วัดช้างรอบ

วัดช้างรอบ

เผยแพร่เมื่อ 02-02-2017 ผู้ชม 9,636

[16.5080636, 99.5160231, วัดช้างรอบ]

       วัดช้างรอบ เป็นวัดใหญ่ที่สุด และสำคัญที่สุดในบรรดาวัดนอกกำแพงเมือง ตั้งอยู่บนเนินสูง เจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ทรงลังกา รูประฆังกลม มีพระเจดีย์ใหญ่ตั้งอยู่กลางลาน ฐานเจดีย์กว้าง 31 เมตร สี่เหลี่ยมที่ฐานเจดีย์เป็นรูปช้างครึ่งตัวเห็นแต่ 2 ขาหน้า หันศีรษะออกจากฐานรายรอบเจดีย์ เป็นช้างทรงเครื่องจำนวน 68 เชือก ระหว่างช้างมีลายปูนปั้นเป็นรูปใบโพธิ์ กับมีรอยตั้งรูปยักษ์และนางรำติดอยู่แต่ชำรุดหัก เห็นไม่สมบูรณ์ ทางขึ้นไปบนฐานทักษิณมีบันไดสี่ด้าน ตรงเชิงบันไดมีรูปสิงห์หักอยู่ที่ฐาน ฐานเจดีย์จากพื้นดินถึงลานทักษิณชั้นบนสูงประมาณ 7 เมตร กลางลานมีเจดีย์ฐานเขียงแปดเหลี่ยมฐานกว้างประมาณ 20 เมตร
       ลักษณะเป็นเจดีย์แบบลังกายอดหัก ด้านหน้าฐานเจดีย์เป็นวิหารใหญ่ กว้าง 17 เมตร ยาว 34 เมตร ฐานสูงประมาณ 1.5 เมตร วิหารเป็นเสา 4 แถว 7 ห้อง มีมุขเด็จข้างหน้าหนึ่งห้อง ต่อจากวิหารใหญ่เป็นสระซึ่งขุดลงไปในพื้นศิลาแลง กว้าง 23 เมตร สี่เหลี่ยมลึก ประมาณ 8 เมตร มีน้ำขังอยู่บางฤดู
       การที่นำช้างมาประดับเช่นนี้ อาจมีความหมายเชิงสัญลักษณ์ในพุทธประวัติว่า ช้างเป็นสัตว์มงคลที่ช่วยค้ำชูพระพุทธศาสนาไว้ และอาจแสดงความหมายถึง ช้างที่ช่วยค้ำยันเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของ จักรวาลอันเปรียบได้กับเจดีย์ประธาน รูปแบบการสร้างวัดช้างล้อมนั้น มีทั้งที่วัดในอำเภอสุโขทัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย และที่วัดในจังหวัดกำแพงเพชร แต่ที่จังหวัดกำแพงเพชร เรียกว่า วัดช้างรอบ ที่วิหารหน้าเจดีย์มีพระพุทธรูปปูนปั้นชำรุด โบราณสถานอื่นก็มี เจดีย์ราย กำแพงแก้วล้อมรอบชั้นหนึ่ง มีคูน้ำล้อมรอบนอก ห่างไปทางตะวันออกมีโบสถ์ที่มีน้ำล้อมรอบ เรียกว่า อุทกสีมา หรือนทีสีมา
       จากการขุดแต่งที่ฐานเจดีย์วัดช้างรอบนี้ได้พบบรรดาลวดลายต่าง ๆ เป็นดินเผารูปนางรำ รูปยักษ์ รูปหงส์ รูปหน้าเทวดา และหน้ามนุษย์ ซึ่งตามลักษณะโบราณวัตถุเป็นศิลปสมัยอยุธยาตอนต้น หรือสุโขทัยตอนปลาย ทำให้ทราบลักษณะเครื่องแต่งตัว การฟ้อนรำและลักษณะอื่น ๆ ของคนสมัยสุโขทัยตอนปลาย ซึ่งเป็นประโยชน์ในการศึกษาศิลปะและโบราณคดี บรรดาโบราณวัตถุที่พบนี้ บางชิ้นเก็บรวบรวมตั้งแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร
       ได้พบศิลาจารึกที่วัดช้างล้อม เขียนเล่าเหตุการณ์ในระหว่างก่อน พ.ศ. 1905 – 1933 ว่า พนมไสดำผัวแม่นมเทด เป็นขุนนางผู้จงรักภักดีต่อพระมหาธรรมราชาลิไท มีใจศรัทธาออกบวชตามพระมหาธรรมราชาลิไท และได้อุทิศที่ดินของตนสร้างวิหาร ในปี พ.ศ.1933 สร้างพระพุทธรูป หอพระไตรปิฎก ปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ อุทิศบุญกุศล ถวายแด่พระมหาธรรมราชาลิไทซึ่งเสด็จสวรรคตแล้ว และสร้างพระพุทธรูปหินอุทิศบุญกุศลถวายแด่ มหาเทวี พระขนิษฐาของพระมหาธรรมราชาลิไทผู้เคยปกครองเมืองสุโขทัย

