เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์

เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้ชม 1,610

[16.3194159, 99.4823679, เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์]

           บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงในเขตท้องที่ของจังหวัดกำแพงเพชร ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงถึงความเป็นอยู่ของชุมชน เคยเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณหลายเมืองด้วยกัน คือ เมืองแปป เมือง กำแพงเพชร เมืองชากังราว เมืองนครชุม เมืองคณฑี เมืองไตรตรึงษ์ เมืองเทพนคร ฯลฯ ซึ่งชื่อเมืองเหล่านี้พบตามจารึก ในเอกสารต่าง ๆ โดยแต่ละเมืองมี ความสำคัญแตกต่างกันไปตามยุคสมัย เหมือนอย่างเมืองไตรตรึงษ์ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรือง เป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนเส้นทางคมนาคมโบราณระหว่างบ้านเมืองในแถบภาคกลางอย่างละโว้ อโยธยา และเมืองในเขตล้านนาอย่างหริภุญไชย เป็นเมืองสำคัญชั้น ลุงของกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยซึ่งเคยเข้ามาเป็นเจ้าครองเมือง และเป็นเมืองที่มีตำนานปรัมปราเรื่อง “ท้าวแสนปม” อันโด่งดัง ร่องรอยแห่งอดีตความเป็นบ้านเป็นเมืองของเมืองไตรตรึงษ์มีปรากฏเป็นหลักฐานทั้งซากโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลาจารึก พงศาวดาร ตำนาน และเอกสารต่าง ๆ อยู่หลายแห่ง แม้จะมีความสับสนในข้อมูลที่แตกต่างกันอยู่บ้าง แต่ก็มีข้อสรุปที่ชัดเจนได้ว่า เมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองโบราณที่มีอยู่จริงและมีมาอย่างน้อยตั้งแต่สมัยทวาราวดีต่อเนื่องมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นในช่วงรัชกาลที่ 3 ก่อนจะถูกทิ้งร้างให้กลายสภาพเป็นเมืองที่เหลือแต่ซากโบราณสถานมาจนทุกวันนี้
           ที่ตั้งและลักษณะของเมืองไตรตรึงษ์ เมืองไตรตรึงษ์ เป็นเมืองเก่าและร้าง ตั้งอยู่ที่บ้านวัง พระธาตุ ตำบลไตรตรึงษ์ อำเภอเมืองกำแพงเพชร ห่างจากตัว เมืองกำแพงเพชรไปประมาณ 16 กิโลเมตร ตัวเมืองอยู่ทางฝั่ง ขวาของแม่น้ำปิง เป็นเมืองขนาดเล็กมีคูน้ำคันดินล้อมรอบสามชั้น ผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมมน กว้างประมาณ 800 เมตร ยาวประมาณ 840 เมตร แม้จะมีแม่น้ำปิงไหลผ่าน แต่ไม่ได้ใช้ล้าน้ำเป็นคูเมือง เพราะพบร่องรอยคูเมืองเดิม ขนานกับแนวแม่น้ำปิง ปัจจุบันแนวกำแพงเมืองด้านเหนือที่อยู่ติดกับแม่น้ำปิงบางส่วนได้ถูกกระแสน้ำเซาะพังทลายและถูกชาวบ้านเข้ามาไถปรับท้าไร่สวนจนเสียหายไปหลายส่วนบริเวณกลางเมืองมีโบราณสถานขนาดใหญ่สองแห่ง