หญ้าแพรก

หญ้าแพรก

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้ชม 53,793

[16.4258401, 99.2157273, หญ้าแพรก]

หญ้าแพรก ชื่อสามัญ Bermuda grass, Bahana grass, Creeping-cynodon, Dub grass, Dog's tooth grass, Florida grass, Scutch grass, Lawn grass, Wire grass

หญ้าแพรก ชื่อวิทยาศาสตร์ Cynodon dactylon (L.) Pers. จัดอยู่ในวงศ์หญ้า (POACEAE หรือ GRAMINEAE)

สมุนไพรหญ้าแพรก มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า หญ้าแผด (ภาคเหนือ), หญ้าเป็ด (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), หนอเก่เค (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ทิซั่วเช่า (จีน), สทฺทล (สัด-ทะ-ละ), สทฺทโล (สัด-ทะ-โล) , หริต (หะ-ริ-ตะ) เป็นต้น

ลักษณะของหญ้าแพรก

  • ต้นหญ้าแพรก มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียและยุโรป เจริญเติบโตได้ดีในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนและอากาศอบอุ่น โดยจัดเป็นพรรณไม้จำพวกหญ้า ต้นมีขนาดเล็ก มีอายุได้หลายปี ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขาปกคลุมดิน เจริญเติบโตแบบแผ่ราบไปตามพื้นดินหรือเลื้อยปกคลุมดินไปได้ยาวประมาณ 1 เมตร และลำต้นชูตั้งขึ้นสูงประมาณ 10-30 เซนติเมตร ลักษณะของลำต้นเป็นข้อและมีรากงอกออกมา ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด กิ่ง ราก และแตกลำต้นไปตามพื้นดิน เจริญเติบเติบโตได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ต้องการความชื้นในปริมาณค่อนข้างมาก หญ้าชนิดนี้มักพบขึ้นเองตามพื้นที่แห้งแล้ง ที่ว่างริมถนน หรือในบริเวณสนามหญ้า ทนน้ำท่วมทังและสามารถขึ้นได้ในดินเค็ม ที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 40-400 เมตร
  • ใบหญ้าแพรก ใบจะออกเป็นกระจุกตามข้อของลำต้น โดยจะออกตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปเส้นยาวหรือรูปใบหอกเรียว ปลายใบแหลมยาว โคนใบมีขนสั้น ๆ สีขาวก่อนถึงส่วนที่หุ้มรอบข้อ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-3 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 1-6 เซนติเมตร
  • ดอกหญ้าแพรก ออกดอกเป็นช่อกระจะ ในช่อหนึ่งจะมีดอกย่อยอยู่ประมาณ 3-6 ช่อย่อย ก้านช่อดอกร่วมยาวได้ประมาณ 1.5-5 เซนติเมตร ช่อดอกย่อยมีลักษณะเป็นเส้นสีเขียวเทาถึงสีม่วง ยาวได้ประมาณ 2-5 เซนติเมตร มีดอกย่อยเรียงกันเป็นแถว 2 แถว ดอกย่อยมีขนาดยาวประมาณ 1.5-3 มิลลิเมตร อัดกันแน่นอยู่บนด้านหนึ่งของก้านดอกย่อย ดอกมีเกสรเพศผู้ 3 อัน มีอับเรณูสีม่วงยาว 1.1-5 มิลลิเมตร ส่วนรังไข่มีก้านเกสรเพศเมีย 2 เส้น ส่วนปลายเป็นฝอยลักษณะคล้ายขนนก สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี
  • ผลหญ้าแพรก เมื่อดอกร่วงจะติดผล ผลหรือเมล็ดจะมีขนาดเล็กมาก ยาวได้ประมาณ 11.5 มิลลิเมตร มีลักษณะเป็นรูปไข่ สีน้ำตาลไปจนสีแดง 