 

ภาพโดย : http://www.onep.go.th/cultural_environment/administrator/myfile/1000104u.jpg

คำสำคัญ : วัดช้างรอบ

ที่มา : http://www.dekguide.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). วัดช้างรอบ. สืบค้น 3 พฤษภาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=264&code_db=610009&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=264&code_db=610009&code_type=01

Google search

Mic

วัดปราสาท (เมืองโบราณบ้านโคน)

วัดปราสาท (เมืองโบราณบ้านโคน)

สถานที่สำคัญในการศึกษาประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งของกำแพงเพชร นอกเหนือไปจากอุทยานประวัติศาสตร์แล้ว ยังมีอีกที่หนึ่งที่รวบรวมปูชนียวัตถุ ปูชนียสถานเอาไว้ สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือเป็นถิ่นกำเนิดของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จากตัวเมืองกำแพงเพชรใช้ถนนสายเล็กๆ หมายเลข 1084 เป็นถนนขนานกับแม่น้ำ เชื่อมต่อหลายอำเภอของกำแพงเชรและนครสวรรค์ 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,480

วัดบาง

วัดบาง

หลวงพ่อเพชร วัดบาง เป็นหนึ่งในพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดกำแพงเพชรอีกองค์หนึ่ง ซึ่งประดิษฐานอยู่ในวิหารที่วัดบาง โดยปกตินั้นจะไม่ให้บุคคลทั่วไปเข้าไปสักการบูชา แต่ปัจจุบันได้มีการเปิดให้กับผู้ที่เลื่อมใสได้เข้าไปสักการบูชา 

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 4,788

วัดเทพโมฬี

วัดเทพโมฬี

ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ใหญ่ในศาลาโล่ง คือ พระเทพโมฬี (หลวงพ่อโม้) พระ พุทธรูปปางมารวิชัยขัดสมาธิราบ ก่อ อิฐถือปูน ขนาดหน้าตักกว้าง 10 ศอก 1 คืบ สูง 13 ศอก 1 คืบ ศิลปกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ สร้างครอบองค์เดิมไว้ภายในเมื่อพุทธศักราช 2519 เดิมสันนิฐานเป็นศิลปะอยุธยาตอนต้น ปัจจุบันบูรณะแล้วเป็นศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์

เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้เช้าชม 4,191

วัดรามรณรงค์

วัดรามรณรงค์

วัดรามรณรงค์ ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เมืองมรดกโลก ใกล้กับวัดป่าแลง วัดหมาผี วัดตะแบก และวัดเตาหม้อ ในบริเวณนี้มีวัดที่มีชื่อที่น่าสนใจวัดหนึ่ง คือวัดรามรณรงค์

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 1,430

วัดช้างรอบ

วัดช้างรอบ

"วัดช้างรอบ" ซึ่งเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร วัดช้างรอบ เป็นวัดใหญ่ตั้งอยู่บนเนินสูง มีพระเจดีย์ใหญ่ตั้งอยู่กลางลานสี่เหลี่ยมที่ฐานเป็นรูปช้างครึ่งตัวเห็นแต่ 2 ขาหน้า หันศรีษะออกจากฐานรายรอบเจดีย์ เป็นช้างทรงเครื่อง จำนวน 68 เชือก

เผยแพร่เมื่อ 02-02-2017 ผู้เช้าชม 9,636

วัดป่ามืด

วัดป่ามืด

เป็นโบราณสถานมีเจดีย์กลมแบบลังกา ด้านหน้าเป็นฐานเจดีย์ราย 4-5 แห่ง มีกำแพงล้อมรอบต่อจากกำแพงด้านหน้าเป็นโบราณสถานอีกหมู่หนึ่ง มีฐานเจดีย์และฐานวิหารและเจดีย์รอบอีก 7 ฐาน มีกำแพงรอบเช่นเดียวกัน ตัววิหารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นแบบโถงไม่มีผนัง พระประธานสร้างจากศิลาแลง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 961

