เมืองไตรตรึงษ์ เมืองแห่งการกำเนิดราชวงศ์เชียงราย

เมืองไตรตรึงษ์ เมืองแห่งการกำเนิดราชวงศ์เชียงราย

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้ชม 2,028

[16.3194159, 99.4823679, เมืองไตรตรึงษ์ เมืองแห่งการกำเนิดราชวงศ์เชียงราย]

           ในหนังสือพระราชพงศาวดาร ฉบับ รศ. 125 ซึ่งดำเนินเรื่องตามต้นพระราชพงศาวดารได้กล่าวไว้ดังนี้ “เดิมพระเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่งครองราชย์สมบัติอยู่ ณ เมืองเชียงรายโยนกประเทศ เป็นพระนครใหญ่ มีพระเจ้ามหาราชพระองค์หนึ่ง ครองราชย์สมบัติอยู่ ณ เมืองสตอง ยกกองทัพมาตีเมืองเชียงรายได้ทำสงครามแก่กัน พระเจ้าเชียงรายพ่ายแพ้เสียเมืองแก่พระยาสตอง จึงกวาดครอบครัวอพยพชาวเมืองเชียงราย หนีข้าศึกลงมายังแว่นแคว้นสยามประเทศนี้ ข้ามแม่น้ำโพมาถึงเมืองแปปเป็นเมืองร้าง อยู่คนละฟากฝั่งกับเมืองกำแพงเพชร ด้วยบุญญานุภาพของพระองค์เป็นมหัศจรรย์บันดาลให้ร้อนถึงสมเด็จอัมรินทราธิราชเนรมิต พระกายเป็นดาบส เสด็จลงมาประดิษฐานอยู่ตรงหน้าช้างพระที่นั่ง แล้วตรัสบอกว่าให้ตั้งพระนครในที่นี้ เป็นที่ชัยมงคลพ้นภัยปัจจามิตร แล้วก็อันตรธานหายไปเฉพาะพระเนตร พระเจ้าเชียงรายก็ทรงพระโสมนัสตรัสว่า พระดาบสองค์นี้ ชะรอยจะเป็นสมเด็จอำมรินทราธิราชแสร้งจำแลงพระกายมาบอกให้เป็นแน่แท้ จึงให้ตั้งชมรมสำนักไพร่พลอยู่ในที่นั้น แล้วให้สร้างพระนครพร้อมด้วยเชิงเทินป้อมค่ายคูประตูหอรบครบบริบูรณ์ แล้วสร้างพระราชนิเวศน์สถาน แลบ้านเรือนแสนท้าวพระยาลาวเหล่าอำมาตย์ราษฎรทั้งปวงอาศัยอยู่ในเมืองนั้นสำเร็จแล้ว ให้นามเมืองว่าไตรตรึงษ์ เหตุสมเด็จท้าวสหัสไนยน์มาชี้ที่ให้เสด็จครองราชย์สมบัติอยู่ในพระนครนั้น ตราบเท่าทิวงคต และพระราชโอรสนัดดาได้ครองสมบัติสืบต่อพระราชวงศ์ติดต่อกันมาถึง 4 ชั่วแผ่นดิน
           ครั้งนั้นยังมีชายเข็ญใจคนหนึ่ง เป็นปมเปาทั่วทั้งกาย คนทั้งหลายร้องเรียกชื่อว่านายแสนปม นายแสนปมนั้นท้าไร่ปลูกพริก ปลูกมะเขืออยู่ที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำใต้เมืองไตรตรึงษ์ลงทางวันหนึ่ง ได้เก็บผลพริกมะเขือขายเลี้ยงชีวิต แลมะเขือต้นหนึ่งนั้นอยู่ใกล้ห้างที่อาศัย นายแสนปมไปถ่ายปัสสาวะลงที่ริมต้นนั้นเป็นนิจ มะเขือก็ออกผลผลหนึ่งใหญ่กว่ามะเขือทั้งปวง เหตุด้วยรดแห่งมูตร์อันเจือไปด้วยสัมภวะราด พอพระราชธิดาพระยาไตรตรึงษ์อยากเสวยผลมะเขือ จึงให้สาวใช้ไปเที่ยวซื้อก็ได้ผลมะเขือใหญ่นั้นมาเสวย นางก็ทรงพระครรภ์ ทราบถึงพระราชบิดาตรัสไต่ถามก็ไม่ได้ความว่าคบหาสมัครสังวาศกับด้วยบุรุษผู้ใด จนพระครรภ์แก่กำหนดทศมาศก็ประสูตร์พระราชกุมารบริบูรณ์ด้วยบุญธัญลักษณะ พระญาติวงษ์ทั้งหลายบำรุงเลี้ยงพระราชกุมารจนทรงจำเริญขึ้นพระชนม์ได้ 3 ขวบ           สมเด็จพระไอยกาทรงพระราชดำริห์ จะทดลองเสี่ยงทายแสวงหาบิดาพระราชกุมาร จึงให้ตีกลองป่าวร้องแต่บรรดาชายชาวเมืองให้เข้ามาประชุมในหน้าพระลานให้สิ้น ให้ถือขนมและผลไม้สิ่งใดสิ่งหนึ่งมาจงถ้วนทุกคน แล้วจึงทรงพระสัตยาธิฐานว่า ถ้าบุรุษผู้ใดเป็นบิดาของกุมารนี้ ขอให้กุมารจงรับเอาสิ่งของในมือแห่งบุรุษผู้นั้นมาบริโภคให้เห็นประจักษ์เถิด แล้วให้นางนมอุ้มพระราชกุมารออกไปที่ประชุมชนในพระลาน 