เนื่องจากหญ้าแพรกเป็นวัชพืชชนิดหนึ่งที่ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ในส่วนของวิธีการป้องกันและกำจัดนั้นก็ทำได้หลายวิธี เช่น การไถดะเพื่อกลมทำลาย ถ้ายังขึ้นมาได้อีกก็อาจจะต้องไถซ้ำ หากยังมีหลงเหลืออยู่ก็ให้เก็บทำลายไหลและลำต้นให้หมดในขณะที่คราดทำเทือก หรือใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชก็ได้ เป็นต้น

สรรพคุณของหญ้าแพรก

  1. ช่วยแก้โรคเบาหวาน (ลำต้น,ทั้งต้น)
  2. ทั้งต้นมีรสขม ชุ่มเล็กน้อย เป็นยาสุขุม ใช้เป็นยาแก้ลมชัก ตรากตรำทำงานหนัก (ทั้งต้น)
  3. ใช้เป็นยาแก้ไข้ ด้วยการใช้ลำต้นสดประมาณ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกิน (ลำต้น,ทั้งต้น)
  4. ทั้งต้นใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ไข้พิษ ไข้กาฬ ไข้หัว รวมถึงเหือดหัด และอีสุกอีใส (ทั้งต้น)
  5. ทั้งต้นใช้ต้มกินเป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ (ทั้งต้น)
  6. ใช้เป็นยาแก้อาเจียนเป็นเลือด (ลำต้น,ทั้งต้น)
  7. ช่วยขับลม (ลำต้น,ทั้งต้น)
  8. ช่วยแก้อาการท้องเสีย (ลำต้น)
  9. ยาต้มของต้นหญ้าแพรกใช้กินเป็นยาแก้ท้องเดินเรื้อรังได้ (ลำต้น)
  10. รากและลำต้นมีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ ด้วยการนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยา (ลำต้น,ราก,ทั้งต้น) ช่วยแก้นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (ราก)
  11. รากใช้เป็นยาแก้ซิฟิลิสในระยะออกดอก (ราก)
  12. ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร (ลำต้น,ทั้งต้น) แก้ริดสีดวงทวารมีเลือดออก (ราก)
  13. ทั้งต้นใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ตกโลหิตระดูมากเกินไปของสตรี (ทั้งต้น)
  14. ช่วยแก้อาการบวมน้ำ (ลำต้น,ราก,ทั้งต้น)
  15. ใช้เป็นยาห้ามเลือด ด้วยการใช้ลำต้นสดนำมาตำแล้วพอกบริเวณที่เป็น (ลำต้น,ทั้งต้น)
  16. ทั้งต้นนำมาตำใช้เป็นยาพอกแผลจากการหกล้มหรือกระทบกระแทก มีดบาด ช่วยสมานบาดแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้น (ทั้งต้น)
  17. ทั้งต้นนำมาตำกับเหล้าใช้เป็นยาพอกทาแก้พิษอักเสบ ปวดบวม (ทั้งต้น)
  18. ช่วยรักษาพิษไข้มีผื่นต่าง ๆ เช่น เป็นหัด เหือด ดำแดง อีสุกอีใส เป็นต้น ด้วยการใช้ลำต้นสดนำมาตำคั้นเอาน้ำและกากพอกหรือทาบริเวณที่เป็น (ลำต้น)
  19. ใช้เป็นยาแก้โรคหนองเรื้อรัง ด้วยการใช้รากแห้งประมาณ 60 กรัม นำมาต้มหรือบดให้ละเอียด ใช้กินเป็นยา (ราก)
  20. ใช้ลำต้นสดนำมาตำคั้นเอาน้ำและกากทาหรือพอกแก้อาการปวดข้อ (ลำต้น)
  21. ช่วยแก้อัมพาต แก้อัมพาตครึ่งตัว แขนขาชา ปวดเมื่อยกระดูก ด้วยการใช้ทั้งต้นนำมาชงกับเหล้ากิน (ลำต้น,ทั้งต้น)

หมายเหตุ : วิธีใช้ตาม [1] ส่วนของลำต้นสดให้ใช้ครั้งละ 15-30 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกิน ถ้าใช้ภายนอกให้นำต้นสดมาตำคั้นเอาน้ำและกากพอกหรือทาบริเวณที่เป็น ส่วนรากให้ใช้รากแห้งครั้งละประมาณ 60 กรัม นำมาต้มหรือบดให้ละเอียด ใช้กินเป็นยา

