วัดดงหวาย

วัดดงหวาย

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้ชม 1,878

[16.496092, 99.519300, วัดดงหวาย]

           วัดที่อยู่นอกบริเวณอรัญญิกของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ที่สำคัญแห่งหนึ่งคือ วัดดงหวาย ก่อนที่จะเปิดอุทยานประวัติศาสตร์ วัดดงหวาย มีชื่อเสียงมาก ในการค้นพบพระเครื่องและพระบูชา วัดดงหวายตั้งอยู่แนวถนนพระร่วง เป็นวัดขนาดใหญ่ ก่อนที่จะตัดถนน กำแพงเพชร – สุโขทัย สภาพวัดสมบูรณ์มาก
           วัดดงหวายตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองไปทางทิศเหนือ ห่างจากประตูสะพานโคมไปประมาณ 200 เมตร ปัจจุบันทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 กำแพงเพชร สุโขทัย ตัดผ่านด้านหลังวัด ทำให้บริเวณสังฆาวาส และเจดีย์รายบางส่วน ได้หายไปกับการสร้างถนน เหตุที่เรียกว่าวัดดงหวาย เพราะสมัยที่ประชาชนเข้าไปขุดค้นพระเครื่องและพระบูชานั้น บริเวณนั้นเป็นดงหวายจริงๆ กว่าจะเข้าไปถึงเจดีย์และวิหารได้ ต้องแหวกดงหวายเข้าไป รกทึบมาก จึงเรียกวัดนี้ว่าวัดดงหวาย บริเวณข้างวัดมีสระน้ำขนาดใหญ่ มิใช่สระที่สำหรับขุดเอาศิลาแลง แต่เป็นสระน้ำที่ขุดไว้เพื่อใช้น้ำจริงๆ บริเวณนี้คงขาดน้ำมาก อาจเป็นเพราะน้ำเปลี่ยนทิศทาง หรือท่อปู่พญาร่วงที่ผ่านบริเวณนี้ ถูกถมหายไป ตามหลักฐานจากจารึกฐานพระอิศวร 
             เจดีย์ประธานวัดดงหวาย เป็นแบบเจดีย์ทรงกลมหรือทรงระฆัง ก่อด้วยอิฐ มีซุ้มพระเฉพาะด้านหน้าคือทางทิศตะวันออก เพียงด้านเดียว เจดีย์มีลักษณะต่ำกว่าพื้นปกติ และต่ำกว่าพื้นวิหาร น่าจะมีการบูรณะ ปฎิสังขรณ์วิหารในภายหลัง เจดีย์รายที่อยู่ รอบเจดีย์ประธาน การสร้างค่อนข้าง ไม่เป็นระเบียบ เพราะคงมีการมาสร้างเพิ่มเติมในภายหลัง ในเนื้อที่ที่จำกัด   ลักษณะเด่นขององค์เจดีย์ประธานคือ การสร้างฐานแปดเหลี่ยมลดหลั่น ลงมาหลายชั้น จนทำให้รูปทรงของเจดีย์เพรียว ชลูด ชั้นบัวถลาทำเป็นบัวคว่ำ บัวหงาย สามชั้นองค์ระฆังเล็กมาก นักวิชาการบางท่านให้ข้อสังเกตว่า ฐานแปดเหลี่ยมลักษณะนี้ อาจได้รับอิทธิพลมาจากล้าน   มาพัฒนาให้เป็นลักษณะเจดีย์ ในรูปแบบของกำแพงเพชร
           วิหารขนาดใหญ่ตั้งอยู่ด้านหน้าของเจดีย์ประธาน ฐานเดิมก่อด้วยศิลาแลง มาเสริมอิฐ เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อเป็นแบบฐานหน้ากระดาน เป็นอาคารขนาดใหญ่ เมื่อเทียบกับ พระประธาน ซึ่งมีขนาดใหญ่มาก ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ เพียงแค่พระอุระ พระเศียร และพระอังสะ พังทลายไปสิ้น แต่ดูจากพุทธลักษณะเท่าที่ปรากฏ มีรูปทรงที่งดงามมาก รอบฐานพระพุทธรูปยังมีลายปูนปั้น รูปกลีบบัวคว่ำและบัวหงาย และมีเส้นเกสรบัวประกอบที่งดงามมาก ลายกลีบบัว ปูนปั้นนี้ มีรูปแบบคล้ายฐานกลีบบัว คว่ำบัวหงาย ของพระพุทธรูป สำริด แบบเชียงแสนรุ่นแรก วัดดงหวาย คงได้รับอิทธิพล จากล้านนา มาผสมผสานกับศิลปะของสุโขทัย แล้วพัฒนามาเป็นศิลปะของกำแพงเพชร ในที่สุด
           วัดดงหวาย อยู่ริมถนนก็จริง แต่มิใคร่มีคนมาเที่ยวชม เพราะมุมมอง จากถนนไม่งดงาม แต่ถ้ามามองทางด้าน หน้าวัด คือทางทิศตะวันออกแล้ว เป็นวัดที่งดงามมาก ที่ชัดเจน

