อัคคีทวาร

อัคคีทวาร

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้ชม 3,605

[16.4258401, 99.2157273, อัคคีทวาร]

อัคคีทวาร ชื่อวิทยาศาสตร์ Rotheca serrata (L.) Steane & Mabb. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Clerodendrum serratum (L.) Moon, Clerodendrum serratum var. wallichii C.B.Clarke) จัดอยู่ในวงศ์กะเพรา (LAMIACEAE หรือ LABIATAE)

สมุนไพรอัคคีทวาร มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า หลัวสามเกียน (เชียงใหม่), แข้งม้า (เชียงราย), พรายสะเลียง สะเม่าใหญ่ (นครราชสีมา), หมากดูกแฮ้ง (สกลนคร), มักแค้งข่า (ปราจีนบุรี), อัคคี (สุราษฎร์ธานี), ตั่งต่อ ปอสามเกี๋ยน สามสุม (ภาคเหนือ), ตรีชวา อัคคี (ภาคกลาง), พายสะเมา (วาริชภูมิ), ควีโดเยาะ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่), ผักห้าส้วย (ไทใหญ่), ลำกร้อล (ลั้วะ), ซานไถหงฮวา ซานตุ้ยเจี่ย (จีนกลาง), ชะรักป่า, แคว้งค่า, ผ้าห้ายห่อคำ, มักก้านต่อ, หมอกนางต๊ะ, หูแวง, ฮังตอ เป็นต้น

ลักษณะของอัคคีทวาร

  • ต้นอัคคีทวาร จัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรงและจะแยกเป็นช่อๆ มีความสูงของต้นประมาณ 1-4 เมตร ลำต้นกลมหรือเป็นเหลี่ยมเล็กน้อย เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทาเข้ม ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนเป็นเหลี่ยม เปลือกมีรูสีขาวและมีขนปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด การปักชำ การตอนกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ชอบความชื้นและแสงแดดปานกลาง มีเขตการกระจายพันธุ์กว้างตั้งแต่ประเทศปากีสถาน อินเดีย พม่า จีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย ในประเทศไทยพบขึ้นได้ตามป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณที่เปิดและค่อนข้างชื้น ที่ระดับความสูงจาดระดับน้ำทะเลประมาณ 500-1,000 เมตร
  • ใบอัคคีทวาร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกันหรือเรียงซ้อนกันเป็นวง ใบแตกตามข้อ ไม่มีก้านใบ ในแต่ละข้อส่วนมากจะออกเป็น 3 ใบวงเป็นรอบกัน บางข้อมีใบประมาณ 3-4 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปรียาวหรือรูปใบหอก ปลายใบแหลมเป็นติ่งสั้น โคนใบสอบหรือแหลม ส่วนขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยช่วงกลางขอบใบไปจนถึงปลายใบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 15-28 เซนติเมตร หลังใบเรียบเป็นสีเขียวเข้มเป็นมัน ส่วนท้องใบเรียบเป็นสีอ่อนกว่า บ้างว่าทั้งใบมีขนปกคลุม เส้นกลางใบเป็นสีเขียวเข้มหรือสีม่วง ก้านใบสั้น
  • ดอกอัคคีทวาร ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกตามซอกใบและที่ปลายยอด ดอกย่อยเป็นสีม่วงอ่อนเข้ม สีม่วงอ่อนอมสีฟ้า หรือสีชมพูอ่อน กลีบดอกมี 5 กลีบ รูปทรงกระบอก โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้นๆ กลีบดอกแต่ละกลีบมีขนาดไม่เท่ากัน ดอกมีขนสีน้ำตาลเข้มปกคลุม มีกลีบเลี้ยงลักษณะเป็นรูปไข่กลับ 2 ใบหุ้มอยู่ กลีบเลี้ยงมีขนาดเล็ก สีชมพูอ่อน ใจกลางของดอกมีเกสรเพศผู้ 4 อัน ลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก และใต้เกสรมีขนปกคลุม ออกดอกในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม บ้างว่าออกดอกในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม
  • ผลอัคคีทวาร ลักษณะของผลเป็นรูปค่อนข้างกลมหรือกลมแป้น ผิวผลเรียบเป็นมัน ผลเมื่ออ่อนเป็นสีเขียว พอแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีดำ ภายในผลมีเมล็ดสีดำ 1 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดอัคคีทวารเป็นรูปกลมรี 