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของหญ้าแพรก

  • จากการทดลองฉีดสารอัลคาลอยด์ของหญ้าแพรก ในขนาด 2.5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โดยฉีดเข้าในหลอดเลือดดำของกระต่ายทดลอง พบว่าเลือดจากบาดแผลของกระต่ายจะเกิดการแข็งตัวขึ้น และเลือดจะหยุดไหลได้เร็วขึ้น
  • สารอัลคาลอย์บางชนิดในหญ้าแพรกมีฤทธิ์ทำให้การไหลเวียนของโลหิตของหนูและหนูถีบจักช้าลง แต่มีฤทธิ์เพิ่มการบีบตัวของลำไส้ที่แยกออกจากตัวของหนูตะเภา และมีส่วนที่เป็น Glycoside มีที่ฤทธิ์ลดความดันโลหิตของแมว
  • สารสกัดจากลำต้นหญ้าแพรกด้วยอีเทอร์มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื่อ Bacillus subtilis, Escherichia coli, Pseudomonas aeruginosa, Salmonella typhi, Shigella dysenteriae, Staphylococcus aureus, Streptococcus faecalis แต่สารที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์จะมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อไวรัส ซึ่งมีการทดลองกับ Vaccinia virus
  • จากรายการเป็นพิษที่ทำการศึกษาในประเทศอินเดีย ตรวจพบ hydrocyanic acid ในพืชนี้ ทำให้สัตว์ที่กินพืชนี้เข้าไปเกิดอาการเป็นพิษ โดยมีอาการกล้ามเนื้อหน้าชักกระตุก สัตว์เกิดอาการกัดฟัน ตามมาด้วยมีความดันโลหิตสูง และส่งผลให้สัตว์ตายในเวลาต่อมา

ประโยชน์ของหญ้าแพรก

  • หญ้าแพรกเป็นแหล่งของอาหารสัตว์ตามธรรมชาติ สำหรับสัตว์จำพวกแทะเล็มได้เป็นอย่างดี เช่น พวกโค กระบือ แกะ แพะ เป็นต้น (แม้ในฤดูร้อนก็ยังเชียวชอุ่มให้สัตว์แทะเล็มกินได้)
  • คุณค่าทางโภชนาการทางอาหารสัตว์ของหญ้าแพรกที่มีอายุประมาณ 45 วัน จะประกอบไปด้วย โปรตีน 9.7%, เยื่อในส่วน ADF 31.5%, NDF 67.7%, แคลเซียม 0.5%, ฟอสฟอรัส 0.12%, โพแทสเซียม 1.54%, ลิกนิน 6.4%
  • ใช้ปลูกเป็นพืชคลุมดินเพื่อป้องกันการชะล้างดินได้ดี แต่รากจะไม่มีคุณสมบัติในการป้องกันน้ำกัดเซาะหน้าดินพังทลายได้เหมือนหญ้าแฝก
  • ทั้งต้นสดใช้ในพิธีไหว้ครู เพื่อเป็นสัญลักษณ์ให้ศิษย์มีปัญญาแตกฉานได้รวดเร็วประดุจหญ้าแพรกที่แตกทอดไปตามพื้นดิน (ใช้ร่วมกับดอกเข็มและดอกมะเขือ)

ความหมายของหญ้าแพรก

ในพานดอกไม้ไหว้ครูนั้นจะประกอบไปด้วย ดอกเข็ม ดอกมะเขือ และหญ้าแพรก โดยดอกเข็มนั้นมีลักษณะแหลมคล้ายเข็ม มีความหมายในการอธิษฐานว่า ขอให้มีสติปัญญาเฉียบแหลมดุจดั่งเข็ม ส่วนดอกมะเขือนั้นเวลาบานมันจะคว่ำลง มีความหมายในการอธิษฐานว่า ศิษย์จะน้อมรับวิชาความรู้จากครูบาอาจารย์ด้วยความเคารพ

