พระกลีบจำปา

พระกลีบจำปา

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้ชม 5,747

[16.4746251, 99.5079925, พระกลีบจำปา]

         พระกำแพงกลีบจำปา จัดเป็นพระอยู่ในตระกูลเดียวกันกับพระกำแพงเม็ดขนุน จะมีเนื้อดิน และเนื้อชินเงินเท่านั้น เป็นพระที่พบไม่มากนัก ส่วนใหญ่พระพิมพ์นี้จะตื้นประมาณ 80% จะชำรุดเพราะเป็นพระที่เนื้อเปราะบางด้านพุทธคุณแล้วเหมือนกับพระกำแพงเพชรเม็ดขนุนและพลูจีบทุกอย่าง ขุดพบที่วัดพิกุล วัดอาวาสน้อย และบริเวณลานทุ่งทั่ว ๆ ไปพระลีลากำแพงกลีบจำปา ส่วนใหญ่สีจะเป็นสีพิกุลแห้ง(เหลือง) เนื้อมีทั้งเนื้อละเอียด และเนื้อหยาบ ขอบซุ้มจะเป็น 2 ชั้น ประทับยืนอยู่บนฐานบัวสองชั้น จุดสังเกตพระลีลากำแพงกลีบจำปาแทบทุกองค์จะมีรารัก หรือที่เราเรียกว่า ราดำ ติดอยู่มากแทบทุกองค์ บางองค์มีคราบหินปูนจับตามซอกเล็กน้อยของปลอมเลียนแบบมีมาก มาจากสาเหตุเป็นพระที่มีราคาสูงองค์หนึ่ง

ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=118&code_db=DB0003&code_type=P002

คำสำคัญ : พระเครื่อง

ที่มา : สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร. (2549). พระกรุเมืองกำแพง มรดกประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). พระกลีบจำปา. สืบค้น 29 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=185&code_db=610005&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=185&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

พระซุ้มกอขนมเปี๊ยะ

พระซุ้มกอขนมเปี๊ยะ

พระซุ้มกอพิมพ์อื่นๆนอกจากพิมพ์ใหญ่ นั้นเดิมมีการแบ่งออกเป็น พิมพ์กลางและพิมพ์เล็ก และยังมีแยกย่อยแบบพิมพ์พิเศษ เช่น พิมพ์เล็กแบบยอดแหลม เรียกกันตามลักษณะขององค์ท่านว่าพิมพ์ พัดใบลาน ส่วนพิมพ์เล็กที่ไม่ตัดขอบก็เรียกกันว่าขนมเปี๊ยะ และดังที่ว่าไว้ว่า พระซุ้มกอนั้นขึ้นกันหลายกรุ ลักษณะในรายละเอียดมีผิดกันไปบ้าง แต่ก็ยังมีลักษณะรวมของท่าน ทั้งทางเนื้อและทางพิมพ์ทรง องค์ที่เห็นในภาพเป็นชินเงินระเบิด ด้านหลังเป็นแอ่ง ถ้าใช้จนสึกๆก็อาจมีการโต้แย้งกันว่าใช่ซุ้มกอแน่ละหรือ หากโชคดีที่ยังถือว่าสมบูรณ์ เนื้อหาสาระจัดจ้าน คนที่ผ่านพระกำแพงเนื้อชินกรุเก่าๆ นั้น ถือว่าพิจารณาง่ายพระซุ้มกอนี้ยังมีแบบเนื้อว่านล้วน และเนื้อแบบหน้าทอง