สรรพคุณของอัคคีทวาร

  1. ใบสดมีรสขื่นร้อน ใช้ตำพอกแก้อาการปวดศีรษะ ปวดศีรษะเรื้อรัง (ใบ)
  2. ผลมีสรรพคุณเป็นยาแก้โรคเยื่อตาอักเสบ ด้วยการใช้ผลสุกหรือดิบนำมาเคี้ยวค่อยๆ กลืนน้ำกิน (ผล)
  3. ชาวบ้านจะนิยมฝานลำต้นเป็นชิ้นบางๆ ตากแห้งแล้วนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาลดความดันโลหิต (ต้น)
  4. ทั้งต้นมีรสขมเผ็ด มีพิษเล็กน้อย เป็นยาเย็น ใช้เป็นยาขับพิษร้อนถอนพิษไข้ แก้ไข้จับสั่น (ทั้งต้น) ใช้เป็นยาแก้ไข้ป่า ด้วยการฝานลำต้นเป็นชิ้นบางๆ ตากให้แห้ง ใช้ต้มกับน้ำกิน (ต้น)
  5. ตำรับยาแก้ไข้จับสั่น ระบุให้ใช้ต้นอัคคีทวารสด 35 กรัม, เมล็ดพริกไทย 5 กรัม, เมล็ดเฉาก๊วย 5 กรัม นำมารวมกันต้มกับน้ำกินก่อนเกิดอาการไข้ประมาณ 1 ชั่วโมง ซึ่งจากการรักษาด้วยวิธีนี้พบว่าได้ผลดี แต่ในขณะที่ทำการรักษาไม่ควรรับประทานส้มหรือของที่มีรสเปรี้ยว รวมไปถึงของที่มีกลิ่นคาว และห้ามรับประทานถั่ว (ต้น)
  6. ผลมีรสเปรี้ยวขื่นร้อน ใช้ทั้งผลสุกและดิบ นำมาเคี้ยวค่อยๆ กลืนเอาน้ำเป็นยาแก้ไอ (ผล)
  7. ช่วยแก้อาการเจ็บคอ คออักเสบ แก้ทอนซิลอักเสบ (ทั้งต้น)
  8. รากของอัคคีทวารมีรสขมร้อน จึงมีสรรพคุณช่วยทำให้เสมหะแห้ง ช่วยในระบบทางเดินหายใจได้ดี เช่น แก้หอบหืด อาการไอ แก้ไข้ แพ้อากาศ รวมไปถึงริดสีดวงจมูกหรืออาการอักเสบเรื้อรังของโพรงจมูก (ราก)
  9. รากอัคคีทวารนำมาต้มผสมกับขิงและลูกผักชี ใช้กินเป็นยาแก้คลื่นเหียน อาเจียน (ราก)
  10. ใบนิยมนำมาต้มกับขิงกินเป็นยาแก้หลอดลมอักเสบ (ใบ)
  11. ใบนำมาลนไฟแล้วนำมาประคบบริเวณหน้าอกจะช่วยแก้อาการเจ็บหน้าอกได้ (ใบ)
  12. รากใช้เป็นยารักษาสุขภาพของระบบกระเพาะอาหารและลำไส้ โดยมีสรรพคุณช่วยในการย่อยอาหาร ขับลม แก้อาการเบื่ออาหาร แก้ปวดเกร็งท้อง (ราก)
  13. ใบอัคคีทวารมีสรรพคุณเป็นยาแก้อาการจุกเสียด จึงนิยมใช้ต้มกินแก้ท้องท้องอืด (ใบ)
  14. ต้นมีสรรพคุณเป็นยาแก้ปวดท้อง ด้วยการนำลำต้นมาฝานเป็นชิ้นบางๆ ตากให้แห้งแล้วนำมาต้มกับน้ำกิน (ต้น)
  15. ช่วยแก้อาการเสียดท้อง ด้วยการใช้ใบอัคคีทวารนำมาต้มกับน้ำรับประทาน (ใบ)
