มะขามแขก

มะขามแขก

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้ชม 7,923

[16.4258401, 99.2157273, มะขามแขก]

มะขามแขก ชื่อสามัญ Alexandria senna, Alexandrian senna, Indian senna, Tinnevelly senna

มะขามแขก ชื่อวิทยาศาสตร์ Senna alexandrina Mill. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cassia angustifolia M.Vahl, Cassia angustifolia Vahl) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE)

ลักษณะของมะขามแขก

  • ต้นมะขามแขก จัดเป็นไม้พุ่ม มีความสูงของต้นประมาณ 0.5-1.5 เมตร เป็นพืชทนแร้ง ไม่ชอบที่น้ำท่วมขัง เพราะจะทำให้รากเน่า สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินที่ลักษณะร่อน มีความอุดมสมบูรณ์ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการใช้ต้นกล้า
  • ใบมะขามแขก ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยเป็นรูปวงรีและใบรูปหอก ใบแห้งมีสีเขียวอมน้ำตาล ขอบใบเรียบ ปลายและโคนใบแหลม โคนใบทั้งสองมีขนาดไม่สมมาตรกัน และมีขนนุ่มปกคลุมอยู่ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร ใบมีกลิ่นเหม็นเขียว มีรสเปรี้ยว หวานชุ่ม
  • ดอกมะขามแขก ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบตอนปลายกิ่ง กลีบดอกมีสีเหลือง
  • ผลมะขามแขก หรือ ฝักมะขามแขก ลักษณะของผลเป็นฝักแบน รูปขอบขนาน ฝักอ่อนมีสีเขียว

สมุนไพรมะขามแขก มีสรรพคุณที่โดดเด่นในเรื่องของการใช้เป็นยาถ่าย เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ ผู้ที่มีกำลังน้อย เด็ก คนที่เป็นริดสีดวง หรือผู้ที่มีปัญหาท้องผูกอยู่บ่อย ๆ เนื่องจากมีสารแอนทราควิโนน (Anthraquinones) ที่มีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ให้ถ่ายท้องได้ โดยส่วนที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้แก่ ส่วนของใบแห้งและฝักแห้งที่มีอายุในช่วง 1 เดือนครึ่ง (หรือช่วงก่อนออกดอก) แต่ควรใช้เป็นครั้งคราวเท่านั้นเพื่อความปลอดภัย

สรรพคุณของมะขามแขก

  1. ใบและฝักมะขามแขกใช้ปรุงเป็นยาถ่าย ยาระบายได้ดี และช่วยแก้อาการท้องผูกได้ โดยให้นำใบมะขามแขกประมาณ 2 หยิบมือ (ประมาณ 2 กรัม) หรือจะใช้ฝักประมาณ 10-15 ฝัก นำมาต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้วประมาณ 4 นาที และใส่เกลือเล็กน้อยเพื่อช่วยกลบรสเฝื่อน แล้วใช้รับประทานเพียงครั้งเดียว หรืออีกวิธีจะใช้วิธีการบดใบแห้งให้เป็นผง ใช้ชงกับน้ำดื่มก็ได้ สำหรับบางรายที่ดื่มแล้วเกิดอาการไซ้ท้อง หรืออาการปวดมวนท้อง (ใบจะออกฤทธิ์ไซ้ท้องมากกว่าฝัก) ให้แก้ไขด้วยการนำมาต้มรวมกับยาขับลมปริมาณเพียงเล็กน้อย เช่น กานพลู ขิง อบเชย กระวาน เพื่อช่วยบรรเทาอาการไซ้ท้องและเพื่อแต่งรสให้ดีขึ้น (ใบ, ฝัก)
  2. ใบมะขามแขกช่วยทำให้อาเจียน (ใบ)
  3. ช่วยถ่ายพิษไข้ (ใบ, ฝัก)
  4. ช่วยถ่ายพิษเสมหะ (ใบ)
  5. ช่วยแก้อาการสะอึก (ใบ)
  6. ช่วยขับลมในลำไส้ (ใบ, ฝัก)
  7. ช่วยกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ (ใบ)
  8. ช่วยถ่ายพิษอุจจาระเป็นมูก (ใบ)
  9. ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร (ใบ, ฝัก)
  10. ใบใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ (ใบ)
  11. ช่วยถ่ายโรคบุรุษ (ใบ)
  12. ช่วยถ่ายน้ำเหลือง (ใบ)
  13. ช่วยลดอาการบวมน้ำ (ใบ)
  14. มีรายงานว่าได้มีการใช้มะขามแขกในคนไข้หลังผ่าตัดคว้านต่อมลูกหมาก และพบว่ามะขามแขกช่วยทำให้ถ่ายอุจจาระที่มีลักษณะอันพึงประสงค์ได้ดีกว่าการใช้ Milk Of Magnesia (MOM) นอกจากนี้แคลเซียมเซนโนไซต์ ยังช่วยทำให้ผู้ป่วยสูงอายุหลังการผ่าตัดสามารถขับถ่ายอุจจาระได้คล่องยิ่งขึ้น
  15. ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของมะขามแขก ช่วยในการขับถ่ายอุจจาระ ต่อต้านการก่อกลายพันธุ์ และต้านเชื้อแบคทีเรีย