ในส่วนของหญ้าแพรกนั้น เป็นหญ้าที่ไม่มีพิษมีภัยแก่ผู้ใด เมื่อเหยียบย่ำมันมันก็ไม่ทำให้เราบาดเจ็บ หญ้าแพรกจึงมีความหมายในการอธิษฐานว่า ศิษย์จะเป็นผู้มีความอ่อนน้อมและไม่โกรธตอบ แม้ว่าครูจะเฆี่ยนตีหรืออบรมสั่งสอนก็จะไม่โกรธ ไม่คิดอาฆาต พยาบาท เพราะครูทำไปด้วยความหวังดีมีเมตตาอยากให้ศิษย์เป็นคนดี

แม้ในฤดูแล้งเองที่พรรณไม้ชนิดอื่นต้องแห้งเหี่ยวตายไปตาม ๆ กัน หรือครั้นในถึงฤดูฝน ที่มีฝนตกมากจนน้ำท่วมขังทำให้พรรณไม้ชนิดอื่นตายหมด แต่หญ้าแพรกเองก็ยังมีชีวิตอยู่ได้โดยไม่แห้งเหี่ยวหรือเน่าตาย หญ้าแพรกจึงมีความหมายในการอธิษฐานอีกอย่างหนึ่งว่า ให้ศิษย์นั้นเป็นผู้มีความอดทนในการศึกษาเล่าเรียน

หญ้าแพรกยังเป็นพืชฟื้นตัวหรือเจริญเติบโตได้งอกงามและแพร่กระจายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ถ้าใช้หญ้าแพรกไว้ครูแล้วจะทำให้ลูกศิษย์เป็นผู้มีปัญญาแตกฉานเจริญงอกงามเหมือนหญ้าแพรก และประสบความสำเร็จในด้านการศึกษาได้อย่างรวดเร็วประดุจดั่งหญ้าแพรกที่แตกทอดแพร่กระจายพันธุ์ไปตามพื้นดิน

นอกจากนี้หญ้าแพรกยังเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความไม่เหลื่อมล้ำ ลดความแตกต่างทางฐานะและสังคมของศิษย์ไม่ให้แข่งขันหรืออวดร่ำอวดรวย ไม่เห็นใครสูงกว่าหรือต่ำกว่า ไม่ต้องหาของมีค่ามาไหว้ครูซึ่งอาจทำให้เห็นคุณธรรมในตัวครูลดลงจากพฤติกรรมของศิษย์ได้ นี่จึงเป็นกุศโลบายอย่างหนึ่งที่ครูอาจารย์ในสมัยก่อนวางบรรทัดฐานให้ครูและศิษย์ปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาด้วยความเคารพไม่ให้เห็นว่าใครสูงหรือต่ำ หญ้าแพรกจึงได้ชื่อว่าเป็นอาภรณ์ของแผ่นดิน

ส่วนในประเทศอินเดียจะใช้หญ้าแพรกเพื่อบูชาพระพิฆเนศ เพราะเขาถือ ว่าพระพิฆเนศเป็นครู เป็นเทพเจ้าแห่งความรู้ และยังมีความเชื่ออีกหลายความเชื่อที่เชื่อว่าหญ้าแพรกเป็นของศักดิ์สิทธิ์

 

คำสำคัญ : หญ้าแพรก

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). หญ้าแพรก. สืบค้น 28 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1759&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1759&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ม่อนไข่

ม่อนไข่

ต้นม่อนไข่ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงโดยทั่วไปไม่เกิน 8 เมตร และอาจสูงได้ถึง 27-30 เมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นประมาณ 1 เมตร ลำต้นมียางสีขาวๆ ที่กิ่งอ่อนเป็นสีน้ำตาล ผลไม้ม่อนไข่ เป็นผลไม้พื้นเมืองที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ (ประเทศเม็กซิโก) และในอเมริกาใต้ ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม ใบเป็นมันและบาง ดอกม่อนไข่ ดอกมีสีครีมและมีกลิ่นหอม ผลมีลักษณะเป็นกลมรูปรี ปลายผลมีหลายแหลมหรือจะงอย