           ฝ่ายนายแสนปมนั้น...ถือข้าวเย็นก้อนหนึ่ง พระราชกุมารก็วิ่งกอดคอ... เอาข้าวเย็นมาเสวย   ชนทั้งปวงเห็นก็พิศวงชวนกันกล่าวติเตียน พระเจ้าไตรตรึงษ์ละอายพระทัยในความอัปยศ จึงประทาน พระราชธิดากับทั้งพระนัดดานั้นให้แก่นายแสนปม แล้วให้ลงแพลอยไปจากเมือง ครั้นแพลอยลงไปถึงที่ไร่มะเขือนายแสนปมก็พาบุตรภรรยาขึ้นอยู่บนห้างอันเป็นที่อาศัย ด้วยบุญญานุภาพของชนทั้งสามก็บันดาลให้ร้อนถึงองค์สมเด็จอัมรินทราธิราช จึงเนรมิตพระกายเป็นวานร ถือเอากลองทิพย์มาส่งให้แก่นายแสนปม แล้วตรัสบอกว่า ถ้าท่านจะปรารถนาสิ่งใดจงตีเภรีนี้อาจขอให้สำเร็จตามความปรารถนา ทุกประการ ว่าแล้ววานรก็หายไปในที่เฉพาะหน้า นายแสนปมก็แจ้งว่าเทพยดานำเอากลองทิพย์มาให้มีความยินดีมากนัก จึงตีกลองเข้าปรารถนาจะให้รูปงาม แลปมเปาทั้งปวงนั้นก็หายสิ้น รูปกายงามบริสุทธิ์ แล้วจึงเอากลองทิพย์กลับไปสู่ที่พักบอกแก่ภรรยา นางนั้นมีความโสมนัส จึงตีกลองนิรมิต ทองธรรมชาติให้ช่างทอง ทำอู่ทองให้โอรสไสยาศน์        
           เหตุดังนั้นพระราชกุมารจึงได้นามปรากฏว่า พระเจ้าอู่ทอง จำเดิมแต่นั้นมาจุลศักราช 681 ปีมะแมเอกศก บิดาพระเจ้าอู่ทองราชกุมารก็ตีทิพย์เภรีนฤมิตร์เป็นพระนครขึ้น ในที่นั้นมีทั้งปราการเชิงเทินป้อมค่ายคูประตูหอรบครบบริบูรณ์ทุกสิ่งพร้อมทั้งพระราชวังบวรนิเวศน์สถาน จึงตั้งนามว่า เมืองเทพนคร เหตุสำเร็จด้วยเทวานุภาพ ครั้งนั้นประชาชนทั้งหลายชักชวนกันมาอาศัย ตั้งบ้านเรือนอยู่ในพระนครนั้นเป็นอันมาก เมืองนั้นก็มั่งคั่งบริบูรณ์ด้วยอาณาประชาราษฎร แลบิดาเจ้าอู่ทองก็ได้ครองราชย์สมบัติ ในเมืองเทพนครนั้น ทรงนามสมเด็จพระเจ้าศิริไชยเชียงแสน เลืองลือพระเกียรติยศปรากฎในสยามประเทศนี้ จุลศักราช 706 ปีวอกฉอศก สมเด็จพระเจ้าศิริไชยเชียงแสน ผู้ประกอบด้วยพระราชกฤษฎา บุญญานุภาพอันเป็นที่มหัศจรรย์ ได้เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติครอบครองไพร่ฟ้าประชาชนได้ 25 พรรษา ก็เสด็จสวรรคตในปีวอกฉอศกนั้น ครั้นสวรรคตแล้วกลองทิพย์อันพระอินทร์พระราชทานมาก็อันตรธานหายไปด้วย พระเจ้าอู่ทองราชโอรสจึงเสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชมไหสวรรย์ แทนสมเด็จพระบรมราชบิดาแล้วจึงให้กระทำการฌาปนกิจถวายพระเพลิงพระบรมศพเสร็จแล้วพระองค์ดำรงราชอาณาจักรอยู่ในเมืองเทพนครนั้น ได้ 6 พรรษา มีพระราชหฤทัยประสงค์จะสร้างพระนครใหม่ ตรัสให้ขุนตำรวจไปเที่ยวตรวจหาภูมิประเทศแห่งใหม่ที่อันมีพรรณมัจฉาชาติบริบูรณ์ทุกสิ่ง ขุนตำรวจได้เที่ยวตรวจหาสถานที่ซึ่งจะตั้งเป็นพระนครลงมาทางด้านทิศใต้ จนถึงท้องที่ตำบลหนองโสน อันประกอบด้วยพรรณมัจฉาชาติครบบริบูรณ์ จึงกลับขึ้นไปกราบทูลพระกรุณาให้ทราบ เมื่อความทราบดังนั้นสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ได้เสด็จกรีฑาพลากรโยธาประชาราษฎรทั้งปวงลงมายังพื้นที่แห่งนั้นให้ตั้งพระต้าหนักที่ประทับพลับพลาไชย ณ ตำบลเวียงเหล็ก ให้จัดการทุบปราบที่อันจะตั้งเมือง ทำอิฐเผาปูนซึ่งจะก่อกำแพงพระนครให้ขนานนามพระนคร อันที่สร้างใหม่เป็นนามต้นว่า กรุงเทพมหานคร นามหนึ่งชื่อ บวรทวาราวดี เหตุมีน้ำล้อมรอบดุจเมืองทวาราวดี แต่ก่อนนามหนึ่งชื่อ ศรีอยุธยา เหตุเอานามเมืองสมเด็จพระนารายน์อวตารมาประกอบเข้าทั้ง 3 นามประมวลเข้าด้วยกัน จึงเรียกชื่อว่า กรุงเทพมหานครบวรทวาราวดีศรีอยุธยามหาดิลกภพนพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราช นิเวศน์มหาสถาน” 