ประโยชน์ของมะขามแขก

  • ปัจจุบันมีการนำมะขามแขกมาแปรรูปเป็นสินค้าอย่างหลากหลาย เช่น มะขามแขกแคปซูล ยาชงสมุนไพรมะขามแขก เป็นต้น

ข้อควรรระวังเกี่ยวกับมะขามแขก

  • สำหรับหญิงตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร หรือในหญิงมีประจำเดือน ห้ามรับประทานมะขามแขก แต่สำหรับหญิงให้นมบุตร แม้ว่าสารแอนทราควิโนน (Anthraquinones) จะสามารถผ่านออกมากับน้ำนมได้เมื่อใช้ในขนาดปกติ แต่ว่าความเข้มข้นของสารดังกล่าวจะไม่ส่งผลต่อทารกที่รับน้ำนมแต่อย่างใด จึงสามารถใช้มะขามแขกเป็นยาระบายได้ (แต่ไม่แนะนำให้ใช้) (Reynolds, 1989; Baldwin, 1963)
  • ห้ามใช้สมุนไพรมะขามแขกในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 10 ปี
  • มะขามแขกมีฤทธิ์ในการกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ จึงไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดเกร็งในช่องท้อง ไส้ติ่งอักเสบ โรคลำไส้ใหญ่ส่วนล่างอักเสบ ลำไส้อุดตัน หรือมีอาการปวดท้องโดยไม่ทราบสาเหตุ (Reynolds, 1989)
  • ผลข้างเคียงมะขามแขก สำหรับบางรายอาจมีอาการไซ้ท้องหรืออาการปวดมวนได้ท้องได้
  • การใช้มะขามแขกเป็นยาระบาย ให้กินในช่วงก่อนนอน โดยยาจะออกฤทธิ์ประมาณ 8-10 ชั่วโมงหลังจากรับประทาน โดยตัวยาจะทำให้อุจจาระมีมวลมากขึ้น ทำให้อุจจาระมีลักษณะนิ่ม ขับถ่ายได้สะดวก
  • เมื่อใช้ในการรักษาอาการท้องผูก ควรใช้เป็นครั้งคราว หรือใช้ยาเท่าที่จำเป็น และใช้รักษาในระยะเวลาสั้น ๆ ไม่ใช้ติดต่อกันเกินกว่า 2 สัปดาห์ เพราะถ้าใช้ติดต่อกันนานอาจจะทำให้ลำไส้ชินกับยา ส่งผลให้ต้องใช้ยาตลอดจึงจะขับถ่ายได้ ทางที่ดีหากคุณมีอาการท้องผูก แนะนำว่าควรใช้ยาสมุนไพรมะขามแขกเท่าที่จำเป็น และหันมารับประทานผักหรืออาหารที่มีกากใยอย่างจริงจัง ออกกำลังกายเป็นประจำ ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ ขับถ่ายให้เป็นเวลา
  • การใช้สมุนไพรมะขามแขกติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน อาจก่อให้เกิดพิษต่อตับได้ (Malmquist, 1980) และอาจทำให้อิเล็กโทรไลต์ในเลือดต่ำได้ ทำให้ร่างกายสูญเสียธาตุโพแทสเซียม ทำให้เลือดมีภาวะเป็นกรดหรือด่าง การดูดซึมผิดปกติ ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย น้ำหนักลด มีความดันโลหิตต่ำในผู้สูงอายุ และอาจทำลายเซลล์ประสาทในลำไส้ได้
  • การใช้มะขามแขกในทางที่ผิด อาจทำให้ปริมาณของแกมมา-โกลบูลินในเลือดต่ำลง และทำให้นิ้วมือนิ้วเท้ามีลักษณะใหญ่และหนา (Finger clubbing)
