ประวัติบ้านโคน

ประวัติบ้านโคน

เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้ชม 2,271

[16.3630433, 99.6451875, ประวัติบ้านโคน]

ประวัติความเป็นมาของบ้านโคน 
          ประวัติบ้านโคน การศึกษาครั้งนี้ได้แบ่งช่วงประวัติของหมู่บ้านออกเป็น 3 ช่วง ตามประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน การเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาการของชุมชน วัฒนธรรมพื้นบ้านสังคมจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนี้ 
          ยุคแรกเริ่ม 
          ในยุคแรกของบ้านโคนนั้น มีเรื่องราวที่กล่าวถึงชุมชนบ้านโคนในหลักศิลาจารึกสุโขทัยและในตำนาน “ ชินกาลมาลีปกรณ์ “ มีข้อความระบุว่าบ้านโคน ยังมีชายหนุ่มรูปงามมีกำลังมาก ท่องเที่ยวอยู่ในป่า มีนางเทพธิดาองค์หนึ่งเห็นชายคนนั้นแล้วใคร่อยากร่วมสังวาสด้วย จึงแสดงมารยาหญิง ชายคนนั้นก็ร่วมสังวาสกับเทพธิดาองค์นั้น จึงเกิดบุตรชาย และบุตรชายคนนั้นก็มีกำลังมาก รูปงาม เพราะฉะนั้นชาวบ้านทั้งปวงจึงพร้อมใจกันทำราชาภิเษกบุตรชายนั้น…. ครองราชสมบัติในเมืองสุโขทัย ปรากฏพระนามในครั้งนั้นว่า “ โรจราจ “ 
          บ้านโคนเป็นชุมชนที่เก่าแก่มากในทางประวัติศาสตร์เกิดมานานกว่า 700 ปีมาแล้ว สภาพทางภูมิศาสตร์มีความอุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำปิงไหลผ่านเหมาะต่อการทำมาหากิน ชุมชนบ้านโคนเดิมตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำปิงฝั่งตะวันออก 
          สัญนิฐานว่าเป็นเมืองคณฑี แรกเริ่มมีครอบครัวประมาณ 5 – 10 ครัวเรือน และห่างออกไปบริเวณวัดกาทึ้ง มีประชากรตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่เป็นกลุ่มๆ มีวัดกาทึ้งเป็นศูนย์กลาง ต่อมาพม่าเข้ามาทำศึกกับทางกรุงศรีอยุธยา ทัพพม่าได้ทำลายวัตถุโบราณและบ้านเรือน ทำให้ชาวบ้านแถบนั้นหนีเข้าป่าหรือไม่ก็อพยพไปอยู่ที่อื่น เมื่อสงครามสงบศึก ผู้คนที่หลงเหลืออยู่ได้มาจองที่ดินและขนวัตถุโบราณมาไว้ที่วัดปราสาทและมาตั้งบ้านเรือนแถบลุ่มแม่น้ำปิง มาปฏิสังขรณ์วัดปราสาทแทนในช่วงนั้นมีวัดที่สำคัญในบริเวณบ้านโคนอยู่ 4 วัด ดังนี้   
           1. วัดช้างแก้ว เป็นวัดแรกที่มีในบริเวณนี้แต่ถูกพม่าเผาทำลายเพียงแต่ซากเล็กน้อยเท่านั้น 
           2. วัดท่าชัย ปัจจุบันไม่เหลือซากแล้ว ผู้เฒ่าผู้แก่บอกว่าเคยมีพระใหญ่ตั้งอยู่บริเวณต้นโพธิ์ ( ปัจจุบันเป็นเหมืองสูบน้ำข้างปราสาทอนุสรณ์ ) แต่พระพุทธรูปโบราณได้พังลงแม่น้ำปิงไปแล้ว 
           3. วัดกาทึ้ง     