แห่งแรกเรียกว่า เจดีย์เจ็ดยอดเป็นกลุ่ม เจดีย์ก่อด้วยอิฐ เจดีย์ประธานมีเป็นทรงดอกบัวหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ฐานล่างเป็นแบบฐานหน้ากระดาน สี่เหลี่ยมซ้อนกันสี่ชั้น ถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวคว่ำและบัวหงาย แล้วเป็นส่วนเรือนธาตุย่อ ไม้ยี่สิบ ส่วนยอดหักพังลงมาหมดฐานด้านหน้าหรือด้านตะวันออกท้าเป็นซุ้มพระยื่นออกมาเป็นแบบเจดีย์ที่นิยมสร้างในสมัย สุโขทัยรอบเจดีย์ประธานมีฐานเจดีย์รายเล็ก ๆ ก่อด้วยอิฐอยู่หลายองค์ โบราณสถานอีกแห่งหนึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของเจดีย์เจ็ดยอดห่างออกไปประมาณ 200 เมตร เป็นเจดีย์ทรงกลมหรือทรงระฆังขนาดใหญ่ก่อด้วยอิฐมีฐานวิหารและฐานเจดีย์รายเล็ก ๆ ก่อด้วยอิฐเช่นกัน ศิลปะการก่อสร้างเป็นแบบสุโขทัย มีข้อน่าสังเกตซึ่ง จิตร ภูมิศักดิ์ ได้เคยศึกษาเอาไว้ว่า เจดีย์ประธานของกลุ่มเจดีย์เจ็ดยอด มีรูปทรงแบบศิลปะเชียงแสน มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปทางด้านตะวันออกซุ้มเดียว ลักษณะคล้ายคลึงกับเจดีย์ วัดพระยืนจังหวัดล้าพูน อันอาจท้าให้เชื่อตามต้านานต้นพงศาวดารได้ว่า พระเจ้าไชยศิริมาสร้างเมืองไตรตรึงษ์ เพราะเจดีย์องค์นี้ล้วนเป็นฝีมือช่างในกลุ่มสกุลหริภุณชัย-เชียงแสน ซึ่งเก่ากว่าสกุลช่างสุโขทัยและที่บริเวณเมือง เก่าในจังหวัดกำแพงเพชรเท่าที่มีการสำรวจพบยังไม่เคยปรากฏร่องรอยของศิลปะที่เก่าก่อนสมัยสุโขทัยเหมือยอ ย่างที่เมืองไตรตรึงษ์นี้เลย ตามผิวดินภายในเขตเมือง พบเศษภาชนะดินเผา ทั้งประเภทเครื่องเคลือบแบบสุโขทัยที่เรียกว่า เครื่องถ้วยสังคโลก เศษภาชนะดินเผาเนื้อเครื่องดินและชนิดเผาแกร่งไม่เคลือบ จากการขุดค้นพบว่า ถัดจากชั้นดินที่พบเศษภาชนะดินเผาแบบสุโขทัย พบโบราณวัตถุสมัยทวารวดี เช่น เศษภาชนะ ดินเผา ลูกปัดแก้ว และชิ้นส่วนตะเกียงดินเผา
            สำหรับชิ้นส่วนตะเกียงดินเผานั้นเป็นแบบที่พบทั่วไปตามแหล่ง ชุมชนโบราณสมัยทวารวดีในเขตภาคกลางแถบลุ่ม แม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้สันนิษฐานได้ว่าบริเวณเมืองไตรตรึงษ์ก่อนจะเป็นบ้าน เป็นเมืองในสมัยสุโขทัยได้ มีผู้คนเข้ามาตั้ง ถิ่นฐานอยู่แล้วในสมัยทวารวดี แต่อาจจะไม่เป็นเมืองหรือชุมชนใหญ่ เป็นเพียงชุมชนที่อยู่บน เส้นทางคมนาคมริมฝั่งแม่น้ำปิงที่สามารถเชื่อมต่อระหว่างภาคเหนือกับที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา นอกเขตแนวคูเมืองของเมืองไตรตรึงษ์ทางทิศตะวันออกตามล้าน้ำปิงมีโบราณสถานขนาดใหญ่แห่ง หนึ่งชาวบ้านเรียกว่า