มีการวิเคราะห์และตีความของนักประวัติศาสตร์ เชื่อมโยงกับต้านานของทางล้านนาหลายฉบับ เช่น ตำนานโยนกเชียงแสน ตำนานสิงหนวัติกุมาร ตำนานจุลยุทธกาลวงศ์ ซึ่งประมวลความตามตำนานได้ว่า พระราชวงศ์เชื้อสายจากพระเจ้าสิงหนวัติ พระเจ้าพรหม และพระราชโอรสคือพระเจ้า   ศิริไชยเชียงแสน ซึ่งครองอยู่เมืองเชียงราย ได้หนีภัยสงครามมาตั้งเมืองใหม่ในเขตพื้นที่ของจังหวัดกำแพงเพชร มีชื่อเมืองว่า "เมืองไตรตรึงษ์ " ซึ่งเป็นเมืองที่เป็นต้นเรื่องของตำนาน ท้าวแสนปม ผู้เป็นราชบุตรเขยของราชาแห่งเมืองไตรตรึงษ์ ซึ่งต่อมาท้าวแสนปมทรงย้ายมาสร้างเมือง "เทพนคร" ขึ้นที่บริเวณฝั่งตรงข้ามกับเมืองไตรตรึงษ์ และทรงเป็นพระราชบิดาของพระเจ้าอู่ทอง ต่อมาพระเจ้าอู่ทองจึงย้ายเมืองมาสร้างเมืองอยุธยา จากความเชื่อมโยงดังกล่าว ทำให้นักประวัติศาสตร์บางท่านสมมุติชื่อราชวงศ์นี้ว่า "ราชวงศ์เชียงราย" ด้วยเช่นกัน