  16. ต้นอัคคีทวารมีรสขื่นร้อน ใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาขับปัสสาวะ (ต้น)ส่วนแก่นหรือเนื้อไม้ก็มีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะเช่นกัน โดยชาวบ้านจะนิยมฝานลำต้นเป็นชิ้นบางๆ ตากให้แห้งใช้ต้มรับประทานเป็นยาขับปัสสาวะ ขับนิ่ว (แก่น,เนื้อไม้)
  17. ใช้เป็นยารักษาริดสีดวงทวาร ด้วยการใช้รากหรือต้นยาวประมาณ 1-2 องคุลี นำมาฝนกับน้ำปูนใสให้ข้น ใช้ทาริดสีดวง เป็นยาเกลื่อนหัวริดสีดวงทวาร หรือจะใช้ใบอัคคีทวารประมาณ 10-20 ใบ นำมาตากแห้ง แล้วคลุกกับน้ำผึ้งรวง ปั้นเป็ดเม็ดขนาดเท่าเม็ดพุทรา ใช้รับประทานครั้งละ 2-4 เม็ด ทุกวัน ติดต่อกันประมาณ 7-10 วัน ส่วนอีกวิธีนั้นให้ใช้ใบแห้งนำมาบดหรือป่นให้เป็นผง โรคในถ่ายไฟ เผาเอาควันใช้รมหัวริดสีดวงงอกที่ทวารหนัก ก็จะช่วยทำให้หัวริดสีดวงทวารยุบฝ่อได้ (ราก,ต้น,ใบ)
  18. ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้ตับอักเสบ (ทั้งต้น)
  19. ใบสดหรือต้นสดใช้ตำพอกแก้โรคผิวหนัง แก้กลากเกลื้อน โรคเรื้อนได้ (ต้น,ใบ)ส่วนต้นสดใช้ตำพอกแก้ฝีหนอง และโรคผิวหนัง (ทั้งต้น) ส่วนใบและต้นมีสรรพคุณช่วยดูดหนอง (ใบ,ต้น)
  20. ใบสดนำมาอังไฟแล้วขยี้ใส่แผลฝีหนองเรื้อรัง หรือรอยแผลจากการถูกแมลงกัดและปากนกกระจอก (ใบ)
  21. รากแห้งหรือต้นแห้งนำมาฝนกับน้ำปูนใสให้ข้น ใช้เป็นยาเกลื่อนฝี ทารักษาแผลบวมได้ดี (ราก,ต้น)
  22. ต้นสดใช้ตำพอกแก้อาการฟกช้ำ ปวดบวม (ทั้งต้น)
  23. ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยเนื่องจากลมชื้นเข้าข้อ (ทั้งต้น)
  24. ใบสดและต้นสดใช้ตำพอกแก้อาการขัดตามข้อ (ต้น,ใบ)
  25. ทั้งต้นใช้ภายนอกเป็นยาแก้กระดูกร้าว กระดูกแตก ด้วยการใช้ต้นสดนำมาตำพอกบริเวณที่เป็น (ทั้งต้น)
  26. ทั้งต้นใช้ต้มให้หญิงที่เพิ่งคลอดบุตรดื่ม หรือนำมาต้มกับน้ำอาบแก้อาการปวดเมื่อย (ทั้งต้น)[5]
  27. ใบสดนำมาโขลกเอาน้ำกินสำหรับคุณแม่มือใหม่ที่เพิ่งคลอดลูก เพื่อให้มดลูกเข้าอู่ดีขึ้นและแก้อักเสบ (ใบ)