วัดวังพระธาตุ เจดีย์ประธานของวัดเป็นเจดีย์ทรงดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ แบบศิลปะสุโขทัยสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ยังเห็นรูปทรงทางสถาปัตยกรรมขององค์เจดีย์ได้ครบถ้วน เป็นเจดีย์ทรงดอกบัวตูมที่นับว่าใหญ่ที่สุดในบรรดาเจดีย์แบบเดียวกันทั้งในเขตเมืองกำแพงเพชรและเมืองสุโขทัย บริเวณที่ตั้งเมืองไตรตรึงษ์ซึ่งแต่เดิมเป็นป่าทึบไม่มีผู้คนมาตั้งถิ่นฐาน มีเฉพาะบริเวณริมน้ำใกล้กับวัดพระ ธาตุเท่านั้นชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า ดงแสนปม
           ในอดีตเคยพบว่าบริเวณที่มีคูน้ำและคันดินรูปสี่เหลี่ยม อยู่ที่บ้านปากอ่างตำบลไตรตรึงษ์ อำเภอเมืองอยู่ทางด้านทิศใต้ของเมืองไตรตรึงษ์ มีแนวคันดินตัดออกจากแนวกำแพงเมืองไตรตรึงษ์ออกไป ประมาณ 1 กิโลเมตร ไปถึงบริเวณที่มีคูนำคันดินล้อมรอบรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างประมาณ 200 เมตร ยาวประมาณ 300 เมตร เนินดินขนาดเล็กที่ปรากฏน่าจะเป็นป้อมมากกว่าที่อยู่อาศัย อาจจะเป็นป้อมหน้าด่านของเมืองไตรตรึงษ์ ไม่ปรากฏซากศาสนสถาน บนผิวดินพบเศษภาชนะดินเผา เคลือบแบบสุโขทัยและชนิดเผาแกร่งไม่มีเคลือบ เช่นเดียวกับที่พบบริเวณเมืองไตรตรึงษ์ เมืองเทพนคร เมืองคู่ขนานกับเมืองไตรตรึงษ์ ตั้งอยู่ที่บ้านเทพนคร ตำบลเทพนคร อำเภอเมือง กำแพงเพชร อยู่บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำปิง ตรงข้ามกับบริเวณเมืองไตรตรึงษ์เป็นชุมชนโบราณที่มีคูน้ำ และคันดิน ล้อมรอบชั้นเดียว เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้างประมาณ 800 เมตร ยาวประมาณ 900 เมตร แนวคันดินและคูน้ำถูกทำลายไปมากที่เหลือพอให้เห็นอยู่บ้างเฉพาะด้านทิศตะวันออกเท่านั้น ภายในเขตเมืองพบร่องรอย  ศาสนสถานสองแห่ง ลักษณะอิฐมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่พบทางฝั่งเมืองไตรตรึงษ์ ส่วนโบราณสถานอีกแห่งหนึ่ง พังลงแม่น้ำไปหมดแล้ว เมืองไตรตรึงษ์ซึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำปิง กับเมืองเทพนครที่ตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำปิง มีลักษณะคล้ายกับเมืองนครชุมและเมืองกำแพงเพชร เมืองไตรตรึงษ์มีลักษณะเป็นเมืองเก่า มีกำแพงคันดิน ล้อมรอบสามชั้นแบบเดียวกับเมืองสุโขทัย เมืองนครชุมและเมืองบางพาน อาจเป็นไปได้ว่าเมื่อเมืองไตรตรึงษ์หมด ความสำคัญแล้ว จึงได้มีการย้ายชุมชนไปอยู่อีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำปิงคือ เมืองเทพนคร ซึ่งมีคูน้ำคันดินเพียงชั้นเดียว จนเป็นแบบแผนของเมืองที่เกิดขึ้นในระยะหลัง

