ศูนย์อนุรักษ์แย้

ศูนย์อนุรักษ์แย้

เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้ชม 4,496

[16.3630177, 99.6517536, ศูนย์อนุรักษ์แย้]

        แย้ เป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกกิ้งก่าประเภทหนึ่ง มีชื่อสามัญว่า Butterfly Lizard หรือ Small-scaled Lizard หรือ Ground Lizard แย้จัดเป็นสัตว์ที่อยู่ในสกุล Leiolepis ในวงศ์ Agamidae พบทั่วทั้งโลกทั้งหมด 8 ชนิด พบกระจายทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะภูมิภาคอินโดจีน สำหรับในประเทศไทยพบทั้งหมด 4 ชนิด มีลักษณะเด่นคือ มีสีสวยสด และลำตัวไม่มีปุ่มหนาม ขนาดลำตัววัดจากปลายปากโดยตลอดยาวประมาณ 11.5 เซนติเมตร หางยาวประมาณ 23.8 เซนติเมตร  ตัวแบนหางราบ โคนหางแบนและแผ่บานออก สีข้างแผ่ขยาย ไม่มีแผงหนามที่สันหลัง ช่องหูใหญ่ เยื่อหูจมใต้ผิวหนัง หนังข้างคอมีรอยพับตามขวาง รอบลำตัวมีเกล็ดประมาณ 40 แถว หัวและหลังสีเขียวมะกอก โดยมีจุดสีเหลืองขอบดำเรียงเป็นแนวข้างตัว มีแถบดำสลับเหลืองคอมีลวดลายร่างแหดำ ประกอบสีครีม ท้องและอกสีส้มสด ตัวผู้จะมีพังผืดด้านข้าง และสวยกว่าตัวเมีย โดยที่แย้ไม่สามารถปรับเปลี่ยนสีได้ตามสภาพแวดล้อมเหมือนสัตว์เลื้อยคลานชนิดอื่น ๆ   
        แย้ทุกชนิดเป็นสัตว์ที่หากินและอาศัยอยู่ในพื้นดิน ไม่ขึ้นต้นไม้อย่างสัตว์เลื้อยคลานชนิดอื่น โดยเฉพาะพื้นดินที่เป็นที่แห้งแล้งลักษณะดินปนทราย ที่อยู่ของแย้เป็นรู ลึกประมาณ 1 ฟุต เป็นโพรงข้างใน สามารถกลับตัวได้ ที่ปากรูจะมีรอยของหางแย้ เป็นรอยยาว ๆ และจะมีรูพิเศษอีกรูหนึ่ง ที่ใช้ป้องกันตัว เมื่อถูกศัตรูรุกรานเข้ารูด้านหนึ่ง แย้สามารถหลบรอดออกไปอีกรูหนึ่งได้อย่างแยบยล โดยรูนี้เรียกในภาษาไทยว่า "แปว"
        
แย้สามารถสืบพันธุ์ได้ทุกฤดูกาล กินแมลงต่าง ๆ เป็นอาหาร แย้ไม่สามารถที่จะว่ายน้ำได้ แย้จัดเป็นอาหารดั้งเดิมของมนุษย์มาช้านานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในถิ่นอีสานของไทย ชาวอีสานจะนิยมจับแย้กินเป็นอาหาร โดยมีรสชาติคล้ายเนื้อไก่ นิยมนำไปทำเป็นเมนูได้หลากหลาย เช่น ปิ้ง หรือ ลาบปัจจุบัน สถานะของแย้เมื่อเทียบกับสัตว์เลื้อยคลานชนิดอื่น ๆ แล้ว นับว่าใกล้สูญพันธุ์จากถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติ ในตำบลคณฑีจึงมีการส่งเสริมการเลี้ยงแย้และอนุรักษ์ไว้ด้วย เช่น ที่หมู่ 6 บ้านหงษ์ทอง หมู่ 7 บ้านใหม่พัฒนาเป็นต้น

คำสำคัญ : แย้

ที่มา : http://khontee.go.th/index.php?options=travel&mode=detail&id=126

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). ศูนย์อนุรักษ์แย้. สืบค้น 30 มิถุนายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610002&code_type=01&nu=pages&page_id=1120

