มะเขือดง

มะเขือดง

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้ชม 1,603

[16.4258401, 99.2157273, มะเขือดง]

มะเขือดง ชื่อสามัญ Potato Tree, Wild Tobacco, Canary Nightshade, Mullein Nightshade, Velvet Nightshade, Turkey Berry, Salvadora

มะเขือดง ชื่อวิทยาศาสตร์ Solanum erianthum D. Don (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Solanum verbascifolium Linn., Solanum mauritianum Blanco, Solanum Pubescens Roxb.) จัดอยู่ในวงศ์มะเขือ (SOLANACEAE)

สมุนไพรมะเขือดง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า มะเขือดง (ขอนแก่น), ส่างโมง (เลย), ดับยาง ผ่าแป้ง ฝ้าแป้ง ฉับแป้ง สะแป้ง มะเขือดง (สุโขทัย), สะแป้ง (สิงห์บุรี), ส้มแป้น (เพชรบุรี), หูควาย (ยะลา), ฝ่าแป้ง (ภาคเหนือ), ดับยาง (ภาคกลาง), ขากะอ้าย ขาตาย หูตวาย (ภาคใต้), ฝ่าแป้ง (คนเมือง), ซิตะกอ สะกอปรึ่ย (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), มั่งโพะไป่ ลิ้มเม่อเจ้อ สะกอปรื่อ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ตะหมากบูแคเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), ด่งเย่ก๊ะ (ม้ง), ทิ่นหุ้งจา (เมี่ยน), ชู้ด (ขมุ), ลำแป้ง ลำล่อม ลำผะแป้ง ลำฝาแป้ง (ลั้วะ), เก๊าแป้ง (ไทลื้อ), ด่อเปอฮุ๊บ (ปะหล่อง), แหย่เยียนเยวียะ (จีนกลาง), เอี๋ยเอียงเฮียะ (จีนแต้จิ๋ว) เป็นต้น

ลักษณะของมะเขือดง

  • ต้นมะเขือดง จัดเป็นไม้พุ่มผลัดใบตามฤดูกาล ลำต้นมีความสูงได้ประมาณ 1-4 เมตร เปลือกต้นเป็นสีขาว ทุกส่วนของต้นมีขน มีเขตการกระจายพันธุ์จากทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาถึงอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทางตอนเหนือของทวีปออสเตรเลีย ส่วนในประเทศไทยพบขึ้นทั่วไปตามชายป่าละเมาะและที่เปิด และตามที่รกร้างทั่วไป ที่ระดับความสูงใกล้น้ำทะเลจนถึงระดับความสูง 1,000 เมตร
  • ใบมะเขือดง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-13 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-25 เซนติเมตร ผิวใบอ่อนนุ่มและมีขนขึ้นปกคลุมอย่างหนาแน่น หลังใบเป็นสีขาว ส่วนท้องใบเป็นสีดอกเลา ก้านใบยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร
  • ดอกมะเขือดง ออกดอกเป็นช่อบริเวณปลายกิ่ง และจะแยกออกเป็น 2 ช่อ ก้านช่อดอกยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร กลีบรองดอกมี 5 กลีบ เชื่อมติดกันที่ฐาน ส่วนกลีบดอกเป็นสีขาว มี 5 กลีบ อับเรณูเป็นสีเหลือง เกสรเพศผู้มี 5 อัน และเกสรเพศเมียมี 1 อัน เมื่อดอกบานจะมีขนาดกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร
  • ผลมะเขือดง ผลเป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม ขนาดประมาณ 1.5 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ดลักษณะกลม ผิวมีขีดประเล็กๆ