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 11,742

หญ้าใต้ใบ

หญ้าใต้ใบ

ลูกใต้ใบ หรือ หญ้าใต้ใบ ที่ทุกคนรู้จัก เป็นยาสมุนไพรที่มีผลทางยาหลายประการ ลูกใต้ใบมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป มะขามป้อมดิน หญ้าใต้ใบ ไฟเดือนห้า หญ้าใต้ใบขาว หมากไข่หลัง ลูกใต้ใบเป็นสมุนไพรที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีทุกภาคของประเทศไทย หญ้าใต้ใบมีถิ่นกำเนิดมาจากอเมริกาและแอฟริกา

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,526

กฤษณา

กฤษณา

ต้นกฤษณาเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงประมาณ 18-30 เมตร ขนาดรอบลำต้นประมาณ 1.5-1.8 เมตร เปลือกต้นสีเทาอมขาว ในต้นแก่เปลือกจะแตกเป็นร่องยาวตื้นๆ และเปลือกด้านในมีสีขาวอมเหลือง พร้อมมีรูระบายอากาศกระจายอยู่ทั่วไป ใบเดี่ยวรูปทรงรีออกแบบเรียงสลับ ปลายใบเรียวแหลม โคนมน ส่วนขอบใบจะเป็นคลื่นแบบม้วนตัวลงเล็กน้อย มีดอกเล็กๆ เป็นช่อตามซอกใบ สีเขียวอมเหลือง กลีบเลี้ยงติดกัน ส่วนปลายแยกออกเป็น 5 แฉก ผลรูปไข่ ผิวผลขรุขระเป็นลายสีเขียวซึ่งหนาและแน่นมีขนนุ่มสีน้ำตาลอมเหลืองละเอียดสั้นๆ ขึ้น และผลจะเริ่มแก่ในช่วงเดือนสิงหาคมของทุกปี

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 1,249

แตงโม

แตงโม

แตงโม เป็นผลไม้ที่มีต้นกำเนิดในแถบทวีปแอฟริกาในทะเลทรายคาลาฮารี ซึ่งชาติที่แรกที่ปลูกแตงโมไว้รับประทานนั้นก็คือชาวอียิปต์ สำหรับประเทศไทยนั้นการปลูกแตงโมจะมีอยู่ทั่วทุกภาคและปลูกได้ทุกฤดู โดยพันธุ์ที่นิยมปลูกกันมากโดยทั่วไปจะมีอยู่ 3 สายพันธุ์หลักๆ คือ พันธุ์ธรรมดาทั่วไป (เมล็ดมีขนาดเล็ก รสหวาน เช่น แตงโมจินตหรา แตงโมตอร์ปิโด แตงโมกินรี แตงโมน้ำผึ้ง แตงโมไดอานา แตงโมจิ๋ว เป็นต้น) สายพันธุ์ต่อมาก็คือ พันธุ์ไร้เมล็ด (เป็นพันธุ์ผสมผลิตเพื่อส่งออก) และพันธุ์กินเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 10,909

ติ่งตั่ง

ติ่งตั่ง

ต้นติ่งตั่ง จัดเป็นไม้พุ่มเลื้อยขนาดใหญ่หรือไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งขนาดใหญ่ สูงได้ประมาณ 1-5 เมตร เปลือกเป็นสีน้ำตาลมีขนปกคลุม ตามกิ่งอ่อนเป็นสันสี่เหลี่ยม มีขนสีน้ำตาลแกมแดงขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ในดินทุกประเภท ชอบแสงแดดจัด น้ำปานกลาง มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย จีนตอนใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนในประเทศไทยพบได้ทุกภาคตามป่าเบญจพรรณและตามป่าดิบแล้งทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 2,760

