งิ้วแดง

งิ้วแดง

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้ชม 12,719

[16.4258401, 99.2157273, งิ้วแดง]

งิ้ว ชื่อสามัญ Cotton tree, Kapok tree, Red cotton tree, Silk cotton, Shving brush
งิ้ว ชื่อวิทยาศาสตร์ Bombax ceiba L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Bombax malabaricum DC., Gossampinus malabarica Merr.) จัดอยู่ในวงศ์ชบา (MALVACEAE) และอยู่ในวงศ์ย่อย BOMBACOIDEAE
สมุนไพรงิ้ว มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า งิ้วบ้าน (ทั่วไป), งิ้วแดง (กาญจนบุรี), งิ้วปง งิ้วปกแดง สะเน้มระกา (ชอง-จันทบุรี), งิ้วป่างิ้วปงแดงงิ้วหนาม, นุ่นนาง, ตอเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), ปั้งพัวะ (ม้ง), บักมี้ (จีน) เป็นต้น

ชนิดของต้นงิ้ว
       ต้นงิ้ว หรือ งิ้วป่า จัดเป็นพืชในสกุล Bombax ในประเทศมีรายงานว่ามีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด ได้แก่
       ชนิดที่ 1 "งิ้ว" มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bombax ceiba L. (กล่าวในบทความนี้)
       ชนิดที่ 2 "งิ้วป่าดอกแดง" มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bombax insigne Wall.
       ชนิดที่ 3 เป็นชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bombax anceps Pierre และยังสามารถแยกออกได้อีก 2 ชนิดย่อย ได้แก่ "งิ้วป่า" (งิ้วป่าดอกขาว) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bombax anceps Pierre var. anceps* (ชื่อวิทยาศาสตร์ไม่แน่ชัด) "ง้าว" มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bombax anceps var. cambodiense (Pierre) Robyns

ลักษณะของต้นงิ้ว
        ต้นงิ้ว จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกว้างถึงขนาดใหญ่ ลักษณะของต้นเป็นรูปทรงพุ่มเป็นรูปไข่ มีความสูงของลำต้นประมาณ 15-25 เมตร (บ้างว่าสูงประมาณ 25-30 เมตร) และความกว้างของทรงพุ่มประมาณ 15 เมตร ลำต้นมีลักษณะเปลาตรงและมีหนามอยู่ทั่วลำต้นและกิ่ง เห็นข้อปล้องไม่ชัดเจน ต้นอ่อนจะเป็นสีเขียวอ่อน เมื่อแก่จะเป็นสีเขียวเข้ม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด โดยจะพบขึ้นในที่ราบและตามป่าเบญจพรรณ ตามเชิงเขาและไหล่เขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-600 เมตร ซึ่งในปัจจุบันต้นงิ้วจะหาดูได้ยากมาก จะมีปลูกเฉพาะถิ่นทางภาคเหนือไม่กี่ที่เท่านั้น
        ใบงิ้ว ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อยประมาณ 3-7 ใบเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรีถึงรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบเรียว ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.5-2.5 นิ้ว และยาวประมาณ 6-10 นิ้ว ใบสีเขียวไม่มีขน แผ่นใบค่อนข้างหนาและเกลี้ยง ก้านช่อใบยาว โคนก้านบวมเล็กน้อย
        ดอกงิ้ว ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามปลายกิ่งหรือตามปลายยอด ดอกมีขนาดใหญ่สีชมพูแกมเลือดหมู สีแดง สีแสด และมีที่เป็นสีทองแต่หาได้ยาก ดอกมีกลิ่นหอมเอียน ออกดอกเป็นกระจุกหรือเป็นกลุ่ม กลุ่มละประมาณ 3-5 ดอก ฐานรองดอกเป็นรูปถ้วยแข็ง ๆ หรือเป็นกลีบเลี้ยงติดกัน ปลายแยกออกเป็น 5 กลีบขนาดเล็ก สีเขียวอ่อน ส่วนกลีบดอกมีขนาดใหญ่และหนา มี 5 กลีบเป็นรูปขอบขนาน เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 8-10 เซนติเมตร ปลายกลีบจะแผ่ออกและม้วนกลับมาทางขั้วของดอก หลุดร่วงได้ง่าย ดอกมีเกสรตัวผู้เป็นเส้นยาวจำนวนมาก เรียงกระจายเป็นวงรอบ สีขาวปนสีชมพู ส่วนเกสรตัวเมียมี 1 ก้าน สีชมพู บริเวณปลายเป็นจุดสีเข้มมีความเหนียว ส่วนรังไข่จะอยู่เหนือวงกลีบ[1],[2] โดยจะออกดอกในช่วงระหว่างเดือนมกราคมต่อเนื่องเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ถึงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี และจะทิ้งใบก่อนมีดอก
        ผลงิ้ว หรือ ฝักงิ้ว ผลมีลักษณะยาวรีคล้ายฝักรูปทรงกระบอก ที่ปลายทั้งสองข้างของผลจะแหลม ผลเมื่ออ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาล เปลือกของผลแข็ง มีความยาวประมาณ 6-8 นิ้ว และเมื่อแก่จัดจะแตกอ้าออกตามรอยประสาน ในผลมีเส้นหรือปุยสีขาวและมีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก ลักษณะเป็นรูปทรงกลมสีดำ และถูกห่อหุ้มด้วยปุยฝ้ายสีขาวๆ สามารถปลิวไปตามลมได้ไกล
        สารเคมีที่พบ : เปลือกต้นมีสารที่สกัดด้วยน้ำอยู่ 9.92% ในใบมี condensed tannins ส่วนรากมีโปรตีน, แป้ง, ไขมัน, arabinose, galactose, gum และ tannins ส่วนเปลือก ราก จะมีพวกเกลือแร่ ไขมัน โปรตีน แป้ง และความชื้นอยู่ 7.5% ในเมล็ดมีน้ำมันประมาณ 24-25% และในยางมีเกลือแร่ 8.9%