สรรพคุณของมะเขือดง

  1. รากมีสรรพคุณเป็นยาลดระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยการใช้รากสดประมาณ 90-120 กรัม นำมาทุบให้แหลก นำมาต้มกับน้ำ 3 แก้ว นาน 30 นาที ใช้แบ่งดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น (ราก)
  2. ใช้เป็นยารักษาโรควัณโรคที่ต่อมน้ำเหลืองตามบริเวณคอในระยะเริ่มแรก ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 15-20 กรัม นำมาล้างให้สะอาด แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ใช้ไข่ที่เปลือกเป็นสีขาว 1 ฟอง ใส่น้ำและเหล้าอย่างละเท่ากัน นำมาต้มกับน้ำกินวันละ 2-3 ครั้ง (ใบ)
  3. ใบใช้เป็นยาแก้อาการปวดศีรษะ ปวดฟัน (ใบ)
  4. รากหรือใบนำมาขยี้แล้วแช่น้ำกับมะแคว้งขม ดื่มเป็นยาแก้อาการคลื่นไส้ อาหารเป็นพิษ (ราก, ใบ)
  5. ยอดอ่อนใช้แช่กับน้ำดื่มร่วมกับยอดหญ้าตดหมา ลำต้นคูนและไพล เป็นยาแก้อาการท้องอืด (ยอดอ่อน)
  6. รากใช้เป็นยารักษาอาการท้องร่วง โรคบิด (ราก)
  7. รากใช้เป็นยาขับระดูของสตรี แก้โรคมุตกิด เป็นหนอง มีน้ำคาวปลา ด้วยการใช้รากสดประมาณ 90-120 กรัม นำมาทุบให้แหลก นำมาต้มกับน้ำ 3 แก้ว นาน 30 นาที ใช้แบ่งดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น (ราก)
  8. ใบมีสรรพคุณทำให้แท้งบุตร (ใบ)
  9. ใบใช้ต้มน้ำร่วมกับใบว่านน้ำเล็ก ใบหนาดหลวง ใบก้านเหลือง ใบเดื่อฮาก ต้นสามร้อยยอด ต้นถ้าทางเมีย ลำต้นเป วงเดียตม เครือไฮ่มวย (หากหาไม่ครบก็ให้ใช้เท่าที่หาได้) ให้สตรีหลังคลอดบุตรที่อยู่ไฟอาบเพื่อช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น (ใบ)
  10. ใบใช้เป็นยารักษาอาการตัวบวม (ใบ)
  11. ใบใช้เป็นยาห้ามเลือด (ใบ)
  12. ใบใช้เป็นยาพอกรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แผลเปื่อย แผลเปื่อยในปาก แผลในจมูก ผิวหนังอักเสบ (ใบ)
  13. ทั้งต้นใช้เป็นยาช่วยลดการอักเสบจากแผลที่เกิดจากแผลไฟไหม้ (ทั้งต้น)
  14. เปลือกใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง (เปลือก)
  15. ใช้เป็นยารักษากลากเกลื้อน ฝี และแผลเปื่อย ด้วยการใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียดแล้วพอกบริเวณที่เป็น หรือจะใช้ต้มกับน้ำให้เข้มข้น ใช้ชะล้างบริเวณที่เป็นก็ได้ (ใบ)
  16. ใบใช้เป็นยาแก้ฟกช้ำ (ใบ)
  17. ใช้รักษาโรคเกาต์ ด้วยการใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียด แล้วนำมาคั่วกับเหล้า ใช้ทาถูนวดบริเวณที่เป็น (ใบ)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของมะเขือดง

  • สารเคมีที่พบ ได้แก่ diosgenin, solamargine, solasodine, solasodine monoglucoside, solasonine, solaverbascine, solaverine[3] โดยกิ่ง ใบ และผลมะเขือดงจะมี diosgenin, solasodine นอกจากนี้ยังพบว่าในใบนั้นมี tomatidenol อีกด้วย ส่วนกิ่งและใบจะมี solasonine ส่วนใบและรากจะมี solamergine, solasodine monoglucoside และ solasonine
  • สาร solasoine (โซลาโซนีน), solasodine (โซลาโซดีน), solamergine (โซลามาร์จีน) และ tomatidenol (โทมาไทดีนอน) มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อราบางชนิด เช่น Claviceps. Rhizoctonia, Piricularia, Polypordus และ Sclerotinia
  • ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่พบ ได้แก่ ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด มีฤทธิ์เหมือนวิตามินดี ต้านเชื้อแบคทีเรีย
  • สารสกัดที่ได้จากใบและกิ่งโดยวิธีการต้มด้วยน้ำจะไม่มีผลต่อลำไส้เล็กส่วนปลายของหนูตะเภา แต่จะมีฤทธิ์ทำให้ลำไส้เล็กส่วนต้นของกระต่ายคลายตัวในช่วงแรก และจะเกิดอาการเกร็งในช่วงระยะเวลาต่อมา นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์กระตุ้นอย่างอ่อนต่อกล้ามเนื้อลายหน้าท้องของคางคกและต่อมดลูกของหนูขาวที่กำลังมีท้อง
  • มีฤทธิ์ต่อหัวใจ โดยมีผลทำให้หัวใจกระต่ายเกิดการบีบตัว (แต่ไม่เต็มที่) แต่บางส่วนจะค่อย ๆ เข้าสู่ภาวะปกติทีละส่วน
  • มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง โดยมีผลในการช่วยเสริมฤทธิ์ของยา barbiturate ทำให้ยืดเวลาการนอนของหนูถีบจักรมองเห็นได้ชัด
  • จากการวิจัยพบว่าผลมะเขือดงมีสารในกลุ่มสเตียรอยด์ชื่อ Solasodine ปริมาณสูง สามารถนำใช้สังเคราะห์เป็นยาคุมกำเนิดได้ แต่ควรมีการศึกษาวิจัยเพื่อผลิตเป็นยาต่อไป
  • เมื่อปี ค.ศ.1991 ประเทศเม็กซิโก ได้ทดลองใช้สารสกัดจากพืชชนิดนี้ในกระต่ายทดลองจำนวน 27 ตัว โดยทดลองเปรียบเทียบกับยา tolbutamide (ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด) โดยทดลองกับพืชต่าง ๆ จำนวน 12 ชนิด ผลการทดลองพบว่า พืชสมุนไพรมะเขือดงหรือช้าแป้น สามารถลดน้ำตาลในเลือดได้ถึง 21.1% มากกว่ายา tolbutamide ที่ลดได้เพียง 14.3%

ประโยชน์ของมะเขือดง

  1. ผลนำมาตำแล้วคั้นเอาน้ำให้วัวหรือควายกินเป็นยาแก้โรคขี้ขาว
  2. ใบนำมาใช้ใส่ในเล้าไก่ จะช่วยป้องกันตัวไรได้
  3. ใบนำมาขยำแล้วใช้ล้างจาน ช่วยขจัดคราบอาหารทำให้จานสะอาดได้
  4. ใบใช้รองพื้นถั่วเน่าหมักตากแดด เพื่อป้องกันไม่ให้ถั่วเน่าติดกับแผงตาก
  5. ต้นนำไปเผาไฟให้เป็นถ่านแล้วใช้เป็นส่วนผสมในการทำดินปืน หรือนำต้นไปตากแห้งเอาไปทำดินปืน
  6. ชาวลั้วะจะใช้ลำต้นมาทำเป็นฟืน
  7. ชาวเมี่ยนจะใช้กิ่งที่มีลักษณะเป็นง่าม นำไปเสียบกับดินใช้เป็นที่ตั้งขันสำหรับเผากระดาษให้บรรพบุรุษในพิธีเลี้ยงผี

 

คำสำคัญ : มะเขือดง

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). มะเขือดง. สืบค้น 28 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1699&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1699&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

เถาพันซ้าย

เถาพันซ้าย

ต้นเถาพันซ้าย จัดเป็นไม้เถาเนื้อแข็งเลื้อยพันขนาดใหญ่ มีความยาวได้ถึง 20 เมตร ลำต้นมีลักษณะกลม มักขดเป็นวง มีขนสีเทา ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว มีใบย่อย 3 ใบ ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบย่อยที่ปลายเป็นรูปไข่ รูปไข่กลับ หรือรูปไข่แกมรูปใบหอก ปลายใบมีติ่งแหลม โคนใบกลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-14 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-20 เซนติเมตร ส่วนใบย่อยที่อยู่ด้านข้างเป็นรูปไข่แกมสี่เหลี่ยม รูปไข่กลับ หรือรูปไข่กลับแกมรูปวงรี ปลายใบมน โคนใบเบี้ยว