คำสำคัญ : ไตรตรึงษ์

ที่มา : เรืองศักดิ์ แสงทอง. (ม.ป.ป.). เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์. กำแพงเพชร: ม.ป.ท.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610001&code_type=01&nu=pages&page_id=1316

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1316&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

ถนนราชดำเนิน กำแพงเพชร

ถนนราชดำเนิน กำแพงเพชร

เดิมถนนราชดำเนิน เป็นทางล้อเกวียน เส้นทางสัญจรทางบกของชาวกำแพงเพชร ยาวตั้งแต่กำแพงเมือง (หลังไปรษณีย์กำแพงเพชรเก่า) ตรงไปสิ้นสุดยังวัดบาง ผ่านด้านหลังวัดเสด็จ ตัดโดยพระวิเชียรปราการเจ้าเมืองกำแพงเพชรท่านใหม่ ที่รัชกาลที่ 5 โปรดให้มาปฏิรูปเมืองกำแพงเพชร ถนนเส้นนี้ กว้างราว 6 เมตร มีบ้านเรือน ราษฎรปลูกอยู่บ้างแล้ว ตรง กว้าง งดงามมาก พระวิเชียรปราการ ตั้งใจที่จะรับเสด็จพระพุทธเจ้าหลวงด้วย  

เผยแพร่เมื่อ 14-03-2019 ผู้เช้าชม 2,484

ดาบที่สร้างจากประวัติศาสตร์

ดาบที่สร้างจากประวัติศาสตร์

พระแสงราชศัสตราแห่งเมืองกำแพงเพชร เป็นพระแสงประจำเมืองเล่มเดียวในประเทศที่เป็นของเก่าที่แท้จริง เนื่องด้วยเป็นพระแสงที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ให้เป็นบำเหน็จความดีความชอบในการศึกปัตตานี ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์แก่พระยากำแพงเพชร (นุช ) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรคนที่ 2 ต่อจากบิดา ส่วนพระแสงประจำเมืองของจังหวัดอื่น ๆ ล้วนสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 3,359

ทบทวนประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร

ทบทวนประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร

ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร มีเมืองโบราณตั้งอยู่มากมาย ยืนยันได้ว่ากำแพงเพชร เป็นเมืองโบราณมาช้านาน ไม่ต่ำกว่าพันปี เมืองที่รู้จักกันดี คือเมืองแปบ อยู่บริเวณตีนสะพานกำแพงเพชร ฝั่งนครชุม ตั้งแต่หัวยางถึงวัดพระบรมธาตุนครชุม แต่ปัจจุบันไม่พบหลักฐาน เพราะเมืองแปบทั้งเมืองถูกน้ำกัดเซาะทำลายสิ้นทั้งเมือง แต่ประชาชน ยังเรียกขาน บริเวณนี้ว่าวังแปบอยู่ เมืองเทพนคร อยู่บริเวณตำบลเทพนครในปัจจุบันสำรวจล่าสุดปี 2556 เดิมเมื่อฝรั่งเข้าไปทำเกษตร บริเวณนั้นเคยเรียกว่า ปางหรั่ง หรือปางฝรั่ง ปัจจุบันพบเพียงคูน้ำเพียงด้านเดียว พบป้อมปราการท้ายเมืองหนึ่งป้อม เพราะเมืองเทพนคร มีอายุอยู่ในระยะสั้นมาก อาจไม่ถึงช่วงสองร้อยปี (ราวพุทธศกัราช 1600-1800)

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,352

กำแพงเพชร : ยุคหิน

กำแพงเพชร : ยุคหิน

ชุมชนดั้งเดิมของกำแพงเพชร ชุมชนยุคหิน เขากะล่อน (แผนที่ทหารเรียกว่าเขาการ้อง) เป็นเขาลูกรัง เป็น แนวติดต่อกันสามลูก ไปทางทิศเหนือและทิศใต้ อยู่ที่บ้านหาดชะอม ตำบลป่าพุทรา อำเภอขาณุวรลักษบุรี ห่างจากลำน้ำปิงไปทางตะวันออก ราว 2 กิโลเมตร จากการสำรวจของนายปรีชา สระแก้ว นายช่างกรมทางหลวง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ ขุดค้นพบ ขวานหินขัด หัวธนูหิน กำไลหิน ลูกปัดหิน อายุราว 10,000 ปี

