พันงูเขียว

พันงูเขียว

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้ชม 13,876

[16.4258401, 99.2157273, พันงูเขียว]

พันงูเขียว ชื่อสามัญ Brazilian Tea, Bastard Vervain, Jamaica False Veravin, Arron's Rod

พันงูเขียว ชื่อวิทยาศาสตร์ Stachytarpheta jamaicensis (L.) Vahl จัดอยู่ในวงศ์ผกากรอง (VERBENACEAE)

สมุนไพรพันงูเขียว มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เจ๊กจับกบ (ตราด), เดือยงู พระอินทร์โปรย (ชุมพร), หญ้าหนวดเสือ (ภาคเหนือ), สี่บาท สารพัดพิษ (ภาคกลาง), หญ้าหางงู (ภาคใต้), ลังถึ่งดุ๊ก (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), เล้งเปียง (จีนแต้จิ๋ว), ยี่หลงเปียน ยวี่หลงเปียน เจี่ยหม่าเปียน (จีนกลาง), ฉลกบาท, หญ้าพันงูเขียว เป็นต้น

ลักษณะของพันงูเขียว

  • ต้นพันงูเขียว จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกจำพวกหญ้า ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง มีความสูงได้ประมาณ 50 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านสาขาทางด้านข้าง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด พรรณไม้ชนิดนี้พบได้ในแถบเขตร้อนทั่วไป โดยมักขึ้นตามเนินเขา ตามทุ่งนา ทุ่งหญ้า พื้นที่เปิด หรือตามริมถนน ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลจนถึง 600 เมตร 
  • ใบพันงูเขียว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบเป็นรูปลิ่ม ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร
  • ดอกพันงูเขียว ออกดอกเป็นช่อบริเวณปลายกิ่ง ดอกเป็นสีม่วงน้ำเงิน เป็นรูปกลมงอเล็กน้อย มีกลีบดอก 5 กลีบ มีกาบใบ 1 ใบ ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม มีฟันเลื่อย 4-5 หยัก โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ดอกมีเกสรเพศผู้ 2 อัน และมีรังไข่ 2 ห้อง ดอกจะออกในช่วงฤดูร้อน 
  • ผลพันงูเขียว ผลมีกลีบเลี้ยงหุ้มอยู่ พบได้ในบริเวณช่อดอก ถ้าแห้งแล้วจะแตกออกได้ ภายในผลมีเมล็ด 

สรรพคุณของพันงูเขียว

  1. ทั้งต้นมีรสขม ชุ่ม เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อปอดและลำไส้ใหญ่ ใช้เป็นยาขับพิษร้อน ถอนพิษไข้ ช่วยขับเหงื่อ (ทั้งต้น)
  2. ทั้งต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไข้ ลดไข้ (ทั้งต้น)
  3. ทั้งต้นใช้เป็นยารักษาโรคตาแดง (ทั้งต้น)[1]ตำรับยาแก้ตาบวม ตาแดง ตาอักเสบ จะใช้พันงูเขียวทั้งต้น 35 กรัม, เจียไก้หลาน 35 กรัม และอิไต้เถิง 25 กรัม นำมารวมกันตำผสมกับพิมเสนเล็กน้อย ใช้พอกบริเวณตาที่บวม (ทั้งต้น)
  4. ใบใช้รักษาอาการเจ็บคอ คออักเสบ ด้วยการใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำตาล ใช้เป็นยาอม (ใบ, ทั้งต้น)
  5. ช่วยรักษาอาการอาเจียน (ทั้งต้น)
  6. ใช้เป็นยารักษาโรคกระเพาะ (ทั้งต้น)
  7. เปลือกต้นใช้เป็นยารักษาอาการท้องเสียและโรคบิด (เปลือกต้น)[1]ส่วนอีกข้อมูลระบุว่า ให้ใช้ใบเป็นยาแก้โรคบิด (ใบ)
  8. ใช้เป็นยาขับพยาธิ (ทั้งต้น)[1]ใช้ขับพยาธิในเด็ก (ใบ)
  9. ช่วยรักษาโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ รักษาทางเดินปัสสาวะติดเชื้อ (ทั้งต้น)
  10. ทั้งต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้โรคหนองใน (ทั้งต้น)[3]ส่วนอีกข้อมูลระบุว่า รากมีสรรพคุณเป็นยาแก้โรคหนองใน (ราก)
  11. รากมีสรรพคุณทำให้แท้ง (ราก)
  12. ต้นสดใช้ตำพอกบริเวณที่เป็นแผลอักเสบ แผลเปื่อย ฝีและหนอง และพิษอักเสบปวดบวม (ทั้งต้น)
  13. ใบใช้เป็นยาทารักษาฝีหนอง (ใบ)
  14. ตำรับยาแก้บวม ฟกช้ำ จะใช้พันงูเขียวทั้งต้น, โกฐดอกขาว และสือเชียนเถา อย่างละเท่า ๆ กัน นำมาตำผสมกับกับเหล้าเล็กน้อย ใช้เป็นยาพอกบริเวณที่เป็น (ทั้งต้น)[2]
  15. ใบใช้ตำพอกแก้เคล็ด (ใบ)
  16. ทั้งต้นใช้เป็นยารักษาโรคปวดข้อ (ทั้งต้น)
  17. ใบใช้เป็นยาทาถูนวดรักษาอาการปวดเมื่อย (ใบ)[1]รักษาอาการปวดเมื่อยตามข้อเนื่องจากลมชื้นคั่งค้างภายในร่างกาย (ทั้งต้น)