สรรพคุณต้นงิ้ว

  1. รากใช้เป็นยาบำรุงกำลัง (ราก)
  2. ยางใช้เป็นยาบำรุงโลหิต (ยาง)
  3. ช่วยแก้โรคมะเร็ง (เมล็ด)
  4. เปลือกต้นช่วยบำรุงระบบการไหลเวียนของโลหิต (เปลือกต้น)
  5. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง ด้วยการใช้เปลือกต้นงิ้วแดง 1 กิโลกรัม นำมาล้างให้สะอาดและหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำไปใส่ในหม้อต้มยาสมุนไพร เติมน้ำสะอาดลงไป 5 ลิตรและต้มจนเดือด แล้วให้รินเอาแต่น้ำมาดื่มครั้งละ 1 แก้ว (250 มิลลิเมตร) วันละ 2 ครั้งทุกเช้าและเย็น (น้ำงิ้วที่ได้จะมีสีแดงเหมือนน้ำกระเจี๊ยบ) (เปลือกต้น)
  6. ดอกแห้งใช้ทำเป็นยาแก้พิษไข้ได้ดีมาก (ดอก) ส่วนหนามมีสรรพคุณแก้ไข้ ลดความร้อน ดับพิษร้อน (หนาม) ช่วยแก้ไข้พิษ ไข้กาฬ (หนาม)
  7. ช่วยระงับประสาท (ดอก)
  8. ช่วยแก้อาการกระหายน้ำ (ดอก)
  9. รากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาทำให้อาเจียนถอนพิษ (ราก, เปลือกต้น)
  10. ช่วยรักษาต่อมทอนซิลอักเสบ ต่อมในคออักเสบ (ใบ)
  11. ช่วยแก้ต่อมน้ำลายอักเสบ (ใบ)
  12. ช่วยรักษากระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง (เปลือกต้น, ราก)
  13. ช่วยแก้อาการท้องเสีย ลงท้อง (เปลือกต้น, ราก, ดอก, ผล) บรรเทาอาการท้องเดิน (เปลือกต้น, ดอก)
  14. เปลือกต้นช่วยแก้บิด (เปลือกต้น, ดอก, ยาง) แก้บิดมูกเลือด (ดอก) ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าดอกแดงจะใช้แก้บิดเลือด (บิดถ่ายเป็นเลือด) ให้นำดอกมาต้มเป็นน้ำชาผสมกับน้ำตาลทรายแดง ใช้ดื่มตอนท้องว่างวันละ 3 ครั้ง ส่วนดอกเหลืองจะใช้แก้บิดมูก ให้ใช้ดอกเหลืองหรือส้มที่เป็นดอกแห้ง เข้าใจว่าใช้ต้มเป็นน้ำชาดื่ม
  15. ช่วยแก้อาการท้องร่วง โดยใช้ดอกตากแห้งนำมาต้มกับน้ำดื่ม (ยางจากต้น, เปลือกต้น, ดอก)
  16. ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร (ราก, เปลือกราก)
  17. ช่วยแก้ตัวพยาธิ (ราก, เปลือกต้น, ดอก, ผล)
  18. ช่วยขับปัสสาวะ (ดอก, ราก)
  19. เมล็ดใช้เป็นยาร่วมกับพิมเสน ใช้รักษาโรคหนองในเรื้อรัง (เมล็ด)
  20. ช่วยแก้ระดูตกหนักหรือออกมากเกินไป (ยาง)
