รำวงบ้านเสาสูง

รำวงบ้านเสาสูง

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้ชม 372

[16.8784698, 98.8779052, รำวงบ้านเสาสูง]

       บ้านเสาสูง เป็นชื่อที่คนในรุ่นปัจจุบันของเมืองตากเลือนไปแล้วตามการเปลี่ยนผ่านของเมือง คำว่าเสาสูงในที่นี้หมายถึงเสารับสัญญาโทรเลขที่ส่งตรงมาจากชุมสายต้นทางที่ปากครองโอ่งอ่างกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นชุมสายโทรเลขต่างประเทศที่สำคัญนับเนื่องมาตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าหลวง เป็นต้นมา ส่งตรงจากกรุงเทพฯ มายังย่านตัวเมืองตากและไปส่งสัญญานต่อที่อำเภอแม่สอด บ้านเสาสูงในปัจจุบันคือบริเวณย่านซอย 21 ซึ่งเป็นย่านตัวเมืองตากเดิมในสมัยรัชกาลที่ 2 - 7 หรือในปัจจุบันอาจจะเรียกย่านนั้นว่าย่านระแวกชุมชนตรอกบ้านจีนนั้นเอง
       ในอดีตราวสัก 50 ปี มีคณะรำวงที่มีชื่อคณะหนึ่งเรียกว่ารำวงบ้านเสาสูง ซึ่งคณะนี้มีความสัมพันธ์กับหุ่นกระปอกคณะสังวาลย์ศิลป์หุ่นกระบอกแห่งเดียวในเมืองตาก อาจารย์เจียมจิตร บุตรสาวคุณแม่สังวาลย์เล่าว่า "ที่บ้านหัวศิลปิน คุณป๋าเป็นตำรวจ และมีคณะรำวงมีชื่อของเมืองตากแสดงในงานสำคัญของเมืองเช่นงานวันรัฐธรรมนูญ ลูกหลานจึงได้รับมรดกด้านนี้มาจากความรักความชอบของรุ่นพ่อแม่" รำวงบ้านเสาสูงเป็นเพียงตำนานความทรงจำของย่านนามภูมิสถานให้จดจำ และรอผู้รับและส่งผ่านเพลงรำวงพื้นบ้านให้เป็นลมหายใจของย่านและเมืองสืบไป

(สัมภาษณ์ อาจารย์เจียมจิตร อิ่มเอิบ คุณป้าทองคำ แสนคำอ้าย อนุเคราะห์ภาพจากบริษัทสถาปนิกสุข จำกัด ครอบครัวทองมา และ ครอบครัวอินทร์อยู่ แห่งตรอกบ้านจีนเมืองตาก)

คำสำคัญ : รำวง

ที่มา : https://www.facebook.com/laoruengmuengtak/photos/753092381447638

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). รำวงบ้านเสาสูง. สืบค้น 2 พฤษภาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2059&code_db=610001&code_type=TK001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2059&code_db=610001&code_type=TK001

Google search

Mic

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

นักประวัติศาสตร์ชี้ชัดว่า ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญที่สุดของกระบวนการสร้างชาติจนสามารถพัฒนามาเป็นประเทศไทยในทุกวันนี้ได้คือ ช่วงเวลาหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองในปี พ.ศ.2310 ขณะนั้นอาณาจักรได้เกิดการแตกแยกออกเป็นสี่ส่วนใหญ่ๆ ตามภาค คือ พิษณุโลกคุมภาคเหนือ นครศรีธรรมราชมีอำนาจในภาคใต้ทั้งหมด นครราชสีมาและพิมาย มีอิทธิพลครอบคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จันทบุรีเป็นหัวเมืองใหญ่ที่สุดทางภาคตะวันออก ส่วนเชียงใหม่ตกเป็นของพม่าเรียบร้อยแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 1,029

ซิ่นต๋า งามเหนือกาลเวลาที่ วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง

ซิ่นต๋า งามเหนือกาลเวลาที่ วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง

วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง เป็นวัดโบราณที่อยู่คู่ชุมชนริมแม่น้ำปิงที่เมืองตากมาช้านาน ดังปรากฏจากพระนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระวชิรญาณวโรรส ที่เสด็จขึ้นมายังหัวเมืองตาก ในคราวนั้นทรงกล่าวถึงความงามของพระอุโบสถวัดพร้าว และวัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง ว่างานสถาปัตยกรรมพื้นที่งดงาม ซึ่งในระยะต่อมาอุโบสถวัดพร้าว ได้ผาติการามไปสร้างที่เมืองโบราณ จังหวัดสุมทรปราการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เหลือสถาปัตยกรรมพื้นที่ที่ยังคงยืนยงเหนือกาลเวลาเพียงแห่งเดียวที่เมืองตาก คือ วัดโบสถมณีศรีบุญเรือง ภายในพระวิหารยังปรากฏภาพเขียนที่งดงามเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับทศชาติของพระพุทธเจ้า ตลอดจนสอดแทรกวิถีชีวิตของชาวเมืองตากเมื่อราวร้อยปีมาแล้วให้ระลึกถึงบรรพบุรษคนเมืองตากที่เกิดแรงบันดาลสร้างสรรค์งานศิลปกรรมชิ้นเอกคู่ท้องถิ่นของเรา

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 510

โทรเลข

โทรเลข

การสื่อสารที่แสนทันสมัยในยุครัชกาลที่ 5 จังหวัด ตากเป็นเมืองที่มีอาณาเขตทางฝั่งตะวันตกในอำเภอแม่สอดติดกับประเทศพม่าสามารถเดินทางต่อไปยังเมืองท่ามะละแหม่ง ตากจึงเป็นชุมทางโทรเลขที่สำคัญมากที่สุดในการติดต่อกับชาติตะวันตกในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ภายหลังความนิยมใช้โทรเลขก็ลดบทบทลงตามสมัยนิยม เหลือไว้เพียงชื่อหมู่บ้านที่เป็นชุมทางโทรเลข เช่น ในเมืองตากย่านตรอกบ้านจีน ยังเคยเป็นชุมทางไปรณีย์ที่สำคัญในเมืองตาก เป็นที่ตั้งของเสาโทรเลขชาวตากจึงเรียกย่านนั้นว่า บ้านเสาสูง

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 407

จากภูมิสถาน สู่นามถนน

จากภูมิสถาน สู่นามถนน

ทางด้านทิศเหนือของชุมชนตรอกบ้านจีน บริเวณทางเข้าชุมชนตรอกบ้านจีน มีบทบาทสำคัญในช่วงปลายรัชกาลที่ 5 จนถึงสงครามมหาเอเซียบรูพา (พ.ศ. 2448 - 2488) เป็นท่าสำหรับการขนถ่ายสินค้าจากชาวบ้านในชุมชนอื่น ๆ ที่ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของชุมชนตรอกบ้านจีน อันเป็นบริเวณที่มีการปลูกข้าวและพืชผลทางการเกษตรที่สำคัญของเมืองตาก อาทิ เช่น ชุมชนคลองสัก ชุมชนบ่อไม้หว้า ชุมชนตลุกกลางทุ่ง เป็นต้น ชาวบ้านจากชุมชนเหล่านี้มักจะนำเอาสินค้าทางการเกษตรที่ผลิตได้ขนมาทางเกวียนและเดินเท้าเข้ามายังย่านชุมชนตรอกบ้านจีน นำสินค้าทางการเกษตรและของป่า ขนถ่ายลงเรือที่จอดอยู่บริเวณท่าเรือ “ห้าแยก-ท่าเรือ” เพื่อล่องเรือสินค้าลงไปขายยังเมืองนครสวรรค์ (ปากน้ำโพ) ที่ถือได้ว่าเป็นชุมทางการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคเหนือตอนล่าง

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 492

หลักฐานยืนยันจากราชสำนักจีน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ไม่เคยกู้หรือเบี้ยวหนี้จีน

หลักฐานยืนยันจากราชสำนักจีน สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ไม่เคยกู้หรือเบี้ยวหนี้จีน

จากหลักฐานที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชไม่ได้ทรงกู้เงิน 60,000 ตำลึง จากเมืองจีน เพราะว่าเมืองสยามกับเมืองจีนยังไม่ได้มีความสัมพันธไมตรีกันจนถึงปลายรัชกาลของพระองค์ โดยพระองค์ทรงส่งเครื่องราชบรรณาการถวายพระเจ้ากรุงจีนมากมาย 4 ลำเรือ และในยุครัตนโกสินทร์โดยเฉพาะรัชกาลที่ 1 ทรงบอกทางจีนว่า พระเจ้าตากเป็นพระราชบิดาของพระองค์โดยไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงราชวงศ์แต่ประการใด

