ไทยทรงดำ

ไทยทรงดำ

เผยแพร่เมื่อ 04-03-2020 ผู้ชม 5,582

[16.2354607, 99.5449164, ไทยทรงดำ]

           ชาวไทยทรงดำหรือคนทั่วไปเรียกว่า “ลาวโซ่ง” ที่หมู่ 6 บ้านห้วยน้อย ตำบลแม่ลาด ตำบลแม่ลาด อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร มีถิ่นกำเนิด ณ ดินแดนสิบสองจุไท ดินแดนแห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณรอยต่อระหว่างประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ ประเทศเวียดนามและประเทศลาว ชาวไทยทรงดำเรียกตัวเองว่า “ผู้ไต” หรือผู้ไตดำ” ชนชาตินี้มีประวัติความเป็นมานานนับพันปี และเจริญรุ่งเรืองด้วยศิลปะวัฒนธรรมและจารีตประเพณี มีการคิดค้นประดิษฐ์ตัวอักษรและปฏิทินขึ้นใช้เองในชนเผ่า วัฒนธรรมการแต่งกายมีเอกลกัษณ์เฉพาะตัว หญิงและชายจะสวมใส่เสื้อผ้าด้วยสีดำเป็นสีพื้นและมีการปักลวดลายด้วยเส้นไหม สีฉูดฉาดลงบนผืนผ้าพอดูงามตาคติความเชื่อของชาวไทยทรงดำ จะนับถือและให้ความสำคัญกับผีและเทวดา เพราะเชื่อว่าธรรมชาติที่อยู่รอบตัวเช่นแม่น้ำลำคลอง ป่าไม้ ภูเขา จะมีดวงวิญญาณต่าง ๆ สิงสถิตอยู่ และจะให้ความสำคัญสูงสุดกับ “พระยาแถน” ผู้เป็นใหญ่ในจักรวาลและดวงวิญญาณของพ่อแม่ และบรรพชนของตระกลู ในวิถีชีวิตของไทยทรงดำ จึงมีพิธีกราบไหว้บวงสรวงสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติที่เอื้ออำนวยประโยชน์ในการประกอบอาชีพทางการเกษตร ตลอดจนพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับดวงวิญญาณต่าง ๆ ของบรรพชน ซึ่งส่งผลให้สภาพสังคมโดยทั่วไปของชาวไทยทรงดำ มีกรอบของจารีตประเพณีและวัฒนธรรมช่วยจัดระเบียบสังคม จึงทำให้ชาวไทยทรงดำในดินแดนสิบสองจุไทอยู่ร่วมกัน และดำรงความเป็นกลุ่มชาติพันธุ์มาเนิ่นนานนับพันปี
          ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีและต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระมหากษัตริย์ไทยได้อพยพชาวไทยทรงดำจากดินแดนสิบสองจุไทยมาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย ณ จังหวัวเพชรบุรี ด้วยเหตุผลทางการปกครอง ครั้นต่อมาในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ และต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ (พ.ศ.๒๔๐๐-๒๔๒๐)ได้มีไทยทรงดำหลายกลุ่มทยอยอพยพจากจังหวัดเพชรบุรี มาตั้งถิ่นฐานในหลายพื้นที่ของจังหวัดสุพรรณบุรี และส่วนหนึ่งได้ตั้งถิ่นฐานที่บ้านดอนมะนาว บ้านบางเลน บ้านหัวโพธิ์ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี มากว่า ๑๐๐ ปี มาแล้ว บางส่วนอพยพมาอยู่ที่ชยันาท นครสวรรค์ และกำแพงเพชร
          วิถีชีวิตชาวไทยทรงดำ มีความเชื่อเรื่อง “ผี” และเรื่อง “ขวัญ” โดยเชื่อว่าสิ่งต่าง ๆ ในโลกอยู่ภายใต้อำนาจของผีและสิ่งเหนือธรรมชาติ ดังนั้นชีวิตความเป็นอยู่และพิธีกรรมต่าง ๆ จึงมีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับผีประเภทต่าง ๆ การนับถือผีของไทยโซ่งมีทั้งผีดีและผีร้าย ที่สามารถบันดาลให้ชีวิตและครอบครัวเป็นไปตามความพอใจของผี จากการนับถือผีและความเชื่อเรื่องขวัญ จึงได้ก่อให้เกิดพิธีกรรมและจารีตประเพณีต่าง ๆ ในวิถีชีวิตของชาวไทยทรงดำ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชนเผ่าที่เด่น ๆ เช่น “พิธีเสนเรือน” “พิธีหน่องก๊อ” “พิธีป้าดตงข้าวใหม่”