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 12,593

พระซุ้มเสมา

พระซุ้มเสมา

พระซุ้มเสมาทิศ มีผู้ค้นพบมากมายหลากหลายกรุ ในแถบพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง ล้วนเป็นที่นิยมและมีชื่อเสียงโด่งดังทั้งสิ้น ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ 2450 เป็นต้นมาจน ประมาณ พ.ศ 2490-6 มีการเปิดกรุอย่างเป็นทางการและมีผู้พบพระซุ้มเสมาทิศ ทั้งที่กรุวัดอรัญญิก จังหวัดพิษณุโลก โดยพบพร้อมกับพระชินราชใบมะยม มีทั้งเนื้อดิน และชินแข็งสภาพผุกร่อนไม่สมบูรณ์เป็นส่วนใหญ่ เช่นเดียวกับที่พบตามวัดร้าง และเนินดินตามเขตเมืองเก่าในจังหวัดชัยนาท มีบางส่วนพบที่จังหวัดกำแพงเพชร กรุวัดอาวาสใหญ่ส่วนมากเป็นพิมพ์กลาง เนื้อดินและเนื้อชินแก่ตะกั่วมีไขขาวแซมตามซอกองค์พระและที่กรุวัดอาวาสน้อย เนื้อชินจะเป็นลักษณะเป็นชินแข็งมีสนิมตีนกาและตามรอยผุระเบิดจะเป็นปื้นเกร็ดกระดี่มีปรอทขาวสีซีดแห้งสมอายุ เมื่อสัมผัสถูกความชื้นนานไปจะกลับเป็นสีเทาเข้มจนเกือบดำ กรุสำคัญที่ถือได้ว่ามีพระพิมพ์ซุ้มเสมาทิศทุกพิมพ์อยู่เป็นจำนวนมาก 

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 6,468

พระกำแพงห้าร้อย

พระกำแพงห้าร้อย

พระกำแพงห้าร้อย ได้มีการขุดพบอยู่หลายกรุในจังหวัดกำแพงเพชร พบครั้งแรกประมาณปี พ.ศ. 2392 ที่วัดพระบรมธาตุ ฝั่งทุ่งเศรษฐี ต่อมาในปี พ.ศ. 2475 ก็พบอีกที่กรุวัดกะโลทัย และต่อมาก็พบที่กรุวัดอาวาสน้อยทางฝั่งจังหวัด ศิลปะขององค์พระเป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัย มีประภามณฑล ขนาดของแต่ละองค์มีขนาดเล็กมาก คาดว่าคงสร้างในสมัยสุโขทัย ในราวปี พ.ศ. 1900 พระที่พบมีแต่พระเนื้อชินเงินเท่านั้นพระกำแพงห้าร้อย ถ้าสมบูรณ์เต็มแผ่นนั้นหายากมากๆ และสนนราคาสูง นิยมทำแผงไม้ตั้งไว้บูชาประจำบ้าน ถือว่ากันไปได้ชะงัดนัก

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 11,921

กรุวัดคูยาง

กรุวัดคูยาง

เมื่อพูดถึงพระกรุวัดคูยาง ก็อดที่จะกล่าวถึงพระสงฆ์ผู้ที่คนเคารพนับถือว่าเป็นผู้ทรงวิทยาคุณ ขนานนามว่าพระเกจิอาจารย์เสียมิได้ โดยเฉพาะในส่วนของวัดคูยางแล้วก็นับว่าเป็นที่รู้จักและยอมรับนับถือของคนทั่วไป ไม่น้อยไปกว่าวัดอื่นๆ เลย เช่น พระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) พระครูเมธีคณานุรักษ์ (ปลั่ง) ต่อมาได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระวิเชียรโมลี และพระวิเชียรธรรมคณี (ทองพาน) อดีตเจ้าอาวาสวัดคูยางและอดีตเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชรทั้ง 3 รูป เป็นต้น โดยเฉพาะพระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ร่วมสมัยกับหลวงพ่อขำ อินทะปัญญา วัดลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร หลวงพ่อศุข วัดปากคลอง มะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท และหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จังหวัดพิจิตร เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 23-08-2019 ผู้เช้าชม 4,568

