กรุพระเครื่อง เมืองกำแพงเพชร

กรุพระเครื่อง เมืองกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้ชม 11,956

[16.4733496, 99.5203839, กรุพระเครื่อง เมืองกำแพงเพชร]

จังหวัดกำแพงเพชร นับเป็นกรุพระเครื่องที่ยิ่งใหญ่ของประเทศไทย โดยเฉพาะโบราณสถานที่ตั้งอยู่ของ 2 ฟากฝั่งแม่น้ำปิง คือ ฝั่งตะวันออกเมืองกำแพงเพชรและฝั่งตะวันตกเมืองนครชุม (ทุ่งเศรษฐี) มีโบราณสถานรวม 81 แห่ง ในพื้นที่ 2,407 ไร่ ซึ่งในวงการพระฯ ทั่วประเทศถือมีพระองค์เบญจภาคีอยู่ 9 องค์ เฉพาะพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรถูกยกย่องมีพระองค์เบญจภาคีถึง 3 องค์ คือ 1. พระซุ้มกอ "ทรงนั่งสมาธิ" 2. พระเม็ดขนุน "ทรงลีลา" (เขย่ง) และ 3. พระพลูจีบ "ทรงเหินฟ้า" ถ้าย่ิ่งเป็นพระเครื่องที่อยู่ในสกุลกรุต่างๆ ของทุ่งเศรษฐีแล้ว ผู้ที่มีไว้ครอบครองจะถือเสมือนได้สมบัติอันมีค่าควรเมืองทีเดียว กล่าวกันว่า พระเครื่องนี้สามารถปัดป้องภัยไม่ให้เกิดแก่ผู้มีไว้สักการะทุกคน ตามแผ่นจารึกลานเงินลงไว้ว่า (มึงมีกู จะไม่จน) มีแต่จะนำพาให้โชคให้ลาภ อยู่ยงคงกระพันแคล้วคลาด และความเจริญอุดมสมบูรณ์พูลสุขด้วยประการฉะนี้ ฉะนั้นพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรจึงเป็นที่ใฝ่หาของมหาชนทั่วไป

คำสำคัญ : พระเครื่อง, กำแพงเพชร

ที่มา : สำราญ มหบุญพาชัย. (2533). พระเครื่องเมืองกำแพงฯ. กำแพงเพชร : มูลนิธิกำแพงเพชรสงเคราะห์.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). กรุพระเครื่อง เมืองกำแพงเพชร. สืบค้น 8 พฤษภาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1140&code_db=610005&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1140&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

พระซุ้มกอขนมเปี๊ยะ

พระซุ้มกอขนมเปี๊ยะ

พระซุ้มกอพิมพ์อื่นๆนอกจากพิมพ์ใหญ่ นั้นเดิมมีการแบ่งออกเป็น พิมพ์กลางและพิมพ์เล็ก และยังมีแยกย่อยแบบพิมพ์พิเศษ เช่น พิมพ์เล็กแบบยอดแหลม เรียกกันตามลักษณะขององค์ท่านว่าพิมพ์ พัดใบลาน ส่วนพิมพ์เล็กที่ไม่ตัดขอบก็เรียกกันว่าขนมเปี๊ยะ และดังที่ว่าไว้ว่า พระซุ้มกอนั้นขึ้นกันหลายกรุ ลักษณะในรายละเอียดมีผิดกันไปบ้าง แต่ก็ยังมีลักษณะรวมของท่าน ทั้งทางเนื้อและทางพิมพ์ทรง องค์ที่เห็นในภาพเป็นชินเงินระเบิด ด้านหลังเป็นแอ่ง ถ้าใช้จนสึกๆก็อาจมีการโต้แย้งกันว่าใช่ซุ้มกอแน่ละหรือ หากโชคดีที่ยังถือว่าสมบูรณ์ เนื้อหาสาระจัดจ้าน คนที่ผ่านพระกำแพงเนื้อชินกรุเก่าๆ นั้น ถือว่าพิจารณาง่ายพระซุ้มกอนี้ยังมีแบบเนื้อว่านล้วน และเนื้อแบบหน้าทอง

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 12,660

พระลีลา “กำแพงเขย่ง”

พระลีลา “กำแพงเขย่ง”