เจตมูลเพลิงแดง

เจตมูลเพลิงแดง

เจตมูลเพลิงแดง (Rose Coloured Leadwort, Indian Leadwort, Fire Plant, Official Leadwort) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้นขนาดเล็ก ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคอีสานเรียก ปิดปิวแดง ภาคใต้เรียก ไฟใต้ดิน ส่วนชาวมาเลย์เรียก อุบะกูจ๊ะ เป็นต้น สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการปักชำกิ่ง ซึ่งจะเจริญเติบโตได้ดีในที่ร่มรำไร บริเวณพื้นที่เนินสูง และไม่ชอบที่ชื้นๆ แฉะๆ โดยสามารถกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศไทยได้เกือบทุกภาคเลยทีเดียว ซึ่งสามารถพบได้ตามป่าดงดิบ ป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 1,148

ฝรั่ง

ฝรั่ง

ฝรั่งเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพที่เหมาะมากสำหรับผู้ที่ต้องการลดความอ้วน ลดน้ำหนัก หรือผู้ที่กำลังควบคุมน้ำหนัก เนื่องจากฝรั่งอุดมไปด้วยกากใยอาหาร เมื่อรับประทานแล้วจะทำให้อิ่มนาน ช่วยกำจัดท้องร้อง อาการหิวที่คอยมากวนใจ เพราะกากใยจะช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ ช่วยปรับระดับการใช้อินซูลินของร่างกายให้เหมาะสม และกากใยยังช่วยล้างพิษโดยรวมได้อีกด้วย จึงส่งผลทำให้ผิวพรรณดูเปล่งปลั่งสดใส 

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 1,842

กระเจานา

กระเจานา

ต้นกระเจานาเป็นไม้ล้มลุก ต้นเตี้ยเรี่ยพื้นจนถึงสูง 1 เมตร ลำต้นสีแดง เกลี้ยงหรือมีขน ใบกระเจานาใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่ กว้าง 3-5 เซนติเมตร ยาว 4-10 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนมน ขอบจักฟันเลื่อย จักสุดท้ายตรงโคนใบมีระยางค์ยื่นออกมายาวประมาณ 7 มิลลิเมตร ข้างละ 1 เส้น เส้นแขนงใบออกจากโคนใบ 1 คู่ ยาวเกือบถึงปลายใบ ด้านล่างมีขนและเห็นเส้นแขนงใบชัดเจน ก้านใบยาว 2-3 เซนติเมตร มีขนและเป็นร่องทางด้านบน หูใบรูปสามเหลี่ยมเรียวแหลมยาวประมาณ 3 เซนติเมตร

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,588

เต่าร้าง

เต่าร้าง

เต่าร้าง (Fishtail Palm, Wart Fishtail Palm) หรือเต่ารั้ง เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น อยู่ในตระกูลปาล์ม มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก เกี๋ยง, เขืองหลวง, เต่ารั้ง หรือเต่าร้าง ส่วนน่านเรียก หมากมือ เป็นต้น ซึ่งพืชสมุนไพรอย่างเต่าร้างนั้นเป็นพืชที่พบการกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศอินเดีย, ตอนใต้ของจีน, ศรีลังกา, เวียดนาม และไทยเราด้วย ชอบอยู่ในป่าดิบทุกแห่ง มักขึ้นตรงที่มีความชุ่มชื้นสูง โดยลำต้นจะเป็นปล้องสูงชะลูดขึ้นไปไม่เท่ากัน โดยบางต้นอาจเตี้ย ในขณะที่บางต้นอาจสูง

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 8,747

ลำไยป่า

ลำไยป่า

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 10 - 20 เมตร  พุ่มต้นมีลักษณะคล้ายต้นลำไย  โคนมีพูพอนบ้างเล็กน้อย เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกลม เปลือกสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมเทา แตกเป็นร่องตามยาวลำต้น เปลือกในสีน้ำตาลอมชมพู  ใบ เป็นช่อ ใบย่อยรูปขอบขนานแกมรูปหอก ดอกเล็ก สีเขียวอ่อน สีขาว ออกรวมกันเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง ตามก้านช่อมีขนสีนวล ๆ ทั่วไป  ผลเล็กสีน้ำตาล ขึ้นอยู่ตามป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 6,099