มหาหิงคุ์

มหาหิงคุ์

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้ชม 5,938

[16.4258401, 99.2157273, มหาหิงคุ์]

มหาหิงคุ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ Ferula assa-foetida L. จัดอยู่ในวงศ์ผักชี (APIACEAE หรือ UMBELLIFERAE)
สมุนไพรมหาหิงคุ์ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ว่า หินแมงค์ (เชียงใหม่), อาเหว้ย (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของมหาหิงคุ์
       มหาหิงคุ์ คือ ชันน้ำมันหรือยางที่ได้มาจากหัวรากใต้ดินหรือลำต้นของพืชในตระกูล Ferula เป็นสีเหลืองอมสีน้ำตาลและมีกลิ่นฉุน
       ต้นมหาหิงคุ์ (Ferula assa-foetida L.) จัดเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 2 เมตร มีหัวอยู่ใต้ดินและมีรากขนาดใหญ่ ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง ผิวลำต้นแตกเป็นร่อง ๆ ที่โคนต้นจะมีใบแทงขึ้นมาจากรากใต้ดิน
       ใบมหาหิงคุ์ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 3-4 คู่ แต่ช่วงบนของลำต้นของใบจะเป็น 1-2 คู่ ใบหนาและร่วงได้ง่าย ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปกลมรีหรือรูปไข่รียาว เป็นสีเขียวอมเทา ขอบใบมีฟันเลื่อยเล็ก ส่วนก้านใบยาวประมาณ 50 เซนติเมตร
        ดอกมหาหิงคุ์ ออกดอกเป็นช่อคล้ายซี่ร่ม ช่อหนึ่งมีก้านดอกย่อยประมาณ 20-30 ก้านเล็ก ในแต่ละก้านจะแยกออกจากกัน ดอกเพศเมียเป็นสีเหลือง ส่วนดอกเพศผู้เป็นสีขาว มีกลีบ 5 กลีบและจะอยู่ต่างช่อกัน ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 ก้าน มีรังไข่ 2 อัน และมีขนปกคลุม
        ผลมหาหิงคุ์ ผลเป็นผลคู่แบบแบน ลักษณะเป็นรูปไข่ยาวรี

สรรพคุณของมหาหิงคุ์
1. ยางจากรากหรือลำต้นมีรสเผ็ดขม กลิ่นฉุน เป็นยาอุ่น ออกฤทธิ์ต่อกระเพาะ ลำไส้ ตับ และม้าม ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย
2. ช่วยขับเสมหะ
3. ใช้เป็นยาขับลม แก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้อาหารไม่ย่อย[1]ตามตำรับยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อยระบุให้ใช้มหาหิงคุ์ 10 กรัม, พริกไทย 10
    กรัม, โกฐกระดูก 20 กรัม, ลูกหมาก 20 กรัม นำมาบดให้เป็นผงทำเป็นยาเม็ดลูกกลอน เม็ดละ 3 กรัม ใช้รับประทานหลังอาหารครั้งละ 10 เม็ด
4. ตำรับยาแก้ท้องแข็งแน่นจับกันเป็นก้อน ให้ใช้มหาหิงคุ์ 20 กรัม, ขมิ้นอ้อย 60 กรัม, ซำเล้ง 100 กรัม, โกฐเขมาขาว 100 กรัม, แปะไก้จี้ 120 กรัม นำมาคั่วแล้วบดเป็นผง
    ทำเป็นยาเม็ด ใช้รับประทานครั้งละ 60 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น
5. ช่วยแก้อาการปวดท้อง ปวดกระเพาะ แก้บิด
6. ใช้เป็นยาฆ่าพยาธิ
7. ใช้ผสมกับแอลกอฮอล์ ใช้เป็นยาทาภายนอก แก้ปวด แก้บวม
8. คุณสมบัติทางยาอื่น ๆ ได้แก่ เป็นยาระบาย ยากล่อมประสาท แก้อาการนอนไม่หลับ ถ่ายพยาธิ ฆ่าเชื้อ (ข้อมูลอ้างอิงจากhttp://on.fb.me/RFJ9Tf)
9. ส่วนข้อมูลอื่น ๆ ระบุว่าในอดีตจะใช้มหาหิงคุ์ผสมกับแอลกอฮอล์แล้วนำมาทาท้องเด็ก จะช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อได้ บางส่วนของน้ำมันหอมระเหยจากมหาหิงคุ์มี
    คุณสมบัติเป็นยาฆ่าแมลงได้ ส่วนยางจากรากช่วยบำรุงธาตุ แก้อาการทางประสาทชนิดฮิสทีเรีย ใช้เป็นยาขับลม ชำระเสมหะและลม แก้ลมที่มีอาการให้เสียดแทง แก้อาการ
    เกร็ง ช่วยย่อยอาหาร ขับประจำเดือนของสตรี แก้ปวด แก้อาการชักกระตุก ใช้ภายนอกเป็นยาทาแก้กลาก แก้แมลงสัตว์กัดต่อย และกลิ่นของมหาหิงคุ์ยังใช้ในการรักษาโรค
    หวัดและอาการไอได้ด้วย
หมายเหตุ :
    วิธีใช้ตาม [1] ให้ใช้ครั้งละ 1-1.5 กรัม นำมาเข้ากับตำรับยาหรือผสมแอลกอฮอล์ใช้เป็นยาทาภายนอก แก้ปวด แก้บวม ขับลม ใช้ทาแก้ปวดท้อง หรือใช้เข้ากับตำรายาอื่น ๆ