 ภาพโดย : http://tis.dasta.or.th/dasta_survey//tourist_profile_img/dasta_3_20170725105429.jpg

คำสำคัญ : วัดดงหวาย,อุทยานประวัติศาสตร์,กำแพงเพชร

ที่มา : http://sunti-apairach.com/03N/03NG.htm

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). วัดดงหวาย. สืบค้น 29 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=289&code_db=610009&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=289&code_db=610009&code_type=01

Google search

Mic

วัดป่ามืดนอก

วัดป่ามืดนอก

วัดป่ามืดนอก คือพระโกลนศิลาแลง ซึ่งธรรมดาจะไม่มี หูตา จมูก ปาก และรายละเอียด ของพระ จะเป็นพระที่มีปูนฉาบอยู่ และรายละเอียด จะตกแต่งจากปูน มากกว่าศิลาแลง แต่พระพุทธรูปทุกองค์ ในวัดนี้ มีหลักฐานที่ชัดเจนว่า ศิลาแลง มิใช่โกลน แต่ เป็นศิลาแลงที่ตกแต่ง รายละเอียดของพระพักตร์ ..มี พระเนตร พระกรรณ พระนาสิก พระโอษฐ์ ที่ชัดเจน

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,470

วัดช้างรอบ

วัดช้างรอบ

"วัดช้างรอบ" ซึ่งเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร วัดช้างรอบ เป็นวัดใหญ่ตั้งอยู่บนเนินสูง มีพระเจดีย์ใหญ่ตั้งอยู่กลางลานสี่เหลี่ยมที่ฐานเป็นรูปช้างครึ่งตัวเห็นแต่ 2 ขาหน้า หันศรีษะออกจากฐานรายรอบเจดีย์ เป็นช้างทรงเครื่อง จำนวน 68 เชือก

เผยแพร่เมื่อ 02-02-2017 ผู้เช้าชม 9,624

วัดอมฤต

วัดอมฤต

เป็นวัดสำคัญ ที่สุดของบ้านร้านดอกไม้ ซึ่งปัจจุบัน เรียนขานกันว่าบ้านลานดอกไม้ ซึ่งมีที่มาว่าเมื่อเจ้าดารารัศมี พระวรชายา ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครา เสด็จ กลับชียงใหม่ ได้ประทับที่ บ้านร้านดอกไม้ ซึ่งประชาชนได้ เตรียมร้านดอกไม้เพื่อเตรียมการรับเสด็จเจ้าดารารัศมี ชาวบ้านกล่าวขานกันว่า เจ้าดารารัศมี เรียกชุมชนแห่งนี้ว่าบ้านร้าน ดอกไม้ ต่อมา เลือนไปกลายเป็นบ้านลานดอกไม้ ในที่สุด