พระลีลา หรือ พระกำแพงเขย่ง เป็นหนึ่งในกลุ่มพระพิมพ์ที่ได้รับความนิยมในวงการพระเครื่อง ซึ่งมีความโดดเด่นในเรื่องพุทธคุณที่เชื่อถือศรัทธากันมา และมีรูปลักษณะงดงามทางพุทธศิลป์ โดยนิยมทำเป็นพระพิมพ์ใน 2 ลักษณะ ได้แก่ พระพิมพ์ขนาดเล็กที่สามารถพกพานำติดตัว และองค์พระขนาดใหญ่ประมาณศอก เรียกว่า พระกำแพงศอก พระกำแพงลีลานี้ บางครั้งเรียกว่า พระกำแพงเขย่ง คำว่า พระกำแพง นี้สันนิษฐานว่าเป็นคำเรียกจากลักษณะการพิมพ์รูปพระที่ย่อส่วนมาจากพระพุทธรูปปางลีลาที่เป็นปฏิมากรรมเอกลักษณ์สมัยสุโขทัย ซึ่งเป็นหนึ่งในพระพุทธรูปที่เรียกว่าพระ 4 อิริยาบถ ได้แก่ พระนั่ง พระยืน พระเดิน และพระนอน ซึ่งพระพุทธรูปปางลีลาอยู่ในอิริยาบถเดิน มักปั้นให้มีลักษณะอ่อนช้อย นิยมปั้นติดกับกำแพงหรือผนังซุ้มสถูปเจดีย์ ไม่ปั้นเป็นพระลอยองค์เหมือนรูปพระอิริยาบถอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีข้อสันนิษฐานอื่นถึงคำว่า กำแพงนั้น มาจาก กำแพงเพชร ซึ่งเป็นกลุ่มเมืองสำคัญโบราณในสมัยสุโขทัยที่มีการค้นพบพระพิมพ์ปางลีลาในรูปแบบต่างๆ จำนวนมาก ส่วนคำว่า เขย่ง เรียกจากลักษณะการย่างพระบาทของพระพุทธรูปปางลีลา บิดสะโพกเล็กน้อยและเอียงกายทางซ้าย ซึ่งเรียกว่า กริดพัง คนโบราณแลดูว่าเหมือนว่าพระกำลังก้าวเขย่ง จึงเรียกต่อกันมาว่า พระกำแพงเขย่ง 

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 16,908

ประวัติและตำนานการเปิดกรุ

ประวัติและตำนานการเปิดกรุ

พระเครื่องสกุลพระกำแพงทุ่งเศรษฐีมีตำนานชัดเจนกรุและปีที่สร้าง ได้พบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุมเหตุการณ์ที่ค้นพบพระเครื่องเป็นจำนวนมากนี้ มีบันทึกประวัติไว้ว่า เมื่อปีระกา จุลศักราช 1211 (ตรงกับพ.ศ. 2392) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆังฯ ได้ขึ้นมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณมีอยู่ที่วัดเสด็จฝั่งเมืองกำแพงเพชร ได้ความว่ามีพระเจดีย์โบราณบรรจุพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้า อยู่ริมลำน้ำปิงฝั่งตะวันตก 3 องค์ชำรุดทั้งหมด พระยากำแพง (น้อย) เป็นเจ้าเมืองในขณะนั้น ได้ทำการค้นหาจนพบพระเจดีย์ทั้ง 3 องค์ ตามที่ปรากฏในศิลาจารึก พระเจดีย์องค์กลางใหญ่สุด ซึ่งบรรจุพระบรมธาตุ ขณะรื้อพระเจดีย์ทั้ง 3 องค์นั้น ได้พบกรุพระพิมพ์สกุลทุ่งเศรษฐีแบบต่างๆ จำนวนมาก 

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 6,302

กรุวัดตะแบกลาย

กรุวัดตะแบกลาย

ที่ตั้งกรุพระวัดตะแบกลาย อยู่ทิศใต้ของกรุวัดเชิงหวาย ประมาณ 400 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระลีลากำแพง พระซุ้มกอแผง พระเจ้าสิบพระองค์ พระสิบชาติ พระกลีบบัว พระลีลาสิบพระองค์ พระนารายณ์ทรงปีน พระสิบชาตินารายณ์แปรง และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 5,331

กรุฤาษี

กรุฤาษี

ที่ตั้งกรุฤาษี อยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของท่ารถ บขส. ไปประมาณ 500 เมตร  ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอ มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอ มีกนกพิมพ์กลาง พระซุ้มกอ มีกนก พิมพ์เล็ก พระเม็ดขนุน พิมพ์ใหญ่ พระเม็ดขนุน พิมพ์กลาง พระเปิดโลกเม็ดทองหลาง พระนางพญากำแพงเศียรโต พระกลีบบัว และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 14,570

พระกลีบจำปา

พระกลีบจำปา

พระกำแพงกลีบจำปา จัดเป็นพระอยู่ในตระกูลเดียวกันกับพระกำแพงเม็ดขนุน จะมีเนื้อดิน และเนื้อชินเงินเท่านั้น เป็นพระที่พบไม่มากนัก ส่วนใหญ่พระพิมพ์นี้จะตื้นประมาณ 80% จะชำรุดเพราะเป็นพระที่เนื้อเปราะบางด้านพุทธคุณแล้วเหมือนกับพระกำแพงเพชรเม็ดขนุนและพลูจีบทุกอย่าง ขุดพบที่วัดพิกุล วัดอาวาสน้อย และบริเวณลานทุ่งทั่ว ๆ ไป