การออกฤทธิ์ของมหาหิงคุ์
         ปกติแล้วเราจะนำมหาหิงคุ์มาชุบสำลี (หรือจะใช้มหาหิงคุ์ชนิดที่เป็นลูกกลิ้ง) แล้วนำมาทาที่หน้าท้อง ฝ่าเท้า และศีรษะของเด็กทารก หรือใช้รับประทานเป็นยาแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ โดยสารที่ออกฤทธิ์บรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ (ทั้งแบบทาและแบบรับประทาน) เป็นสารจากกลุ่มเดียวกัน คือ สารในกลุ่มน้ำมันหอมระเหย ซึ่งการรับประทานนั้นกลไกการออกฤทธิ์จะเป็นแบบ Local ที่ทางเดินอาหาร โดยเป็น Antispasmodic และกระตุ้นให้เกิดการขับลม
         ส่วนในกรณีที่ใช้ทาภายนอกนั้นจะใช้กับเด็กทารกเท่านั้น เนื่องจากน้ำมันหอมระเหยส่วนใหญ่จะมีฤทธิ์ Stimulant ด้วย การนำมาทาบริเวณท้องของเด็กคงอาศัยผลจากที่ผนังหน้าท้องของเด็กทารกบางพอที่ผลของการเป็น Stimulant จะสามารถไปกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ได้ แต่การนำไปใช้ทาบริเวณฝ่าเท้าหรือหน้าผากก็สุดจะคาดเดา แต่ที่เป็นไปได้มากที่สุดก็คงเป็นฤทธิ์ทำให้สงบของมหาหิงคุ์ที่ช่วยทำให้เด็กไม่โยเย (อนุชิต พลับรู้การ)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของมหาหิงคุ์
1. สารที่พบได้แก่ Latex 40-64%, ยาง 25%, น้ำมันระเหย 10-17% ในน้ำมันหอมระเหยพบสารที่ให้กลิ่นฉุนจำพวก Asafetida เช่น Sec-butyl, Propenyl, Diauldo ส่วนใน
    ยางพบสาร Ferulic acid และยังพบสาร Farnesiferol เป็นต้น
2. สาร Asafetida เป็นสารที่ให้กลิ่นฉุนและรสขม เมื่อเข้าไปในกระเพาะลำไส้ในร่างกายจะถูกดูดซึมโดยไม่พบอาการเป็นพิษ อีกทั้งยังมีผลในการยับยั้งการบีบตัวของลำไส้
    จึงสามารถใช้เป็นยาแก้ท้องเสียได้ และยังสามารถช่วยลดอาการอักเสบในลำไส้ได้อีกด้วย
3. น้ำมันระเหยของมหาหิงคุ์มีฤทธิ์กระตุ้นหลอดลมให้มีการบีบตัว จึงช่วยขับเสมหะได้
4. สารสกัดที่ได้จากมหาหิงคุ์มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรคในหลอดทดลองได้ และยังมีฤทธิ์ฆ่าพยาธิตัวกลมกับพยาธิใบไม้ในตับได้อีกด้วย
5. เมื่อนำน้ำที่ต้มกับมหาหิงคุ์ในความเข้มข้น 1:1,000 มาทดลองกับมดลูกที่อยู่นอกตัวของหนูทดลอง พบว่ามีฤทธิ์กระตุ้นให้มดลูกบีบตัวอย่างแรง แต่ถ้าเป็นสารที่สกัดด้วย
    แอลกอฮอล์จะไม่มีฤทธิ์ในการกระตุ้นมดลูกให้เกิดการบีบตัว

