ฝายท่ากระดาน

ฝายท่ากระดาน

เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้ชม 808

[16.4495461, 99.4206895, ฝายท่ากระดาน]

       นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ ที่ปรึกษาอธิบดีกรมชลประทาน ด้านบริหารจัดการน้ำ ประกอบพิธีเปิดการใช้งาน ประตูระบายน้ำฝายท่ากระดาน หมู่ที่ 9 ตำบลท่าขุนราม อำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร มีนายสุรชัย ริ้วตระกูลไพบูลย์ นายกมล สิมเมือง สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร หัวหน้าส่วนราชการผู้นำท้องถิ่น กลุ่มเกษตรกรผู้ใช้น้ำโครงการ ฝายท่ากระดานร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีฝายท่ากระดานในวันนี้
     นายอาจิตร์ สุวานิชวงศ์ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 4 กล่าว   อาคารชลประทานที่ก่อสร้างขึ้น เพื่อทดน้ำในคลองสวนหมาก ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำปิง ซึ่งมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน เดิมเป็นฝายตอกหลัก ราษฎรได้ริเริ่ม และร่วมแรงร่วมใจกันก่อสร้างฝายหลักตอก ตามภูมิปัญญาท้องถิ่น มาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2492 จนถึงปัจจุบัน รวมระยะเวลามากกว่า 60 ปี ต่อมา กรมชลประทานจึงได้ออกแบบและปรับปรุงฝายท่ากระดานขึ้นใหม่ มาเป็นฝายคอนกรีต ซึ่งได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จในปีพุทธศักราช 2563 
       แม้ว่าฝายท่ากระดานจะได้รับการปรับปรุงให้เป็นฝายคอนกรีต ที่มีความมั่นคงถาวรตามหลักวิชาการแล้วก็ตาม แต่จากการที่ฝายท่ากระดาน ได้ถูกใช้งานผ่านฤดูน้ำหลาก มาเป็นระยะเวลายาวนาน ทำให้มีสภาพชำรุดทรุดโทรม น้ำสามารถรั่วซึมผ่านตัวฝายได้ อีกทั้งมีปริมาณตะกอนทรายตกจมสะสมอยู่ที่หน้าฝายจำนวนมาก ฝายท่ากระดานจึงไม่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่ทางการเกษตร 3 ตำบลในฤดูน้ำหลาก และพื้นที่ทางการเกษตรได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงในฤดูแล้ง
       ดังนั้น ทางสำนักงานชลประทานที่ 4 โดยส่วนวิศวกรรม จึงได้พิจารณาออกแบบฝายท่ากระดานขึ้นใหม่ โดยประยุกต์ใช้การออกแบบเป็นประตูระบายน้ำ มาผสมผสานกับฝายหยักคอนกรีต ในอาคารเดียวกัน โดยที่ฝายหยักคอนกรีตจะมีคุณสมบัติในการเพิ่มความสามารถในการระบายน้ำ เพื่อลดปัญหาน้ำหลากในช่วงฤดูฝน และสำหรับประตูระบายน้ำขนาดความกว้างบานระบายน้ำ 6 เมตรสูง 6 เมตร จำนวน 4 ช่อง เพื่อให้สามารถควบคุมระดับน้ำได้ตามที่กลุ่มเกษตรกรมีความต้องการและเป็นช่องทางในการสามารถระบายทรายที่สะสมทางด้านหน้าฝายได้ ประตูระบายน้ำฝายท่ากระดาน ได้รับงบประมาณ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 และดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม พุทธศักราช 2559 รวมระยะเวลาในการก่อสร้าง จำนวน 840 วัน ใช้งบประมาณ รวมทั้งสิ้น 176,100,000 บาท
       ทั้งนี้ ประตูระบายน้ำฝายท่ากระดาน จะเป็นแหล่งน้ำสำหรับการอุปโภคบริโภค และการเกษตร แก่พื้นที่ จำนวน 14,500 ไร่ รวม 12 หมู่บ้าน 3 ตำบลในเขต ตำบลท่าขุนราม ตำบลคลองแม่ลาย และตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร โดยโครงการชลประทานกำแพงเพชรและกลุ่มผู้ใช้น้ำโครงการ ฝายท่ากระดาน จะเข้ามาบริหารจัดการน้ำอย่างมีส่วนร่วม