  21. ช่วยแก้อาการตกโลหิต (เปลือกต้น, ราก, ดอก, ผล)
  22. ช่วยแก้ไตพิการ ไตชำรุด ไตอักเสบ ด้วยการใช้เปลือกต้นงิ้วแดงนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ตากแดดให้แห้ง นำมาต้มกินต่างน้ำทุกวัน (หรือจะเอาน้ำต้มจากเปลือกไปหมักเพื่อทำเอนไซม์ก็ได้) (เปลือกต้น)
  23. ผลอ่อนใช้บำบัดรักษาแผลเรื้อรังในไต (ผลอ่อน)
  24. ช่วยขับน้ำเหลืองเสีย (ยาง)
  25. ดอกและรากมีสรรพคุณช่วยห้ามเลือด (ดอก, ราก, เปลือกราก, ยาง) ส่วนเมล็ดมีสรรพคุณช่วยห้ามเลือดภายใน (ยาง)
  26. รากของต้นอ่อนใช้พอกสมานแผล (เปลือกต้น, ราก, เปลือกราก) ช่วยฝากสมาน (ยาง)
  27. ใบและยอดอ่อนใช้ตำพอกรักษาฝี (ใบ)[7]ส่วนรากช่วยแก้ฝีเปื่อยพัง (ราก, เปลือกต้น, ดอก, ผล) หนามช่วยแก้ฝีประคำร้อย (หนาม) และยังช่วยดับพิษฝี แก้พิษฝีต่าง ๆ (หนาม,ใบ)[13]
  28. ช่วยรักษาแผล ฝีหนอง (ดอก) หากเป็นแผลที่มีหนอง ให้ใช้เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำแล้วนำมาใช้ชะล้างทำความสะอาดแผล (เปลือกต้น)
  29. ช่วยรักษาโรคผิวหนัง (เมล็ด)
  30. ช่วยแก้อาการคัน (ดอก)
  31. ช่วยแก้หัวลำมะลอก (เม็ดที่ขึ้นตามตัวเป็นหนองพุพองมีพิษ), หัวดาวหัวเดือน (เม็ดตุ่มที่ผุดขึ้นตามตัว มีพิษมาก มักขึ้นที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และนิ้วมือนิ้วเท้า) (ใบ)
  32. ช่วยแก้พิษงูทุกชนิด (ราก,ใบ,ผล)
  33. ดอกแห้งใช้ทำเป็นยาระงับอาการปวด (ดอก)
  34. ใบแห้งหรือใบสดนำมาตำใช้ทาแก้อาการฟกช้ำ แก้บวม มีอาการอักเสบ (ใบ, ราก, ดอก, ผล) บรรเทาอาการฟกช้ำบวมจากการกระแทก ด้วยการใช้รากสดนำมาแช่เหล้า ใช้ถูทาหรือตำพอก (ดอก, เปลือกต้น, ราก, เปลือกราก)
  35. ใช้ทาแก้น้ำร้อนลวก (ดอก)
  36. ช่วยแก้อัมพาต เอ็นอักเสบ (เปลือกต้น)[4]ใช้แก้คนที่เป็นอัมพาตครึ่งตัว (เปลือกต้น)
  37. ชาวโอรังอัสลีในรัฐเประของประเทศมาเลเซียใช้ใบสดนำมาแช่กับน้ำต้มอาบเพื่อใช้รักษาอาการปวดเมื่อย (ใบ)
  38. เมล็ดใช้เป็นยากระตุ้นความต้องการทางเพศ (ยาง)
  39. ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของงิ้วแดง มีฤทธิ์ในการต้านไทอะมีนและมีผลต่อลำไส้ของหนูตะเภา และช่วยยับยั้งเอดส์