ข้อควรระวังในการใช้มหาหิงคุ์
1. ผู้ที่ม้ามหรือกระเพาะหย่อน รวมถึงสตรีมีครรภ์ห้ามรับประทาน
2. การใช้มหาหิงคุ์เป็นยาทาภายนอก เมื่อนำไปใช้กับเด็กทารกบางครั้งอาจทำให้เกิดอาการแพ้เป็นผื่นคันได้ และไม่ควรรับประทานเพราะอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน
    เป็นผื่นคัน และบวมที่ริมฝีปากได้
3. มหาหิงค์ุ กินได้ไหม? มหาหิงคุ์ในอดีตมักนิยมใช้เข้าตำรับยาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ สามารถรับประทานได้ โดยขนาดที่ใช้รับประทานสำหรับผู้ใหญ่ คือ 0.3-1 กรัม แต่ใน
    ปัจจุบันผลิตภัณฑ์มหาหิงค์ที่มีจำหน่ายทั่วไปจะมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ และใช้เป็นยาทาภายนอกเป็นหลัก จึงไม่ควรนำมารับประทาน

ตำรับยาเบ็ญจะอำมฤตย์
        บทความโดย นายคมสัน ทินกร ณ อยุธยา (แพทย์แผนไทย) ลำดับชั้นที่ 6 ในสายราชสกุลแพทย์ "ทินกร" (อ่านฉบับเต็มได้ที่ http://on.fb.me/1gtOvqD
        ตำราแพทยศาสตร์สงเคราะห์จัดให้มหาหิงคุ์อยู่ในตำรับยา "เบ็ญจะอำมฤตย์" อันประกอบไปด้วยตัวยา 9 อย่าง ได้แก่ มหาหิงคุ์ 1 สลึง, ยาดำบริสุทธิ์ 1 สลึง, รงทอง 2 สลึง, มะกรูด 3 ผล แล้วเอามหาหิงคุ์ ยาดำ และรงทอง ใส่ในมะกรูดสิ่งละผล เอามูลโคพอกสุมไฟแกลบให้สุก ต่อมาให้เตรียมขิงแห้ง 1 สลึง, ดีปลี 1 สลึง, พริกไทย 1 สลึง, รากทนดี 2 สลึง, ดีเกลือ 4 บาท (ดีเกลือไทยเท่านั้น) แล้วเอาตัวยาทั้งห้านี้มาผสมกับมะกรูดที่สุมไว้ ทำให้เป็นจุณละลายน้ำส้มมะขามเปียก ใช้รับประทานหนัก 1 สลึง จะช่วยฟอกอุจจาระอันลามกให้สิ้นโทษ ชำระลำไส้อันเป็นเมือกมัน (กรีสังในบุพโพและโลหิตนั้น รวมขับเมือกกรีสังในลำไส้) และปะระเมหะทั้งปวง (เสมหะที่แข็งตัวอย่างยิ่ง อันเกิดแต่อาโปบุพโพ-โลหิต)
        จากตำรับยาดังกล่าวจะประกอบไปด้วย เครื่องยาหลัก (มหาหิงคุ์ ยาดำ และรงทอง มีสรรพคุณถ่ายลม ถ่ายเสมหะและโลหิตที่เป็นพิษ ช่วยกัดฟอกเสมหะและโลหิต และช่วยถ่ายน้ำเหลือง), เครื่องยาช่วย (รากทนดีและดีเกลือไทย มีสรรพคุณช่วยถ่ายเสมหะ ขับเมือกมันในลำไส้ และช่วยถ่ายน้ำเหลืองเสีย) และเครื่องยาประกอบ (ขิงแห้ง ดีปลี และพริกไทย มีสรรพคุณขับเสมหะ แก้เสมหะเฟือง ช่วยเจริญอากาศธาตุ แก้ปถวีธาตุ)