คำสำคัญ : ฝายท่ากระดาน ฝายน้ำล้น

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/721261

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). ฝายท่ากระดาน. สืบค้น 26 มิถุนายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610002&code_type=01&nu=pages&page_id=2164

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2164&code_db=610002&code_type=01

Google search

Mic

ศูนย์อนุรักษ์แย้

ศูนย์อนุรักษ์แย้

เป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกกิ้งก่าประเภทหนึ่ง มีชื่อสามัญว่า Butterfly Lizard หรือ Small-scaled Lizard หรือ Ground Lizard แย้จัดเป็นสัตว์ที่อยู่ในสกุล Leiolepis ในวงศ์ Agamidae พบทั่วทั้งโลกทั้งหมด 8 ชนิด พบกระจายทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะภูมิภาคอินโดจีน สำหรับในประเทศไทยพบทั้งหมด 4 ชนิด มีลักษณะเด่นคือ มีสีสวยสด และลำตัวไม่มีปุ่มหนาม ขนาดลำตัววัดจากปลายปากโดยตลอดยาวประมาณ 11.5 เซนติเมตร หางยาวประมาณ 23.8 เซนติเมตร  ตัวแบนหางราบ โคนหางแบนและแผ่บานออก สีข้างแผ่ขยาย ไม่มีแผงหนามที่สันหลัง ช่องหูใหญ่ เยื่อหูจมใต้ผิวหนัง หนังข้างคอมีรอยพับตามขวาง รอบลำตัวมีเกล็ดประมาณ 40 แถว หัวและหลังสีเขียวมะกอก

เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้เช้าชม 4,478

ฝายท่ากระดาน

ฝายท่ากระดาน

ฝายท่ากระดาน สร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง ช่วยระบายน้ำ ลดปัญหาน้ำหลากในช่วงฤดูฝน และรองรับน้ำจากเทือกเขาธรรมชาติก่อนที่จะไหลผ่านลงสู่แม่น้ำปิง และด้วยทัศนียภาพที่สวยงาม ทำให้กลายเป็นสถานที่พักผ่อนของชาวท่าขุนราม ในช่วงเย็นจะได้เห็นภาพเด็กๆ มากระโดดเล่นน้ำอย่างสนุกสนาน เมื่อมาถึงฝายท่ากระดานสามารถขับรถชมบรรยากาศได้รอบพื้นที่ ผ่านถนนสายเล็กๆ ทอดยาวแซมด้วยดอกหญ้าพริ้วไหว กลายเป็นจุดเช็คอินถ่ายภาพสวยได้อีกแห่งหนึ่ง 

เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 808

กำแพงป้อมทุ่งเศรษฐี

กำแพงป้อมทุ่งเศรษฐี

ป้อมทุ่งเศรษฐี เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเมืองกำแพงเพชร มีลักษณะเป็นป้อมปราการรูปสี่เหลี่ยม สร้างด้วยก้อนศิลาแลง ตั้งอยู่บนถนนพหลโยธิน ก่อนถึงตัวเมืองกำแพงเพชรเล็กน้อย จะเห็นกำแพงศิลาแลงเป็นป้อม มีใบเสมาเหลืออยู่ ป้อมก่อด้วยศิลาแลงกว้าง 83.5 เมตร รูปสี่เหลี่ยมสูงประมาณ 6 เมตร มีประตูทางเข้าตรงกลางป้อม 4 ด้าน ทางด้านในมีเชิงเทินพอเดินหลีกกันได้ ตรงฐานป้อมใต้เชิงเทินเป็นห้องมีทางเดินต่อต่อกันได้ ตรงมุมมีป้อมยื่นออก 4 มุม มีรูมองอยู่ติดกับพื้น 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,408

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร จัดแสดงโบราณวัตถุสมัยต่างๆ ที่ขุดค้นพบในเมืองกำแพงเพชร โดยส่วนใหญ่จะเป็น เครื่องปั้นดินเผาลวดลายปูนปั้น เครื่องสังคโลก ปูนปั้นรูปยักษ์เทวดา และมนุษย์ซึ่งใช้ประดับฐานเจดีย์ เศียรพระพุทธรูป 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,711