           4. วัดปราสาท เป็นวัดที่สร้างหลังสุด วัดกาทึ้งและวัดปราสาทจะได้กล่าวถึงในช่วงตำนานหรือนิทานที่เกี่ยวข้อง
          ยุคการคมนาคมทางน้ำเจริญรุ่งเรือง
          หลังจากที่มีการติดต่อทางน้ำระหว่างกรุงเทพมหานครกับชุมชนบ้านโคนมากขึ้น ทำให้แม่น้ำปิงเป็นแม่น้ำสายหลักที่สำคัญใช้ในการคมนาคม ต่อมาชุมชนเริ่มขยายขึ้น มีประชากรที่อพยพมาจากวัดกาทึ้งมาสมทบเพิ่มมากขึ้นและได้ถือเอาวัดปราสาทเป็นศูนย์กลางของชุมชน เมื่อมีประชากรเพิ่มมากขึ้นก็เริ่มมีการติดต่อกับชุมชนอื่นๆ โดยการคมนาคมนั้นใช้การคมนาคมทางน้ำ ในสมัยนั้นจะมีเรือเหลืองและเรือแดง ซึ่งเป็นเรือกลไฟสำหรับโดยสาร ราคาโดยสารนั้นเรือแดงจะแพงกว่าเพราะเป็นเรือกลไฟมีความรวดเร็ว  นอกจากนี้ยังมีพ่อค้าชาวจีนที่ล่องเรือมาขายสินค้า โดยสินค้าที่นำมาขาย ได้แก่ เครื่องแต่งตัว เครื่องใช้ในครัวเรือนและอาหาร โดยสินค้าที่นำมานี้จะรับมาจากที่ต่างๆ แล้วมาขายต่ออีกทีหนึ่ง 
          ในช่วงสมัยนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่า “ สมเด็จพระพันปี “ หรือ “ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง “ ทรงเสด็จประพาสต้นเมื่อเสด็จผ่านชุมชนจึงเสด็จขึ้นที่ท่าน้ำหน้าวัดปราสาท โดยกำนันได้เกณฑ์ชาวบ้านไปตัดไม้มาทำพลับเพลารับเสด็จที่หน้าวัด พระองค์เสด็จขึ้นที่วัดปราสาทนมัสการหลวงพ่อโต แล้วทรงเสด็จยังวัดกาทึ้ง เพื่อนมัสการโบราณสถาน พระองค์สันนิษฐานว่า บริเวณแถบนี้เคยเป็นบ้านเมืองโบราณมาก่อน ( ตามเสด็จประพาสต้นรัชกาลที่ ๕ ณ จังหวัดกำแพงเพชร  ) ในสมัยนั้นพื้นที่ส่วนใหญ่ของชุมชนเป็นป่า โดยเริ่มตั้งแต่ทางทิศใต้ถึงท่าเสลียง ทางเหนือถึงโขมงหัก ทางทิศตะวันออกไปจนถึงบ่อทองเป็นป่าเกือบทั้งหมด 
          ประชาชนของชุมชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมคือ ทำนาทำไร่ และทำไม้ แต่ที่ทำกันมากที่สุดคือ “ การทำไม้ “ ผู้ที่มีอาชีพทำไม้ในสมัยนั้นได้แก่ นายสุขขัง เกิดพันธ์ นายพุดซ้อน เกิดสว่าง นายประสิทธิ์ วัฒนศิริ เป็นต้น โดยแต่ละคนที่ทำไม้จะต้องทำเรื่องขอสัมปทานทำไม้จากรัฐบาลเสียก่อน และมีการกำหนดอาณาเขตในการทำไม้ ไม้ที่ทางรัฐบาลอนุญาตก็ได้แก่ ไม้แดง ไม้รัง ไม้เต็ง ไม้เหี้ยง ไม้พลวง ฯลฯ แต่ที่ไม่อนุญาตให้ตัด คือ ไม้สัก เพราะเริ่มเป็นไม้ที่หายาก  เมื่อผู้รับสัมปทานได้รับอนุญาตจากรัฐบาลก็จะนำลูกน้องเข้าไปตัดไม้ในบริเวณที่ได้รับอนุญาตโดยจะใช้ช้างและควายลากไม้ออกจากป่า มาทิ้งไว้ที่ริมแม่น้ำปิง แล้วก็จะมัดไม้ทั้งหมดที่ตัดมาทำเป็นแพล่องแม่น้ำปิงไปขาย โดยมากพ่อค้าไม้จะไปขายกันที่ตำบลปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ เพราะเป็นแหล่งรวมที่ค้าไม้ ( มวน อินทรสูตร, 2541 : สัมภาษณ์ ) ถ้าไปไกลหน่อยก็จะไปขายกันในแถบจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จะได้ราคาดีขึ้น 
