พระท่ามะปราง

พระท่ามะปราง

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้ชม 17,773

[16.5001512, 99.4940454, พระท่ามะปราง]

         "เงี้ยว" ต้องกรำศึกสงครามมาตลอดไม่ว่างเว้น แย่งชิงอำนาจกันเอง รวมทั้งศึกภายนอก ทั้งคะฉิ่น กะเหรี่ยง ฯลฯ จนเมื่อสถานการณ์เริ่มสงบ หลังอังกฤษเข้ายึดครองพม่า และรวมเอาดินแดนเงี้ยวไว้กับอินเดีย ตามประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เงี้ยวจึงถูกควบคุมโดยชาติมหาอำนาจใหญ่ เช่น จีน พม่า และอังกฤษ ต่อมาเงี้ยวเริ่มเข้ามาค้าขายกับไทยผ่านพม่า เข้ามาทางภาคเหนือออกเส้นทางหลวงพระบาง และยูนนาน จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ มีเงี้ยวบางส่วนตกค้าง และทำมาหากินอยู่ในดินแดนไทยถึงยุคกลางรัตนโกสินทร์ ช่วงนั้นภาคเหนือของไทยยังสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด บริษัทต่างชาติจากอังกฤษเข้ามาทำธุรกิจค้าไม้ จ้างเงี้ยวเป็นแรงงานแผ้วถางป่า ต่อมาผู้ครองแคว้นต่างๆ ได้ยุยงให้เงี้ยวแข็งข้อกับไทยมาจนถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2445 พะกาหม่อง และสะลาโปไชย เป็นหัวหน้าเงี้ยว ได้นำกำลังสมุนกว่า 50 คน บุกสถานีตำรวจเมืองแพร่ ด้านประตูชัยที่มีกำลังพลอยู่เพียง 10 คน ตำรวจไม่สามารถต้านทานได้ เงี้ยวจึงบุกสังหาร ปล้นทรัพย์สิน ทำลายคลังหลวง และไปจับพระยาไชยบูรณ์ ข้าหลวงเมืองแพร่ แต่ท่านและครอบครัว หลบหนีออกไปได้ หนีไปยังคุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ พระยาพิริยวิไชย เพื่อขอกำลังเข้าต่อสู้ปราบปราม แต่ได้รับการปฏิเสธ เพราะไม่มีทั้งกำลังคนและอาวุธ ท่านจึงหนีออกจากเมืองแพร่ หวังไปขอกำลังจากเมืองอื่นต่อไป ต่อมาเงี้ยวปล่อยนักโทษในเรือนจำให้ออกมาร่วมด้วย จึงมีกำลังสนับสนุนเพิ่มขึ้น เป็นกองกำลังกล้าแข็งกว่า 300 คน จนกองโจรเงี้ยวสามารถยึดเมืองแพร่ได้สำเร็จพะกาหม่อง และสะลาโปไชย ได้เชิญเจ้าเมืองแพร่ ร่วมด้วย เจ้าราชบุตร เจ้าไชยสงคราม และเจ้านายบุตรหลานคนอื่นๆ ตกลงร่วมกันต่อต้านกองทัพรัฐบาลไทย กองโจรเงี้ยวออกตามล่าข้าราชการฝ่ายไทย และคนไทยภาคกลางที่หนีแตกพ่ายไป นำกำลังไปล้อมจับได้ และนำตัวกลับเมืองแพร่ ตลอดการเดินทางกลับมีการบังคับทรมานขู่เข็ญสารพัดให้ยอมจำนน และเข้าร่วมกับกองโจรเงี้ยวด้วยแต่พระยาไชยบูรณ์ไม่เกรงกลัว จนถูกโจรเงี้ยวฆ่าตาย พร้อมด้วยเสนามาตย์ ยกกระบัตรศาล หลวงวิมล ข้าหลวงผู้ช่วยขุนพิพิธ ข้าหลวงคลัง ผู้พิพากษา อัยการ และข้าราชการผู้น้อยต่างๆ อีกมาก ถือเป็นการสูญเสียข้าราชการไทยครั้งใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นรัฐบาลไทยได้มอบหมายให้พระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ยกทัพหลวงขึ้นไปปราบปราม และส่งกำลังจากกองทัพเมืองใกล้เคียง ทั้งเมืองพิชัย สวรรคโลก สุโขทัย ตาก น่าน และเชียงใหม่ เข้าร่วมด้วย โดยให้ถือว่าผู้ปฏิบัติการทั้งหมดเป็นกบฏก่อการร้าย เรียกว่า กบฏเงี้ยวเมืองแพร่กองโจรเงี้ยว ออกมาต่อสู้โดยแบ่งกำลังเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งนำโดยสะลาโปไชย ไปยันทัพรัฐบาลที่ด้านใต้ อีกส่วนหนึ่งนำโดยพะกาหม่อง ยกไปทางด้านตะวันตก หวังบุกตีนครลำปาง เพื่อใช้เป็นฐานที่มั่นแต่ทางนครลำปาง ได้เตรียมกำลังไว้ป้องกันเต็มที่ เป็นเหตุให้พะกาหม่อง ถูกยิงเสียชีวิต กองโจรจึงแตกพ่ายสลาย
