การทอผ้าของกะเหรี่ยง

การทอผ้าของกะเหรี่ยง

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้ชม 1,377

[16.121008, 99.3294759, การทอผ้าของกะเหรี่ยง]

การทอเป็นลวดลาย สามารถทอได้ 5 แบบ
       1.ลายในเนื้อผ้า ลักษณะลวดลายจะปรากฏเป็นเส้นนูนตามแนวตั้งหรือแนวนอน
       2.ลายสลับสี เป็นการทอแบบธรรมดาแต่แทรกด้วยสีต่างๆ
       3.ลายจก เป็นการทอลวดลายโดยการสอดด้วยสลับสีเข้าไปเป็นบางส่วนในเนื้อผ้า การยกเส้นยืนจะไม่ใช้ตะกอช่วยในการยก แต่จะใช้นิ้วมือหรือขนเม่นช่วยสอดยกเส้นยืนขึ้นตามจำนวนที่ออกแบบไว้ และสอดเส้นพุ่งสีที่ต้องการเข้าไป ระหว่างเส้นยืนนั้น
       4.ลายขิด คือ การทอผ้าให้ลวดลายที่ปรากฏเหมือนกันทั้งผืน ลักษณะลายแบบยกดอกในตัว กะเหรี่ยงสะกอนิยมทอผ้าลายขิดเพื่อเย็บเป็นผ้าถุงสำหรับหญิงที่แต่งงานแล้ว ผ้าทอลายขิดของกะเหรี่ยงมีลักษณะคล้ายของชาวอีสาน แต่ลวดลายซับซ้อนน้อยกว่า กะเหรี่ยงนิยมทอลายขิดและใช้ด้ายสลับสีซึ่งแตกต่างจากของ ชาวอีสานที่ไม่นิยมใช้ด้าสลับสี
       5.ทอลวดลายโดยแทรกวัสดุอื่นประกอบ เช่น ลูกเดือยหรือใช้พู่หรือกระจุกด้ายซึ่งเป็นการทอของกะเหรี่ยงโปว์และสะกอในบางหมู่บ้านแถบแม่ฮ่องสอน ใช้ประกอบในชุดของหญิงสาว และชุดเด็กหญิงเท่านั้น

ภาพโดย : http://www.openbase.in.th/node/653

คำสำคัญ : เครื่องแต่งกาย ชุดประจำชนเผ่า

ที่มา : http://www.openbase.in.th/node/653

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). การทอผ้าของกะเหรี่ยง. สืบค้น 28 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=522&code_db=610007&code_type=02

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=522&code_db=610007&code_type=02

Google search

Mic

ลายตัวตั้งตะ

ลายตัวตั้งตะ

ลายบริเวณตีนขาที่เรียกว่า "ตัวตั้งตะ" มีเครื่องแต่งกายที่แตกต่างระหว่างม้งจั๊วะและม้งเด๊อะสำหรับผู้ชายจะเห็นได้ชัดในชุดของผู้ชายม้ง โดยที่กางเกงของผู้ชายม้งจั๊วะจะมีลักษณะเป็นกางเกงหย่อนลงมามาก ขากางเกงบริเวณส่วนบนกว้างมากและมีขอบปลายแคบผิดกับกางเกงของชายม้งเด๊อะซึ่งเหมือนกางเกงขาก๊วยจีนหรือที่ทางภาคเหนือเรียกว่า กางเกงสามดูก ส่วนเสื้อม้งเด๊อะชายจะสั้นกว่าม้งจั๊วะ การสวมเสื้อจะป้ายจากด้านขวาไปด้านซ้าย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 715

ลายขิด

ลายขิด

ลายขิด คือ การทอผ้าให้ลวดลายที่ปรากฏเหมือนกันทั้งผืน ลักษณะลายแบบยกดอกในตัว กะเหรี่ยงสะกอนิยมทอผ้าลายขิดเพื่อเย็บเป็นผ้าถุงสำหรับหญิงที่แต่งงานแล้ว ผ้าทอลายขิดของกะเหรี่ยงมีลักษณะคล้ายของชาวอีสาน แต่ลวดลายซับซ้อนน้อยกว่า กะเหรี่ยงนิยมทอลายขิดและใช้ด้ายสลับสีซึ่งแตกต่างจากของ ชาวอีสานที่ไม่นิยมใช้ด้ายสลับสี

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 1,407

ลายกาบาท

ลายกาบาท

ลวดลายบนผืนผ้าแต่ละผืนจะมีความแตกต่างกันไปตามแต่ความชํานาญของผู้วาด ลวดลายมีทั้งลาย ดั้งเดิมที่สืบทอดต่อๆ กันมา และลวดลายทเกี่ ิดจากจิตนาการ การสร้างสรรค์ใหม่ๆ แต่กระนั้นก็ยังมีลักษณะ ลวดลายที่สะทอนความเป ้ ็นชนเผ่าม้งให้ปรากฎอยู่บนผืนผ้าแต่ละผืน เชน่ ลายกากบาท ลายก้นหอย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 933

ลายนิ่แมะ (มัดย้อม)

ลายนิ่แมะ (มัดย้อม)