          ไทยโซ่งจะมีการลำดับชั้นทางสังคมโดยใช้วงศ์ตระกูลหรือครอบครัวเป็นเกณฑ์ แบ่งออกเป็น ๒ ชน ชั้น ได้แก่ “ชนชั้นผู้ท้าว” หมายถึงผู้สืบเชื้อสายมาจากเจ้า “ชนชั้นผู้น้อย”คือคนที่เกิดในตระกูลสามัญชน วิถีชีวิตส่วนใหญ่จะเป็นสังคมเกษตรกรรมทำนา ทำไร่
          พิธีเสนเรือน เป็นพิธีสำคัญพิธีหนึ่งของลาวโซ่ง ซึ่งจะขาดหรือละเลยเสียมิได้ เนื่องจากเชื่อว่าเป็นการกระทำที่เพิ่มความเป็นสวัสดิมงคลแก่ครอบครัว และจะต้องจัดทำอย่างน้อยปีละครั้งเพราะคำว่า "เสน" ในภาษาลาวโซ่ง หมายถึง การเซ่นหรือสังเวย 
          "เสนเรือน" จึงหมายถึงการเซ่นไหว้ผีเรือนของพวกลาวโซ่ง อันได้แก่ การเซ่นไหว้ปู่ ย่า ตา ยาย รวมทั้งบรรพบุรุษทุกคนให้มารับเครื่องเซ่นไหว้ ที่บุตรหลานจัดหามาเซ่นไหว้ จะได้ไม่อดยาก และจะได้คุ้มครองบุตรหลานให้มีความสุขความเจริญสืบไป 
           การทำพิธีเสนเรือน เจ้าภาพจะเชิญผู้ประกอบพิธีคือ "หมอเสน" มาเป็นผู้ประกอบพิธีเสนเรือน พร้อมกับแจ้งญาติพี่น้องให้ทราบกำหนดวันทำพิธีไหว้ผีเรือน หรือเสนเรือน และจัดเตรียมเครื่องใช้ในการทำพิธีให้เรียบร้อย ได้แก่ เสื้อฮี-ส้วงฮี สำหรับเจ้าภาพสวมใส่ขณะทำพิธีเสนเรือน ปานเผือน (ภาชนะคล้ายกระจาดขนาดใหญ่ บรรจุอาหารเครื่อง เซ่นผีเรือน) ปานข้าว (ภาชนะใส่อาหารในหม้อเสน) ตั่งก๋า (เก้าอี้ หรือม้านั่งสำหรับหมอเสนนั่งทำพิธีในห้องผีเรือน) และอาหารที่เป็นเครื่องเซ่นต่าง ๆ อาทิ หมูจุ๊บ (เนื้อหมู เครื่องในหมูยา) แกงไก่กับหน่อไม้เปรี้ยว เนื้อหมูดิบ ซี่โครงหมู ไส้หมู ข้าวต้มผัดใส่กล้วย มันเทศต้ม เผือกต้ม อ้อย ขนม ผลไม้ต่าง ๆ ตามฤดูกาล ข้าวเหนียวนึ่ง ๗ ห่อ ตะเกียบ ๗ คู่ หมากพลูบุหรี่และเหล้า เป็นต้น 
          เมื่อได้เวลาเซ่นไหว้ผีเรือน เจ้าภาพจะจัดเครื่องเซ่นต่าง ๆ บรรจุลงในปานเผือนที่เตรียมไว้ และยกเข้าไปวางไว้ในห้องผีเรือนที่เรียกว่า "กะล่อห่อง" ซึ่งเป็นสถานที่ทำพิธี หมอเสนจะเริ่มเซ่นไหว้ ด้วยการเรียกหรือกล่าวเชิญบรรดาผีเรือนที่เป็นบรรพบุรุษของเจ้าภาพ โดยเรียกชื่อบรรพบุรุษตามบัญชีรายชื่อที่เจ้าภาพจดร่วมกันไว้ในสมุดผีเรือน เรียกว่า "ปั๊บผีเรือน" หรือ "ปั๊บ" จนครบทุกรายชื่อเป็นจำนวน ๓ ครั้ง แต่ละครั้ง หมอเสนจะใช้ตะเกียบคีบหมูกับขนมทิ้งลงไปในช่องเล็ก ๆ ข้างขวาห้องผีเรือนที่ละครั้ง จึงเซ่นเหล้าแก่ผีเรือนอีก ๒ ครั้ง เพราะการเซ่นเหล้าเป็นสิ่งสำคัญอันไม่อาจขาดหรืองดเสียได้ เพื่อให้ผีเรือนได้กินอาหารและดื่มเหล้าอย่างอุดมสมบูรณ์ หลังจากเซ่นไหว้ผีเรือนเรียบร้อยแล้ว หมอเสนจะทา พิธีเสี่ยงทายให้แก่เจ้าภาพเรียกว่า "ส่องไก่" ด้วยการพิจารณาลักษณะของตีนไก่ในแกงหน่อไม้เปรี้ยวที่เจ้าภาพนำมาให้ และจัดทำนายในลักษณะดังกล่าวคือหากตีนไก่หงิกงอแสดงว่า ไม่ดีจะมีเรื่องร้ายเกิดขึ้น อันได้แก่ การเจ็บป่วย การตาย หรือการทำมาหากินประสบปัญหาต่าง ๆ เป็นต้น แต่ถ้าตีนไก่เหยียดตรงแสดงว่าทุกคนในครอบครัวของเจ้าภาพจะประสบแต่ความสุขความเจริญต่อจากนั้น เจ้าภาพจะทำพิธีขอบคุณหมอเสนที่มาช่วยทำพิธีเสนเรือนให้แก่ครอบครัวของตนเรียกว่า "ฟายหมอ" แล้วจึงเลี้ยงอาหารแขกที่มาช่วยงานเป็นอันเสร็จพิธีเสนเรือน