เจดีย์เจ็ดยอด

เจดีย์เจ็ดยอด

เจดีย์เจ็ดยอด เป็นกลุ่มเจดีย์ก่อด้วยอิฐ เจดีย์ประธานเป็นทรงดอกบัวหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ฐานล่างเป็นแบบฐานหน้ากระดานสี่เหลี่ยมซ้อนกันสี่ชั้น ถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวคว่ำและบัวหงาย แล้วเป็นส่วนเรือนธาตุย่อไม้ยี่สิบ

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,779

ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเมืองกำแพงเพชร

ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเมืองกำแพงเพชร

ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเมืองกำแพงเพชร มีบริการการนำเที่ยวโดยการใช้รถรางขับวนรอบเมือง โดยจะมีเส้นทางท่องเที่ยวรอบๆเมืองกำแพงเพชร โดยเริ่มกันจากที่ชุมชนพาไปกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญๆอย่างศาลหลักเมือง - รูปจำลองพระอิศวร - วัดเทพโมฬี - วัดเสด็จ ซึ่งเป็นสถานที่ประดิษฐานหลวงพ่อเพชร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของกำแพงเพชรและเป็นที่เคารพของคนกำแพงเพชรเป็นอย่างมากที่สุด และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 1,133

เมืองเทินทอง

เมืองเทินทอง

บริเวณวัดหนองปลิงใหม่ที่ติดกับค่ายลูกเสือจังหวัดกำแพงเพชร มีหลักฐานว่ามีเมืองโบราณเมืองหนึ่ง ชาวกำแพงเพชรเรียกว่าเมือง เนินทอง หรือเทินทอง หรือกองทอง ตั้งอยู่บนเขาลูกเตี้ยๆ ปัจจุบันมีการขุดลูกรังบ้าง ไถทำค่ายลูกเสือบ้าง ทำให้หลักฐานต่างๆ ถูกทำลายไปเกือบหมด 

เผยแพร่เมื่อ 19-04-2019 ผู้เช้าชม 755

สระมรกต

สระมรกต

ริมถนนพระร่วง ใกล้กับอุโมงค์ 32 ปล่อง และจระเข้ปูน มีสถานที่สำคัญสถานที่หนึ่ง ชาวกำแพงเพชรเรียกกันว่า สระมรกต มีลักษณะพิเศษคือมีน้ำขังอยู่ตลอดปี ไม่ว่าจะเป็นฤดูอะไร แม้ฤดูแล้งน้ำก็ไม่แห้ง ทั้งๆ ที่ลึึกไม่ถึงเมตร เป็นลักษณะกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15 เมตร มีอยู่ 3 สระติดต่อกัน เป็นเรื่องที่เล่าขานกันเป็นตำนานว่า เมื่อพระร่วงเจ้าเสด็จมาประทับที่อุโมงค์ 32 ปล่อง ได้นำนางสนมกำนัลมาอาบน้ำที่สระมรกตแห่งนี้ พระร่วงได้สาบสรรค์ไว้ว่าให้มีน้ำตลอดปี ไม่ให้แห้ง 

เผยแพร่เมื่อ 19-04-2019 ผู้เช้าชม 2,005

เมืองไตรตรึงษ์

เมืองไตรตรึงษ์

เมืองไตรตรึงษ์ ตั้งอยู่ที่ตำบลไตรตรึงษ์ เป็นเมืองเก่าแก่ สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าไชยสิริกษัตริย์เชียงราย ซึ่งได้หนีข้าศึกจากเชียงรายลงมาสร้างเมืองนี้ขึ้น เมื่อ พ.ศ. 1542 ปัจจุบันโบราณสถานต่างๆ ทรุดโทรมลงมาก เหลือเพียงซากเจดีย์และเชิงเทินเท่านั้น

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,931

หอไตรวัดคูยาง

หอไตรวัดคูยาง

สถานที่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและ ศิลปกรรมท้องถิ่นกำแพงเพชรแล้ว ยังเป็นศูนย์เผนแพร่พระพุทธศาสนา เป็นสำนักเล่าเรียนพระธรรมวินัย ของพระภิกษุสามเณร และประชาชนทั่วไป เป็นสนามสอบบาลีสนามหลวงประจำจังหวัด และเป็นศูนย์รวมการปกครอง ของคณะสงฆ์จังหวัดกำแพงเพชร ต่อเนื่องมาเป็นเวลายาวนานจนถึงปัจจุบัน  

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,261