เจตมูลเพลิงแดง

เจตมูลเพลิงแดง

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้ชม 1,149

[16.3937891, 98.9529695, เจตมูลเพลิงแดง]

         เจตมูลเพลิงแดง (Rose Coloured Leadwort, Indian Leadwort, Fire Plant, Official Leadwort) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้นขนาดเล็ก ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคอีสานเรียก ปิดปิวแดง ภาคใต้เรียก ไฟใต้ดิน ส่วนชาวมาเลย์เรียก อุบะกูจ๊ะ เป็นต้น สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการปักชำกิ่ง ซึ่งจะเจริญเติบโตได้ดีในที่ร่มรำไร บริเวณพื้นที่เนินสูง และไม่ชอบที่ชื้นๆ แฉะๆ โดยสามารถกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศไทยได้เกือบทุกภาคเลยทีเดียว ซึ่งสามารถพบได้ตามป่าดงดิบ ป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณทั่วไป

ลักษณะทั่วไปของเจตมูลเพลิงแดง
         สำหรับต้นเจตมูลเพลิงแดงนั้นเป็นจัดเป็นไม้พุ่มล้มลุกขนาดเล็กที่มีอายุได้หลายปี โดยมีความสูงของลำต้นประมาณ 1 – 1.5 เมตร บางครั้งอาจสูงถึงประมาณ 2 – 3 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามากขึ้นและมักทอดยาว บริเวณยอดอ่อนมีสีแดง ส่วนลำต้นนั้นจะกลมและเรียบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเป็นคลื่น ใบอ่อนจะมีสีแดง ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะเชิงลด โดยดอกจะออกเป็นช่อที่บริเวณปลายกิ่งหรือปลายยอด

ประโยชน์และสรรพคุณของเจตมูลเพลิงแดง
        ใบ – ช่วยในการขับผายลม ช่วยย่อยอาหาร รวมทั้งแก้ลมในกองเสมหะ และแก้พัทธปิตตสมุฏฐาน ให้รสร้อน
        ดอก – ช่วยแก้พัทธปิตตสมุฏฐาน (น้ำดีในฝัก) ให้รสร้อน
        ต้น – ช่วยแก้โลหิตที่เกิดแต่กองกำเดา ให้รสร้อน
        ราก – ช่วยในการบำรุงโลหิต บำรุงธาตุ รวมทั้งช่วยขับลมในลำไส้และกระเพาะอาหาร แก้ริดสีดวงทวาร ขับโลหิตระดู ตลอดจนให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย แก้เกลื่อนฝี ช่วยกระจายเลือดลม และใช้ทาแก้โรคผิวหนัง บีบมดลูกทำให้แท้งได้
        ซึ่งในสมุนไพรต้นเจตมูลเพลิงแดงนี้ก็จะคล้ายๆ กับต้นเจตมูลเพลิงขาว โดยเฉพาะข้อห้ามที่ควรระมัดระวังจะเหมือนกัน คือห้ามไม่ให้ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์รับประทาน เพราะมีสารบางตัวที่อาจทำให้แท้งลูกได้เช่นเดียวกัน

คำสำคัญ : เจตมูลเพลิงแดง

ที่มา : www.samunpri.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เจตมูลเพลิงแดง. สืบค้น 28 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1492&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1492&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ผักปลาบ

ผักปลาบ

ผักปลาบ จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นมีลักษณะทอดเลื้อยแต่ชูขึ้น ชูได้สูงประมาณ 65-85 ลำต้นเป็นสีเขียวอวบน้ำ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.1-3.5 มิลลิเมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก ตามกิ่งก้านมีขนอ่อนๆ ขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้งจำพวกวัชพืช มักขึ้นทั่วไปตามที่ว่างเปล่าและไม่เลือกดิน พบทั่วไปในภูมิภาคเขตศูนย์สูตร ตามริมน้ำ ทุ่งหญ้า และขึ้นในที่ลุ่มชื้นแฉะทั่วไป เช่น จังหวัดนครราชสีมา แม่ฮ่องสอน ที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 330-357 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 9,200

กระท้อน

กระท้อน

ต้นกระท้อนเป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ สูง 15-40 เมตร ต้นเปลา ตรง แตกกิ่งต่ำ เปลือกสีเทาอมน้ำตาล ค่อนข้างเรียบ ใบกระท้อนใบแก่จัดสีแดงอิฐหรือสีแสด ใบช่อ ยาว 20-40 ซม. ช่อติดเรียงสลับเวียนกันไป ใบปลายช่อเป็นใบเดี่ยว ดอกกระท้อนดอกช่อ ออกรวมเป็นช่อ ไม่แยกแขนงตามปลายกิ่ง ช่อยาว 5-15 ซม. มีขนนุ่มทั่วไป ดอกเล็ก สีเหลืองอ่อน หรือเขียวอ่อนอมเหลือง ดอกสมบรูณ์เพศ กลิ่นหอมอ่อนๆ ผลกระท้อนผลกลมหรือแป้น อุ้มน้ำ ผลอ่อนสีเขียว แก่จัดสีเหลือง เมล็ดรูปไต เรียงตามแนวตั้ง 5 เมล็ด ออกดอกเดือน มกราคม -มีนาคม และเป็นผลเดือน มีนาคม-พฤษภาคม

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 4,291

มะจ้ำก้อง

มะจ้ำก้อง

ต้นมะจ้ำก้อง จัดเป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่หรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ที่มีความสูงได้ประมาณ 1-4 เมตร มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย พบขึ้นทั่วไปในป่าชั้นกลางในป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น โดยเฉพาะบริเวณริมลำธารหรือตามทุ่งหญ้าที่ชื้น ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 30-1,050

