กระตังใบ (กระตังบาย)

กระตังใบ (กระตังบาย)

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้ชม 3,497

[16.4258401, 99.2157273, กระตังใบ (กระตังบาย)]

ชื่ออื่นๆ : ต้างไก่(อุบลราชธานี), คะนางใบ(ตราด), ตองจ้วม, ตองต้อม(เหนือ), บั่งบายต้น(ตรัง), ช้างเขิง, ดังหวาย(นราธิวาส), เรือง, กะตังบาย, กะตังใบ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lee indica (Burm.f.) Merr.
ชื่อวงศ์ : Leeaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
        ต้นกระตังใบเป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 1-3 เมตร แตกกิ่งก้านตั้งแต่โคนต้น ลำต้นเกลี้ยง หรือปกคลุมด้วยขนสั้นๆ
        ใบกระตังใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 1-3 ชั้น ใบย่อยมี 3-7 ใบ ถึงจำนวนมาก ปลายใบคี่ เรียงแบบสลับ ใบย่อยออกเป็นคู่ตรงข้าม หูใบรูปไข่กลับ แผ่เป็นแผ่นกว้าง มักจะเกลี้ยง หรือมีขนประปราย หูใบร่วงง่าย ทำให้เกิดรอยแผลเป็นรูปสามเหลี่ยมกว้าง เกลี้ยง หรือมีขนสั้นปกคลุม ใบย่อยรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ถึงรูปหอกแกมรูปไข่ หรือรูปรี หรือรูปใบหอกแกมรี  ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลม โคนใบสอบ หรือกลม หรือเว้า เล็กน้อย ขอบใบจักมน หรือจักแบบฟันเลื่อย หรือแบบซี่ฟันตื้นๆเนื้อใบหนาปานกลาง ด้านล่างมีต่อมขนาดเล็กรูปเหลี่ยม หรือกลม เส้นใบมี 6-16 คู่ หลังใบและท้องใบเป็นลอนตามแนวเส้นใบ
        ดอกกระตังใบออกเป็นช่อตั้งขึ้น ตามซอกใบ ก้านช่อดอก ดอกย่อยสีเขียวอ่อน มีจำนวนมาก ดอกตูมรูปทรงกลมสีแดงเข้มพอบานมีสีขาว กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ที่โคน ปลายแยกเป็นแฉกแหลม 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ เชื่อมติดกันที่โคน เกสรเพศผู้มี 5 อัน ติดอยู่กับหลอดเกสรเพศผู้ ปลายอับเรณูจะโผล่พ้นหลอดออกไปเป็นแฉกมนๆ ปลายแฉกเว้า เกสรเพศเมียมี 6 ช่อง แต่ละช่องมีไข่ 1 เมล็ด ก้านเกสรสั้น ปลายมน
        ผลกระตังใบกลม แป้น ผิวบาง มีเนื้อนุ่ม ผลอ่อนมีสีเขียวพอแก่จัดมีสีแดงเข้มจนถึงสีม่วงดำ มี 6 เมล็ด ผลรับประทานได้

ส่วนที่ใช้ทำยา : ใบ, น้ำยาง, ทั้งต้น,  ราก
สรรพคุณกระตังใบ :
        ใบย่างไฟให้เกรียม ใช้พอกศีรษะ แก้วิงเวียน มึนงง ตำเป็นยาพอกแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และแก้ผื่นคันตามผิวหนัง
        น้ำยางจากใบอ่อนกินเป็นยาช่วยย่อย
        ทั้งต้นผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่ม รักษามะเร็งเต้านม
        รากรสเย็นเมาเบื่อ ต้มน้ำกินเป็นยาแก้ปวดท้อง ท้องเสีย แก้บิด ขับเหงื่อ และเป็นยาเย็น แก้อาการกระหายน้ำ แก้ไข้ แก้ไข้รากสาด แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว ดับร้อน นำรากผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่ม วันละ 3 ครั้ง จนยาหมดรสฝาด แก้ตกขาว มะเร็งลำไส้ มะเร็งมดลูก

คำสำคัญ : กระตังใบ (กระตังบาย)

ที่มา : https://www.samunpri.com

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). กระตังใบ (กระตังบาย). สืบค้น 29 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1553&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1553&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ผักแพว