  • การใช้มะขามแขกอาจทำให้กระดูกบริเวณข้อมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติได้ (Hypertrophic Osteoarthropathy)
  • การใช้สมุนไพรมะขามแขกเป็นยาระบายหรือแก้อาการท้องผูก หากใช้ในปริมาณที่เหมาะสมจะก็จะไม่มีอันตราย แต่หากใช้กินวันละหลาย ๆ รอบ หรือใช้ในปริมาณที่มากเกินไป ก็จะทำให้เสียน้ำจากการขับถ่ายมาก ทำให้ร่างกายทรุดโทรมลง รู้สึกไม่มีแรง และอาจถึงขั้นช็อกจนเสียชีวิตได้
  • ไม่ควรใช้มะขามแขกร่วมกับยาต้านฮีสตามีนซึ่งเป็นยาแก้แพ้ เพราะอาจจะทำให้ฤทธิ์การเป็นยาระบายลดน้อยลง (Erspamer and Paolini, 1946)
  • หากจำเป็นต้องใช้มะขามแขกติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ คุณควรรับประทานอาหารเสริมที่มีโพแทสเซียมสูง ๆ ควบคู่ไปด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดธาตุโพแทสเซียม (Ploss, 1975; Levine et al., 1981)
  • มะขามแขกไม่ควรใช้เป็นยาลดความอ้วน เนื่องจากมันมีฤทธิ์แค่ช่วยในการขับถ่าย เนื่องจากสิ่งที่ถูกจับออกนั้นจะเป็นกากอาหารและน้ำในร่างกาย ส่วนไขมันก็ยังอยู่ในตัวเราเหมือนเดิม ไม่ได้ถูกขับออกไปพร้อมของเสีย

 

คำสำคัญ : มะขามแขก

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). มะขามแขก. สืบค้น 29 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1695&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1695&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ไฟเดือนห้า

ไฟเดือนห้า

ต้นไฟเดือนห้า จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีอายุหลายปี ลำต้นมีความสูง อาจสูงได้ถึง 1 เมตร ตามกิ่งอ่อนและก้านดอกมีขน กิ่งและก้านมียางสีขาวคล้ายน้ำนมอยู่ภายใน มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเขตร้อน ถูกนำเข้ามาปลูกและขยายพันธุ์ในประเทศไทยนานแล้ว โดยขึ้นเป็นวัชพืชทั่วไป ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้าม ก้านใบสั้น ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอกยาวหรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ปลายแหลม ขอบใบเรียบ ออกดอกเป็นช่อกระจุกที่ง่ามใบและที่ปลายกิ่ง ก้านช่อดอกยาว มีขนสั้นนุ่มปกคลุม ดอกเป็นสีแดง กลีบดอกมีลักษณะพับงอ และมีรยางค์รูปมงกุฎหรือกระบังรอบสีเหลืองหรือส้มยื่นออกมา ดอกหนึ่งจะมีกลีบดอก 5 กลีบ มีเกสรเพศผู้ 5 อัน