ประโยชน์ของงิ้ว

  1. เกสรตัวผู้จากดอกนำไปตากแห้ง ใช้โรยในขนมจีนน้ำเงี้ยวรับประทาน หรือจะใช้ปรุงเป็นแกงแคทางภาคเหนือก็อร่อยเช่นกัน อีกทั้งยังมีคุณค่าทางอาหารสูงมาก โดยมีธาตุแคลเซียมสูงถึง 429 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม ซึ่งสูงกว่านมที่มีแคลเซียมอยู่ประมาณ 123 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม
  2. เกสรตัวผู้แห้งยังสามารถนำมาใช้แต่งสีของแกงส้มหรือแกงกะหรี่เพื่อช่วยเพิ่มสีสันให้น่ารับประทานมากขึ้นได้อีกด้วย
  3. ดอกสดใช้ลวกจิ้มรับประทานกับน้ำพริกและแกงส้ม
  4. ดอกใช้ผสมกับข้าวโพดทำเป็นขนมแผ่นรับประทานได้
  5. ใบและยอดอ่อนใช้เป็นอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงได้เป็นอย่างดี
  6. รากอ่อนใช้เป็นยาและใช้เป็นอาหารเมื่อยามขาดแคลน ดอกและยางใช้ทำเป็นยารักษาโรค
  7. ใช้ปลูกไม้ประดับในสนามกว้าง ๆ ทั่วไป ต้นงิ้วมีรูปทรงของลำต้นที่สวยงาม สูงเด่นดูสง่า เรือนยอดแผ่กว้างให้ร่มเงาได้เป็นอย่างดี สามารถเพาะปลูกได้ง่าย เป็นไม้ผลัดใบทั้งต้นให้ดอกสีแดงหรือสีเหลืองทั้งต้น ดอกมีขนาดใหญ่ สีสันสดใสสวยงาม
  8. ต้นงิ้วเป็นไม้เนื้ออ่อน สีขาวหรือเหลืองอ่อน เสี้ยนหยาบ ไม่ทนทานมากนัก ผุและเปื่อยได้ง่าย นิยมนำมาใช้ทำหีบและลังสำหรับใส่ของ ใช้ทำไม้อัด ไม้จิ้มฟัน ก้านไม้ขีด กล่องไม้ขีด ทำของเล่นเด็ก ใช้ทำเยื่อกระดาษก็ได้ ส่วนชาวกระเหรี่ยงแดงจะใช้เนื้อไม้สำหรับสร้างบ้าน หรือนำมาแปรรูปทำไม้แบบหรือไม้ต่อโลงศพ ปราสาทเผาศพ
  9. เปลือกต้นให้เส้นใย สามารถนำมาใช้ทำเชือกได้ โดยจะมีความเหนียวมากแต่จะแข็งและหยาบ จึงเหมาะที่จะใช้มัดของใหญ่ ๆ
  10. ปุยนุ่นของฝักหรือผลแก่สามารถนำมาใช้ทำเครื่องนุ่งห่ม ด้วยการนำมาใช้ยัดเบาะ ฟูก หมอน ฯลฯ
  11. ใช้ทำชนวนตู้เย็น เข้าใจว่าคือเส้นใยหรือยุ่ยจากฝัก
  12. น้ำมันจากเมล็ดสามารถนำมาใช้ปรุงอาหาร ใช้ทำสบู่ได้
  13. ชาวเหนือและชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะนำเปลือกงิ้วแดงมาทำสี โดยจะให้สีน้ำเงิน ใช้สำหรับย้อมสีจำพวกผ้าฝ้ายได้

คำสำคัญ : งิ้วแดง

ที่มา : ้https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). งิ้วแดง. สืบค้น 29 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1589&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1589&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

เขยตาย

เขยตาย

เขยตาย จัดเป็นพรรณไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 2-4 เมตร แตกกิ่งก้านต่ำตั้งแต่โคนต้นเป็นพุ่มเตี้ย ลำต้นเป็นเหลี่ยม เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอมเทา ผิวลำต้นตกกระเป็นวงสีขาว ใบออกดกทึบ ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำ เป็นพืชในเขตร้อนของทวีปเอเชียและออสเตรเลีย พบได้ในอินเดีย พม่า จีนตอนใต้ ประเทศในแถบคาบสมุทรอินโดจีน สุมาตราและชวา ส่วนในประเทศไทยพบขึ้นตามป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณ ตามชายป่าและหมู่บ้าน