หมายเหตุ :
        การสะตุเครื่องยาเมาเบื่อในตำรับยานี้ เราจะใช้มะกรูด มูลโค แกลบข้าว และกำเดาจากแกลบข้าว จึงจะสะตุยาให้ได้ฤทธิ์เครื่องยาที่เหมาะสมกับตำรับยานี้ และห้ามปรุงยาโดยใช้วิธีอื่น ต้องทำตามที่ระบุไว้ในตำรับยาเท่านั้นจึงจะสำเร็จสรรพคุณตามตำรับยา ส่วนการทำให้เป็นจุณ หมายถึง การทำให้ละเอียดเหมือนผงแป้ง และจะต้องใช้น้ำส้มมะขามเปียกเป็นกระสายยาเป็นเครื่องเชื่อมประสานปั้นเป็นลูกกลอน แล้วต้องได้น้ำหนัก 1 สลึงพอดี และตำรับยานี้มีสรรพคุณเป็นยารุเป็นหลัก (หมายถึงกรีสังอันเกิดแต่น้ำเหลืองและเลือดที่เป็นพิษนั้น และเป็นปลายเหตุที่เกิด ไม่ใช่ต้นเหตุ) แพทย์จะต้องวางด้วยความระมัดระวัง ต้องพิจารณากำลังโรคและกำลังกายของผู้ป่วยด้วย

คำแนะนำ :
         ตำรับยานี้เป็นเพียงการนำเสนอเป็นวิทยาทานซึ่งเป็นกรรมวิธีทางเภสัชกรรมที่ถือปฏิบัติกันตามมาในอดีต ผู้นำไปใช้ต้องมีความรู้จริง รู้ชัด รู้แจ้ง อย่าเพียงแต่อ่านรู้เรื่องแล้วนำไปใช้ทำ เพราะผู้ป่วยบางรายยังไม่แสดงอาการของโรคที่ชัดเจน หากนำไปใช้โดยขาดองค์ความรู้ก็รังแต่จะเกิดโทษ

คำสำคัญ : มหาหิงคุ์

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). มหาหิงคุ์. สืบค้น 28 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1671&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1671&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

กระเช้าถุงทอง

กระเช้าถุงทอง

ต้นกระเช้าถุงทองเป็นไม้เถาล้มลุก ทอดเลื้อยไปตามพื้นและเกี่ยวต้นไม้อื่น ลำต้น มีขนละเอียด ใบกระเช้าถุงทองใบเดี่ยวเรียงสลับรูปไข่กว้างหรือแยกเป็น 3 แฉกแฉกยาวไม่ถึงกึ่งหนึ่งของความยาวใบใบยาว 11-12 เซนติเมตร ปลายใบแหลม หรือมน ปลายแฉกด้านข้างมน โคนใบรูปหัวใจตื้นๆแผ่นใบมีขนและต่อมทั้งสองด้าน เส้นโคนใบ 3 เส้นก้านใบยาว 5-5.2 เซนติเมตร มีขนละเอียด

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 2,252

มะขามแขก

มะขามแขก

ต้นมะขามแขก จัดเป็นไม้พุ่ม เป็นพืชทนแร้ง ไม่ชอบที่น้ำท่วมขัง เพราะจะทำให้รากเน่า สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินที่ลักษณะร่อน มีความอุดมสมบูรณ์ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการใช้ต้นกล้า ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยเป็นรูปวงรีและใบรูปหอก ใบแห้งมีสีเขียวอมน้ำตาล ขอบใบเรียบ ปลายและโคนใบแหลม โคนใบทั้งสองมีขนาดไม่สมมาตรกัน และมีขนนุ่มปกคลุมอยู่ ใบมีกลิ่นเหม็นเขียว มีรสเปรี้ยว หวานชุ่ม ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบตอนปลายกิ่ง กลีบดอกมีสีเหลือง ลักษณะของผลเป็นฝักแบน รูปขอบขนาน ฝักอ่อนมีสีเขียว