เผยแพร่เมื่อ 03-08-2022 ผู้เช้าชม 1,813

รำวงบ้านเสาสูง

รำวงบ้านเสาสูง

บ้านเสาสูง เป็นชื่อที่คนในรุ่นปัจจุบันของเมืองตากเลือนไปแล้วตามการเปลี่ยนผ่านของเมือง คำว่าเสาสูงในที่นี้หมายถึงเสารับสัญญาโทรเลขที่ส่งตรงมาจากชุมสายต้นทางที่ปากครองโอ่งอ่างกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นชุมสายโทรเลขต่างประเทศที่สำคัญนับเนื่องมาตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าหลวง เป็นต้นมา ส่งตรงจากกรุงเทพฯ มายังย่านตัวเมืองตากและไปส่งสัญญานต่อที่อำเภอแม่สอด บ้านเสาสูงในปัจจุบันคือบริเวณย่านซอย 21 ซึ่งเป็นย่านตัวเมืองตากเดิมในสมัยรัชกาลที่ 2-7 หรือในปัจจุบันอาจจะเรียกย่านนั้นว่าย่านระแวกชุมชนตรอกบ้านจีนนั้นเอง

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 372

“เมืองตาก” ของ “พระเจ้าตาก” ก่อนเป็นกษัตริย์กรุงธนบุรี คือที่ไหนกันแน่?

“เมืองตาก” ของ “พระเจ้าตาก” ก่อนเป็นกษัตริย์กรุงธนบุรี คือที่ไหนกันแน่?

พระเจ้าตาก พระมหากษัตริย์แห่งกรุงธนบุรี ระหว่างปลายปี พ.ศ. 2310 ถึงต้นปี พ.ศ. 2325 รวม 14 ปีกว่านั้น เป็นยุคสมัยที่น่าตื่นตาตื่นใจทางประวัติศาสตร์ พระองค์เป็นผู้นำทางการเมืองของอดีตที่ชวนให้คนจำนวนมากเข้ามาร่วมสร้างความรู้และความเชื่อทางประวัติศาสตร์และเรื่องบอกเล่าได้อย่างมีสีสันมากที่สุด แม้อดีตของยุคสมัยพระองค์ได้ผ่านมาแล้ว 2 ศตวรรษครึ่ง แต่ก็เป็นอดีตที่มีภาพเลือนราง ขาดวิ่น เมื่อเทียบกับยุคสมัยเดียวกันกับ ยอร์ช วอชิงตัน ในสมัยปฏิวัติอเมริกาต่อสู้เพื่อเอกราชจากอังกฤษ และสร้างระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐเป็นประเทศแรกของโลก

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 2,828

โรงเรียนสตรีเมืองตากผดุงปัญญา

โรงเรียนสตรีเมืองตากผดุงปัญญา

เมืองตากเป็นเมืองขนาดเล็กที่ตั้งขนานกับลำน้ำปิง ส่งผลให้เกิดย่านการค้า ศูนย์ราชการ และสถาบันการศึกษาตั้งอยู่ขนานกับลำน้ำปิง สถาบันการศึกษาแห่งแรกในเมืองตากที่เริ่มมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่5 และขยับขยายในเป็นโรงเรียนต้นแบบของตากในสมัยรัชกาลที่ 6 คือ โรงเรียนวัดน้ำหัก โดยมีขุนวัชรพุุกก์ศึกษากรเป็นครูใหญ่คนแรก ต่อมากิจการการศึกษาของสยามขยายตัวนำไปสู่การสร้างโรงเรียนเพิ่มขึ้น ระดับประถมคือโรงเรียนอนุบาลตาก โรงเรียนวัดมะเขือแจ้ ส่วนระดับมัธยม ได้สร้างโรงเรียนชายในพื้นที่กรมทหารเก่า(ตากพิทยาคม)ที่ตั้งขยายมาจากย่านตรอกบ้านจีนทางด้านตะวันตก พร้อมทั้งเกิดโรงเรียนสตรีอีกแห่งหนึ่งด้วยตั้งอยู่บริเวณใกล้วัดพร้าวอันเป็นวัดที่ขนานกับลำน้ำปิง