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 7,609

เอื้องหมายนา

เอื้องหมายนา

เอื้องหมายนา มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงเกาะนิวกินี จัดเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน มักขึ้นเป็นกอๆ มีความสูงของต้นประมาณ 1-3 เมตร ไม่แตกกิ่งก้านสาขา ลำต้นกลมฉ่ำน้ำและเป็นสีแดง วัดเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นได้ประมาณ 1.5 เซนติเมตร รากเป็นหัวใหญ่ยาว ที่โคนแข็งเหมือนไม้ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการแตกหน่อ เจริญเติบโตได้ดีร่วนระบายน้ำดี ต้องการน้ำค่อนข้างมาก ควรปลูกในที่มีแสงแดดร่มรำไร มักพบขึ้นตามบริเวณที่มีความชุ่มชื้น ใต้ต้นไม้ใหญ่ ตามน้ำตก ชายน้ำ ริมทางน้ำ ริมหนองบึง ตามบริเวณเชิงเขา และป่าดิบชื้นทั่วทุกภาคของประเทศ

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 22,039

ใบต่อก้าน

ใบต่อก้าน

ใบต่อก้าน จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นทอดยาวไปตามพื้นดิน หรือโค้งแล้วตั้งตรง สูงได้ประมาณ 0.5-1 เมตร มีขนนุ่ม ๆ ขึ้นปกคลุมทั่วไปตามลำต้นและตามกิ่งก้านที่โคน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุ์ในแอฟริกาตะวันออก ปากีสถาน เนปาล อินเดีย บังกลาเทศ ศรีลังกา จีน กัมพูชา พม่า ลาว เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ หมู่เกาะแปซิฟิก และมาดากัสการ์ ส่วนในประเทศไทยพบขึ้นกระจายแบบห่าง ๆ แทบทุกภาคของประเทศ ยกเว้นทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ โดยมักขึ้นตามพื้นที่เป็นหิน เขาหินปูน หรือพื้นที่ปนทรายที่แห้งแล้ง ตามที่โล่ง ทุ่งหญ้า ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง

เผยแพร่เมื่อ 04-06-2020 ผู้เช้าชม 2,148

เทียนกิ่ง

เทียนกิ่ง

เทียนกิ่ง (Henna Tree, Mignonette Tree, Sinnamomo, Egyptian Privet) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น เทียนป้อม, เทียนต้น, เทียนย้อม หรือเทียนย้อมมือ เป็นต้น ซึ่งต้นเทียนกิ่งนั้นเป็นพืชพรรณไม้ของต่างประเทศ โดยมีแหล่งกำเนิดอยู่ทางตอนเหนือของประเทศแอฟริกา, ออสเตรเลีย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ในประเทศที่มีสภาพภูมิอากาศที่สามารถเพาะปลูกต้นเทียนกิ่งนี้ได้ดีคือ อียิปต์, อินเดีย และซูดาน

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 4,420

ต้นหมีเหม็น

ต้นหมีเหม็น

มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Litsea glutinosa C.B. Robinson ในวงศ์ Lauraceae บางถิ่นเรียก ดอกจุ๋ม(ลำปาง) ตังสีไพร(พิษณุโลก) ทังบวน(ปัตตานี) มะเย้อ ยุบเหยา(พายัพ) มัน(ตรัง) หมี(อุดรธานี) หมูทะลวง(จันทบุรี) หมูเหม็น(แพร่) อีเหม็น(กาญจนบุรี ราชบุรี) กำปรนบาย(ชอง-จันทบุรี) มือเบาะ(มาเลย์-ยะลา)