         ขณะเดียวกัน ช่วงที่พระยาสุรศักดิ์มนตรี นำทัพหลวงผ่านมาถึงเมืองพิษณุโลก ซึ่งก่อนหน้านั้นมีการขุดพบพระกรุที่วัดท่ามะปราง มาก่อนแล้ว 5 ปี โดยฝีมือคนร้ายขโมยขุดกรุ พระยาสุรศักดิ์มนตรีจึงได้ทำพิธีเปิดกรุพระวัดท่ามะปราง และได้นำพระจากกรุนี้จำนวนมาก ทั้งเนื้อดินและเนื้อชิน แจกจ่ายแก่ทหาร เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการต่อสู้กับเงี้ยวปรากฏว่า ทหารไทยที่ห้อยพระกรุวัดท่ามะปราง ถูกกระสุนปืนยิงล้มคว่ำล้มหงาย แต่ไม่เป็นไร กระสุนไม่ระคายผิวหนัง สามารถลุกขึ้นมายิงต่อสู้กับพวกเงี้ยวได้อีก จนโจรเงี้ยวเห็นเป็นเรื่องอัศจรรย์ ถึงกับใจเสีย จึงพากันหนีแตกกระเจิงไปทันที
        พระท่ามะปรางกรุนี้ จึงมีชื่อว่า พระท่ามะปราง กรุเงี้ยวทิ้งปืน พระท่ามะปราง เป็นพระที่ขุดพบจากหลายกรุ หลายเมือง แต่ต้นกำเนิดแห่งแรก คือ กรุวัดท่ามะปราง จังหวัดพิษณุโลก เป็นพระที่มีอายุความเก่าสูงกว่าทุกๆ เมือง มีทั้งเนื้อดิน (ค่อนข้างละเอียด) และเนื้อชินเงิน มักปรากฏสนิมตีนกา ผิวสีดำพุทธลักษณะ องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัย พระหัตถ์ขวาวางแนบหัวเข่าด้านขวา หัวเข่าอยู่ในอุ้งพระหัตถ์ ที่เรียกว่า นั่งแบบเข่าใน พระพักตร์เป็นรูปไข่ พระเกศแบบปิ่นยาวเล็กน้อย เม็ดพระศกแบบตาข่ายสี่เหลี่ยม พระกรรณยาวประบ่า พระกรอวบล่ำ ซอกพระกรแคบ พระนาภี (สะดือ) เป็นแอ่งบุ๋มเล็กๆ  พระวรกายชะลูดกว่าพระท่ามะปรางกรุอื่นๆ ขนาดองค์พระ กว้างประมาณ 2.3 ซม.สูงประมาณ 3.8 ซม. โดยมีขนาดสูงใหญ่กว่าพระท่ามะปราง กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลกเล็กน้อยพระท่ามะปราง กรุวัดท่ามะปราง (เงี้ยวทิ้งปืน) ส่วนมากจะไม่ค่อยสวย ผิวดำ และผุกร่อน ขาดความสมบูรณ์ แต่ราคาเช่าหาร่วมแสน ถ้าเป็นพระสภาพดี มีคราบปรอทขาว สวยสมบูรณ์คมชัด ซึ่งมีน้อยมาก สนนราคาต้องหลักแสน ถึงสองแสนขึ้นไป พุทธคุณ พระท่ามะปรางทุกพิมพ์ ทุกกรุ ถือว่ายอดเยี่ยมทางด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี รวมทั้งเมตตามหานิยม โดยเฉพาะ กรุเงี้ยวทิ้งปืนด้วยแล้ว ด้านคงกระพันชาตรี ถือว่าเป็นเลิศสุดๆ ปัจจุบันชาวเมืองแพร่ ได้จัดสร้างอนุสาวรีย์พระยาไชยบูรณ์ เพื่อเป็นอนุสรณ์ สดุดีวีรกรรมของท่าน ตั้งอยู่ที่ถนนยันตรกิจโกศล ตำบลนาจักร อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ และทุกวันที่ 25 กรกฎาคม ชาวเมืองแพร่จะมีพิธีวางพวงมาลาสดุดีวีรกรรมพระยาไชยบูรณ์ เป็นประจำทุกปี

ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=129&code_db=DB0003&code_type=P003

คำสำคัญ : พระเครื่อง

ที่มา : สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร. (2549). พระกรุเมืองกำแพง มรดกประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). พระท่ามะปราง. สืบค้น 28 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=192&code_db=610005&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=192&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

พระกำแพงห้าร้อย

พระกำแพงห้าร้อย

พระกำแพงห้าร้อย ได้มีการขุดพบอยู่หลายกรุในจังหวัดกำแพงเพชร พบครั้งแรกประมาณปี พ.ศ. 2392 ที่วัดพระบรมธาตุ ฝั่งทุ่งเศรษฐี ต่อมาในปี พ.ศ. 2475 ก็พบอีกที่กรุวัดกะโลทัย และต่อมาก็พบที่กรุวัดอาวาสน้อยทางฝั่งจังหวัด ศิลปะขององค์พระเป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัย มีประภามณฑล ขนาดของแต่ละองค์มีขนาดเล็กมาก คาดว่าคงสร้างในสมัยสุโขทัย ในราวปี พ.ศ. 1900 พระที่พบมีแต่พระเนื้อชินเงินเท่านั้นพระกำแพงห้าร้อย ถ้าสมบูรณ์เต็มแผ่นนั้นหายากมากๆ และสนนราคาสูง นิยมทำแผงไม้ตั้งไว้บูชาประจำบ้าน ถือว่ากันไปได้ชะงัดนัก

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 11,916

กรุคลองไพร

กรุคลองไพร

ที่ตั้งกรุพระคลองไพร ฝั่งตะวันตกจากใต้หัวสะพานกำแพงเพชรไปทางทิศใต้ 2 กิโลเมตร ทิศตะวันออกของหัวสะพานคลองไพร ประมาณ 100 เมตร ปัจจุบันถูกทำเป็นพื้นที่การเกษตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระพลูจีบ พระอู่ทองทองเจดีย์ พระกลีบบัว พระเปิดโลก พระนางพญากำแพงพิมพ์ตื้น และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 3,950

กรุตาพุ่ม

กรุตาพุ่ม

ที่ตั้งกรุพระตาพุ่ม อยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัดพระบรมธาตุ ไปประมาณ 800 เมตร ประเภทพบที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอมีกนก พิมพ์ใหญ่ พระเทิดขนนก พระเม็ดมะลื่น พระนางพญากำแพงสนิมแดง พระอู่ทองกำแพงพิมพ์เล็ก พระซุ้มกอดำไม่มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระเปิดโลกพิมพ์ใหญ่ พระกลีบบัว พระอู่ทองกำแพงพิมพ์ใหญ่ พระนางพญาตราตาราง และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 3,563

กรุนาตาคำ

กรุนาตาคำ

ที่ตั้งกรุพระวัดนาตาคำ อยู่ทิศใต้ของป้อมบ้านเศรษฐี ประมาณ 800 เมตร ปัจจุบันถูกขุดเป็นบ่อปลา ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอพิมพ์กลาง พระซุ้มกอขนมเปี๊ยะ พระลีลากำแพง พระกลีบบัว พระซุ้มกอพิมพ์เล็ก พระกลีบจำปาเนื้อเหลือง พระเปิดโลก พระมารวิชัย และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 7,514