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 7,919

บุกอีรอกเขา

บุกอีรอกเขา

บุกอีรอกเขา จัดเป็นไม้ล้มลุกข้ามปี มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เจริญเติบโตได้ในดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำดี พบได้ทั่วไป ชอบขึ้นตามริมแม่น้ำ ในพื้นที่โล่ง ทุ่งหญ้า พื้นที่ที่มีความชื้นสม่ำเสมอและฝนตกชุก ใบบุกอีรอกเขา ใบเป็นใบเดี่ยว ก้านใบยาวมีลักษณะกลมและอวบน้ำ ไม่มีแกน ยาวประมาณ 50-120 เซนติเมตร ใบมีลายสีเขียว เทา น้ำตาล และดำเป็นจุดพื้นจุดด่าง มีก้านใบย่อยแตกออกจากปลายก้านใบ 2-3 ก้าน และมีใบประดับ 10-120 ใบ ออกเป็นคู่ ลักษณะเป็นรูปคล้ายหอก ขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 10-50 เซนติเมตร และยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร ผิวใบเป็นคลื่น หูใบติดกับก้านใบย่อย

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 12,453

ม่อนไข่

ม่อนไข่

ต้นม่อนไข่ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงโดยทั่วไปไม่เกิน 8 เมตร และอาจสูงได้ถึง 27-30 เมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นประมาณ 1 เมตร ลำต้นมียางสีขาวๆ ที่กิ่งอ่อนเป็นสีน้ำตาล ผลไม้ม่อนไข่ เป็นผลไม้พื้นเมืองที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ (ประเทศเม็กซิโก) และในอเมริกาใต้ ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม ใบเป็นมันและบาง ดอกม่อนไข่ ดอกมีสีครีมและมีกลิ่นหอม ผลมีลักษณะเป็นกลมรูปรี ปลายผลมีหลายแหลมหรือจะงอย

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 11,742

บวบขม

บวบขม

บวบขม จัดเป็นไม้ล้มลุกเลื้อยพันหรือทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน มีขนาดยาวประมาณ 2-5 เมตร มีมือเกาะจับต้นไม้อื่น ตลอดเถา กิ่งก้าน และใบมีขนขึ้นประปราย ขึ้นเองตามริมน้ำ ตามที่รกร้างทั่วไป ไม่นิยมปลูกไว้เพื่อกินผลเป็นอาหาร เนื่องจากเนื้อในผลมีรสขม ส่วนใหญ่แล้วจะปลูกตามสวนสมุนไพรเพื่อใช้เป็นยาเท่านั้น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปห้าเหลี่ยม หรือรูปโล่แกมรูปไตถึงรูปไข่กว้าง ปลายใบแหลมหรือกลม โคนใบเว้าเข้าหากลางใบหรือเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบจักเป็นซี่ฟันและมีรอยเว้าลึกทำให้เป็น 5 แฉก

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 2,192

ดองดึง

ดองดึง

ดองดึง (Superb Lily, Turk’s cap, Climbing Lily) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกหัว ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคอีสานเรียก พันมหา, หัวขวาน, หัวฟาน หรือดาวดึง ซึ่งต้นดองดึงนั้นเป็นพืชที่อยู่ในแถบทวีปแอฟริกาเขตร้อนและเอเชียเขตร้อน รวมทั้งในประเทศไทยของเราด้วย โดยต้นดองดึงนั้นเป็นพืชสมุนไพรที่ชอบขึ้นอยู่ตามชายป่า ที่โล่ง หรือดินปนทราย ส่วนใหญ่มักจะนิยมนำต้นดองดึงมาปลูกไว้เป็นไม้ประดับเพื่อตกแต่ง และนำไปทำเป็นยาสมุนไพร รวมถึงใช้ในการรักษามะเร็งได้ด้วย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 1,323