เผยแพร่เมื่อ 06-02-2017 ผู้เช้าชม 3,002

มะตูม

มะตูม

มะตูมเป็นผลไม้ที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย เป็นพันธุ์ไม้มงคลประจำจังหวัดชัยนาทและยังถือว่าเป็นพันธุ์ไม้มงคลของศาสนาฮินดูที่นิยมปลูกในบ้านเราอีกด้วย โดยถือเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของพระศิวะ ส่วนบ้านเรานั้นมีความเชื่อว่าใบมะตูมสามารถนำมาใช้ป้องกันภูตผีปีศาจ เสนียดจัญไรได้ และมะตูมยังจัดว่าเป็นทั้งผลไม้ที่ดีต่อสุขภาพและเป็นยาสมุนไพรที่เรารู้จักมาเนิ่นนาน เชื่อว่าหลายๆ คนคงเคยกินน้ำมะตูมกันมาบ้างแล้วล่ะ แต่น้อยคนนักที่จะรู้ถึงสรรพคุณของมะตูมหรือประโยชน์ของมะตูม 

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 1,259

ผักกวางตุ้ง

ผักกวางตุ้ง

กวางตุ้ง เป็นผักที่นิยมนำมาประกอบอาหาร ไม่ว่าจะผัดหรือต้มเป็นแกงจืด ให้รสชาติหวานกรอบ โดยเฉพาะเมนูบะหมี่หมูแดงหรือเกี๊ยวก็จะมีผักชนิดนี้แซมอยู่เสมอ โดยสามารถรับประทานได้ทั้งลำต้น ใบ และดอก ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริโภค แต่จะนิยมนำมาปรุงให้สุกก่อนนำมารับประทาน ตามธรรมชาติแล้วผักกวางตุ้งจะมีเส้นใยเหนียวๆ เคี้ยวยากสักหน่อย

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 12,402

ถั่วฝักยาว

ถั่วฝักยาว

ถั่วฝักยาว (Cow Pea, Chinese Long Bean) เป็นพืชผักสมุนไพรจำพวกเถา ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคกลางเรียก ถั่วนา, ถั่วขาว หรือถั่วฝักยาว ส่วนภาคเหนือเรียก ถั่วหลา, ถั่วปี หรือถั่วดอก เป็นต้น ซึ่งถั่วฝักยาวนี้มีแหล่งกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดียและจีน เรียกว่าเป็นพืชผักสมุนไพรที่ชาวเอเชียเรานิยมนำมาประกอบอาหารรับประทานกันเป็นอย่างมากชนิดหนึ่งเลยก็ว่าได้ และในถั่วฝักยาวนี้ก็ยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินที่สำคัญและจำเป็นต่อมนุษย์เราหลากหลายชนิดเลยทีเดียว เช่น ธาตุเหล็ก, ฟอสฟอรัส, แมกนีเซียม, โพแทสเซียม, วิตามินเอ, วิตามินบี, วิตามินซี, โฟเลต, แมงกานีส ฯลฯ

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 7,615

อีเหนียว

อีเหนียว

อีเหนียว จัดเป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง มีความสูงของต้นประมาณ 60-150 เซนติเมตร กิ่งก้านอ่อน แตกกิ่งก้านที่ปลาย ตามลำต้นมีขนปกคลุมหนาแน่นถึงปานกลาง มีขนาดยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร มีเขตการกระจายพันธุ์แอฟริกา เอเชีย มาเลเซีย และพบในทุกภาคของประเทศไทยตามป่าโปร่งทั่วไป ป่าเปิดใหม่ ที่ระดับสูงถึง 1,900 เมตร จากระดับน้ำทะเล

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 2,437

กระแจะ

กระแจะ

ต้นกระแจะเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ต้น หรือไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เนื้อไม้สีขาว เปลือกต้นสีน้ำตาล ขรุขระ ลำต้นและกิ่งมีหนาม มีหนามแข็ง และยาว หนามออกเดี่ยวหรือเป็นคู่ ตรง ยาวได้ถึง 5 เซนติเมตร ไม่ผลัดใบ สูง 8-15 เมตร ลำต้นเปลาตรง แตกกิ่งต่ำ กิ่งก้านตั้งฉากกับลำต้น กิ่งอ่อนและยอดอ่อนเกลี้ยง ใบกระแจะเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว เรียงสลับ ใบย่อย 4-13 ใบ รูปวงรีแกมไข่กลับ กว้าง 5-3 เซนติเมตร ยาว 2-7 เซนติเมตร ก้านใบแผ่เป็นปีก ลักษณะเป็นครีบออกสองข้าง เป็นช่วงๆ ระหว่างคู่ใบย่อย โคนและปลายใบสอบแคบ 

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,295