ขนาดและวิธีใช้ : การใช้ตาม [2] ยาแห้งให้ใช้ครั้งละ 15-35 กรัม ส่วนยาสดให้ใช้ครั้งละ 35-70 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือใช้ร่วมกับตัวยาอื่น ๆ ในตำรับยา หากนำมาใช้ภายนอก ให้นำมาตำพอกบริเวณที่ต้องการ

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของพันงูเขียว

  • ในรากพันงูเขียว พบสารจำพวก Phrnol, Chlorogenic acid เป็นต้น
  • สารที่สกัดได้จากการต้มด้วยน้ำ จะมีฤทธิ์กระตุ้นลำไส้เล็กส่วนปลายของหนูตะเภา ส่วนสารที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์จะมีฤทธิ์กระตุ้นอ่อนกว่า แต่ทั้งสองชนิดจะไม่มีฤทธิ์ต่อหูรูด ระหว่างกระเพาะอาหารกับลำไส้เล็กของกระต่ายและมดลูกของหนูขาว
  • สารที่สกัดได้จากการต้มด้วยน้ำ จะมีฤทธิ์กระตุ้นเพียงเล็กน้อยต่อหัวใจของกระต่าย ถ้านำมาฉีดเข้ากล้ามที่ขาหลังของหนูขาวทดลอง พบว่าสามารถขยายเส้นเลือดของหนูทดลองได้ แต่ถ้านำมาฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำของสุนัขที่ถูกวางยาสลบ พบว่าจะไม่มีผลต่อความดันโลหิต
  • ทั้งสารที่สกัดได้จากน้ำและแอลกอฮอล์ หากนำมาฉีดเข้าช่องท้องของหนูถีบจักรทดลองในปริมาณ ตัวละ 0.1 กรัม ต่อ 1 กิโลกรัม พบว่าภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากฉีดยาแล้ว หนูจะตาย
  • น้ำที่สกัดได้จากต้นพันงูเขียว มีฤทธิ์คล้ายโดปามีน (dopamine) และมีพิษต่อหนูถีบจักร
  • จากการศึกษาคุณสมบัติการต้านอนุมูลอิสระไฮดรอกซิล และหาองค์ประกอบทางเคมีของสารสกัดที่ได้จากส่วนของราก ลำต้น ใบ และช่อดอกพันงูเขียว ที่สกัดด้วย น้ำ, เอทานอล 50%, เอทานอล 75% ผลการวิจัยพบว่าสารสกัดจากใบพันงูเขียวที่สกัดด้วยเอทานอล 75 % สามารถให้เปอร์เซ็นต์การยับยั้งอนุมูลอิสระไฮดรอกซิล ได้สูงสุดทั้งชนิดสดและชนิดแห้ง เท่ากับ 6.45 และ 54.00 ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบกับวิตามินอีที่ความเข้มข้น 5 ppm พบว่าเปอร์เซ็นต์การยับยั้งอนุมูลอิสระไฮดรอกซิลของสารสกัดจากใบแห้ง มีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งมากกว่าวิตามินอี 1.16 เท่า แต่พบว่าเปอร์เซ็นต์การยับยั้งอนุมูลอิสระไฮดรอกซิลของสารสกัดจากใบสด มีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งน้อยกว่าวิตามินอี 7.21 เท่า แต่เมื่อนำสารสกัดหยาบมาศึกษาองค์ประกอบทางเคมีก็พบว่ามีกรดแกลลิกและควอซิตินเป็นองค์ประกอบ (การศึกษาสมบัติการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากต้นพันงูเขียว โดย : ชัชฎาพร องอาจ และปวีณา ดารา)

ประโยชน์ของพันงูเขียว

  • ใบประเทศบราซิลจะใช้ใบพันงูเขียว แทนใบชา และส่งขายทางยุโรป ซึ่งมีชื่อทางการค้าว่า "Brazillian tea"