นิ่แมะ (มัดย้อม) มีความสำคัญในอดีตพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้สั่งไว้ว่า ลายนิ่แมะอย่าทำหาย เพราะจะต้องใช้ในงานมงคล เช่น งานแต่งงานของกะเหรี่ยง ลักษณะลวดลายจะปรากฏ เป็นเส้นนูนตามแนวตั้ง หรือแนวนอนก็ได้ หากเป็นลายนูนตามแนวตั้ง การกำหนดลายจะทำพร้อมกับการเรียงด้าย คือใช้จำนวนด้ายเพิ่มขึ้นกว่าปกติมนที่ที่ต้องการให้เป็นลายนูน ส่วนด้ายขวางใช้จำนวนเท่าปกติ การทอวิธีนี้นิยมใช้ทอเสื้อผู้ชายสูงอายุของเผ่ากะเหรี่ยง

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 577

ลายปะดังดอง (แมงมุม)

ลายอ่องกึ้ยหรือลายจก คือ ลวดลายที่เกิดจากการสอดด้ายสลับสีเข้าไปบางส่วนของเนื้อผ้า ตามลวดลายและสีในตำแหน่งที่ต้องการ ซึ่งลายจกของชาวกะเหรี่ยงที่พบมีทั้งลายดั้งเดิม และลายที่ดัดแปลง ขึ้นมาใหม่ มีดังนี้

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 710

ลายเรียบ สายย้อย

ลายเรียบ สายย้อย

ผู้หญิงที่เป็นชนเผ่ากระเหรี่ยงส่วนใหญ่จะมีทักษะ ฝีมือในการทอผ้า และปักเม็ดมะเดือย เพราะว่ามีการสืบทอดมาสู่คนรุ่นหลัง โดยมีการรวมกลุ่มทำอาชีพเสริมทอผ้า ปักผ้า ฝีมือ แรงงานในการผลิตเป็นคนในชุมชน นอกจากนั้นยังได้มีการถ่ายทอดความรู้ ทักษะในการทอผ้า ปักผ้าด้วยมะเดือย ตลอดจนวิธีการปลูกมะเดือยจากคนรุ่นเก่าไปยังเด็กๆในโรงเรียน เยาวชนคนรุ่นใหม่ด้วย

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 794

ลายผ้ากะเหรี่ยง

ลายผ้ากะเหรี่ยง

ลายผ้าทอกะเหรี่ยงโบราณมาจากผู้ทำลายชื่อ นางมึเอ โดยนางจะทอผ้าอยู่ในถ้ำ ซึ่งมีอยู่วันหนึ่งมีงูเหลือมเข้าไปในถ้ำนางมึเอเห็นลายงูเหลือมจึงได้นำลายของงูเหลือมมาทอเป็นลายในผืนผ้า และต่อมาก็ได้มีการดัดแปลงจนเกิดเป็นลวดลายต่างในปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่ลวดลายนั้นจะมาจากการมองดูธรรมชาติรอบๆตัวแล้วนำมาดัดแปลงให้เป็นลวดลายในผืนผ้า โดยการยกเขา 4 เขา เป็นกะเหรี่ยงลายดั้งเดิมตั้งแต่นั้นมา

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 4,738

เผ่าขมุ

เผ่าขมุ

ขมุ แปลว่า “ คน” เป็นคำที่ชาวขมุใช้เรียกตัวเอง ในประเทศลาวเป็นแหล่งใหญ่ที่มีชาวขมุ จะเรียกชาวขมุว่า “ ลาวเทิง” หรือลาวบนที่สูง ในประเทศไทย ชาวขมุเข้ามานานพอสมควร อาศัยอยู่ในจังหวัดน่าน และบริเวณชายแดนจังหวัดเชียงราย และกระจัดกระจายอยู่ในจังหวัดภาคกลาง เช่น สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และอุทัยธานี เป็นต้น 

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 3,379

ลายตะโก๊ะเหล่

ลายตะโก๊ะเหล่

ตะโก๊ะเหล่ เป็นลวดลายกะเหรี่ยงที่ใช้กันทั้งกะเหรี่ยงโปและสะกอ ซึ่งสามารถพัฒนาลวดลายต่างๆได้ เช่น ลายตา ลายโค้ง กรรไกร ฯลฯ

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 1,404

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : กระเหรี่ยง

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : กระเหรี่ยง

กะเหรี่ยงเป็นชนเผ่าที่จัดได้ว่ามีหลายเผ่าพันธุ์ หลายภาษา มีการนับถือศาสนาที่ต่างกัน แต่กะเหรี่ยงดั้งเดิมจะนับถือผี เชื่อเรื่องต้นไม้ป่าใหญ่ ภายหลังหันมานับถือพุทธ คริสต์ เป็นต้น กะเหรี่ยง มีถิ่นฐานตั้งอยู่ที่ประเทศพม่า แต่หลังจากถูกรุกรานจากสงคราม จึงมีกะเหรี่ยงที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ประเทศไทย กะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย กะเหรี่ยงสะกอ หรือที่เรียกนามตัวเองว่า ปากะญอ หมายถึงคน หรือมนุษย์นั้นเอง กะเหรี่ยงสะกอเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด มีภาษาเขียนเป็นของตนเอง โดยมีมิชชันนารีเป็นผู้คิดค้นดัดแปลงมาจากตัวหนังสือพม่า ผสมภาษาโรมัน กลุ่มนี้หันมานับถือศาสนาคริสต์เป็นส่วนใหญ่ กะเหรี่ยงโปร์นั้นเป็นกลุ่มที่ค่อนข้างเคร่งครัดในประเพณี อาศัยอยู่มากที่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และแถบตะวันตกของประเทศไทย คือ กะเหรี่ยงบเว อาศัยอยู่มากที่อำเภอขุนยวม แม่ฮ่องสอน ส่วนปะโอ หรือตองสูก็มีอยู่บ้าง แต่พบน้อยมากในประเทศไทย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 12,264