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 3,322

เกล็ดมังกร

เกล็ดมังกร

ต้นเกล็ดมังกร จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีลำต้นพันหรือเลื้อยเกาะยึดไปตามต้นไม้อื่นๆ ย้อยห้อยเป็นสายลงมา ยาวประมาณ 10-50 เซนติเมตร มีรากตามลำต้น ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาวเหมือนน้ำนม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เป็นพรรณไม้ที่มักพบขึ้นตามบริเวณป่าเบญจพรรณหรือตามป่าทั่วๆ ไป มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ ในต่างประเทศพบได้ที่มาเลเซีย

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 3,755

กระตังใบ (กระตังบาย)

กระตังใบ (กระตังบาย)

ต้นกระตังใบเป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 1-3 เมตร แตกกิ่งก้านตั้งแต่โคนต้น ลำต้นเกลี้ยง หรือปกคลุมด้วยขนสั้นๆ ใบกระตังใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 1-3 ชั้น ใบย่อยมี 3-7 ใบ ถึงจำนวนมาก ปลายใบคี่ เรียงแบบสลับ ใบย่อยออกเป็นคู่ตรงข้าม หูใบรูปไข่กลับ แผ่เป็นแผ่นกว้าง มักจะเกลี้ยง หรือมีขนประปราย หูใบร่วงง่าย ทำให้เกิดรอยแผลเป็นรูปสามเหลี่ยมกว้าง เกลี้ยง หรือมีขนสั้นปกคลุม ใบย่อยรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ถึงรูปหอกแกมรูปไข่ หรือรูปรี หรือรูปใบหอกแกมรี ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลม โคนใบสอบ หรือกลม หรือเว้า เล็กน้อย 

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 3,497

แค

แค

ต้นแค หรือ ต้นดอกแค เชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดียหรือในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง แตกกิ่งก้านสาขามาก ไม่เป็นระเบียบ มีความสูงประมาณ 3-10 เมตร เนื้อไม้อ่อน ที่เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลปนเทา เปลือกหนาและมีรอยขรุขระ แตกเป็นสะเก็ด สามารถเจริญเติบโตได้ทั่วไปในเขตร้อนชื้น เป็นต้นไม้ที่โตเร็ว สามารถปลูกได้ทุกที่ และมักขึ้นตามป่าละเมาะ หัวไร่ปลายนา มีอายุราว ๆ 20 ปี แต่ถ้าเก็บกินใบบ่อย ๆ จะทำให้ต้นมีอายุสั้นลง

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 9,894

ขมิ้นเครือ

ขมิ้นเครือ

ต้นขมิ้นเครือ จัดเป็นพรรณไม้เลื้อยหรือไม้เถาเนื้อแข็ง ทุกส่วนเกลี้ยง ยกเว้นมีต่อมที่ใบ ลำต้นมีเนื้อไม้เป็นสีเหลือง เมื่อสับหรือฟันจะมียางสีเหลือง มีรอยแผลเป็นตามก้านใบที่หลุดร่วงไป ซึ่งรอยแผลเป็นจะมีลักษณะเป็นรูปถ้วย[1],[2] ส่วนรากสดที่อายุน้อยและขนาดเล็กจะมีรูปร่างโค้งงอไปมา ลักษณะค่อนข้างแบน และมีร่องคล้ายแอ่งเล็กอยู่ตรงกลางตลอดความยาวของราก ส่วนผิวนั้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอมเขียวหรือเป็นสีเทาปนน้ำตาล บางตอนของรากมีรอยแตกเล็ก ๆ พาดขวางอยู่ ส่วนรากที่มีอายุมากและมีขนาดใหญ่

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 5,358

คันทรง

คันทรง

คันทรง จัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลางกึ่งไม้เลื้อย ลำต้นตั้งตรงและมีความสูงของต้นประมาณ 2-3 เมตร บ้างว่าสูงได้ประมาณ 1-9 เมตร แตกกิ่งก้านมากตั้งแต่โคนต้น กิ่งก้านมีขนาดเล็กกลมสีเขียว กิ่งก้านสีเขียวเข้มเป็นมัน เปลือกต้นเป็นสีเทา มีรอยแตกเป็นร่องตื้นๆ ถี่ๆ และตามลำต้นจะมีตาที่ทิ้งใบเป็นตุ่มห่างๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและวิธีการปักชำลำต้น มักขึ้นเองตามป่าราบ ป่าดงดิบ ป่าละเมาะ หรือที่รกร้างข้างทางทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 25-05-2020 ผู้เช้าชม 3,487