วัดตะแบกคู่

วัดตะแบกคู่

เป็นอีกวัดหนึ่ง ที่อยู่ในเขตอรัญญิกเมืองกำแพงเพชร อยู่ถัดจากวัด เพการามไปประมาณ 20 เมตร  มีต้นตะแบกขนาดใหญ่ยืนตระหง่านอยู่หน้ากำแพงพระวิหาร อายุของต้นตะแบกนี้ราว 200 ปี 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,050

วัดสว่างอารมณ์

วัดสว่างอารมณ์

หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์ จัดเป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสน ที่มีพุทธลักษณะงดงามหาใดเปรียบ และมีขนาดใหญ่ที่สุดในกำแพงเพชร โดยมีหน้าตักกว้าง 2 เมตร สูงเกือบ 3 เมตร ถือเป็นหลักฐานสำคัญยืนยันความสัมพันธ์ระหว่างกำแพงเพชรและหัวเมืองฝ่ายเหนือ  เป็นวัดตั้งอยู่ที่ตำบลนครชุมภายในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงและเป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองกำแพงเพชร คือหลวงพ่ออุโมงค์ เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน มีพุทธลักษณะงดงามเชื่อกันว่าพบหลวงพ่ออยู่ในดินลักษณะคล้ายจอมปลวก จากการขุดคล้ายหลวงพ่ออยู่ภายในอุโมงค์จึงเรียกกันว่าหลวงพ่ออุโมงค์ นอกจากนี้โดรอบวัดมีบรรยากาศที่ไม่แออัด จอแจ ภายในวัดยังมีพระพุทธรูปยืน “หลวงพ่อประทานพร” ประดิษฐานอยู่บริเวณด้านหน้าหอระฆัง หลังคาของหอระฆังได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมทางเหนือ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของกำแพงเพชร ในฐานะหัวเมืองฝ่ายเหนือ

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 4,520

วัดสิงห์

วัดสิงห์

อยู่ถัดจากวัดพระสี่อิริยาบถไปทางทิศเหนือประมาณ 100 เมตร สันนิษฐานว่าใช้เวลาสร้างถึง 2 สมัย คือสมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา ผังรวมของวัดแบ่งเขตพุทธาวาสให้อยู่ในกลุ่มกลางล้อมรอบด้วยเขตสังฆาวาสหรือกุฏิสงฆ์ โดยมีพระเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม มีซุ้มทั้ง 4 ด้านเป็นประธาน ด้านหน้าเป็นพระอุโบสถขนาดใหญ่ ยกฐานประทักษิณสูง บนฐานประทักษิณนี้ ประดิษฐานพัทธสีมาไว้ทั้งแปดทิศ มุขด้านหน้าของฐานประทักษิณ มีรูปสิงห์ นาค ประดับ

เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 3,082

วัดพระสี่อิริยาบถ หรือ วัดพระยืน

วัดพระสี่อิริยาบถ หรือ วัดพระยืน

มณฑปจตุรมุข ซึ่งมีรูปแบบเหมือนดังที่พบที่วัดเชตุพนและวัดพระพายหลวง จ.สุโขทัย จากจารึกลานเงินที่พบบริเวณเจดีย์รอบมณฑปได้กล่าวไว้ว่าพระมหามุนีรัตนโมลีเป็นผู้สร้างและเสด็จพ่อพระยาสอยเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรในยุคนั้น โดยโบราณสถานแห่งนี้ มีเอกลักษณ์ตรงที่แต่ละทิศเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป 4 ปางหรือ 4 อิริยาบถ อันได้แก่ อิริยาบถยืน (ปางประทานอภัย)  อิริยาบถเดิน (ปางลีลา) อิริยาบถนั่ง (ปางมารวิชัย) และอิริยาบถนอน (ปางไสยาสน์) โดยปัจจุบันเหลือเพียงอิริยาบถยืน (ปางประทานอภัย) ที่สภาพค่อนข้างสมบูรณ์กว่าอิริยาบถอื่นๆ กล่าวคือพระพักตร์เป็นลักษณะพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยแบบกำแพงเพชร คือพระนลาฏกว้างพระหนุเสี้ยม

         
         

เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 8,400