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 1,095

การสืบหาพระพุทธรูป ประจำเมืองในสมัยพระพุทธเจ้าหลวง

การสืบหาพระพุทธรูป ประจำเมืองในสมัยพระพุทธเจ้าหลวง

การคัดเลือกพระพุทธรูปมาประดิษฐานในครั้งนั้นหมายที่จะเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งเปิดให้คนทั่วไปเข้ามาศึกษาศิลปะนั้นเอง นำไปสู่การค้นหาพระพุทธรูปที่เก่าแก่ตามหัวเมืองต่าง ๆ ของไทยรวมไปถึงที่เมืองตากที่พบว่าพระพุทธรูปที่เก่าแก่องค์หนึ่งของเมืองตากคือ “หลวงพ่อแสนทอง”เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสมัยเชียงแสน สิงห์สาม มีเรื่องเล่าว่ามีนิมิตจากหลวงพ่อเจ้าอาวาสองค์หนึ่งวัดเขาแก้ว นิมิตถึงพระพุทธรูปองค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ ในวิหารร้างบริเวณเมืองโบราณที่ชื่อว่า “เมืองตื่น” เมืองดังกล่าวตั้งอยู่ทางเหนือของเขื่อนภูมิพล ในนิมิตฝันว่าท่านเห็นแสงจากนั้นพระพุทธรูปได้เปล่งแสงลอยข้ามฟ้าจากป่าเมืองร้าง มาลอยวนเหนือตัวเมืองตาก และมาหยุดสถิตอยู่เหนือเขาแก้ว ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดมณีบรรพตวรวิหาร (วัดเขาแก้ว) หลวงพ่อห้อน พระเกจิดังเมืองตาก จึงสืบหาเมืองร้างดังกล่าวและเดินทางด้วยเท้า เข้าป่าเหนือลำแม่น้ำปิง นานกว่า ๒๐ วัน จึงค้นพบ “เมืองตื่น” ภายในเมืองโบราณมีวิหารร้างสภาพปรักหักพัง ภายในมีพระพุทธรูปทองสำริด ลักษณะดังเช่นที่หลวงพ่อนิมิตถึง

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2022 ผู้เช้าชม 458

สถานภาพบ้านตาก-เมืองตากจากสมัยอยุธยาถึงสมัยพระจอมเกล้าฯ

สถานภาพบ้านตาก-เมืองตากจากสมัยอยุธยาถึงสมัยพระจอมเกล้าฯ

แม่ตาก-บ้านตาก-เมืองตาก เป็นเมืองที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เป็นเมืองหน้าด่านเหนือสุดบนสายแม่น้ำปิงของอยุธยาที่ต่อแดนกับรัฐล้านนา ลำปาง-เชียงใหม่ เมืองตากถูกยกให้เป็นชื่อเมืองที่มีความสำคัญมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี เพื่อรำลึกถึงการเป็นเมืองที่พระเจ้าตากทรงเคยมาเป็นเจ้าเมืองก่อนที่จะได้เป็นกษัตริย์ แต่ความสำคัญของกลุ่มเมืองตรงนี้อยู่ที่เมืองบ้านระแหงมากกว่า ดังนั้นจึงมีการใช้ชื่อเมือง 2 เมืองเข้าด้วยกันว่า บ้านระแหงเมืองตาก เมืองตากบ้านระแหง หรือบ้านระแหงแขวงเมืองตาก ต่อมาเมื่อมีการจัดการปกครองแบบเทศาภิบาลในกลางสมัยรัชกาลที่ 5 อาณาบริเวณตรงนี้ก็ถูกเรียกว่าเมืองตาก ที่มีศูนย์บริหารของผู้ว่าเมืองตั้งอยู่ที่บ้านระแหงกระทั่งได้ยกฐานะเป็นจังหวัดตากที่มีศูนย์กลางการบริหารในเขตเทศบาลเมืองตากมาจนถึงทุกวันนี้

เผยแพร่เมื่อ 04-02-2022 ผู้เช้าชม 1,036