วัดอมฤต

วัดอมฤต

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 3,475

[16.5872954, 99.3805551, วัดอมฤต]

               สถานที่ ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ในจังหวัดกำแพงเพชร มีมากมายหลายแห่งอาทิอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เมืองมรดกโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วัดในเมืองกำแพงเพชร มีมากมายหลายร้อยวัด นับเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางภูมิปัญญาสำคัญ
               วัดอมฤต เป็นวัดสำคัญ ที่สุดของบ้านร้านดอกไม้ ซึ่งปัจจุบัน เรียนขานกันว่าบ้านลานดอกไม้ ซึ่งมีที่มาว่าเมื่อเจ้าดารารัศมี พระวรชายา ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครา เสด็จ กลับชียงใหม่ ได้ประทับที่ บ้านร้านดอกไม้ ซึ่งประชาชนได้ เตรียมร้านดอกไม้เพื่อเตรียมการรับเสด็จเจ้าดารารัศมี ชาวบ้านกล่าวขานกันว่า เจ้าดารารัศมี เรียกชุมชนแห่งนี้ว่าบ้านร้าน ดอกไม้ ต่อมา เลือนไปกลายเป็นบ้านลานดอกไม้ ในที่สุด
               สำหรับวัดอมฤต กำนันนามว่า นายอ่ำ เอี่ยมอ่ำ ได้รับบริจาคที่ดินสำหรับสร้างวัดใหม่ขึ้น ซึ่งในระยะแรกเรียกว่าสำนักสงฆ์ กำนันอ่ำ เอี่ยมอ่ำ ได้รับแต่งตั้งเป็นขุนอาจอาสา วัดลานดอกไม้ หรือวัดอมฤต มาเจริญสูงสุดในช่วงที่ พระครูวิเชียรโมลี (ปลั่ง) มาจำพรรษาอยู่วัดอมฤตมารุ่งเรืองอีกครั้งในสมัยของพระอาจารย์เติง เป็นเจ้าอาวาส ท่านได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูวชิรคุณากร เมื่อท่านมรณภาพ พระครูอมรวชิรคุณ ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสต่อมา และดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอโกสัมพี อีก ตำแหน่งหนึ่งด้วย วัดอมฤต เป้นวัดหลวง ที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา โดยสังกตุจากใบเสมาที่มีด้านละสองใบ
               วัดอมฤต มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านสัการะกันมาช้านานคือ หลวงพ่อนิมิตร ประดิษฐานอยู่หน้าโบสถ์ มีหลวงพ่อทันใจ ที่ประชาชนช่วยกันหล่อพระขึ้นใช้เวลาเพียง ๙ ชั่วโมง เป็นสิ่งสักการะ ประจำบ้านลานดอกไม้
               สิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งของ วัดคือ อนุสาวรีย์บรรจุอัฐิของหลวงพ่อพระวิเชียรโมลี (ปลั่ง) อดีตเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร และพระอุโบสถ ได้รับวิสุงคามสีมา เป็นวัดหลวง เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๘  ซึ่งเดิมวัดอมฤต ในใบบอกของหลวงเขียนว่าอมฤษต มีตัวษ แทรกอยู่ตรงกลางด้วยปัจจุบันไม่มีแล้ว
               วัดอมฤต อยู่ริมน้ำ ปิงมีทิวทัศน์ที่งดงาม มีที่พักผ่อนหย่อนใจมากมาย ถ้าท่านผ่านมาทาง บ้านลานดอกไม้ตก ท่านควรได้มีเวลาเข้าไปแวะชมวัดอมฤตแห่งนี่ แล้วท่านจะรู้สึกว่า อิ่มบุญไปอีกนานทีเดียว วัดอมฤต บ้านลานดอกไม้ตก ตำบลลานดอกไม้ตก อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร

ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=191&code_db=DB0011&code_type=F001

คำสำคัญ : วัดอมฤต

ที่มา : http://www.sunti-apairach.com

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). วัดอมฤต. สืบค้น 29 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=296&code_db=610009&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=296&code_db=610009&code_type=01

Google search

Mic

วัดป่ามืด

วัดป่ามืด

เป็นโบราณสถานมีเจดีย์กลมแบบลังกา ด้านหน้าเป็นฐานเจดีย์ราย 4-5 แห่ง มีกำแพงล้อมรอบต่อจากกำแพงด้านหน้าเป็นโบราณสถานอีกหมู่หนึ่ง มีฐานเจดีย์และฐานวิหารและเจดีย์รอบอีก 7 ฐาน มีกำแพงรอบเช่นเดียวกัน ตัววิหารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นแบบโถงไม่มีผนัง พระประธานสร้างจากศิลาแลง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 958

วัดหมาผี

วัดหมาผี

วัดหมาผีเป็นวัดที่อยู่ในบริเวณอรัญญิกของเมืองกำแพงเพชร ตัววัดมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมมีกำแพงศิลาแลงคั่นกลางระหว่างเขตพุทธาวาสและสังฆาวาสโดยมีคูน้ำล้อมรอบ ปัจจุบันเขตสังฆาวาสไม่ปรากฏหลักฐานของสิ่งก่อสร้าง ส่วนเขตพุทธาวาสปรากฏสิ่งก่อสร้างที่สำคัญ ได้แก่ เจดีย์ประธาน และวิหาร