เผยแพร่เมื่อ 26-05-2020 ผู้เช้าชม 2,684

ครอบจักรวาล

ครอบจักรวาล

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กสูงประมาณ 0.5-2 เมตร ตั้งตรง สามารถแตกกิ่งก้านได้มากตามลำต้น และกิ่งก้านได้มากตามลำต้น และกิ่งก้าน จะมีขนอ่อนนุ่มสีเทาปกคลุม  ใบเป็นใบเดี่ยวออกจากลำต้นแบบสลับ ใบกว้างรูปร่างแบบใบโพธิ์ ปลายใบไม่เรียวแหลมมากเหมือนใบโพธิ์ ขอบใบเป็นหยัก ฐานใบโค้งมนเว้าเข้าหาก้านใบเป็นรูปหัวใจ ออกตามซอกใบ เป็นดอกเดี่ยว ก้านดอกยาว ใกล้ฐานดอกมีรอยต่อที่ก้านดอก ดอกจะมีกลีบเลี้ยงติดกันสีเขียว มีกลีบดอก 5 กลีบ สีเหลือง มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก รังไข่อยู่ปลายสุดของดอกมีผนังรังไข่เรียงติดกันเป็นกลีบ รัศมีวงกลม  ผลมีลักษณะเป็นกลีบๆ เรียงติดกันคล้ายฟันเฟือง 15-20 กลีบ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. หนา 1-1.5 ซม. ผลอ่อนมีสีเขียวเมื่อแก่จะมีสีน้ำตาล เมล็ดรูปไต

 

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 4,580

ช้าพลู

ช้าพลู

ลักษณะทั่วไป  เป็นต้นไม้ล้มลุก เป็นไม้พันอาศัย หรือเถาทอดเลื้อย ไปตามพื้นดิน ปลายยอดตั้งขึ้นลำต้นสีเขียวมีข้อเป็นปม มีไหลงอกเป็นต้นใหม่ได้  ใบเป็นใบเดี่ยว  สีเขียวเข้ม เรียงสลับ รูปหัวใจ  ผิวใบมัน มีเส้นแขนงใบชัดเจน มีกลิ่นหอม และมีรสเผ็ดเล็กน้อย ดอกเป็นช่อออกตามใบรูปทรงกระบอก ห้อยเป็นสาย มีดอกฝอย ขนาดเล็ก แยกเพศ กลีบดอกสีขาว  ผลเป็นผลสดสีเขียว ลักษณะกลมผิวมัน ชอบขึ้นอยู่ตามที่ชื้นบริเวณโคนต้นไม้ใหญ่ในที่ร่ม การขยายพันธุ์ โดยการปักชำ  แตกหน่อ  ตำรายาไทยใช้ทั้งต้นขับเสมหะ ใบเป็นยาขับลม ช่วยเจริญอาหาร ขับเสมหะ รากบำรุงธาตุ นำไปรับประทานเป็นผัก

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,464

ถั่วพู

ถั่วพู

ถั่วพู (Winged Bean, Manila Pea, Goa Bean, Four-angled Bean) เป็นพืชจำพวกเถาที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ถั่วพูตะขาบ, ถั่วพูจีน, หรือถั่วพูใหญ่ เป็นต้น ซึ่งถั่วพูนั้นนับเป็นพืชสมุนไพรที่คนไทยนิยมนำฝักอ่อนมาบริโภคกันมากเลยทีเดียว เป็นพืชในเขตร้อน มีแหล่งกำเนิดอยู่ในไทย, พม่า, ลาว, ฟิลิปปินส์, อินเดีย, และปาปัวนิวกินี และขณะนี้ในรัฐฟลอริดาของสหรัฐอเมริกาก็ได้นำถั่วพูนี้ไปปลูกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 1,732

มะกา

มะกา

ต้นมะกา จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตร แตกกิ่งก้านแผ่กว้าง เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล พอลำต้นแก่จะแตกเป็นสะเก็ดยาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง และวิธีการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนระบายน้ำได้ดี ชอบความชื้นมาก และมีแสงแดดแบบเต็มวัน พบขึ้นตามป่าโปร่งทั่วทุกภาคของประเทศไทย ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรี ปลายใบมน โคนใบมน ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่น ตลอดทั้งขอบใบอ่อนและยอดอ่อนเป็นสีแดง แผ่นใบด้านหลังเกลี้ยงเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบเป็นคราบสีขาว เนื้อใบบาง หลังใบและท้องใบเรียบ ก้านใบสั้น