คำสำคัญ : ไทยทรงดำ

ที่มา : องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลาด. (2558). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา ตำบลแม่ลาด อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ลาด.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ไทยทรงดำ. สืบค้น 27 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1338&code_db=610004&code_type=03

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1338&code_db=610004&code_type=03

Google search

Mic

ประเพณีการแห่ดอกไม้

ประเพณีการแห่ดอกไม้

เช้าวันที่ 14 เมษายน วันแรกของการแห่ต้นดอกไม้ แต่เดิมชาวบ้านแม่ลาดใหญ่ ผู้ชายจะไปตัดไม้ไผ่ในหมู่บ้านมาเตรียมไว้ตั้งแต่เช้า เช้านั้นสนุกสนานมากได้นั่งรถอีแต๊กแบบที่เรียกว่ารถไถไทย ประดิษฐ์ แต่นำมาดัดแปลงใส่ที่นั่งทั้งด้านหน้า และด้านหลัง เพื่อตัดไม้ไผ่ โดยจะเลือกตัดหลายขนาด ตามแต่ว่าจะนำไปใช้ทำโครงสร้างส่วนใดของต้นดอกไม้ มีทั้งต้นเล็กและต้นใหญ่เมื่อได้ไม้ไผ่ที่ต้องการ แล้วก็จะนำมาช่วยกันประกอบโครง โดยโครงสร้างจะต้องทำด้วยไม้ไผ่ทั้งหมด ไม่มีลวด ตะปู โดยไม่ว่าจะเป็นต้นดอกไม้ขนาดเล็กหรือใหญ่ 

เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 2,731

ประเพณีการทำบุญกลางบ้าน

ประเพณีการทำบุญกลางบ้าน

ลักษณะความเชื่อเป็นการทำบุญ ตลอดจนบูชาและอุทิศส่วนกุศลให้พระภูมิเจ้าที่ เจ้ากรรมนายเวร เพื่อขอความคุ้มครองให้อยู่เย็นเป็นสุขและประสบความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน ขับไล่สิ่งเลวร้ายต่าง ๆ ที่ผ่านมาให้หมดสิ้นไปด้วยการสะเดาะเคราะห์ และขอให้ฝนตกตามฤดูกาล อันจะทำให้พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ ความสำคัญสร้างความสามัคคีของคนในหมู่บ้านให้มีความรักสามัคคี ไต่ถามทุกข์สุขซึ่งกันและกัน มีปัญหาช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 5,553

ประเพณีการยกธง

ประเพณีการยกธง

ประเพณี “ยกธงเลิกวันสงกรานต์” ประวัติิความเป็นมาในพื้นที่หมู่ที่ 2 บ้านแม่ลาดใหญ่ ตำบลแม่ลาด มีกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง พักอาศัยอยู่จึงได้นำเอาวัฒนธรรมท้องถิ่น การยกธงเลิกสงกรานต์มาสืบทอด โดยถือว่าวันสงกรานต์เป็นวันเริ่มต้นปีใหม่ คือวันที่ ๑๓ เมษายน ของทุกปี ซึ่งคำว่าสงกรานต์ แปลว่า ล่วง หรือเลยไป เคลื่อนไป การต้อนรับปีใหม่ถือว่าสำคัญเพราะปีหนึ่งมีครั้งเดียว การได้รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุพร้อมทั้งขอพรจากผู้ใหญ่ ถือเป็นประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามยิ่งที่คนไทยทุกคน ทุกชนชั้นได้ปฏิบัติสืบต่อกันมา

เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 3,835

ประเพณีการสรงน้ำพระ

ประเพณีการสรงน้ำพระ

การสรงน้ำพระพุทธรูป อาจจะจัดเป็นขบวนแห่ หรืออัญเชิญพระพุทธรูปมาประดิษฐานในที่อันเหมาะสม การสรงน้ำจะใช้น้ำอบ น้ำหอม หรือน้ำที่ผสมด้วยน้ำอบ น้ำหอมประพรมที่องค์พระ การสรงน้ำพระภิกษุสามเณรจะใช้แบบเดียวกับอาบน้ำ คือ การใช้ขันตักรดที่ตัวท่าน หรือที่ฝ่ามือก็ได้ แล้วแต่ความนิยม หากเป็นการสรงน้ำแบบอาบน้ำพระ จะมีการถวายผา้สบงหรือถวายผ้าไตรตามแต่ศรัทธาด้วย

เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 11,079

ไทยทรงดำ

ไทยทรงดำ

ชาวไทยทรงดำหรือคนทั่วไปเรียกว่า “ลาวโซ่ง” ที่หมู่ 6 บ้านห้วยน้อย ตำบลแม่ลาด ตำบลแม่ลาด อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร มีถิ่นกำเนิด ณ ดินแดนสิบสองจุไท ดินแดนแห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณรอยต่อระหว่างประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ ประเทศเวียดนามและประเทศลาว ชาวไทยทรงดำเรียกตัวเองว่า “ผู้ไต” หรือผู้ไตดำ” ชนชาตินี้มีประวัติความเป็นมานานนับพันปี และเจริญรุ่งเรืองด้วยศิลปะวัฒนธรรมและจารีตประเพณี มีการคิดค้นประดิษฐ์ตัวอักษรและปฏิทินขึ้นใช้เองในชนเผ่า วัฒนธรรมการแต่งกายมีเอกลกัษณ์เฉพาะตัว หญิงและชายจะสวมใส่เสื้อผ้าด้วยสีดำเป็นสีพื้นและมีการปักลวดลายด้วยเส้นไหม

เผยแพร่เมื่อ 04-03-2020 ผู้เช้าชม 5,582

วัฒนธรรมลาวครั่ง

วัฒนธรรมลาวครั่ง

ลาวคั่ง หรือลาวครั่ง ในเขตภาคกลางตอนบนนั้น มีหลักฐานประวัติความเป็นมา พบว่าบรรพ บุรุษได้อพยพมาจากอาณาจักรเวียงจันทน์ และหลวงพระบางพร้อมกับลาวกลุ่มอื่น ๆ ได้อพยพเข้ามาที่ ประเทศไทยด้วยเหตุผลที่ทางการเมืองและเป็นเชลยศึกยามสงคราม อาศัยอยู่บริเวณภาคกลางของ ประเทศไทย จากการสันนิษฐานลาวครั่งเป็นชื่อของภาษาและกลุ่มผู้มีเชื้อสาย ลาวกลุ่มหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่ ในภาคกลางของประเทศไทยเช่นในจังหวัดนครปฐม จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดชัยนาท จังหวัดอุทัยธานี ฯลฯ ลาวครั่งมักจะเรียกตนเองว่า "ลาวขี้ครั่ง" หรือ "ลาวคั่ง"

เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 6,408

การก่อเจดีย์ทราย

การก่อเจดีย์ทราย

มีเรื่องเล่าว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จไปยังเมืองสาวัตถีพร้อมบริวาร ได้เห็นหาดทรายขาว บริสุทธิ์ก็เกิดจิตศรัทธาก่อทรายเป็นเจดีย์ 8 หมื่น 4 พันองค์ แล้วอุทิศเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา และสังฆบูชา เมื่อพระองค์ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าก็ได้ทูลถามถึงอานิสงส์การก่อเจดีย์ทรายดังกล่าว พระพุทธเจ้าตรัสว่า การที่มีจิตเลื่อมใสศรัทธาก่อเจดีย์ทรายถึง 8 หมื่น 4 พันองค์ หรือเพียงองค์เดียวก็ได้อานิสงส์มาก คือจะไม่ตกนรกหลายร้อยชาติ ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็จะเพียบพร้อมไปด้วยยศถาบรรดาศักดิ์ มีบริวารและเกียรติยศชื่อเสียง หากตายก็จะได้ขึ้นสวรรค์ พรั่งพร้อมด้วยสมบัติและมีนางฟ้าเป็นบริวาร ด้วยอานิสงส์ดังกล่าวจึงทำให้คนโบราณนิยมก่อเจดีย์ทรายเป็นประเพณีมาจนทุกวันนี้