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 1,836

มะกอก

มะกอก

ต้นมะกอก มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทยด้วย โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 15-25 เมตร ลำต้นตั้งตรงและมีลักษณะกลม เรือนยอดเป็นพุ่มกลม แตกกิ่งก้านโปร่ง กิ่งมักห้อยลง เปลือกต้นเป็นสีเทา เปลือกหนาเรียบ มีปุ่มปมบ้างเล็กน้อย และมีรูอากาศตามลำต้น กิ่งอ่อนมีรอยแผลการหลุดร่วงของใบ ตามเปลือก ใบ และผลมีกลิ่นหอม มักพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าแดง และป่าดิบแล้งทุกภาคของประเทศไทย

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 18,448

ผักเสี้ยน

ผักเสี้ยน

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพืชล้มลุกลำต้นตรงสูงประมาณ 60 ซม.  ใบเป็นใบประกอบ ประกอบด้วยใบอ่อน 5 ใบ มีขนาดไม่เท่ากัน เกิดจากจุด  ดอกออกเป็นช่อตามปลายยอด ตรงกลางช่อจะบานก่อน ก้านดอกย่อยเรียวเล็ก กลีบดอกมีสีขาวอมม่วงอ่อน 4 กลีบ ก้านชูเกสรยาวเรียว  ผลมีลักษณะเป็นฝักเรียวยาว แก่แล้วจะแตกออก  พบภายในนาข้าวริมทางทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,224

พันงูเขียว

พันงูเขียว

พันงูเขียว จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง มีความสูงได้ประมาณ 50 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านสาขาทางด้านข้าง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด พรรณไม้ชนิดนี้พบได้ในแถบเขตร้อนทั่วไป โดยมักขึ้นตามเนินเขา ตามทุ่งนา ทุ่งหญ้า พื้นที่เปิด หรือตามริมถนน ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลจนถึง 600 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบเป็นรูปลิ่ม ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 13,823

ฟ้าทะลายโจร

ฟ้าทะลายโจร

ฟ้าทะลายโจร จัดเป็นพืชล้มลุกที่มีความสูงประมาณ 30-70 เซนติเมตร หรือประมาณ 1-2 ศอก ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม แตกกิ่งมาก ทุกส่วนของต้นมีรสขม กิ่งเป็นใบสีเหลี่ยม สามารถพบได้ทั่วไปในประเทศไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม จีน และหมู่เกาะในทะเลแคริบเบียน ใบฟ้าทะลายโจร ลักษณะเป็นใบเดี่ยว แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ลักษณะของใบรียาว ปลายใบแหลม ดอกฟ้าทะลายโจร ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและตามซอกใบ ดอกมีขนาดเล็กสีขาว มีดอกย่อย กลีบดอกมีสีขาวโคนกลีบติดกัน ปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากบนมี 3 กลีบ (มีเส้นสีม่วงแดงพาดอยู่) ส่วนปากล่างมี 2 กลีบ ผลฟ้าทะลายโจร ลักษณะเป็นฝัก ฝักจะคล้ายกับฝักต้อยติ่ง (หรือเป๊าะแป๊ะ) ฝักอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่ฝักจะเป็นสีน้ำตาลและแตกได้ ภายในฝักมีเมล็ดสีน้ำตาลอ่อนจำนวนมาก

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 3,213

บานไม่รู้โรยป่า

บานไม่รู้โรยป่า

บานไม่รู้โรยป่า จัดเป็นไม้ล้มลุก แผ่กิ่งที่โคนต้น แตกกิ่งก้านสาขานอนราบไปกับพื้นดิน ส่วนปลายยอดและช่อดอกชูขึ้น มีความสูงได้ประมาณ 40 เซนติเมตร เปลือกลำต้นเป็นสีเขียวแกมขาว ไม่มียาง แต่มีขนยาวคล้ายสำลีขึ้นปกคลุมอย่างเห็นได้ชัด ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ แพร่กระจายพันธุ์มาสู่เขตร้อนที่อบอุ่นกว่า ในประเทศไทยมักพบขึ้นเป็นวัชพืชในพื้นที่เปิดโล่งมีแดดส่องถึง ตามที่รกร้างริมทาง ตามที่สาธารณะทั่วไป เช่นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ขอนแก่น พิษณุโลก นครราชสีมา สระบุรี กรุงเทพฯ เพชรบุรี กาญจนบุรี จันทบุรี และภาคใต้ทุกจังหวัด

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 11,360

ปรู๋

ปรู๋

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง สูง 5-15 เมตร ผลัดใบต้นมักบิด   คอดงอ เปลือกสีน้ำตาลแดงแตกล่อน เปลือกในสีเหลืองอ่อน  ใบรูปไข่กลับ รูปขอบขนาน หรือรูปหอกกลับ ดอกสีขาวนวล กลิ่นหอม ออกเป็นกระจุก ผลป้อม มีเนื้อเยื่อหุ้มเมล็ดแข็ง มีเมล็ดเดียว  เป็นไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด

 

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,510

ผักเสี้ยนผี

ผักเสี้ยนผี

ผักเสี้ยนผี จัดเป็นไม้ล้มลุก มีความสูงได้ประมาณ 1 เมตร ที่ส่วนต่าง ๆ ของต้นจะมีต่อมขนเหนียวสีเหลืองปกคลุมอยู่หนาแน่น มีกลิ่นเหม็นเขียว มีเขตกระจายพันธุ์กว้างขวาง พบได้ทั่วไปในทวีปเอเชีย แอฟริกา และออสเตรเลีย สำหรับในประเทศไทยมักจะพบขึ้นได้ตามข้างถนนหรือที่รกร้าง ตามริมน้ำลำธาร บางครั้งก็อาจพบได้บนเขาหินปูนที่แห้งแล้งหรือตามชายป่าทั่วๆ ไป

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 14,830