ประเภทของพระเครื่องกำแพงเพชร

ประเภทของพระเครื่องกำแพงเพชร

 พระเครื่อง พระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่มีกระหนก (กระหนกหมายถึงลวดลาย) พระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ไม่มีกระหนก (ซุ้มกอดำ) และพระกำแพงลีลาเม็ดขนุน พระยอดนิยมของพระเครื่องจังหวัดกำแพงเพชร พระเครื่องกำแพงเพชร มีมากมายหลายชนิดเรียกชื่อต่าง ๆ กันเช่น เรียกชื่อตามสถานที่ หรือกรุที่พระเครื่องบรรจุอยู่ เช่น กำแพงทุ่งเศรษฐีใช้เรียกชื่อพระเครื่องทุกชนิดที่ได้จากบริเวณเมืองเก่าฝั่งตะวันตกที่เรียกกันว่า “ทุ่งเศรษฐี”และวงการนักพระเครื่องทั่วไปเมื่อกล่าวถึงพระกำแพงเพชรหรือพระที่อื่นคล้ายพระกำแพงเพชร ก็เติมคำว่า“กำแพง”ลงข้างหน้า ชื่อพระนั้น ๆ เช่น เรียกพระลีลาศ(เดิน)ของจังหวัดกำแพงเพชรว่า“กำแพงเขย่ง”เรียกพระสุพรรณว่า“กำแพงเขย่งสุพรรณ”พระกำแพงเพชรที่มีลักษณะคล้ายกับพระอื่น ๆ ที่มีชื่อเสียงมาก่อนเรียกชื่อตามนั้น เช่น กำแพงท่ามะปราง  เรียกชื่อตามพุทธลักษณะอาการขององค์พระ เช่น กำแพงลีลาศ (หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า“กำแพงเขย่ง”)เพราะดูอาการ เดินนั้นเหมือนเขย่งพระบาทข้างหนึ่ง) กำแพงประทานพร กำแพงนาคปรก เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 4,896

กรุซุ้มกอ

กรุซุ้มกอ

ที่ตั้งกรุพระวัดซุ้มกอ อยู่ตรงข้ามท่ารถ บขส. ห่างริมถนนกำแพงเพชร ประมาณ 40 เมตร ประเภทพบที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอ พิมพ์กลาง พระเม็ดขนุน พระซุ้มยอ พระซุ้มกอ พิมพ์เล็ก พระลีลากำแพง พระกลีบบัว และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 5,532

กรุวัดทุ่งเศรษฐี

กรุวัดทุ่งเศรษฐี

ที่ตั้งกรุพระวัดทุ่งเศรษฐี อยู่ทิศตะวันตกของป้อมบ้านเศรษฐี ประมาณ 200 เมตร ปัจจุบันที่ตั้งกรุถูกขุดเป็นสระกว้างประมาณ 600 ตารางเมตร ชาวบ้านนิยมเรียกคำว่า "กรุทุ่งเศรษฐี" ก็เห็นจะเป็นนามมงคลของคำว่า "เศรษฐี" กรุพระต่างๆ ที่ชาวบ้านนิยมเรียกใช้นามคำว่า "กรุทุ่งเศรษฐี" ขอสรุปมีกรุดังนี้ กรุวัดทุ่งเศรษฐี กรุหนองลังกา กรุซุ้มกอ กรุเจดีย์กลางทุ่ง กรุตาพุ่ม กรุนาตาคำ กรุตาลดำ กรุคลองไพร กรุบริเวณวัดพระบรมธาุและกรุอื่่นๆ ที่อยู่ในบริเวณลานทุ่ง กรุพระต่างๆ ที่เขียนนี้ สมัยก่อนเป็นบริเวณทุ่งนาของเศรษฐีพิกุล ปัจจุบันชาวบ้านจึงเรียกว่า "กรุทุ่งเศรษฐี"

 