คำสำคัญ : ไตรตรึงษ์

ที่มา : เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์. (ม.ป.ป). กำแพงเพชร: ม.ป.ท.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เมืองไตรตรึงษ์ เมืองแห่งการกำเนิดราชวงศ์เชียงราย. สืบค้น 2 พฤษภาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1317&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1317&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

ธงประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ธงประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ธงประจำจังหวัดกำแพงเพชร เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีพื้นสีอยู่ 3 สี คือ สีเหลือง สีแดง และสีเขียวใบไม้ มีรูปตราประจำจังหวัดกำแพงเพชรอยู่ตรงกลางแถบสีแดง แถบสีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองของเมืองกำแพงเพชร โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางพระพุทธศาสนา กำแพงเพชรมีโบราณสถานและโบราณวัตถุมากมายและย่ิงใหญ่ที่สุดจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย กำแพงเพรมีพระเครื่องนับพันพิมพ์ จนได้รับการยกย่องให้เป็นจังหวัดที่ีพระเครื่องมากที่สุด และทรงคุณค่ามากที่สุดจนเป็นคำขวัญประจำจังหวัดวรรณหนึ่งว่า "กรุพระเครื่อง" แถบสีเขียว หมายถึง เมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ เต็มไปด้วยป่าไม้ น้ำตก และพืชพันธุ์ธัญญาหาร เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญ มีประชากรจากทุกสารทิศอพยพเข้ามาสู่เมืองกำแพงเพชรอย่างมากมาย ความหมายโดยรวม เมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างย่ิงทางด้านพระพุทธศาสนา ประชาชนมีความกล้าหาญในการสงครามอย่างหาที่เปรียบมิได้ มีความอุดมสมบูรณ์ในการเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศไทยมาโดยตลอด

เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 2,603

พญาลิไทกับวัดพระบรมธาตุนครชุม

พญาลิไทกับวัดพระบรมธาตุนครชุม

วัดพระบรมธาตุ พระอารามหลวง เป็นวัดที่ตั้งอยู่ภายในเมืองนครชุม สันนิษฐานว่าสร้างมาแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย ดังความที่ปรากฏใน จารึกหลักที่ ๓ ศิลาจารึกนครชุม) กล่าวถึงพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) เสด็จฯ ไปทรงสร้างพระธาตุและทรงปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ที่เมืองนครชุม ใน พ.ศ.1900 พระธาตุที่กล่าวไว้ในจารึกเชื่อกันว่าอยู่ที่วัดพระบรมธาตุแห่งนี้ เจดีย์ที่วัดพระบรมธาตุเดิมมี 3 องค์ องค์กลางเป็นรูปพระเจดีย์ไทย (น่าจะหมายถึงพระเจดีย์ทรงดอกบัวหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์) ฝีมือช่างสมัยสุโขทัย แต่ที่พบในปัจจุบันเป็นแบบพระเจดีย์พม่าเพราะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชานุญาติให้พ่อค้าชาวพม่าชื่อ “พญาตะก่า” ซ่อมแซมปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ ซึ่งชาวพม่าผู้ศรัทธานั้นได้สร้างตามแบบเจดีย์พม่า และมีขนาดใหญ่กว่าองค์เดิม

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 4,788

ประวัติบ้านโคน

ประวัติบ้านโคน

ในยุคแรกของบ้านโคนนั้น มีเรื่องราวที่กล่าวถึงชุมชนบ้านโคนในหลักศิลาจารึกสุโขทัยและในตำนาน “ ชินกาลมาลีปกรณ์ “ มีข้อความระบุว่าบ้านโคน ยังมีชายหนุ่มรูปงามมีกำลังมาก ท่องเที่ยวอยู่ในป่า มีนางเทพธิดาองค์หนึ่งเห็นชายคนนั้นแล้วใคร่อยากร่วมสังวาสด้วย จึงแสดงมารยาหญิง ชายคนนั้นก็ร่วมสังวาสกับเทพธิดาองค์นั้น จึงเกิดบุตรชาย และบุตรชายคนนั้นก็มีกำลังมาก รูปงาม เพราะฉะนั้นชาวบ้านทั้งปวงจึงพร้อมใจกันทำราชาภิเษกบุตรชายนั้น…. ครองราชสมบัติในเมืองสุโขทัย ปรากฏพระนามในครั้งนั้นว่า “ โรจราจ “ บ้านโคนเป็นชุมชนที่เก่าแก่มากในทางประวัติศาสตร์เกิดมานานกว่า 700 ปีมาแล้ว สภาพทางภูมิศาสตร์มีความอุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำปิงไหลผ่านเหมาะต่อการทำมาหากิน ชุมชนบ้านโคนเดิมตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำปิงฝั่งตะวันออก 

เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้เช้าชม 2,270

เมืองไตรตรึงษ์สมัยธนบุรี

เมืองไตรตรึงษ์สมัยธนบุรี

ในสมัยกรุงธนบุรีพบหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเมืองไตรตรึงษ์เพียงเล็กน้อย โดยเป็นจดหมายเหตุความทรงจำกรมหลวงนรินทรเทวี กล่าวถึงสมัยกรุงธนบุรี เมื่อพ.ศ. 2315 พระเจ้ามังระให้อะแซหวุ่นกี้เป็นแม่ทัพยกยกพลมาทางด่านแม่ละเมา เข้ายึดเมืองสุโขทัย สวรรคโลก แล้วข้าล้อมเมืองพิษณุโลกไว้ โดยการรบที่เมืองพิษณุโลก ดำเนินไปถึง 3 ปี ก็เสียเมืองแก่พม่า ฝ่ายไทยขุดอุโมงค์และทลายกำแพงลง ตั้งล้อมจับพม่ากลางแปลงจับได้แม่ทัพพม่าและทหารเป็นจำนวนมาก 

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 2,792

เมืองคณฑี : เมืองที่ตั้งของทัพหลวงและทัพชัย

เมืองคณฑี : เมืองที่ตั้งของทัพหลวงและทัพชัย

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาแม้ความสำคัญของการเป็นเมืองร่วมสมัยกับกรุงสุโขทัยอาจลดลงไป แต่ก็ยังเป็นชุมชนสืบเนื่องต่อกัน ดังหลักฐานในพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ กล่าวไว้ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถได้ยกทัพไปตีเมืองเถิน ระหว่างที่เดินทางขึ้นมาได้นำทัพหลวงไปตั้งพักทัพที่ตำบลบ้านโคน ดังข้อความในประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 3 กล่าวไว้ว่า “ศักราช 804 ปีจอจัตวาศก (พ.ศ.1985) แต่ทัพไปเอาเมืองศรีสพเถิน ครั้งนั้นเสด็จหนุนทัพขึ้นไปตั้งทัพหลวงตำบลบ้านโคน” ข้อความนี้ในพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐกล่าวว่าเป็น ศักราช 818 ชวดศก (พ.ศ. 1999)

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 1,451

เมืองคณฑี

เมืองคณฑี

ตำบลคณฑี หรือตำบลบ้านโคน หรือ เมืองคณฑี เมืองที่ยิ่งใหญ่ ในอดีตมีคำขวัญประจำตำบลที่นำเสนอเอกลักษณ์ของตำบลอย่างชัดเจน เมืองคณฑีเป็นเมืองยุคแรกๆของกำแพงเพชร ตามตำนานเมืองเหนือกล่าวไว้ว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ แห่งกรุงสุโขทัย เสด็จไปจากบ้านโคน หรือเมืองคณฑี แสดงว่าเมืองคณฑีนี้เก่าแก่กว่าสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองมาก่อนกรุงสุโขทัย นับร้อยปี ทำให้ชาวบ้านโคนภูมิใจในบรรพบุรุษจึงนำมาเป็นคำขวัญประจำเมือง

เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 3,261

เมืองนครชุมล่มสลายกลายมาเป็นบ้านปากคลอง

เมืองนครชุมล่มสลายกลายมาเป็นบ้านปากคลอง

เมืองนครชุม เป็นเมืองโบราณ เดิมเป็นเมืองอิสระ มีกษัตริย์ปกครองตนเอง มีกำแพงเมืองใหญ่ก่อนร่วมอาณาจักรกับสุโขทัย สถาปนามาก่อนพุทธศักราช ๑๘๐๐ ได้ยกฐานเป็นเมืองลูกหลวงของอาณาจักรสุโขทัย (เมืองลูกหลวงหมายถึง เมื่อพระมหากษัตริย์สุโขทัยมีราชโอรสจะส่งมาปกครอง) เมืองนครชุมเจริญรุ่งเรืองสูงสุด ในสมัยของพญาลิไทกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย โดยเสด็จมาเมืองนครชุม และสถาปนา พระบรมสาริกธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์ขึ้นที่เมืองนครชุมแห่งนี้ เมืองนครชุมเจริญรุ่งเรืองถึงราว พุทธศักราช ๒๐๐๐ เกิดน้ำกัดเซาะรวมทั้งเกิดไข้ป่าและโรคระบาด ทำให้เมืองนครชุม ถึงกาลล่มสลาย