ส้มกบ

ส้มกบ

ลักษณะทั่วไป  เป็นวัชพืชพุ่มเตี้ย อายุยืนหลายฤดูลำต้นทอดเลื้อย ตามพื้นดิน มีมีไหลไต้ยาว  ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบ  ดอกออกตามซอกใบ เป็นดอกเดี่ยว มีสีเหลืองส่วนโคนกลีบดอกจะก้านยาว ออกดอกตลอดปี  ติดผลเป็นฝักตั้งตรง เป็นเหลี่ยมห้าเหลี่ยม ฝักยาว 4-6 ซม. เมื่อผลแก่จะแห้งและแตกดีดเมล็ดออกมา เมล็ดเป็นรูปไข่แบน ผิวเมล็ดย่นสีน้ำตาล   พบขึ้นเป็นวัชพืชในสวนผักและไม้ดอก และในพื้นที่ทำการเกษตรโดยทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย ออกดอกตลอดปี  ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและไหล

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,511

โด่ไม่รู้ล้ม

โด่ไม่รู้ล้ม

โด่ไม่รู้ล้ม (Prickly Leaved Elephant’s Foot) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกหญ้า ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก หนาดผา, หญ้าสามสิบสองหาบ หรือหญ้าไก่นกคุ้ม ส่วนภาคใต้เรียก หญ้าปราบ ชัยภูมิเรียก คิงไฟนกคุ้ม สุราษฎร์ธานีเรียก หนาดมีแคลน ชาวกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอนเรียก ตะชีโกวะ ชาวกะเหรี่ยงเรียก นกคุ้มหนาดผา หรือหญ้าไฟ ส่วนชาวจีนแต้จิ๋วเรียก โช่วตี่ต้า และชาวจีนกลางเรียก ขู่ตี่ต่าน เป็นต้น โดยลักษณะพิเศษตามชื่อของต้นโด่ไม่รู้ล้มนี้คือ เมื่อถูกเหยียบหรือถูกทับแล้วจะสามารถดีดตัวขึ้นมาใหม่ได้ตลอด เรียกว่าสมชื่อโด่ไม่รู้ล้มจริงๆ ซึ่งสามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ด ชอบขึ้นตามป่าโปร่ง, ป่าดิบ, ป่าเต็งรัง, ป่าสนเขา หรือดินทราย เรียกได้ว่าแทบทุกภาคในประเทศไทยเลยทีเดียว รวมทั้งประเทศในเขตร้อนด้วย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 5,562

ผักตบชวา

ผักตบชวา

ผักตบชวา จัดเป็นพรรณไม้น้ำที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ ได้มีการนำเข้ามาปลูกครั้งแรกไว้ที่วังสระปทุมในกรุงเทพมหานครเมื่อปี พ.ศ.2444 แต่จากการขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วและเกิดน้ำท่วมจึงทำให้ผักตบชวาหลุดรอดออกมา และเกิดการแพร่กระจายไปทั่ว จนกลายเป็นวัชพืชน้ำที่รุนแรง โดยผักตบชวานั้นจัดเป็นพืชน้ำล้มลุกมีอายุหลายฤดู มีลำต้นสั้นแตกใบเป็นกอลอยไปตามน้ำ มีไหล ซึ่งเกิดตามซอกใบแล้วเจริญเป็นต้นอ่อนที่ปลายไหล ลำต้นมีลักษณะอวบน้ำ ผิวลำต้นเรียบเป็นสีเขียวอ่อนและเข้ม ลำต้นจะมีขนาดสั้นหรือยาวจะขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำ ก้านใบจะพองออกตรงช่องกลาง ภายในมีลักษณะเป็นรูพรุน จึงช่วยพยุงลำต้นให้ลอยน้ำได้ 

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 26,870

กกธูปฤาษี

กกธูปฤาษี

ต้นกกธูปฤาษีลักษณะเป็นไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี เหง้ากลม แทงหน่อขึ้นเป็นระยะสั้นๆ ลำต้นตั้งตรง มีความสูงประมาณ 5-3 เมตร เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ชุ่มน้ำ ใบกกธูปฤาษีลักษณะเป็นใบเดี่ยว มีกาบใบเรียงสลับในระนาบเดียวกัน ใบเป็นรูปแถบ มีความกว้างประมาณ 2-1.8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 50-120 เซนติเมตร แผ่นใบด้านบนมีลักษณะโค้งเล็กน้อยเพราะมีเซลล์หยุ่นตัวคล้ายฟองน้ำหมุนอยู่กลางใบ ส่วนด้านล่างของใบแบน

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 5,846