กรุวัดพระแก้ว

กรุวัดพระแก้ว

ที่ตั้งกรุพระวัดพระแก้ว อยู่ติดด้านใต้ของศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ริมถนนกำแพงเพชร พรานกระต่าย ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ พระซุ้่มกอพิมพ์เล็ก พระพลูจีบ พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ พระสังกัจจาย พระร่วงนั่งฐานยิก พระเปิดโลก พระนางพญาเข่ากว้าง พระอู่ทองกำแพง พระปรุหนังกำแพง พระซุ้มกอพิมพ์กลาง พระพลูจีบ พระกำแพงขาว พระเปิดโลกเม็ดทองหลาง พระกำแพงห้าร้อย พระร่วงนั่ง พระนางพญาเศียรโต พระเชตุพนพิมพ์ฐานเรียบ พระลูกแป้งเดี่ยว พระสามพี่น้อย และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 5,614

พระยอดขุนพล

พระยอดขุนพล

พระยอดขุนพล กรุเก่าวัดพระบรมธาตุ เมืองกำแพงเพชร องค์นี้เป็นพระปางมารวิชัย พุทธลักษณะเหมือนกับพระพุทธรูป "ทรงเทริด" ของเมืองลพบุรี (เทริด หมายถึง เครื่องประดับศีรษะ รูปมงกุฎอย่างเตี้ย มีกรอบหน้า) องค์พระประดิษฐานอยู่บนฐานในซุ้มทรงห้าเหลี่ยม คล้ายกับรูปทรง ใบเสมา เซียนพระสมัยก่อนจึงเรียกว่า "พระเสมาตัด" มาในระยะหลังคนรุ่นใหม่เห็นว่า คำว่า "ตัด" ฟังแล้วไม่ค่อยจะเป็นสิริมงคลนัก จึงตัดคำนี้ออกไป เหลือเพียงพระยอดขุนพล กำแพงเพชร ก็เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่ว (เช่นเดียวกับ พระขุนแผน พิมพ์ใบไม้ร่วง กรุวัดบ้านกร่าง จ.สุพรรณบุรี ที่เซียนพระรุ่นเก่าเรียกกันมานานปี ต่อมาเมื่อ 10 ปีก่อนหน้านี้ เซียนพระชาวสุพรรณพร้อมใจกันเปลี่ยนชื่อเรียกพระพิมพ์นี้เสียใหม่ว่า พระขุนแผน พิมพ์ซุ้มเรือนแก้ว ฟังดูแล้วไพเราะกว่าใบไม้ร่วง ที่ไม่ค่อยจะเป็นสิริมงคลนัก ทำให้พระพิมพ์นี้มีราคาพุ่งขึ้นทันที

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 24,309

กรุคลองไพร

กรุคลองไพร

ที่ตั้งกรุพระคลองไพร ฝั่งตะวันตกจากใต้หัวสะพานกำแพงเพชรไปทางทิศใต้ 2 กิโลเมตร ทิศตะวันออกของหัวสะพานคลองไพร ประมาณ 100 เมตร ปัจจุบันถูกทำเป็นพื้นที่การเกษตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระพลูจีบ พระอู่ทองทองเจดีย์ พระกลีบบัว พระเปิดโลก พระนางพญากำแพงพิมพ์ตื้น และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 3,952

พระนางกำแพง

พระนางกำแพง

พระเครื่องกำแพงเพชร ที่นำมาพูดถึงในวันนี้เป็น พระนางกำแพงเพชร และพระนางกำแพงกลีบบัว ของกรุทุ่งเศรษฐีครับ พระตระกูลนางกำแพงฯ นั้นมีอยู่หลายอย่างหลายกรุซึ่งสนนราคาก็แตกต่างกันไป และเป็นพระเครื่องที่พบมากที่สุดในพระตระกูลกำแพงเพชร เรียกได้ว่าแทบจะทุกกรุก็จะพบพระนางกำแพงปะปนอยู่แทบทุกกรุ แสดงว่าในสมัยที่สร้างพระเครื่องนั้นคงมีความนิยมพระพิมพ์นี้กันมากจึงได้สร้างกันไว้แทบทุกกรุ ศิลปะพระนางกำแพงเป็นศิลปะที่แสดงถึงศิลปะสุโขทัยหมวดสกุลช่างกำแพงเพชรได้อย่างชัดเจนที่สุด