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,474

วัดฆ้องชัย

วัดฆ้องชัย

วัดฆ้องชัย ตั้งอยู่ทางด้านหน้าหรือด้านตะวันออกของวัดพระสี่อิริยาบถ มีกำแพงวัดเฉพาะด้านตะวันตกและด้านใต้เพียงสองด้านเท่านั้น นอกกำแพงวัดด้านทิศตะวันตกและด้านใต้เพียงสองด้าน ลักษณะเด่นของฐานวิหารฆ้องชัยคือ การก่อฐานสูงเป็นเสาศิลาแลงแปดเหลี่ยม ภายในอาคารยังปรากฏแท่นอาสนสงฆ์และแท่นประดิษฐานพระประธาน ซึ่งเดิมเป็นพระพุทธรูปนั่งเจดีย์ประธานตั้งอยู่ถัดจากวิหารไปทางด้านหลัง

เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 1,899

วัดนาควัชรโสภณ (วัดช้าง)

วัดนาควัชรโสภณ (วัดช้าง)

วัดนาควัชรโสภณ เดิมชื่อ วัดช้าง สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยตอนปลาย ประมาณหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เป็นวัดที่มีความสำคัญ ตั้งอยู่หน้าเมืองด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตรงข้ามกับวัดเจ้าเมือง กำแพงเพชร เป็นวัดอยู่ในกลุ่มอรัญญิกด้านทิศตะวันออก รูปแบบสภาพแวดล้อมทั้งหมดได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะสมัยลพบุรีหรือขอม นอกจากนี้ยังพบร่องรอยของถนนพระร่วงตัดผ่านหน้าวัดนี้ด้วย วัดช้างนับเป็นวัดเก่าแก่สร้างมาประมาณ ๗๐๐ ปีเศษ ลักษณะสภาพโดยทั่วไปของกลุ่มโบราณสถานจะถูกล้อมรอบด้วยคูน้ำกว้างประมาณ ๑๐ เมตร ยาวประมาณ ๕๐๙ เมตร มีเนื้อที่ตั้งวัด ๖๒ ไร่ การคมนาคมสะดวก บริเวณวัดสะอาด ร่มรื่นด้วยต้นไม้ สวยงามตามธรรมชาติ  วัดช้าง เป็นวัดที่ร้างจากพระสงฆ์มาประมาณ ๔๐๐ - ๕๐๐ ปี ครั้นลุถึงปีพุทธศักราช พ.ศ. ๒๕๐๙ พระวิชัย ปสนฺโน

เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้เช้าชม 2,693

 วัดบ่อสามแสน

วัดบ่อสามแสน

เป็นวัดใหม่ สร้างเมื่อประมาณปีพุทธศักราช 2500 โดยเป็นที่พักสงฆ์มาตลอด แต่เดิมมีศาลาไม้ไผ่หนึ่งหลัง และกุฏิพระเพียงหลังเดียว เมื่อปีพุทธศักราช 2510 ชาวบ้านบ่อสามแสนได้ไปอาราธนาหลวงพ่อพล กุสโล จากวัดคลองเมืองนอก ตำบลโกสัมพี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร มาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 5,140

วัดพระบรมธาตุ

วัดพระบรมธาตุ

เป็นวัดพระอารามหลวงชั้นตรี บรรจุพระบรมสารีริกธาตุจากประเทศศรีลังกาพญาลิไททรงประดิษฐานไว้เมื่อปี พ.ศ.1900 ประชาชนชาวกำแพงเพชรมีความศรัทธาต่อองค์พระธาตุและมีความเชื่อดังจารึกที่ว่า "ผิผู้ใดได้ไหว้นบกระทำบูชาพระศรีรัตมหาธาตุและพระศรีมหาโพธิ์นี้ว่าไซร้ มีผลอานิสงส์พร่ำเสมอดังได้นบพระผู้เป็นเจ้า" เป็นตำนานที่มาของงานประเพณี "นบพระเล่นเพลง" ในวันมาฆบูชาของจังหวัดกำแพงเพชร พระบรมธาตุนครชุม มหาเจดีย์ทรงสูงใหญ่ สวยงามไปด้วยสถาปัตยกรรมและสีทองอร่ามทั้งองค์ เสมือนดั่งเจดีย์ชเวดากองในเมืองพม่า เป็นพระบรมเจดีย์ ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ จำนวน 9 องค์ จวบจนปัจจุบัน

