เมืองไตรตรึงษ์

เมืองไตรตรึงษ์

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 3,942

[6.3692248, 99.5589344, เมืองไตรตรึงษ์ ]

        ชื่อเมืองไตรตรึงษ์ปรากฎในศิลาหลักที่ 38 เรียกว่าศิลาจารึกกฎหมายลักษณะโจรกล่าวว่าเจ้าเมืองไตรตรึงษ์เป็นคณะประชุมในการเขียนกฎหมายดังกล่าวด้วย ตามตำนานสิงหนวัติกล่าวไว้ว่า พระเจ้าไชยศิริเชียงแสนหนีพม่ามาจากเชียงราย เป็นผู้สร้างเมืองไตรตรึงษ์ เมื่อประมาณ พ.ศ. 1500

ลักษณะทั่วไป
        เมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองที่ซากกำแพงเมืองยังปรากฎเห็นได้ชัดเจน ตัวเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนานกับแม่น้ำปิงขนาดกว้างประมาณ 450 เมตร ยาวประมาณ 800 เมตร มีทางเข้าสู่เมือง 2 ทาง ภายในกำแพงเมืองมีโบราณสถานทางศาสนาหลายแห่ง วัดสำคัญในกำแพงเมืองมี 2 วัดเรียกว่า วัดเจ็ดยอด และวัดพระปรางค์ ภายนอกกำแพงเมืองทางด้านทิศใต้มีวัดขนาดใหญ่เรียกกันว่า วัดวังพระธาตุ ที่วัดนี้มีเจดีย์ทรงไทยหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์เป็นเจดีย์หลัก รอบเจดีย์มีเจดีย์รายทั้ง 4 ทิศ

หลักฐานที่พบ
        จากการขุดค้นทางโบราณคดีพบลูกปัดหินสีขนาดเล็กภายในบริเวณวัดวังพระธาตุ นอกจากนี้ยังพบตะเกียงโบราณแบบโรมัน และชิ้นเครื่องเคลือบลายครามขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วไป

เส้นทางเข้าสู่เมืองไตรตรึงษ์
        จากตัวเมืองกำแพงเพชรไปทางทิศใต้ตามถนนพหลโยธินประมาณ 18 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายสู่วัดวังพระธาตุ ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร เมื่อถึงวัดวังพระธาตุ เดินทางตามเส้นทางเข้าสู่เมืองไตรตรึงษ์ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของวัดวังพระธาตุ ระยะทางประมาณ 400 เมตร

คำสำคัญ : นครไตรตรึงษ์ ไตรตรึงษ์

ที่มา : http://www.finearts.go.th/kamphaengphetmuseum/parameters/km/item/นครไตรตรึงษ์%20เมืองโบราณยุคแรกเริ่มในจังหวัดกำแพงเพชร.html

รวบรวมและจัดทำข้อมูล :


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). เมืองไตรตรึงษ์ . สืบค้น 30 มิถุนายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610002&code_type=01&nu=pages&page_id=228

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=228&code_db=610002&code_type=01

Google search

Mic

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

กรมศิลปากรได้ดำเนินการคุ้มครองป้องกันโบราณสถานเมืองกำแพงเพชรและเมือนครชุม โดยการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อ พ.ศ. 2478 และ พ.ศ. 2480 ต่อมาได้ประกาศขึ้นทะเบียนกำหนดขอบเขตอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2511 ในส่วนของการขุดแต่ง บูรณะ และพัฒนาโบราณสถาน ได้เริ่มดำเนินการครั้งแรก เมื่อพ.ศ. 2508 จนถึง พ.ศ. 2525 กรมศิลปากรจึงได้บรรจุงานปรับปรุงโบราณสถานเมืองกำแพงเพชรในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (2525-2529) โดยใช้ชื่อ โครงการอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มุ่งเน้นการอนุรักษ์และพัฒนากลุ่มโบราณสถานทั้งภายในเมืองเนื้อที่ 503 ไร่ และเขตอรัญญิก เนื้อที่ 1,611 ไร่ เพื่อป้องกันมิให้ถูกทำลายหรือเสื่อมค่า

เผยแพร่เมื่อ 02-02-2017 ผู้เช้าชม 2,210

ฝายท่ากระดาน

ฝายท่ากระดาน

ฝายท่ากระดาน สร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง ช่วยระบายน้ำ ลดปัญหาน้ำหลากในช่วงฤดูฝน และรองรับน้ำจากเทือกเขาธรรมชาติก่อนที่จะไหลผ่านลงสู่แม่น้ำปิง และด้วยทัศนียภาพที่สวยงาม ทำให้กลายเป็นสถานที่พักผ่อนของชาวท่าขุนราม ในช่วงเย็นจะได้เห็นภาพเด็กๆ มากระโดดเล่นน้ำอย่างสนุกสนาน เมื่อมาถึงฝายท่ากระดานสามารถขับรถชมบรรยากาศได้รอบพื้นที่ ผ่านถนนสายเล็กๆ ทอดยาวแซมด้วยดอกหญ้าพริ้วไหว กลายเป็นจุดเช็คอินถ่ายภาพสวยได้อีกแห่งหนึ่ง 

เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 817

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร จัดแสดงโบราณวัตถุสมัยต่างๆ ที่ขุดค้นพบในเมืองกำแพงเพชร โดยส่วนใหญ่จะเป็น เครื่องปั้นดินเผาลวดลายปูนปั้น เครื่องสังคโลก ปูนปั้นรูปยักษ์เทวดา และมนุษย์ซึ่งใช้ประดับฐานเจดีย์ เศียรพระพุทธรูป 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,717