ผักแพว

ผักแพว จัดเป็นพืชล้มลุก มีลำต้นสูงประมาณ 30-35 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรง มีข้อเป็นระยะๆ ตามข้อมักมีรากงอกออกมา หรือลำต้นเป็นแบบทอดเลื้อยไปตามพื้นดินและมีรากงอกออกมาตามส่วนที่สัมผัสกับพื้นดิน เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในที่ชื้นแฉะ เช่น ในบริเวณห้วย หนอง คลอง บึง หรือตามแอ่งน้ำต่าง ๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการใช้ลำต้นปักชำ (เมล็ดงอกยาก นิยมใช้กิ่งปักชำมากกว่า) พรรณไม้ชนิดนี้เป็นพืชล้มลุก พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย เพราะเกิดได้เองตามธรรมชาติ

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 7,385

เทพธาโร

เทพธาโร

เทพธาโร (Cinnamomum porrectum Kosterm) หรืออบเชยจีน, ไม้การบูร เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก จะไดหอม หรือจะไดต้น ส่วนภาคใต้เรียก จวงหอม หรือจวง และภาคอีสานเรียก ตะไคร้ต้น หรือปูต้น ตลอดจนชาวมลายูเรียก มือแดกะมางิง เป็นต้น ซึ่งเทพธาโรนั้นจัดเป็นไม้หอมชนิดหนึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกันกับอบเชย โดยเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดพังงา มักพบกระจายพันธุ์ในแถบเอเชียเขตร้อน ส่วนในประเทศไทยนั้นจะพบต้นเทพธาโรนี้ตามเขาในป่าดงดิบ โดยเฉพาะในภาคใต้ของไทย และถือเป็นไม้พื้นเมืองเก่าแก่ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเลยทีเดียว

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 1,959

โทงเทง

โทงเทง

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ต้นล้มลุกระบบรากแก้ว  เนื้อไม้อ่อน  แตกกิ่งก้านมาก ทรงพุ่มสูง ประมาณ 40-60 ซม.  ใบเป็นใบเดี่ยว ออกจากลำต้นลักษณะเรียงสลับกัน รูปไข่ ค่อนข้างกลม ปลายใบแหลมสั้น ฐานใบโค้งมน ด้านบนแผ่นใบสีเขียว ก้านใบยาวประมาณ 2 – 4 ซม.มีขนขึ้นปกคลุมก้านใบ  ดอกเป็นดอกเดี่ยว เกิดตามซอกใบมีกลีบเลี้ยงเป็นแผ่นสีเขียวบาง ๆ 5 กลีบ มีขน กลีบเลี้ยงจะเจริญขยายใหญ่ขึ้นมากหุ้มผลคล้ายโคมไฟจีน กลีบดอกมี 5 กลีบ สีเหลืองอ่อน หรือสีเขียวอ่อน บริเวณส่วนฐานของกลีบ มีเกสตัวผู้ 5 อัน ติดที่ฐานกลีบดอก เกสรตัวเมียเป็นเส้นตรงและมีตุ้มที่ปลาย  รังไข่แบ่งเป็น 2 ห้อง

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,185

สายน้ำผึ้ง

สายน้ำผึ้ง

สายน้ำผึ้ง มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชีย เช่น ประเทศไทย จีน ญี่ปุ่น จัดเป็นไม้เถาเลื้อยพัน มีอายุหลายปี มีความยาวประมาณ 9 เมตร เถามีลักษณะกลมเป็นสีน้ำตาล ส่วนเนื้อในเถากลวง แตกกิ่งก้านสาขาออกมากมายเป็นทรงพุ่ม ตามกิ่งอ่อนมีขนสั้นนุ่มสีน้ำตาลปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ ตอนกิ่ง และเพาะเมล็ด (แต่การปักชำเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด) โดยจัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่เจริญเติบโตได้ดีสวยในดินร่วนซุยและมีความชื้นปานกลาง มักพบขึ้นมากทางป่าแถบภูเขา

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 4,550

มะนาว

มะนาว

หลายคนสงสัยว่า แล้วคำว่า Lemon ที่ในบ้านเราเข้าใจว่ามันคือมะนาว แล้วตกลงมันคืออะไร จริง ๆ แล้วเลมอน (Lemon) ความหมายที่ถูกต้องของมันก็คือ ผลส้มชนิดหนึ่งที่มีหัวท้ายมนหรือมะนาวที่มีผลเป็นลูกออกสีเหลืองใหญ่ ไม่ใช่ผลกลมๆ สีเขียวลูกเล็กๆ อย่างมะนาวที่เราคุ้นเคย การปลูกมะนาว เดิมแล้วมะนาวเป็นพืชพื้นเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้ที่อยู่ในภูมิภาคนี้จีงรู้จักการใช้ประโยชน์จากมะนาวกันเป็นอย่างดี ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือประเทศไทยนี่เอง