 

คำสำคัญ : พันงูเขียว

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). พันงูเขียว. สืบค้น 5 พฤษภาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1746&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1746&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

กระเช้าถุงทอง

กระเช้าถุงทอง

ต้นกระเช้าถุงทองเป็นไม้เถาล้มลุก ทอดเลื้อยไปตามพื้นและเกี่ยวต้นไม้อื่น ลำต้น มีขนละเอียด ใบกระเช้าถุงทองใบเดี่ยวเรียงสลับรูปไข่กว้างหรือแยกเป็น 3 แฉกแฉกยาวไม่ถึงกึ่งหนึ่งของความยาวใบใบยาว 11-12 เซนติเมตร ปลายใบแหลม หรือมน ปลายแฉกด้านข้างมน โคนใบรูปหัวใจตื้นๆแผ่นใบมีขนและต่อมทั้งสองด้าน เส้นโคนใบ 3 เส้นก้านใบยาว 5-5.2 เซนติเมตร มีขนละเอียด

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 2,264

ผักแพว

ผักแพว

ผักแพว จัดเป็นพืชล้มลุก มีลำต้นสูงประมาณ 30-35 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรง มีข้อเป็นระยะๆ ตามข้อมักมีรากงอกออกมา หรือลำต้นเป็นแบบทอดเลื้อยไปตามพื้นดินและมีรากงอกออกมาตามส่วนที่สัมผัสกับพื้นดิน เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในที่ชื้นแฉะ เช่น ในบริเวณห้วย หนอง คลอง บึง หรือตามแอ่งน้ำต่าง ๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการใช้ลำต้นปักชำ (เมล็ดงอกยาก นิยมใช้กิ่งปักชำมากกว่า) พรรณไม้ชนิดนี้เป็นพืชล้มลุก พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย เพราะเกิดได้เองตามธรรมชาติ

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 7,416

ซ้อ

ซ้อ

ซ้อเป็นพรรณไม้ที่มักจะขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบเขา ป่าดิบชื้น และป่าดิบแล้ง ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลจนถึงประมาณ 1,500 เมตร จัดเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีสรรพคุณช่วยในการรักษาแผล แก้บวม และเป็นยาถ่ายพยาธิ แก้ปวดฟัน แก้เหงือกบวม แก้ปวดศีรษะ และอีกหนึ่งสรรพคุณนิยมนำมาบำรุงผม ทั้งยังรักษารังแค และป้องกันผมร่วงได้อีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,714

ไฟเดือนห้า

ไฟเดือนห้า

ต้นไฟเดือนห้า จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุหลายปี ลำต้นมีความสูง อาจสูงได้ถึง 1 เมตร ตามกิ่งอ่อนและก้านดอกมีขน กิ่งและก้านมียางสีขาวคล้ายน้ำนมอยู่ภายใน มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเขตร้อน ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานแล้ว โดยขึ้นเป็นวัชพืชทั่วไป ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้าม ก้านใบสั้น ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอกยาวหรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายแหลม ขอบใบเรียบ ออกดอกเป็นช่อกระจุกที่ง่ามใบและที่ปลายกิ่ง ก้านช่อดอกยาว มีขนสั้นนุ่มปกคลุม ดอกเป็นสีแดง กลีบดอกมีลักษณะพับงอ และมีรยางค์รูปมงกุฎหรือกระบังรอบสีเหลืองหรือส้มยื่นออกมา ดอกหนึ่งจะมีกลีบดอก 5 กลีบ มีเกสรเพศผู้ 5 อัน

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 3,330

เหมือดโลด

เหมือดโลด

เหมือดโลดเป็น ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 6-15 เมตร เปลือกต้นสีเทาดำ หนา แตกเป็นร่องลึกตามยาว ยอดอ่อนและช่อดอกมีขนสีน้ำตาลอมเหลืองหม่นขึ้นหนาแน่น ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ แผ่นใบรูปขอบขนานกว้าง หรือรูปรีแกมรูปไข่ กว้าง 6-10 เซนติเมตร ยาว 10-16 เซนติเมตร ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนมนหรือรูปหัวใจตื้น ขอบใบเรียบ หรือมีคลื่นเล็กน้อย ผิวด้านบนมีขนประปราย ผิวใบด้านล่างมีขนสีน้ำตาลแดงหนาแน่น ผิวใบด้านบนค่อนข้างสาก แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง เส้นแขนงใบข้างละ 8-11 เส้น เส้นใบย่อยแบบร่างแหชัดเจนทั้งสองด้าน ก้านใบยาว 1.2-1.8 เซนติเมตร หูใบรูปไข่ยาว 4-6 มิลลิเมตร