ตลาดย้อนยุคนครชุม

ตลาดย้อนยุคนครชุม

บรรยากาศตลาดแบบย้อนยุคภายในตลาดจะมีพ่อค้า แม่ค้าแต่งกายด้วย ชุดไทยนำอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวนครชุมหรือ ร่วมสมัยวางจำหน่ายรวมถึงศิลปหัตถกรรม อาทิ การจักสานไม้ไผ่ งานผีมือใบตองหรือการวาดรูป ระบายสี มุ่งเน้นการ แต่งกายพื้นบ้าน หรือวัฒนธรรมร่วมสมัยสร้างสำนึกในการมีส่วนร่วมของประชาชน พร้อมทั้งสร้างแหล่งเรียนรู้ปลูกฝังจิตสำนึกให้แก่เยาวชนรุ่นลูกๆ หลานๆ

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 2,400

วัดสุนทรีกาวาส

วัดสุนทรีกาวาส

วัดสุนทริกาวาส ตั้งอยู่เลขที่ 92 บ้านป่าใหม่ ถนนชิดวะนา ตำบลแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตากเป็นวัดของชาวไทใหญ่ซึ่งสร้างขึ้นประมาณ พ.ศ.2447 เมื่อนายหม่งเสง แซ่กวา (ต้นตระกูลกวาตระกูล) ได้สร้างหอสวดมนต์ ศาลาอเนกประสงค์และกุฏิสงฆ์อย่างละ 1 หลังพร้อมทั้งถวายที่เกือบ 7 ไร่ให้ก่อตั้งเป็นวัดขึ้น เดิมมี ชื่อว่า “วัดตอยะใหม่” ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดสุนทริกาวาส”

เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 786

โบสถ์ศิลาแลง วัดหนองปลิง

โบสถ์ศิลาแลง วัดหนองปลิง

วัดหนองปลิง จัดพื้นที่วัดเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อมหาชน โดยท่านเจ้าอาวาส พระครูวิเชียรธรรมนาท หรือหลวงพ่อสีหนาท เน้นจัดพื้นที่เพื่อการจัดกิจกรรมปฏิบัติวิปัสนากรรมฐาน เพื่อให้มนุษย์เข้าใจในการมีสติ ภายในวัดประกอบด้วยอาคารขนาดใหญ่ สามชั้นที่ประกอบด้วย ห้องพักชั้นดีสำหรับผู้มาอาศัยปฏิบัติธรรม ชั้นที่ 2 เป็นห้องสำหรับประกอบพิธีบุญ และชั้นที่ 3 เป็นห้องโถงขนาดใหญ่ที่ใช้อบรมสัมมนา และยังมีโบสถ์ที่สร้างด้วยศิลาแลงจากหินธรรมชาติ แห่งเดียวในโลก

เผยแพร่เมื่อ 14-03-2019 ผู้เช้าชม 2,089

หอไตรวัดคูยาง

หอไตรวัดคูยาง

สถานที่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและ ศิลปกรรมท้องถิ่นกำแพงเพชรแล้ว ยังเป็นศูนย์เผนแพร่พระพุทธศาสนา เป็นสำนักเล่าเรียนพระธรรมวินัย ของพระภิกษุสามเณร และประชาชนทั่วไป เป็นสนามสอบบาลีสนามหลวงประจำจังหวัด และเป็นศูนย์รวมการปกครอง ของคณะสงฆ์จังหวัดกำแพงเพชร ต่อเนื่องมาเป็นเวลายาวนานจนถึงปัจจุบัน  

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,268

ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเมืองกำแพงเพชร

ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเมืองกำแพงเพชร

ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเมืองกำแพงเพชร มีบริการการนำเที่ยวโดยการใช้รถรางขับวนรอบเมือง โดยจะมีเส้นทางท่องเที่ยวรอบๆเมืองกำแพงเพชร โดยเริ่มกันจากที่ชุมชนพาไปกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญๆอย่างศาลหลักเมือง - รูปจำลองพระอิศวร - วัดเทพโมฬี - วัดเสด็จ ซึ่งเป็นสถานที่ประดิษฐานหลวงพ่อเพชร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของกำแพงเพชรและเป็นที่เคารพของคนกำแพงเพชรเป็นอย่างมากที่สุด และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 1,136

มอกล้วยไข่

มอกล้วยไข่

มอกล้วยไข่ เป็นชื่อเรียกตลาดกล้วยไข่ของจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งจำหน่ายกล้วยไข่ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทยเลยก็ว่าได้ครับ มีผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับกล้วยไข่ หลากหลาย ทั้ง เป็นหวี เป็นเครือ กล้วยฉาบ กล้วยแปรรูปต่างๆ หรือจะเลือกซื้อ แบบที่เป็นต้นไปปลุกก็มีจำหน่ายกันด้วย ถือว่าเป็นแหล่งกล้วยไข่และ ของฝากที่น่าสนใจไม่น้อย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,712

อุโมงค์ใต้ดิน 32 ปล่อง

บริเวณด้านหลังวัดศรีโยธิน มีสิ่งมหัศจรรย์ที่แปลกและสำคัญย่ิงของตำบลหนองปลิง คืออุโมงค์ 32 ปล่อง บางท่านเรียกว่า 33 ปล่อง เพราะมีอุโมงค์ขนาดกลาง ขนาดเล็กและขนาดใหญ่จำนวนมาก พื้นหินเป็นศิลาแลงหนาประมาณ 1 เมตร ลึกลงไปในดินกว่า 3 เมตร มีช่องเดินต่อถึงกันทั้งหมด มีรูอากาศสำหรับหายใจ โดยทั่วไปมีเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่เศษ มีตำนานเล่าขานกันหลายตำนาน

เผยแพร่เมื่อ 19-04-2019 ผู้เช้าชม 1,961