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1120&code_db=610002&code_type=01

Google search

Mic
อุโมงค์ใต้ดิน 32 ปล่อง

บริเวณด้านหลังวัดศรีโยธิน มีสิ่งมหัศจรรย์ที่แปลกและสำคัญย่ิงของตำบลหนองปลิง คืออุโมงค์ 32 ปล่อง บางท่านเรียกว่า 33 ปล่อง เพราะมีอุโมงค์ขนาดกลาง ขนาดเล็กและขนาดใหญ่จำนวนมาก พื้นหินเป็นศิลาแลงหนาประมาณ 1 เมตร ลึกลงไปในดินกว่า 3 เมตร มีช่องเดินต่อถึงกันทั้งหมด มีรูอากาศสำหรับหายใจ โดยทั่วไปมีเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่เศษ มีตำนานเล่าขานกันหลายตำนาน

เผยแพร่เมื่อ 19-04-2019 ผู้เช้าชม 1,961

ฝายท่ากระดาน

ฝายท่ากระดาน

ฝายท่ากระดาน สร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้ง ช่วยระบายน้ำ ลดปัญหาน้ำหลากในช่วงฤดูฝน และรองรับน้ำจากเทือกเขาธรรมชาติก่อนที่จะไหลผ่านลงสู่แม่น้ำปิง และด้วยทัศนียภาพที่สวยงาม ทำให้กลายเป็นสถานที่พักผ่อนของชาวท่าขุนราม ในช่วงเย็นจะได้เห็นภาพเด็กๆ มากระโดดเล่นน้ำอย่างสนุกสนาน เมื่อมาถึงฝายท่ากระดานสามารถขับรถชมบรรยากาศได้รอบพื้นที่ ผ่านถนนสายเล็กๆ ทอดยาวแซมด้วยดอกหญ้าพริ้วไหว กลายเป็นจุดเช็คอินถ่ายภาพสวยได้อีกแห่งหนึ่ง 

เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 817

เจดีย์เจ็ดยอด

เจดีย์เจ็ดยอด

เจดีย์เจ็ดยอด เป็นกลุ่มเจดีย์ก่อด้วยอิฐ เจดีย์ประธานเป็นทรงดอกบัวหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ฐานล่างเป็นแบบฐานหน้ากระดานสี่เหลี่ยมซ้อนกันสี่ชั้น ถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวคว่ำและบัวหงาย แล้วเป็นส่วนเรือนธาตุย่อไม้ยี่สิบ

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,787

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร จัดแสดงโบราณวัตถุสมัยต่างๆ ที่ขุดค้นพบในเมืองกำแพงเพชร โดยส่วนใหญ่จะเป็น เครื่องปั้นดินเผาลวดลายปูนปั้น เครื่องสังคโลก ปูนปั้นรูปยักษ์เทวดา และมนุษย์ซึ่งใช้ประดับฐานเจดีย์ เศียรพระพุทธรูป 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,717

ถนนพระร่วง

ถนนพระร่วง

ถนนพระร่วงเป็นถนนสายประวัติศาสตร์ที่ตัดผ่านตำบลหนองปลิง มีหลักฐานที่ชัดเจนและมีตำนานที่เล่าขานกันมานาน ว่าพระร่วงเจ้า ทรงใช้พระบาทซ้ายและพระบาทขวา กวาดให้เป็นถนนพระร่วง ตั้งแต่กำแพงเพชรไปสุโขทัย และสุโขทัยไปศรีสัชนาลัย ระยะทางประมาณ 128 กิโลเมตร นับว่าเป็นส่ิงมหัศจรรย์ ทางการก่อสร้างที่ถนนกว้างถึง 8-12 เมตร สูง 2-5 เมตร ตัดผ่านจากประตูสะพานโคม บริเวณสระมนพระราชวังโบราณของเมืองกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 19-04-2019 ผู้เช้าชม 3,495