          ยุคนี้เป็นยุคที่ชุมชนบ้านโคนเจริญรุ่งเรืองเนื่องจากการเป็นชุมชนระหว่างเส้นทางคมนาคม และเป็นชุมชนค้าไม้จะเห็นได้จากการมีบ้านคหบดีจากการค้าไม้ 2 – 3 หลัง 
          ยุคหลังการตัดถนนกำแพงเพชร – ท่ามะเขือ – ขาณุวรลักษบุรี 
          เมื่อมีการติดต่อค้าขายกับชุมชนอื่นประกอบกับความเจริญด้านต่างๆ เข้ามามีบทบาทมากจึงมีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนเปลี่ยนไปคือ ในชุมชนเริ่มมีประชากรเพิ่มมากขึ้น โดยประชากรเหล่านี้ก็ได้ย้ายบ้านเรือนจากบริเวณริมแม่น้ำปิง พอในช่วงที่ตั้งของชุมชนได้ถูกแม่น้ำปิงกัดเซาะประชากรของชุมชนจึงต้องย้ายบ้านเรือนหนีการกัดเซาะของแม่น้ำมาเรื่อยๆ ส่วนลูกหลานที่แต่งงานกันต้องการจะออกเรือน ผู้เป็นพ่อกับแม่ก็ยกที่ดินแถบบริเวณตะวันออกของหมู่บ้านให้ปลูกเรือน และในช่วงนั้นได้มีการตัดถนนลูกรังผ่านหมู่บ้าน จึงทำให้ปลูกเรือนอยู่บริเวณสองฟากถนนมากขึ้น ประกอบกับในช่วงนั้นเริ่มมีรถโดยสารประจำทางระหว่างชุมชนกับเมืองกำแพงเพชร  ต่อมามีการสร้างถนนลาดยางสายกำแพงเพชร – ท่ามะเขือ ผ่านชุมชนบ้านโคนในปี พ.ศ. 2524 ยิ่งทำให้มีประชากรอพยพมาอยู่ริมถนนมากขึ้น การคมนาคมทางน้ำเริ่มลดบทบาทลงเพราะล่าช้า ไม่สะดวกประชากรเริ่มหันมาใช้การคมนาคมทางบกแทน เพราะมีความสะดวกรวดเร็วกว่า และมีรถโดยสารประจำทางระหว่างตัวเมืองกำแพงเพชรจึงทำให้ลักษณะหมู่บ้านเริ่มเปลี่ยนไป คือ มีลักษณะการตั้งบ้านเรือนตามแนวยาวของถนนแทนที่การตั้งบ้านเรือนแบบยาวตามลำน้ำ  ส่วนบ้านโคนเหนือนั้นในช่วงที่การทำไม้เริ่มหมดไป กำนันประสิทธิ์ วัฒนศิริ ได้พาญาติพี่น้องอพยพไปตั้งบ้านเรือนบริเวณไร่นาของบิดา ( บ้านโคนเหนือ ) ในตอนแรกที่อพยพไปมีครอบครัวตั้งอยู่ก่อนแล้วประมาณ 5 ครอบครัว พอกำนันประสิทธิ์ วัฒนศิริ และญาติพี่น้องพร้อมกับคนงานเข้าไปสมทบก็ประมาณราวๆ 20 ครัวเรือน  กำนันประสิทธิ์ วัฒนศิริ เป็นคนที่มีที่ดินมากหลายร้อยไร่ ก็ชวนชาวบ้านในแถบอื่นๆ เข้ามาตั้งบ้านเรือนสมทบ โดยได้แบ่งที่ดินขายให้ราคาถูกเพื่อจะได้มีเพื่อนบ้านเพราะในสมัยนั้นมีโจรผู้ร้ายชุกชุม มีการปล้นสดมบ่อยครั้ง จะได้มีเพื่อนบ้านไว้คอยต่อสู้กับพวกผู้ร้าย ต่อมาในบริเวณที่กำนันประสิทธิ์ วัฒนศิริ ไปตั้งถิ่นฐานชาวบ้านเรียกว่า “ บ้านโคนเหนือ “