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 1,667

รากสามสิบ

รากสามสิบ

รากสามสิบ จัดเป็นไม้เถาเนื้อแข็งเลื้อยพันต้นไม้อื่นด้วยหนาม สามารถเลื้อยปีนป่ายต้นไม้อื่นขึ้นไปได้ แตกแขนงเป็นเถาห่างๆ ลำต้นเป็นสีเขียวหรือสีขาวแกมเหลือง เถามีขนาดเล็กเรียว กลม เรียบ ลื่น และเป็นมัน เถาอ่อนเป็นเหลี่ยม ตามข้อเถามีหนามแหลม หนามมีลักษณะโค้งกลับ  บริเวณข้อมีกิ่งแตกแขนงแบบรอบข้อ และกิ่งนี้จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวลักษณะแบนเป็นรูปขอบขนาน ปลายแหลม ทำหน้าที่แทนใบ มีเหง้าและรากอยู่ใต้ดิน ออกเป็นกระจุกคล้ายกระสวย ลักษณะของรากออกเป็นพวงคล้ายรากกระชาย ลักษณะอวบน้ำ เป็นเส้นกลมยาว มีขนาดโตกว่าเถามาก

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 6,307

ว่านมหาเมฆ

ว่านมหาเมฆ

ต้นว่านมหาเมฆ จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีความสูงได้ประมาณ 80-150 เซนติเมตร มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ลักษณะของเหง้าเป็นสีเหลืองอมเขียวอ่อน หรือเป็นสีม่วงอมน้ำเงิน จึงมีคนเรียกว่า "ขิงดำ" หรือ "ขิงสีน้ำเงิน" ความยาวของเหง้ามีขนาดประมาณ 12 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร หัวหรือเหง้าเมื่อเก็บไว้นานหลายปีจะเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีเหลือง พรรณไม้ชนิดนี้ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ระบายน้ำดี มักขึ้นตามดินทราย ทุ่งหญ้า ป่าเบญจพรรณ และในป่าราบทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 28-05-2020 ผู้เช้าชม 6,774

กำลังพญาเสือโคร่ง

กำลังพญาเสือโคร่ง

ต้นกำลังพญาเสือโคร่งนี้เป็นไม้ยืนต้นสูงขนาดใหญ่ โดยมีความสูงของลำต้นประมาณ 20-40 เมตร เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลอมเทาเหลือบดำ และมีต่อมระบายอากาศอยู่มีลักษณะเป็นจุดเล็กๆ สีขาว ทรงกลมหรือรีกระจายกันอยู่ โดยมีกลิ่นคล้ายกับการบูร สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด ส่วนใบมีรูปทรงไข่แกมรูปหอก ใบบางหรือหนาด้านใต้มีตุ่มอยู่ ขอบใบหยักเป็นแบบฟันเลื่อย 2 ถึง 3 ชั้น โคนใบป้าน และปลายเรียวแหลม ส่วนดอกนั้นจะคล้ายหางกระรอก โดยออกดอกตามง่ามใบ และต้นกำลังพญาเสือโคร่งนี้จะออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ และมีจะมีลักษณะแบน ผลแก่มักร่วงหล่นจากต้นได้ง่าย โดยออกผลในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 3,849

ว่านตีนตะขาบ

ว่านตีนตะขาบ

ว่านตีนตะขาบ จัดเป็นพรรณไม้ขนาดเล็ก ลำต้นเป็นปล้อง ๆ มีลักษณะกลมโตเท่ากับหางหนูมะพร้าวอ่อน แต่เมื่อลำต้นนั้นสูงขึ้นก็จะกลายเป็นไม้เลื้อย ต้นหนึ่งจะยาวได้ประมาณ 7-10 ฟุต ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำ ใบว่านตีนตะขาบ ใบจะออกติดกันเป็นปีกสองข้าง จากโคนต้นจนถึงยอด ดูคล้ายตะขาบ 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 13,372

ต้นหมีเหม็น

ต้นหมีเหม็น

มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Litsea glutinosa C.B. Robinson ในวงศ์ Lauraceae บางถิ่นเรียก ดอกจุ๋ม(ลำปาง) ตังสีไพร(พิษณุโลก) ทังบวน(ปัตตานี) มะเย้อ ยุบเหยา(พายัพ) มัน(ตรัง) หมี(อุดรธานี) หมูทะลวง(จันทบุรี) หมูเหม็น(แพร่) อีเหม็น(กาญจนบุรี ราชบุรี) กำปรนบาย(ชอง-จันทบุรี) มือเบาะ(มาเลย์-ยะลา)

เผยแพร่เมื่อ 06-02-2017 ผู้เช้าชม 3,001