 

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 5,770

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุฤาษี

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุฤาษี

เมื่อได้พูดถึงพระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ ว่าได้มีการพบหลายกรุ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ว่ามิได้มีการจำแนกกรุอย่างชัดเจนสำหรับการศึกษาในยุคหลังๆ เพราะพระเครื่องในสมัยนั้นเป็นการลักลอบขุดเสียเป็นส่วนมาก ส่วนที่ฟังจากนักขายพระในยุคนี้ก็เป็นการพูดเพื่อสร้างราคาค่านิยมเสียมากกว่า ผมเคยพยายามศึกษาจากผู้ที่ (อ้างว่า) รู้ หลายคน ครั้นสืบสาวซักไซ้เข้าจริงก็เป็นประเภทเขาบอกมาว่า ทั้งนั้นไม่มีใครรู้แน่ คนรุ่นเก่าที่พอจะรู้เรื่องเหล่านี้ก็หมดไป พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่องค์นี้ เจ้าของเดิมยืนยันว่า เป็นกรุฤาษี ซึ่งเป็นบริเวณวัดโบราณที่เรียกกันต่อๆมา ว่าวัดฤาษี อยู่ใกล้กับสถานีขนส่ง ปัจจุบันนี้ไม่ได้มีสภาพเป็นวัดโบราณอีกต่อไป การขุดพระจากกรุวัดฤาษีนี้เริ่มมีการลักลอบขุดมาเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2500 

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 33,321

พระท่ามะปราง

พระท่ามะปราง

พระท่ามะปราง กรุวัดท่ามะปราง ต้นกำเนิด "พระเงี้ยวทิ้งปืน" ชนเผ่าหนึ่ง มีชื่อว่า เงี้ยว อาศัยอยู่ตามพื้นที่สูงบนเขา แล้วย้ายรกรากมาตั้งถิ่นฐานทางภาคตะวันออกของประเทศพม่า ตรงบริเวณที่มีชายแดนทางใต้ มีพื้นที่ติดต่อกับล้านนาของไทย เป็นที่ตั้งเผ่าพันธุ์ ตลอดระยะเวลากว่าศตวรรษ

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 17,883

พระยอดขุนพล

พระยอดขุนพล

พระยอดขุนพล กรุเก่าวัดพระบรมธาตุ เมืองกำแพงเพชร องค์นี้เป็นพระปางมารวิชัย พุทธลักษณะเหมือนกับพระพุทธรูป "ทรงเทริด" ของเมืองลพบุรี (เทริด หมายถึง เครื่องประดับศีรษะ รูปมงกุฎอย่างเตี้ย มีกรอบหน้า) องค์พระประดิษฐานอยู่บนฐานในซุ้มทรงห้าเหลี่ยม คล้ายกับรูปทรง ใบเสมา เซียนพระสมัยก่อนจึงเรียกว่า "พระเสมาตัด" มาในระยะหลังคนรุ่นใหม่เห็นว่า คำว่า "ตัด" ฟังแล้วไม่ค่อยจะเป็นสิริมงคลนัก จึงตัดคำนี้ออกไป เหลือเพียงพระยอดขุนพล กำแพงเพชร ก็เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่ว (เช่นเดียวกับ พระขุนแผน พิมพ์ใบไม้ร่วง กรุวัดบ้านกร่าง จ.สุพรรณบุรี ที่เซียนพระรุ่นเก่าเรียกกันมานานปี ต่อมาเมื่อ 10 ปีก่อนหน้านี้ เซียนพระชาวสุพรรณพร้อมใจกันเปลี่ยนชื่อเรียกพระพิมพ์นี้เสียใหม่ว่า พระขุนแผน พิมพ์ซุ้มเรือนแก้ว ฟังดูแล้วไพเราะกว่าใบไม้ร่วง ที่ไม่ค่อยจะเป็นสิริมงคลนัก ทำให้พระพิมพ์นี้มีราคาพุ่งขึ้นทันที

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 24,399

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ มีกนก องค์เจ้าเงาะ

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ มีกนก องค์เจ้าเงาะ

พระเครื่องในสกุลกำแพงเพชรนั้น มีตำนานปรากฏชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุ ขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม และเมื่อปี พ.ศ. 2392  ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม ซึ่งขึ้นมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ก็ได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณที่วัดเสด็จ ฝั่งเมืองกำแพงเพชร ในจารึกได้กล่าวถึงพิธีการสร้างพระและอุปเท่ห์การอาราธนาพร ะ รวมถึงพุทธานุภาพที่มหัศจรรย์อย่างยิ่งของพระเครื่องสกุลกำแพงเพชรทั้งหลาย

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 26,227