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 8,077

กรุวัดดงหวาย

กรุวัดดงหวาย

ที่ตั้งกรุพระวัดดงหวาย ดูริมถนนกำแพงพรานกระต่าย จากศาลเจ้าพ่อหลักเมืองไปประมาณ 500 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระเปิดโลก พระอู่ทองกำแพงพิมพ์ใหญ่ พระอู่ทองกำแพงพิมพ์เล็ก พระนางพญากำแพงพิมพ์กลาง พระนางพญากำแพงเพชรพิมพ์เล็ก พระซุ้มยอพิมพ์ใหญ่-เล็ก พระเชตุพนบัวสองชั้น พระนางพญากำแพงเศียรโตพิมพ์ใหญ่ พระกำแพงคืบ และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 3,051

กรุวัดคูยาง

กรุวัดคูยาง

เมื่อพูดถึงพระกรุวัดคูยาง ก็อดที่จะกล่าวถึงพระสงฆ์ผู้ที่คนเคารพนับถือว่าเป็นผู้ทรงวิทยาคุณ ขนานนามว่าพระเกจิอาจารย์เสียมิได้ โดยเฉพาะในส่วนของวัดคูยางแล้วก็นับว่าเป็นที่รู้จักและยอมรับนับถือของคนทั่วไป ไม่น้อยไปกว่าวัดอื่นๆ เลย เช่น พระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) พระครูเมธีคณานุรักษ์ (ปลั่ง) ต่อมาได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระวิเชียรโมลี และพระวิเชียรธรรมคณี (ทองพาน) อดีตเจ้าอาวาสวัดคูยางและอดีตเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชรทั้ง 3 รูป เป็นต้น โดยเฉพาะพระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ร่วมสมัยกับหลวงพ่อขำ อินทะปัญญา วัดลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร หลวงพ่อศุข วัดปากคลอง มะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท และหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จังหวัดพิจิตร เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 23-08-2019 ผู้เช้าชม 4,567

ประวัติพระซุ้มกอ (พระกำแพงซุ้มกอ)

ประวัติพระซุ้มกอ (พระกำแพงซุ้มกอ)

พระกำแพงซุ้มกอ จัดเป็นพระที่สุดยอด และเอกของเมืองกำแพงเพชร เป็นพระที่อมตะ ทั้งพุทธศิลป์ และพุทธคุณถูกจัดอยู่ในชุดเบญจภาคีที่สูงสุดของพระเครื่องเมืองไทย พระกำแพงซุ้มกอ เป็นพระที่ทำจากเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ และทำจากเนื้อชิน ก็มีพุทธลักษณะของพระซุ้มกอนั้นองค์พระประติมากรรม ในสมัยสุโขทัย นั่งสมาธิลายกนกอยู่ด้านข้างขององค์พระนั่งประทับอยู่บนบัวเล็บช้าง ขอบของพิมพ์พระจะโค้งมนลักษณะคล้ายตัว ก.ไก่ คนเก่า ๆ จึงเรียกว่า “พระซุ้มกอ” พระกำแพงซุ้มกอ ที่ค้นพบมีด้วยกัน 5 พิมพ์ ประกอบด้วย พิมพ์ใหญ่ แยกออกเป็น 2 ประเภท คือ มีลายกนกและไม่มีลายกนก พระที่ไม่มีลายกนกส่วนใหญ่มักจะมีสีดำ หรือสีน้ำตาลแก่ซึ่งเรามักจะเรียกว่า “พระกำแพงซุ้มกอดำ” พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์เล็กพัดโบก พิมพ์ขนมเปี๊ย พระกำแพงซุ้มกอ ทั้งมีลายกนกและไม่มีลายกนกเป็นพระที่มีศิลปะของสุโขทัยปนกับศิลปะศรีลังกา โดยเฉพาะไม่มีลายกนกจะเห็นว่าเป็นศิลปะศรีลังกาอย่างเด่นชัด พระกำแพงซุ้มกอ เนื้อขององค์พระ ใช้ดินผสมกับว่านเกสรดอกไม้ จึงทำให้เนื้อของพระซุ้มกอมีลักษณะนุ่มมัน ละเอียดเมื่อนำสาลีหรือผ้ามาเช็ดถูจะเกิดลักษณะมันวาวขึ้นทันที

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 147,731