เก๋ากี้

เก๋ากี้

เก๋ากี้ (Goji berry) หรือ Lycium Barbarum นั้นเป็นเม็ดเล็กๆ สีแดง อยู่ในตระกูลเดียวกันกับเบอร์รี โดยชาวจีนนิยมรับประทานตุ๋นร่วมกับยาจีนถือเป็นยาบำรุงชั้นเยี่ยมที่มีค่า ORAC ที่สามารถดูดซับอนุมูลอิสระในออกซิเจนได้ถึง 25,300 unite ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาในร่างกายเราเองหรืออาจเกิดจากปัจจัยภายนอกอย่างควันพิษจากท่อไอเสียรถยนต์ หรือควันจากบุหรี่ เป็นต้น ซึ่งเป็นสาเหตุของความเสื่อมในร่างกาย ทั้งความชราก่อนวัยอันควร หรือโรคมะเร็งต่างๆ

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 2,628

น้ำเต้า

น้ำเต้า

น้ำเต้า มีถิ่นกำเนิดทางทวีปแอฟริกาตอนใต้ โดยจัดเป็นไม้เถาล้มลุกอายุปีเดียวหรืออาจข้ามปี เลื้อยตามพื้นดินหรือไต่พันกับต้นไม้อื่น ลำต้นแข็งแรง ลำต้นมีมือสำหรับใช้ยึดเกาะต้นไม้อื่น ๆ ตามเถามีขนยาวสีขาว ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ชอบดินร่วนระบายน้ำได้ดี สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย น้ำเต้านั้นมีอยู่หลายสายพันธุ์ เช่น น้ำเต้าที่ลักษณะเป็นน้ำเต้าทรงเซียน ชนิดนี้นิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับ เราจะเรียกว่า "น้ำเต้า

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 5,691

จุกโรหินี

จุกโรหินี

ต้นจุกโรหินี จัดเป็นไม้ล้มลุกที่มีลำต้นเลื้อยทอดไปตามต้นไม้ เถากลมสีเขียว ตามข้อเถามีรากงอกออก มีไว้สำหรับใช้ยึดเกาะ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด สามารถพบได้ตามป่าดงดิบทั่วไป ป่าชายเลน ป่าแพะ และป่าเบญจพรรณ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ หรือออกเป็นใบเดี่ยว ใบมี 2 แบบ ลักษณะแตกต่างกันมาก ออกดอกเป็นช่อสั้นๆ ขนาดเล็ก ช่อละประมาณ 6-8 ดอก โดยจะออกตามง่ามใบตรงข้ามกับใบ

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 3,570

มหาหิงคุ์

มหาหิงคุ์

มหาหิงคุ์ คือ ชันน้ำมันหรือยางที่ได้มาจากหัวรากใต้ดินหรือลำต้นของพืชในตระกูล Ferula เป็นสีเหลืองอมสีน้ำตาลและมีกลิ่นฉุน ต้นมหาหิงคุ์ (Ferula assa-foetida L.) จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 2 เมตร มีหัวอยู่ใต้ดินและมีรากขนาดใหญ่ ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ผิวลำต้นแตกเป็นร่องๆ ที่โคนต้นจะมีใบแทงขึ้นมาจากรากใต้ดิน ใบมหาหิงคุ์ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 3-4 คู่ แต่ช่วงบนของลำต้นของใบจะเป็น 1-2 คู่ ใบหนาและร่วงได้ง่าย ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปกลมรีหรือรูปไข่รียาว เป็นสีเขียวอมเทา ขอบใบมีฟันเลื่อยเล็ก ส่วนก้านใบยาวประมาณ 50 เซนติเมตร

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 5,940