เผยแพร่เมื่อ 04-03-2020 ผู้เช้าชม 8,413

ประเพณีการอาบน้ำผู้ใหญ่

ประเพณีการอาบน้ำผู้ใหญ่

ช่วงเวลาระหว่างวันที่ 13-15 เดือนเมษายน (เดือน 5) ของทุกปี ซึ่งจะเลือกทำวันไหนก็ได้ จะเป็นตอนเช้าหรือตอนบ่ายเป็นไปตามการนัดหมายของแต่ละครอบครัว แต่ละบ้านโดยนัดหมายสถานที่และวัน เวลาไว้ล่วงหน้าเป็นประจำทุกปี ซึ่งอาจเป็นที่บ้านหรือที่วัดก็ได้ตามความเหมาะสม ความสำคัญประเพณี อาบน้ำผู้ใหญ่เป็นวิธีการแสดงออกซึ่งความเคารพนับถือแก่บิดามารดา และญาติคนแก่ (ผู้อาวุโส) ของตระกลู รวมทั้งผู้มีพระคุณและบุคคลที่ตนเคารพนับถือ

เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 5,665

พิธีกรรมและความเชื่อของชาวลาวครั่ง

พิธีกรรมและความเชื่อของชาวลาวครั่ง

ลาวครั่ง มีความเชื่อในเรื่องผีบรรพบุรุษเป็นอย่างมาก การนับถือผีของชาวลาวครั่งเป็นการถือผีตามบรรพบุรุษ คือผีเจ้านายและผีเทวดา การนับถือมีอิทธิพลต่อชาวลาวครั่งมาก แม้แต่ในแง่ของการดำเนินชีวติไม่ว่าจะเป็นการประกอบพิธีกรรมหรือการดำรงชีวติประจำวัน ก็จะต้องไปข้องเกี่ยวกับผีของบรรพบุรุษ เนื่องจากอาชีพหลักของชาวลาวครั่ง คือการทำนา จึงมีประเพณีความเชื่อที่ถือปฏิบัติกันมา เพื่อความอุดมสมบูรณ์ คือ พิธีบูชาเซ่นสรวงแม่ธรณี และแม่โพสพ ก่อนหว่านข้าวเป็นการบอกกล่าวแม่ธรณีโดยจัดวางเครื่องเซ่นไว้บนพื้นดินบริเวณหัวคันนาและกล่าวแก่แม่ธรณีว่าจะทำนาแล้วขอให้คนและควายอยู่ดีมีสุขสบาย

เผยแพร่เมื่อ 05-03-2020 ผู้เช้าชม 11,687

การทำขวัญข้าวของลาวครั่ง

การทำขวัญข้าวของลาวครั่ง

เมื่อข้าวออกรวงแก่ใกล้จะเก็บเกี่ยวได้แล้วจะเป็นสีเหลืองอร่ามไปทั่วทุ่งนา ชาวนาจะต้องระมัดระวังสัตว์ร้ายหลายประเภทที่เป็นศัตรูข้าว เช่น นกกระจาบที่ชอบพากันมากินข้าวเป็นฝูง ๆ หรือปูที่ทำอันตรายต้นข้าวมากกว่านกกระจาบ นอกนั้นมีสัตว์อื่น ๆ อีก เช่น หนูพุก และเต่านา ดังนั้นในตอนนี้ชาวนาต้องทำหุ่นไล่กา หรือทำที่พักสำหรับไล่นก หรือทำเป็นกังหันให้ลมพัดหมุนมีเสียงดังหรือทำอย่างอื่นเพื่อคอยดูแลต้นข้าว นอกจากนี้มีพิธีไล่หนู นก เพลี้ย แมลง ปู หนอน และศัตรูข้าวอื่น ๆ พิธีทำขึ้นเพื่อไม่ให้ถูกนก หนูและสัตว์อื่น ๆ มาทำลายต้นข้าว 

เผยแพร่เมื่อ 04-03-2020 ผู้เช้าชม 2,131