เผยแพร่เมื่อ 02-02-2017 ผู้เช้าชม 2,764

โบสถ์ศิลาแลง

โบสถ์ศิลาแลง

วัดเป็นแหล่งรวมของศิลปกรรมอันล้ำค่าทั้งด้านสถาปัตยกรรม ปฏิมากรรมและจิตรกรรมที่ศิลปินได้ถ่ายทอดลักษณะเด่นของคำสอนทางพระพุทธศาสนาออกมาในงานศิลปะอย่างกลมกลืนน่าชื่นชมเป็นพุทธศิลป์ที่ให้คุณค่าทั้งด้านความงามและทั้งเป็นสื่อให้คนได้เข้าถึงธรรมปฏิบัติซึ่งช่วยกล่อมเกลาจิตใจมนุษย์ให้อ่อนโยนและสะอาด บริสุทธิ์ขึ้น พุทธศิลป์ที่ปรากฏในวัดจึงเป็นศิลปะแห่งอุดมคติที่ให้คุณค่าและความหมายเชิงจริยธรรมอย่างสูง สำหรับแนวทางการสนับสนุนให้ศาสนสถานที่สำคัญของวัดให้เป็นสถานที่แหล่งท่องเที่ยว อาทิเช่น พระปรางค์ อุโบสถวิหาร สถูปเจดีย์ พระพุทธรูป ศาลาการเปรียญ หอไตร เป็นต้น นอกจากจะเป็นสิ่งจูงใจให้ประชาชนสนใจเข้าวัดมากขึ้น ยังช่วยสะท้อนให้เห็นถึงอายธรรม ภูมิปัญญา วิถีชีวิต และเทคโนโลยี รวมถึงวัดยังเป็นแหล่งเชื่อมโยงความเป็นมาของวัฒนธรรมกับชุมชน และยังเป็นสถานที่ที่รวบรวมมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าทางศิลปะที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาและอัจฉริยะของบรรพบุรุษที่เกิดการสั่งสมและถ่ายทอดทางวัฒนธรรม

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 2,299

วัดพระสี่อิริยาบถ หรือ วัดพระยืน

วัดพระสี่อิริยาบถ หรือ วัดพระยืน

มณฑปจตุรมุข ซึ่งมีรูปแบบเหมือนดังที่พบที่วัดเชตุพนและวัดพระพายหลวง จ.สุโขทัย จากจารึกลานเงินที่พบบริเวณเจดีย์รอบมณฑปได้กล่าวไว้ว่าพระมหามุนีรัตนโมลีเป็นผู้สร้างและเสด็จพ่อพระยาสอยเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรในยุคนั้น โดยโบราณสถานแห่งนี้ มีเอกลักษณ์ตรงที่แต่ละทิศเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป 4 ปางหรือ 4 อิริยาบถ อันได้แก่ อิริยาบถยืน (ปางประทานอภัย)  อิริยาบถเดิน (ปางลีลา) อิริยาบถนั่ง (ปางมารวิชัย) และอิริยาบถนอน (ปางไสยาสน์) โดยปัจจุบันเหลือเพียงอิริยาบถยืน (ปางประทานอภัย) ที่สภาพค่อนข้างสมบูรณ์กว่าอิริยาบถอื่นๆ กล่าวคือพระพักตร์เป็นลักษณะพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยแบบกำแพงเพชร คือพระนลาฏกว้างพระหนุเสี้ยม

         
         

เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 8,387

วัดหม่องกาเล

วัดหม่องกาเล

เดิมชื่อวัดใดไม่ปรากฏชัดเจนชาวบ้านเมืองนครชุมเรียกตามภูมินามที่พบเห็น โดยสันนิษฐานว่า บริเวณที่ค้นพบวัด อยู่ในที่จับจองของชาวพม่า ที่ชื่อหม่องกาเล ซึ่งสืบหาลูกหลานของท่านไม่ได้ รู้แต่ว่าหลังจากหม่องกาเล ที่บริเวณนั้น เป็นที่ครอบครองของตาหมอหร่อง ตาหมอหร่อง มีลูกเขยชื่อนายจันทร์ ได้ครอบครองที่ดินบริเวณนี้ต่อมา และได้ขายที่ดินทั้งหมดให้ผู้อื่น

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,813