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 2,037

เมืองไตรตรึงษ์สมัยธนบุรี

เมืองไตรตรึงษ์สมัยธนบุรี

ในสมัยกรุงธนบุรีพบหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเมืองไตรตรึงษ์เพียงเล็กน้อย โดยเป็นจดหมายเหตุความทรงจำกรมหลวงนรินทรเทวี กล่าวถึงสมัยกรุงธนบุรี เมื่อพ.ศ. 2315 พระเจ้ามังระให้อะแซหวุ่นกี้เป็นแม่ทัพยกยกพลมาทางด่านแม่ละเมา เข้ายึดเมืองสุโขทัย สวรรคโลก แล้วข้าล้อมเมืองพิษณุโลกไว้ โดยการรบที่เมืองพิษณุโลก ดำเนินไปถึง 3 ปี ก็เสียเมืองแก่พม่า ฝ่ายไทยขุดอุโมงค์และทลายกำแพงลง ตั้งล้อมจับพม่ากลางแปลงจับได้แม่ทัพพม่าและทหารเป็นจำนวนมาก 

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 2,916

ธงประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ธงประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ธงประจำจังหวัดกำแพงเพชร เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีพื้นสีอยู่ 3 สี คือ สีเหลือง สีแดง และสีเขียวใบไม้ มีรูปตราประจำจังหวัดกำแพงเพชรอยู่ตรงกลางแถบสีแดง แถบสีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองของเมืองกำแพงเพชร โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางพระพุทธศาสนา กำแพงเพชรมีโบราณสถานและโบราณวัตถุมากมายและย่ิงใหญ่ที่สุดจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย กำแพงเพรมีพระเครื่องนับพันพิมพ์ จนได้รับการยกย่องให้เป็นจังหวัดที่ีพระเครื่องมากที่สุด และทรงคุณค่ามากที่สุดจนเป็นคำขวัญประจำจังหวัดวรรณหนึ่งว่า "กรุพระเครื่อง" แถบสีเขียว หมายถึง เมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ เต็มไปด้วยป่าไม้ น้ำตก และพืชพันธุ์ธัญญาหาร เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญ มีประชากรจากทุกสารทิศอพยพเข้ามาสู่เมืองกำแพงเพชรอย่างมากมาย ความหมายโดยรวม เมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างย่ิงทางด้านพระพุทธศาสนา ประชาชนมีความกล้าหาญในการสงครามอย่างหาที่เปรียบมิได้ มีความอุดมสมบูรณ์ในการเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศไทยมาโดยตลอด

เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 2,765

พระแสงราชศัสตรา

พระแสงราชศัสตรา

พระแสงราชศัสตรา มรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า หนึ่งในสยาม คู่บ้านคู่เมืองกำแพงเพชร พระแสงราชศัสตราองค์นี้ เป็นดาบฝักทองลงยาที่งดงาม มีความเชื่อกันว่าเป็นดาบวิเศษ แสดงถึงพระราชอำนาจสูงสุดของพระมหากษัตริย์ในการปกครองบ้านเมือง ในสมัยนั้น รวมทั้งเป็นสัญลักษณ์แทนพระองค์ในกรณีย์ที่ทรงพระราชทานสิทธิ์แก่ขุนนาง ข้าราชการที่ใช้อำนาจแทนพระองค์ ในการปฏิบัติราชการแทนพระองค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีศึกสงคราม

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2019 ผู้เช้าชม 6,070

พะโป้วีรบุรุษแห่งบ้านปากคลอง

พะโป้วีรบุรุษแห่งบ้านปากคลอง

คำกล่าวถึงพะโป้ ในวรรณกรรมทุ่งมหาราช ของครูมาลัย ชูพินิจ ดูแต่วัดพระธาตุที่ทอดทิ้งกันชำรุดทรุดโทรมมาแต่สมัยปู่ย่าตายาย ใครล่ะทำนุบำรุง ใครล่ะปฏิสังขรณ์รื้อสร้างรวมเป็นองค์เดียว แล้วยกช่อฟ้าใบระกาใหม่? ใคร? นอกจากพญาตะก่ากับพะโป้ อย่าลืมว่านั่นเป็นกะเหรี่ยงสองพี่น้อง ไม่ใช่คนไทย ไม่ใช่คนพื้นเพปากคลอง ...นี่เองพะโป้ผู้ยิ่งใหญ่ พะโป้ผู้มีคุณแก่ขาวกำแพงเพชรโดยทั่วไป และคลองสวนหมากโดยเฉพาะ พะโป้ผู้นำฉัตรทองแต่ตะโก้ง (เมืองย่างกุ้ง)มาประดิษฐาน ณ ยอดพระบรมธาตุเป็นสัญลักษณ์แห่งบวรพระพุทธศาสนา

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 2,288

ความทรงจำเรื่องปราบศึกฮ่อ

ความทรงจำเรื่องปราบศึกฮ่อ

พวกฮ่อนี้เดิมทีเป็นจีนแท้ ทำการขบถขึ้นในเมืองจีน เรียกว่าพวกขบถ “ไต้เผง” จะช่วงชิงอำนาจกับพวก “เม่งจู” ในที่สุดพวกไต้เผงสู้พวกเม่งจูไม่ได้ ต้องแตกฉานซ่านเซ็นหลบหนีไปซุ่มซ่อนตัวตามป่าเขา จีนขบถไต้เผงพวกหนึ่งมีกำลังหลายพันคน หัวหน้ากลุ่มชื่อ “จ่ออาจง” อพยพเข้ามาอยู่ในเขตแดน ญวน ทางเมืองตั้งเกี๋ยเมื่อราว พ.ศ. ๒๔๐๐ ฝ่ายพวกญวนเห็นว่าพวกขบถไต้เผงอพยพเข้ามในเขตของตน เกรงว่าจะเป็นอันตราต่อญวนในภายภาคหน้า จึงแต่งฑูตเข้าไปในประเทศจีน ขอกองทัพจากกษัตริย์เม่งจู มาสมทบกับกองทัพของญวน ช่วยกันขับไล่พวกขบถ พวกกบถก็แตกทัพลงมาในดินแดนของพวกแม้ว คือชายแดนจีนติดต่อกับดินแดนสิบสองจุไทย พวกขบถได้รวบรวมกันและตั้งมั่นอยู่ และได้เรียกชื่อใหม่ว่าเป็น “พวกฮ่อ”

 

 

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 2,733

ประวัติอำเภอเมืองกำแพงเพชร

ประวัติอำเภอเมืองกำแพงเพชร

อำเภอเมืองกำแพงเพชร เป็นบ้านเมืองมาแต่สมัยใดยังไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนนัก สันนิฐานว่าอาจจะเป็นบ้านเมืองมาก่อนสมัยอาณาจักรสุโขทัยเพราะจากตำนานสิงหนวัติก็กล่าวถึงไว้ว่าพระเจ้าพรหม โอรสของพระเจ้าพังคราช ซึ่งประสูติเมื่อ พ.ศ.1461 พอพระชนมายุได้ 16 พรรษาก็ยกทับขับไล่พวกขอมลงมาจนถึงเมืองกำแพงเพชร และต่อมาพระเจ้าศิริ โอรสของพระพรหมได้อพยพไพร่พลหนีข้าศึกมอญมาสร้างเมืองกำแพงเพชรเป็นที่ประทับ ซึ่งปรากฏหลักฐานว่าในปัจจุบันยังมีศิลปวัตถุที่เป็นเทวาลัยของขอม เช่น วิหารพิกุลเดิม ซึ่งเป็นเครื่องชี้บอกให้เห็นว่าเมืองกำแพงเพชรเป็นบ้านเมืองตั้งแต่อาณาจักรสุโขทัย

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2018 ผู้เช้าชม 3,584