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 3,218

เมืองไตรตรึงษ์ เมืองแห่งการกำเนิดราชวงศ์เชียงราย

เมืองไตรตรึงษ์ เมืองแห่งการกำเนิดราชวงศ์เชียงราย

ในหนังสือพระราชพงศาวดาร ฉบับ รศ. 125 ซึ่งดำเนินเรื่องตามต้นพระราชพงศาวดารได้กล่าวไว้ดังนี้ “เดิมพระเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่งครองราชย์สมบัติอยู่ ณ เมืองเชียงรายโยนกประเทศ เป็นพระนครใหญ่ มีพระเจ้ามหาราชพระองค์หนึ่ง ครองราชย์สมบัติอยู่ ณ เมืองสตอง ยกกองทัพมาตีเมืองเชียงรายได้ทำสงครามแก่กัน พระเจ้าเชียงรายพ่ายแพ้เสียเมืองแก่พระยาสตอง จึงกวาดครอบครัวอพยพชาวเมืองเชียงราย หนีข้าศึกลงมายังแว่นแคว้นสยามประเทศนี้ ข้ามแม่น้ำโพมาถึงเมืองแปปเป็นเมืองร้าง อยู่คนละฟากฝั่งกับเมืองกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 2,028

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 2  (พระราชวัง,วัดพระแก้ว,วัดพระธาตุ)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 2 (พระราชวัง,วัดพระแก้ว,วัดพระธาตุ)

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จมาเมืองกำแพงเพชรเป็นครั้งแรกเมื่อคราวล่องกลับจากเมืองเชียงใหม่ ่ในปี พ.ศ. 2448 เป็นเวลา 3 คืน 2 วัน ด้วยมีเวลาในครั้งนั้นน้อยอยู่ และไม่ค่อยได้มีโอกาสไปตรวจค้นทางโบราณคดีมากนัก จึงได้เสด็จขึ้นมาประพาสเมืองกำแพงเพชรอีกครั้งในช่วงวันที่ 14-18 มกราคม 2450 โดยประทับพักแรมอยู่ที่พลับพลาใกล้วัดชีนาเกา ซึ่งในครั้งนั้นได้มีการปลูกต้นสัก (ที่สวนสาธารณะเทศบาลฯ หลังธนาคารกรุงไทย) ไว้เป็นที่ระลึก และจารึกบันทึกเหตุการณ์เอาไว้ที่วงเวียนต้นโพธิ์ การเสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชรของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวในครั้งที่ 2 นี้ได้ ทรงออกตรวจตราและวินิจฉัยข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของเมืองกำแพงเพชรเอาไว้อย่างมากมาย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,171

ต้นไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ต้นไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ต้นสีเสียดแก่น ต้นไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร เป็นต้นไม้ที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชมหาราช นำมาปลูหน้าศาลากลาง จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2537 ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นสูง 15 เมตร เปลือกสีเทาแตกเป็นสะเก็ดบาง แตกกิ่งต่ำ ตามกิ่งมีหนามโค้งเป็นคู่ ใบประกอบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ใบประกอบย่อยมี 10 ถึง 20 คู่ ใบเล็กมาก มีประมาณ 30 ถึง 50 คู่ ช่อดอกแบบช่อหางกระรอก ดอกขนาดเล็ก สีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ผลเป็นฝักแบน บาง สีน้ำตาล เป็นมันวาว แห้งแล้วแตก เมล็ด 3 ถึง 10 เมล็ด รูปรีแบน ขยายพันธุ์ โดยเมล็ด ประโยชน์ เนื้อไม้ แข็งเหนียว สีน้ำตาลแดง ใช้ทำสิ่งก่อสร้างที่ต้องรับน้ำหนักมากๆ ทำด้ามเครื่องมือการเกษตร แก่น ให้น้ำฝาดใช้ฟอกหนัง และให้สีน้ำตาลสำหรับย้อมผ้า ก้อนสีเสียด เป็นยาสมาน    อย่างแรง แก้โรคท้องร่วง บิด แก้ไข้จับสั่น แก้ไอ รักษาแผลในลำคอ เหงือก ลิ้น และฟัน

เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 3,647