คำสำคัญ : บ้านโคน

ที่มา : http://khontee.go.th/index.php?options=travel&mode=detail&id=125

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). ประวัติบ้านโคน. สืบค้น 4 พฤษภาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1121&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1121&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

เมืองไตรตรึงษ์ตามพงศาวดารโยนก

เมืองไตรตรึงษ์ตามพงศาวดารโยนก

พงศาวดารโยนกได้กล่าวว่า เมื่อพระเจ้าพรหมกุมารแห่งเมืองโยนกนาคพันธุ์ได้ทรงขับไล่พวกขอมออกจากแคว้นโยนกได้แล้วก็ยกกองทัพไล่ติดตามตีพวกขอมไปอีกนับเดือนและตีบ้านเมืองในแคว้นลวะรัฐได้อีกหลายตำบล โดยยกพลไปถึงท้องที่ใดก็เข้าตีถึงเมืองนั้น ร้อนถึงองค์อัมรินทร์ทรงเห็นว่าเจ้าพรหมกุมารได้ไล่ฆ่าขอมและผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก จำต้องช่วยป้องกันชีวิตมนุษย์เอาไว้ให้พ้นจากการถูกฆ่าฟันจึงตรัสให้พระวิษณุกรรมเทวบุตร ลงไปเนรมิตกำแพงเมืองเป็นศิลาขวางกั้นเส้นทางที่เจ้าพรหมกุมารจะเดินทัพต่อไป ด้วยพลังแห่งเทวนุภาพนั้นทำให้เจ้าพรหมไม่สามารถเดินทัพต่อไปได้ จึงหยุดยั้งตั้งทัพอยู่เพียงเมืองนั้นเอง และให้ชื่อเมืองนั้นว่า กำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,674

ประวัติอำเภอเมืองกำแพงเพชร

ประวัติอำเภอเมืองกำแพงเพชร

อำเภอเมืองกำแพงเพชร เป็นบ้านเมืองมาแต่สมัยใดยังไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนนัก สันนิฐานว่าอาจจะเป็นบ้านเมืองมาก่อนสมัยอาณาจักรสุโขทัยเพราะจากตำนานสิงหนวัติก็กล่าวถึงไว้ว่าพระเจ้าพรหม โอรสของพระเจ้าพังคราช ซึ่งประสูติเมื่อ พ.ศ.1461 พอพระชนมายุได้ 16 พรรษาก็ยกทับขับไล่พวกขอมลงมาจนถึงเมืองกำแพงเพชร และต่อมาพระเจ้าศิริ โอรสของพระพรหมได้อพยพไพร่พลหนีข้าศึกมอญมาสร้างเมืองกำแพงเพชรเป็นที่ประทับ ซึ่งปรากฏหลักฐานว่าในปัจจุบันยังมีศิลปวัตถุที่เป็นเทวาลัยของขอม เช่น วิหารพิกุลเดิม ซึ่งเป็นเครื่องชี้บอกให้เห็นว่าเมืองกำแพงเพชรเป็นบ้านเมืองตั้งแต่อาณาจักรสุโขทัย

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2018 ผู้เช้าชม 3,307

บันทึกประวัติศาสตร์ไฟไหม้เมืองกำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุด

บันทึกประวัติศาสตร์ไฟไหม้เมืองกำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุด

เมื่อวันศุกร์ ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2506 ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 6 ปีเถาะ ค.ศ. 1963 เวลาประมาณ 10.00 นาฬิกา เกิดไฟไหม้กำแพงเพชรครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ไหม้บ้านเรือนบนถนนเทศาทั้งสายประมาณร้อยหลังคาเรือนทั้งสองข้างถนน เริ่มจากบ้านของคนจีนท่านหนึ่ง (ขอสงวนนาม) ขายสิ่งของก่อสร้าง และของนานาชนิดใต้ถุนบ้าน เป็นที่เก็บถังน้ำมันยางจำนวนมากอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ในสมัยนั้นบ้านเรือนเป็นไม้ทั้งสิ้น บ้านต้นเพลิงอยู่บริเวณสวนสิริจิตอุทยานปัจจุบัน เมื่อเด็กซนคนหนึ่ง ได้จุดไฟขึ้นไฟไปถูกน้ำมันยางใต้ถุนบ้านไฟลุกลามอย่างรวดเร็ว ไปทางเหนือ ไปทางใต้ ข้ามมายังฝั่ง โรงภาพยนตร์เกียรติดำรง (บริเวณตั้งแต่ธนาคารกรุงเทพฯ-ร้านชัยเบเกอรี่-ร้านขายเสื้อผ้า)