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 13,520

พระกำแพงซุ้มกอ ว่านหน้าทอง

พระกำแพงซุ้มกอ ว่านหน้าทอง

พระกำแพงซุ้มกอ ถือกันว่า เป็นพระเครื่องชั้นสูง อันเป็นที่นิยมสูงสุดของพระกำแพงทั้งหลายและได้ถูกจัดเข้าอยู่ในชุดพระเครื่องที่เรียกกันว่า เบญจภาคี มีหลักฐานปรากฏว่าเป็นพระที่สร้างโดยพระมหากษัตริย์ พระกำแพงซุ้มกอ พบทั้งแบบที่เป็นเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ เนื้อชิน เนื้อที่ถือว่าเป็นพระสำคัญชั้นสูง คือ เนื้อ ที่ทำด้วยว่าน มีแผ่นทองคำ ประกบไว้ด้านหน้าซึ่งคนเฒ่าคนแก่และนักนิยมพระกำแพงในยุคเก่าเรียกกันว่า พระว่านหน้าทอง พระว่านหน้าทอง สร้างขี้นน้อยมาก นอกจากจะน้อยมากแล้วพระที่พบมักจะชำรุดเป็นส่วนใหญ่ หาพระที่สมบูรณ์ยากมาก ในยุคเก่าถือกันว่าเป็นพระชั้นสูงสร้างขึ้นสำหรับท้าวพระยา และแม่ทัพ นายกอง

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 11,869

เนื้อดินของพระเมืองกำแพงเพชร

เนื้อดินของพระเมืองกำแพงเพชร

เนื้อพระกำแพงเปรียบเทียบ ได้แก่ เนื้อทองคำ พระกำแพงสวยๆราคาแพงมาก สวยปานกลางแพงน้อยหน่อย ไม่สวยก็ยังแพงอยู่ดี พระกำแพงจึงได้ชื่อว่า กำ-แพง ไม่ว่าพระจะอยู่ในสภาพใด ราคาจะสูงกว่าจังหวัดอื่นในสภาพเดียวกันเสมอเพราะอะไร การสร้างพระเนื้อดิน วัสดุที่ผสมส่วนใหญ่คือดิน ดินของแต่ละแห่งก็ใช่ว่าจะเหมือนกัน แร่ธาตุที่อยู่ในดินเมื่อเผาแล้วจะเกิดเนื้อพระสวยงามแตกต่างกัน เนื้อดินกำแพงเพชรได้เปรียบหรือเผาแล้วมีสีสันสวยงามน่าใช้วงการนิยมว่าดูง่ายแยกง่าย การผสมเนื้อพระ สิ่งที่ขาดไม่ได้คือพืชว่าน การผสมพืชว่านมากหรือน้อยอาจจะเกิดจากสัดส่วนที่โบราณาจารย์ได้กำหนดไว้หรือขึ้นอยู่กับการหาพืชว่านยากหรือง่าย การผสมว่านเข้ากับดินทำให้เกิดสภาพเนื้อแตกต่างกับการเผาดินธรรมดา เนื้อพระกำแพงจึงนุ่มตามากกว่าเนื้อพระแห่งอื่นๆ อย่างไรก็ตาม การเผาเนื้อพระบางแห่งอาจจะมีสูตรผสมใกล้เคียง หรือเอาตำราไปเรียนแบบความแตกต่างอาจจะน้อย ถึงอย่างไรก็ดีถ้าได้ติดตามพระกำแพงบ่อยๆ เนื้อดินของแต่ละแห่งอาจจะใช้เป็นข้อแยกพระแต่ละจังหวัดได้  

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 21,315