาง ซึ่งภายในวัดบาง มีหลวงพ่อเพชร ที่อยากจะเชิญชวนให้ประชาชนทั่วไป เดินทางมายังวัดแห่งนี้ หลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์สมัยเชียงแสนรุ่นแรก (สิงห์หนึ่ง) ที่งดงามที่สุด อายุประมาณ 898 ปี ถูกนำมาประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชร เมื่อราวสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (ครองราชย์ที่อยุธยาระหว่าง พ.ศ. 2034 - 2072) ตามหลักฐานกล่าวว่าประดิษฐานที่วัดตอม่อ นอกกำแพงเมืองกำแพงเพชร (ปัจจุบันคือตลาดศูนย์การค้า)

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,470

วัดสุนทรีกาวาส

วัดสุนทรีกาวาส

วัดสุนทริกาวาส ตั้งอยู่เลขที่ 92 บ้านป่าใหม่ ถนนชิดวะนา ตำบลแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตากเป็นวัดของชาวไทใหญ่ซึ่งสร้างขึ้นประมาณ พ.ศ.2447 เมื่อนายหม่งเสง แซ่กวา (ต้นตระกูลกวาตระกูล) ได้สร้างหอสวดมนต์ ศาลาอเนกประสงค์และกุฏิสงฆ์อย่างละ 1 หลังพร้อมทั้งถวายที่เกือบ 7 ไร่ให้ก่อตั้งเป็นวัดขึ้น เดิมมี ชื่อว่า “วัดตอยะใหม่” ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดสุนทริกาวาส”

เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 786

หอไตรวัดคูยาง

หอไตรวัดคูยาง

สถานที่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและ ศิลปกรรมท้องถิ่นกำแพงเพชรแล้ว ยังเป็นศูนย์เผนแพร่พระพุทธศาสนา เป็นสำนักเล่าเรียนพระธรรมวินัย ของพระภิกษุสามเณร และประชาชนทั่วไป เป็นสนามสอบบาลีสนามหลวงประจำจังหวัด และเป็นศูนย์รวมการปกครอง ของคณะสงฆ์จังหวัดกำแพงเพชร ต่อเนื่องมาเป็นเวลายาวนานจนถึงปัจจุบัน  

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,268

เมืองพลับพลา

เมืองพลับพลา

บริเวณริมถนนพระร่วง ถัดจากจระเข้ปูนมาเล็กน้อย ชาวบ้านแถบนั้นทำไร่มันสำปะหลัง แต่มีบริเวณหนึ่งประมาณ 3 ไร่เศษ ชาวไร่เล่าว่า ไม่สามารถนำรถไถไปไถได้ เพราะเครื่องจะดับ เมื่อเราเข้าใกล้ พบบ่อน้ำโบราณจำนวนมาก ที่ก่อด้วยศิลาแลง วางผังของบ่อน้ำไว้ เป็นแนวสี่เหลี่ยม มีบ่อน้ำทำมุมกับวัดเก่า ซึ่งไม่มีชื่อ อยู่กลาง มีลักษณะเป็นวัดร้างที่ถูกขุดทำลายโดยสิ้นเชิง เจดีย์หรือเฉพาะฐานวิหารโบสถ์ ถูกขุดอย่างยับเยิน แต่แนวกำแพงแก้วยังเห็นได้ชัด เมืองที่เราเห็นนี้ ห่างจากริมถนนพระร่วงเพียงเล็กน้อย 

เผยแพร่เมื่อ 19-04-2019 ผู้เช้าชม 1,463

สวนเกษตรบ้านลุงฮุย

สวนเกษตรบ้านลุงฮุย

สวนเกษตรบ้านลุงฮุย สถานที่ท่องเที่ยวการเกษตรแบบผสมผสาน มีสวนเงาะ, ทุเรียน, ลำใย, ฯลฯ ผลไม้ที่นี่รสชาติดี โดยเฉพาะเงารซึ่งเป็นจุดเด่นของตำบลสระแก้ว มีรสหวาน กรอบ อร่อย และภายในสวนมีห้องพักซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของที่นี่ เป็นบ้านดินซึ่งสร้างโดยมีรูปแบบสวยงาม และร่มรื่น เหมาะสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจได้เป็นอย่างดี

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,087

ศาลพระอิศวร

ศาลพระอิศวร

ศาลพระอิศวร ตั้งอยู่ด้านหลังศาลจังหวัด เป็นฐานก่อด้วยศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมยกพื้นสูง 1.5 เมตร มีบันไดขึ้นด้านหน้า บนฐานชุกชีอยู่เป็นที่ตั้งของเทวรูปพระอิศวรสัมฤทธิ์ ซึ่งจำลองขึ้นในสมัยที่นายเชาวน์วัศ สุดลาภา เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด เทวรูปพระอิศวรองค์จริงปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร รูปพระอิศวรนี้ ในสมัยรัชการที่ 5 ชาวเยอรมันมาเที่ยวเมืองกำแพงเพชร ได้ลักลอบตัดเศียรและพระหัตถ์ส่งลงเรือมากรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2429 เจ้าเมืองกำแพงเพชรได้บอกเข้ามายังกรุงเทพฯ จึงโปรดฯ ให้ขอพระเศียรและพระหัตถ์คืน และได้ทรงสร้างพระอิศวรจำลองประทานให้ ซึ่งปัจจุบันตั้งแสดงในพิพิธภัณฑ์กรุงเบอร์ลิน

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,661

ตลาดย้อนยุคนครชุม

ตลาดย้อนยุคนครชุม

บรรยากาศตลาดแบบย้อนยุคภายในตลาดจะมีพ่อค้า แม่ค้าแต่งกายด้วย ชุดไทยนำอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวนครชุมหรือ ร่วมสมัยวางจำหน่ายรวมถึงศิลปหัตถกรรม อาทิ การจักสานไม้ไผ่ งานผีมือใบตองหรือการวาดรูป ระบายสี มุ่งเน้นการ แต่งกายพื้นบ้าน หรือวัฒนธรรมร่วมสมัยสร้างสำนึกในการมีส่วนร่วมของประชาชน พร้อมทั้งสร้างแหล่งเรียนรู้ปลูกฝังจิตสำนึกให้แก่เยาวชนรุ่นลูกๆ หลานๆ

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 2,400