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 9,221

เทียนกิ่ง

เทียนกิ่ง

เทียนกิ่ง (Henna Tree, Mignonette Tree, Sinnamomo, Egyptian Privet) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น เทียนป้อม, เทียนต้น, เทียนย้อม หรือเทียนย้อมมือ เป็นต้น ซึ่งต้นเทียนกิ่งนั้นเป็นพืชพรรณไม้ของต่างประเทศ โดยมีแหล่งกำเนิดอยู่ทางตอนเหนือของประเทศแอฟริกา, ออสเตรเลีย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ในประเทศที่มีสภาพภูมิอากาศที่สามารถเพาะปลูกต้นเทียนกิ่งนี้ได้ดีคือ อียิปต์, อินเดีย และซูดาน

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 4,418

ผักบุ้ง

ผักบุ้ง

ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นพรรณไม้เลื้อยชนิดหนึ่ง ที่มีเนื้ออ่อนลำต้นกลวง มีข้อปล้องสีเขียว  ขึ้นเลื้อยตามหน้าน้ำ หรือดินแฉะ  ใบมีสีเขียวเข้ม ลักษณะของใบจะเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมแหลม คล้ายๆกับปลายหอก เป็นไม้ใบเดี่ยว อออกสลับทิศทางกันตามข้อต้น ใบยาว ประมาณ 2-3 นิ้ว  ดอกลักษณะของดอก เป็นรูประฆังเล็ก มีสีม่วงอ่อน ๆ หรือสีชมพูด้านในของโคนดอก จะมีสีเข้มกว่าด้านนอก ดอกบานเต็มที่ประมาณ 2 นิ้วและจะตกในฤดูแล้ง  ผลเป็นรูปมนรี คล้ายกับ capsule

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 4,758

คัดเค้า

คัดเค้า

คัดเค้าเป็นไม้เถาเนื้อเหนียวแข็งที่มีความสูงของลำต้นประมาณ 3 – 6 เมตร เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาล มักขึ้นพันเลื้อยไปยังต้นและกิ่งไม้ และตามลำต้นจะมีข้อและใบงอกออกมาเป็นคู่ๆ ข้อละ 1 คู่ พร้อมหนามแหลมงองุ้มออกจากโคนใบคล้ายเขาของควาย ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของต้นคัดเค้าเลยทีเดียว ส่วนใบนั้นจะเป็นใบเดี่ยว ออกแบบตรงข้ามกัน รูปรี โคนสอบ ปลายแหลม ขอบเรียบ และดอกนั้นจะออกเป็นช่อกระจุกอยู่ตามซอกใบเป็นช่อใหญ่ โดยมีลักษณะคล้ายกับดอกเข็ม ส่วนผลของคัดเค้าจะออกเป็นพวงหรือกลุ่ม มีลักษณะกลมหรือรี ผิวผลจะเรียบและมัน สีเขียวเข้ม แต่เมื่อสุกจะมีสีดำ ปลายผลจะแหลม ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก โดยออกผลในช่วงเดือนเมษายน

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 2,615

หญ้างวงช้าง

หญ้างวงช้าง

หญ้างวงช้าง เก็บ ทั้งต้นที่เจริญเต็มที่ มีดอก ล้างให้สะอาด ใช้สดหรือตากแห้งเก็บเอาไว้ใช้ก็ได้ ทั้งต้นรสขม ใช้เป็นยาเย็น แก้กระหายน้ำ ดับร้อนใน ขับปัสสาวะ แก้บวม แก้พิษปอดอักเสบ มีหนองในช่องหุ้มปอด เจ็บคอ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เด็กตกใจในเวลากลางคืนบ่อยๆ ปากเปื่อย แผลบวม มีหนอง และแก้ตาฟาง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,826

กระพี้จั่น

กระพี้จั่น

ต้นกระพี้จั่นเป็นไม้ต้น ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 8-20 เมตร เรือนยอดทรงกลม โคนต้นเป็นพูพอน เปลือกสีน้ำตาลหรือ น้ำตาลเทาแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ตามกิ่งมีรอยแผลทั่วไป ใบกระพี้จั่นประกอบรูปขนนก ออกเวียนสลับ มีใบย่อย 7-21 ใบ แผ่นใบย่อยรูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 1-3 เซนติเมตร ยาว 3-7 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนมนหรือแหลม แผ่นใบบาง

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 9,786