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,458

พระบรมธาตุเสด็จออกจากเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

พระบรมธาตุเสด็จออกจากเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

ในกำแพงเพชรมีเรื่องเล่าขาน ถึงพระบรมสารีริกธาตุ ขนาดเท่าผลส้มเกลี้ยงสุกสว่าง ลอยวนไปมาเหนือพระเจดีย์ อยู่หลายแห่ง อาทิเจดีย์วัดวังพระธาตุ เจดีย์วัดเสด็จ (ปัจจุบันเหลือแต่ฐาน) เจดีย์วัดกะโลทัย เจดีย์วัดพระบรมธาตุ และเจดีย์วัดบ้านธาตุ มีเรื่องเล่าว่า ในวันเดือนมืดสนิท จะมีดวงไฟขนาดใหญ่ออกจากพระเจดีย์ดังกล่าว ลอยทักษิณาวรรต ๓ รอบ ณ พระเจดีย์แล้ว ทุกดวงจะเสด็จมาที่เจดีย์วัดพระบรมธาตุ แสดงปาฏิหาริย์ให้เห็นบ่อยครั้ง

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,334

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง”  ตอนที่ 5 (ถนนพระร่วง : ทางหลวงแผ่นดินสายโบราณ)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 5 (ถนนพระร่วง : ทางหลวงแผ่นดินสายโบราณ)

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จตรวจตราโบราณสถานในเขตเมืองและนอกเมืองของเมืองกำแพงเพชรจนเป็นที่พอพระราชหฤทัยแล้วได้เสด็จต่อไปเพื่อสำรวจร่องรอยตามเส้นทางถนนพระร่วง วันที่ 18 มกราคม 2450 เสด็จออกจากเมืองกำแพงเพชรทางประตูสะพานโคม แล้วเสด็จไปตามแนวถนนพระร่วง ผ่านเมืองพลับพลา เขานางทอง ประทับพักแรมที่เมืองบางพาน จากเมืองกำแพงเพชร สุโขทัย ศรีสัชนาลัย มีเส้นทางที่ใช้เชื่อมต่อกันเรื่อยมาตั้งแต่ครั้งโบราณ แต่เดิมอาจเป็นเส้นทางธรรมดา ภายหลังมีการยกคันดินขึ้นเป็นถนนแล้วเรียกชื่อว่า “ถนนพระร่วง”

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 2,269

เมืองไตรตรึงษ์สมัยรัตนโกสินทร์

เมืองไตรตรึงษ์สมัยรัตนโกสินทร์

มีหลักฐานจากการตรวจค้นและศึกษาข้อมูลของจิตร์ ภูมิศักดิ์ ได้พบว่าเมืองไตรตรึงษ์ยังคงมีสภาพเป็นบ้านเมืองแต่อาจลดขนาดเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ ต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ดังหลักฐานที่พบรายชื่อเมืองในจารึกวัดพระเชตุพน (วัดโพธิ์) ซึ่งจารึกไว้ในคราวซ่อมแซมวัดครั้งใหญ่ระหว่าง พ.ศ. 2374-2381 สมัยรัชกาลที่ 3 โดยมีใบบอกเมืองขึ้นของเมืองกำแพงเพชร (เมืองโท) ว่ามี 5 เมือง คือ   เมืองโกสามพิน 1 (น่าจะหมายถึงเมืองโกสัมพี) เมืองบงการบุรี 1 (ไม่รู้ว่าเป็นเมืองใด) เมืองโบราณราช 1 (ไม่รู้ว่าเป็นเมืองใด) เมืองนาถบุรี 1 (ไม่รู้ว่าเป็นเมืองใด) เมืองไตรตรึงษ์ 1

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,053

ประวัติน้ำมันลานกระบือ

ประวัติน้ำมันลานกระบือ

 อำเภอลานกระบือ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดกำแพงเพชร มีชื่อเสียงโดดเด่นหลายด้าน โดยเฉพาะการค้นพบแหล่งน้ำมันดิบ คือ "แหล่งน้ำมันสิริกิติ์" บ่อน้ำมันสิริกิติ์ ตั้งอยู่ที่บ้านเด่นพระ หมู่ที่ 4 บ้านหนองตาสังข์ ตำบลลานกระบือ อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร อยู่ห่างจากที่ว่าการ อำเภอลานกระบือ ไปตามเส้นทางถนนสายลานกระบือ-พิษณุโลก ประมาณ 7 กิโลเมตร

เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้เช้าชม 15,378

ต้นไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ต้นไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ต้นสีเสียดแก่น ต้นไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร เป็นต้นไม้ที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชมหาราช นำมาปลูหน้าศาลากลาง จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2537 ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นสูง 15 เมตร เปลือกสีเทาแตกเป็นสะเก็ดบาง แตกกิ่งต่ำ ตามกิ่งมีหนามโค้งเป็นคู่ ใบประกอบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ใบประกอบย่อยมี 10 ถึง 20 คู่ ใบเล็กมาก มีประมาณ 30 ถึง 50 คู่ ช่อดอกแบบช่อหางกระรอก ดอกขนาดเล็ก สีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ผลเป็นฝักแบน บาง สีน้ำตาล เป็นมันวาว แห้งแล้วแตก เมล็ด 3 ถึง 10 เมล็ด รูปรีแบน ขยายพันธุ์ โดยเมล็ด ประโยชน์ เนื้อไม้ แข็งเหนียว สีน้ำตาลแดง ใช้ทำสิ่งก่อสร้างที่ต้องรับน้ำหนักมากๆ ทำด้ามเครื่องมือการเกษตร แก่น ให้น้ำฝาดใช้ฟอกหนัง และให้สีน้ำตาลสำหรับย้อมผ้า ก้อนสีเสียด เป็นยาสมาน    อย่างแรง แก้โรคท้องร่วง บิด แก้ไข้จับสั่น แก้ไอ รักษาแผลในลำคอ เหงือก ลิ้น และฟัน

เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 3,650

ตราประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ตราประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ตราประจำจังหวัด คือ เป็นรูปกำแพงเมืองประดับเพชรเปล่งประกายแห่งความงดงามโชติช่วงประดิษฐานอยู่ในรูปวงกลม รูปกำแพงเมือง หมายถึง กำแพงเมืองโบราณของเมืองกำแพงเพชรซึ่งเป็นมรดกที่ล้ำค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีแสดงเกรียติประวัติที่น่าภาคภูมิใจของชาวเมืองนี้และเป็นที่มาของชื่อจังหวัดกำแพงเพชร รูปวงกลม หมายถึง ความกลมเกลียว สมัครสมานสามัคคี รักใคร่มีน้ำใจ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาวกำแพงเพชรทั้งมวลความหมายโดยสรุป คือ กำแพงเพชรเป็นเมืองที่มีกำแพงเมืองมั่นคงแข็งแกร่งสวยงามเป็นมรดกแห่งอดีตอันยิ่งใหญ่ประจักษ์พยานแห่งความรุ่งโรจน์โชติช่วงในอดีตที่น่าภาคภูมิใจ เมืองมีความเจริญรุ่งเรือง ผู้คนพลเมืองมีความสมัครสมานสามัคคีรักใคร่กลมเกลียวกันเป็นอันดี

เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 6,006

หนึ่งพันปีเมืองกำแพงเพชร

หนึ่งพันปีเมืองกำแพงเพชร

จังหวัดกำแพงเพชร เป็นเมืองโบราณที่สำคัญยิ่ง มาตลอดยุคสมัย และเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ไทยมาโดยตลอด อาจนับตั้งแต่ พระร่วงโรจนราช กษัตริย์ต้นราชวงศ์พระร่วง
จากตำนานชินกาลมาลีปกรณ์ว่ามาจากบ้านโคน เมืองคณฑี จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งชาวบ้านโคนถือกันว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก แม้ตำนานท้าวแสนปม ได้กล่าวถึงท้าวแสนปมเป็นพระราชบิดาของ พระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา..เป็นความเชื่อทั้งสองเรื่องที่คู่กับจังหวัดกำแพงเพชรเล่าขานสืบต่อกันมาช้านาน…ว่าปฐมกษัตริย์ทั้งกรุงสุโขทัย และอยุธยามาจากกำแพงเพชรทั้งสองพระองค์ …. จากตำนานสิงหนวติกุมาร ฉบับสอบค้น ของนายมานิต วัลลิโภดม ได้กล่าวถึงกำแพงเพชรที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์หลายตอน

เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้เช้าชม 2,494