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 1,968

ผักเป็ด

ผักเป็ด

ผักเป็ด มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลางและกระจายพันธุ์ไปทั่วโลก ในประเทศไทยพบได้มากในภาคกลาง โดยจัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกขนาดเล็ก มีอายุราว 1 ปี ที่มีลำต้นตั้งตรงหรืออาจเลื้อยก็แล้วแต่สภาพแวดล้อมที่อยู่ ตามข้อของลำต้นจะมีราก ระหว่างข้อต่อมีร่องและมีขนปกคลุมเล็กน้อย ลำต้นมีทั้งสีแดงและสีขาวอมเขียว โดยต้นผักเป็ดนี้จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ขึ้นได้ในทุกสภาพของดิน ไม่ว่าจะเป็นดินแห้งหรือดินแฉะ โดยมักจะพบได้ตามที่รกร้างทั่วไปหรือตามที่ชื้นข้างทาง 

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 15,221

ชำมะเลียง

ชำมะเลียง

ชำมะเลียงเป็นไม้พุ่มถึงไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 8 เมตร ใบชำมะเลียงเป็นใบ ประกอบแบบขนนก ใบย่อยรูปไข่ถึงรูปไข่กลับ กว้าง 2-8 ซม. ยาว 9-30 ซม. ปลายใบแหลมทู่ โคนใบสอบ ผิวใบเกลี้ยง มีหูใบ แผ่เป็นแผ่น รูปเกือบกลม ขนาดกว้าง 2-3.5 ซม. เรียงเวียน ซ้อนกันบริเวณโคนก้านใบใกล้ปลายยอด ดอกชำมะเลียงสีขาวครีม ออกเป็น ช่อห้อย ยาวถึง 75 ซม. แยกเพศ ดอกบานกว้าง 5-7 มม. กลีบรองดอก 4 กลีบ รูปเกือบกลม กลีบดอก 4 กลีบ เกสรผู้ 5-8 อัน รังไข่มี 2 ช่อง

  • ผลชำมะเลียงรูปไข่ถึงรูปรีป้อม สีม่วงดำถึงออกแดง ผิวเกลี้ยงมักมี 2 เมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 1,750

งิ้วแดง

งิ้วแดง

งิ้วจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกว้างถึงขนาดใหญ่ ลักษณะของต้นเป็นรูปทรงพุ่มเป็นรูปไข่ มีความสูงของลำต้นประมาณ 15-25 เมตร (บ้างว่าสูงประมาณ 25-30 เมตร) และความกว้างของทรงพุ่มประมาณ 15 เมตร ลำต้นมีลักษณะเปลาตรงและมีหนามอยู่ทั่วลำต้นและกิ่ง เห็นข้อปล้องไม่ชัดเจน ต้นอ่อนจะเป็นสีเขียวอ่อน เมื่อแก่จะเป็นสีเขียวเข้ม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด โดยจะพบขึ้นในที่ราบและตามป่าเบญจพรรณ

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 12,767

คันทรง

คันทรง

คันทรง จัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลางกึ่งไม้เลื้อย ลำต้นตั้งตรงและมีความสูงของต้นประมาณ 2-3 เมตร บ้างว่าสูงได้ประมาณ 1-9 เมตร แตกกิ่งก้านมากตั้งแต่โคนต้น กิ่งก้านมีขนาดเล็กกลมสีเขียว กิ่งก้านสีเขียวเข้มเป็นมัน เปลือกต้นเป็นสีเทา มีรอยแตกเป็นร่องตื้นๆ ถี่ๆ และตามลำต้นจะมีตาที่ทิ้งใบเป็นตุ่มห่างๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและวิธีการปักชำลำต้น มักขึ้นเองตามป่าราบ ป่าดงดิบ ป่าละเมาะ หรือที่รกร้างข้างทางทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 3,503

เห็ดหอม

เห็ดหอม

ในปัจจุบันบรรดาคนรักสุขภาพทั้งหลายต่างหันมาดูแลเอาใจใส่ในสุขภาพของตัวเองกันมากขึ้น โดยเฉพาะด้านอาหารการกินนั้นเรียกว่าเลือกสรรแต่สิ่งที่ดีมีประโยชน์ให้แก่ร่างกายกัน นับเป็นเรื่องดีที่คนไทยต่างหันมาดูแลสุขภาพกันมากขึ้น ซึ่งอาหารเพื่อสุขภาพอย่างเห็ดหอม หรือชิตาเกะ นั้นก็ถือเป็นอีกหนึ่งอาหารสุขภาพที่คนไทยเราต่างรู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะจะเห็นได้จากกรนำเห็ดหอมมาเป็นส่วนประกอบในอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติและคุณค่าให้แก่เมนูโปรดกัน

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 4,727