เมืองเทินทอง

เมืองเทินทอง

บริเวณวัดหนองปลิงใหม่ที่ติดกับค่ายลูกเสือจังหวัดกำแพงเพชร มีหลักฐานว่ามีเมืองโบราณเมืองหนึ่ง ชาวกำแพงเพชรเรียกว่าเมือง เนินทอง หรือเทินทอง หรือกองทอง ตั้งอยู่บนเขาลูกเตี้ยๆ ปัจจุบันมีการขุดลูกรังบ้าง ไถทำค่ายลูกเสือบ้าง ทำให้หลักฐานต่างๆ ถูกทำลายไปเกือบหมด 

เผยแพร่เมื่อ 19-04-2019 ผู้เช้าชม 758

วัดป่าเขาเขียว (หลวงพ่อถัง)

วัดป่าเขาเขียว (หลวงพ่อถัง)

เป็นวัดที่มีชื่อเสียงโด่งดังในด้านความเชื่อและศรัทราของประชาชนในจังหวัดกำแพงเพชร และจังหวัดใกล้เคียง โดยมีเจ้าอาวาสชื่อ พระครูสังฆรักษ์ ปัญญาสีลโชโต (ธ) หรือเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ "หลวงพ่อถัง" ชาวบ้านมีความเชื่อว่าท่านเจ้าอาวาสมีความสามารถพิเศษในการลงยันต์ และเสกคาถาอาคมลงบนถังตวงข้าวสาร หากใครนำไปบูชาแล้วจะทำมาค้าขายดี

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,431

หอไตรวัดคูยาง

หอไตรวัดคูยาง

สถานที่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและ ศิลปกรรมท้องถิ่นกำแพงเพชรแล้ว ยังเป็นศูนย์เผนแพร่พระพุทธศาสนา เป็นสำนักเล่าเรียนพระธรรมวินัย ของพระภิกษุสามเณร และประชาชนทั่วไป เป็นสนามสอบบาลีสนามหลวงประจำจังหวัด และเป็นศูนย์รวมการปกครอง ของคณะสงฆ์จังหวัดกำแพงเพชร ต่อเนื่องมาเป็นเวลายาวนานจนถึงปัจจุบัน  

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,268

วัดสุนทรีกาวาส

วัดสุนทรีกาวาส

วัดสุนทริกาวาส ตั้งอยู่เลขที่ 92 บ้านป่าใหม่ ถนนชิดวะนา ตำบลแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตากเป็นวัดของชาวไทใหญ่ซึ่งสร้างขึ้นประมาณ พ.ศ.2447 เมื่อนายหม่งเสง แซ่กวา (ต้นตระกูลกวาตระกูล) ได้สร้างหอสวดมนต์ ศาลาอเนกประสงค์และกุฏิสงฆ์อย่างละ 1 หลังพร้อมทั้งถวายที่เกือบ 7 ไร่ให้ก่อตั้งเป็นวัดขึ้น เดิมมี ชื่อว่า “วัดตอยะใหม่” ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดสุนทริกาวาส”

เผยแพร่เมื่อ 21-12-2020 ผู้เช้าชม 786

วัดบาง

วัดบาง

วัดบางเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในตัวเมืองกำแพงเพชร จากคำบอกเล่าของผู้อาศัยอยู่บริเวณนั้น ที่มาของวัดบางมาจากวัดแห่งนี้ ตั้งอยู่ใกล้คลองน้ำซึ่งแยกจากแม่น้ำปิงไปสู่หนองรี และคลองน้ำในสมัยก่อนชาวบ้านเรียกกันว่าบาง เมื่อมีวัดตั้งอยู่บริเวณคลองน้ำ จึงเรียกขานกันว่าวัดบาง ซึ่งภายในวัดบาง มีหลวงพ่อเพชร ที่อยากจะเชิญชวนให้ประชาชนทั่วไป เดินทางมายังวัดแห่งนี้ หลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์สมัยเชียงแสนรุ่นแรก (สิงห์หนึ่ง) ที่งดงามที่สุด อายุประมาณ 898 ปี ถูกนำมาประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชร เมื่อราวสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (ครองราชย์ที่อยุธยาระหว่าง พ.ศ. 2034 - 2072) ตามหลักฐานกล่าวว่าประดิษฐานที่วัดตอม่อ นอกกำแพงเมืองกำแพงเพชร (ปัจจุบันคือตลาดศูนย์การค้า)

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,470