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 2,954

วัดเชิงหวาย

วัดเชิงหวาย

วัดเชิงหวาย เป็นวัดร้าง ที่อยู่นอกเขตอุทยานประวัติศาสตร์ เป็นวัดขนาดใหญ่ มีเจดีย์ประธานทรงลังกา ที่มีรูปทรงชะลูดงดงาม ฐานมี 4 เหลี่ยม ซ้อนกัน 4 ชั้น ยอดเจดีย์พังตกลงมา มีประวัติเล่ากันต่อมาว่า ผู้ขุดค้นและทำลายเจดีย์   เมื่อ 70 ปีก่อนนั้น ได้นำหวาย ในบริเวณวัด คล้องยอดเจดีย์กับต้นไม้ขนาดใหญ่ และโค่นต้นไม้นั้น ทำให้แรงดึงของต้นไม้ทำให้ยอดเจดีย์พังตกลงมาด้วย เหตุที่เรียกว่า วัดเชิงหวาย เพราะ บริเวณนี้ อาจเป็นส่วนหนึ่งของดงหวาย 

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 1,672

วัดฆ้องชัย

วัดฆ้องชัย

วัดฆ้องชัย ตั้งอยู่ทางด้านหน้าหรือด้านตะวันออกของวัดพระสี่อิริยาบถ มีกำแพงวัดเฉพาะด้านตะวันตกและด้านใต้เพียงสองด้านเท่านั้น นอกกำแพงวัดด้านทิศตะวันตกและด้านใต้เพียงสองด้าน ลักษณะเด่นของฐานวิหารฆ้องชัยคือ การก่อฐานสูงเป็นเสาศิลาแลงแปดเหลี่ยม ภายในอาคารยังปรากฏแท่นอาสนสงฆ์และแท่นประดิษฐานพระประธาน ซึ่งเดิมเป็นพระพุทธรูปนั่งเจดีย์ประธานตั้งอยู่ถัดจากวิหารไปทางด้านหลัง

เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 1,899

วัดตะแบกคู่

วัดตะแบกคู่

เป็นอีกวัดหนึ่ง ที่อยู่ในเขตอรัญญิกเมืองกำแพงเพชร อยู่ถัดจากวัด เพการามไปประมาณ 20 เมตร  มีต้นตะแบกขนาดใหญ่ยืนตระหง่านอยู่หน้ากำแพงพระวิหาร อายุของต้นตะแบกนี้ราว 200 ปี 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,043

วัดบาง

วัดบาง

หลวงพ่อเพชร วัดบาง เป็นหนึ่งในพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดกำแพงเพชรอีกองค์หนึ่ง ซึ่งประดิษฐานอยู่ในวิหารที่วัดบาง โดยปกตินั้นจะไม่ให้บุคคลทั่วไปเข้าไปสักการบูชา แต่ปัจจุบันได้มีการเปิดให้กับผู้ที่เลื่อมใสได้เข้าไปสักการบูชา 

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 4,746

วัดมะเคล็ด

วัดมะเคล็ด

เป็นอีกวัดหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์ที่ยังไม่ได้ไปสำรวจอย่างเป็นทางการ เมื่อศึกษาจากแผนที่แล้วจึงดั้นด้นเข้าไปสำรวจ ป้ายชื่อของวัดมะเคล็ดซึ่งเป็นป้ายขนาดใหญ่ มาหายไปทั้งหมดอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 951

วัดเตาหม้อ

วัดเตาหม้อ

วัดเตาหม้อ เมื่อได้ยินชื่อวัดเตาหม้อ จะไม่มีใครรู้สึกว่าเป็นวัดสำคัญ คิดว่าเป็นวัดขนาดเล็กวัดหนึ่ง ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร แต่เมื่อได้มีโอกาสเข้าชมแล้วจะรู้สึกถึงความมหัศจรรย์ ของ วัดเตาหม้อ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,155

วัดเจดีย์กลม

วัดเจดีย์กลม

เป็นวัดที่อยู่ห่างจากทุกวัดในบริเวณเดียวกัน ทางเข้าอยู่ตรงข้ามวัดสิงห์ เลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 400 เมตร ในป่าค่อนข้างทึบ ห่างไกลผู้คน ไปสำรวจหลายครั้งแล้วยังไม่เคยพบผู้คนเข้าไปท่องเที่ยวในบริเวณเจดีย์กลม อาจเป็นเพราะถ้ามองภายนอกแล้วเหมือนเนินดินที่ยังไม่มีการขุดแต่งแต่ประการใด

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,603

วัดพระสี่อิริยาบถ หรือ วัดพระยืน

วัดพระสี่อิริยาบถ หรือ วัดพระยืน

มณฑปจตุรมุข ซึ่งมีรูปแบบเหมือนดังที่พบที่วัดเชตุพนและวัดพระพายหลวง จ.สุโขทัย จากจารึกลานเงินที่พบบริเวณเจดีย์รอบมณฑปได้กล่าวไว้ว่าพระมหามุนีรัตนโมลีเป็นผู้สร้างและเสด็จพ่อพระยาสอยเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรในยุคนั้น โดยโบราณสถานแห่งนี้ มีเอกลักษณ์ตรงที่แต่ละทิศเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป 4 ปางหรือ 4 อิริยาบถ อันได้แก่ อิริยาบถยืน (ปางประทานอภัย)  อิริยาบถเดิน (ปางลีลา) อิริยาบถนั่ง (ปางมารวิชัย) และอิริยาบถนอน (ปางไสยาสน์) โดยปัจจุบันเหลือเพียงอิริยาบถยืน (ปางประทานอภัย) ที่สภาพค่อนข้างสมบูรณ์กว่าอิริยาบถอื่นๆ กล่าวคือพระพักตร์เป็นลักษณะพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยแบบกำแพงเพชร คือพระนลาฏกว้างพระหนุเสี้ยม

         
         

เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 8,387