หมายเหตุ : วิธีการใช้ตาม [2] ถ้าเป็นยาแห้งให้ใช้ครั้งละ 10-15 กรัม ส่วนยาสดให้นำมาตำพอกแผลภายนอกตามความเหมาะสม[2] ส่วนการใช้ตาม [7] ส่วนของรากให้นำมาต้มกินหรือบดเป็นผงกิน

ข้อควรระวัง : สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานสมุนไพรชนิดนี้

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของอัคคีทวาร

  • สารที่พบ ได้แก่ Glucorin, Oleanolic acid, Queretaroic, Serratagenic acid เป็นต้น
  • เมื่อนำสารที่สกัดได้จากทั้งต้นอัคคีทวารมาฉีดให้หนูทดลอง ในปริมาณ 20 มิลลิกรัม ต่อ 1 กิโลกรัม โดยฉีดติดต่อกันเป็นระยะเวลา 20 วัน พบว่าสามารถช่วยป้องกันอาการภูมิแพ้ที่เกิดจากโปรตีนไข่ขาวได้
  • เมื่อนำน้ำที่สกัดได้นำมาให้หนูทดลองหรือสุนัขทดลอง พบว่าสามารถยับยั้งฮีสตามีนที่ทำให้ลำไส้ของสัตว์ทดลองบีบตัวได้
  • สมุนไพรอัคคีทวารมีฤทธิ์ต้านการแพ้ ต้านฮีสตามีน ต้านการบีบตัวของลำไส้ ลดความดันโลหิต ขับลม ฆ่าเชื้อโรค ส่วนเปลือกรากนั้นมีสาร campesterol และ sitosterol สารสกัดเปลือกรากอัคคีทวารมีฤทธิ์ฆ่าอสุจิ ต้านการแพ้ ต้านการบีบตัวของลำไส้และลดความดันโลหิต

ประโยชน์ของอัคคีทวาร

  • ชาวลั้วะจะใช้ยอดอ่อนและดอกนำมารับประทานสดร่วมกับน้ำพริก หรือนำไปลวกแล้วนำไปยำ หรือใช้ประกอบอาหาร เช่น แกง หรือผัด เป็นต้น ส่วนคนอีสานจะนำช่อดอกของต้นอัคคีทวารมาหมกไฟหรือย่างกินกับซุปหน่อไม้ แกงหน่อไม้ หมกหน่อไม้
  • นอกจากนี้จะใช้เป็นยารักษาอาการต่าง ๆ ของคนแล้ว อัคคีทวารยังใช้ได้ดีกับสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหารได้อีกด้วย โดยนำผลสุกหรือดิบของอัคคีทวารมากรอกให้สัตว์เลี้ยงกิน
  • ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับได้เป็นอย่างดี และยังมีสรรพคุณทางยาที่ดีด้วย

คำสำคัญ : อัคคีทวาร

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). อัคคีทวาร. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1777

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1777&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ตดหมูตดหมา

ตดหมูตดหมา

ตดหมูตดหมา เป้นต้นไม้เลื้อยอายุยืนหลายปี ระบบรากแก้ว ลำต้นเป็นเถาขนาดเล็ก เนื้อแข็ง และเหนียวสีเขียวอ่อน ลำต้นทอดเลื้อยขึ้นครอบคลุมต้นไม้อื่น ใบเป็นใบเดี่ยวรูปหัวใจ หรือรูปไข่ค่อนข้างยาว ปลายใบแหลม ออกจากลำต้นแบบตรงข้าม ใบและก้านใบมีหูใบ ดอกออกเป็นช่อไซม์โมส (cymose) ออกตรงบริเวณซอกใบอ่อนปลายยอดดอกย่อยมีขนาดเล็ก กลีบดอกหลอมรวมกัน เป็นหลอดปลายกลีบ ดอกแยกเป็น 5 กลีบ มีสีม่วงอมเทาหรือม่วงอมชมพู  ผลรูปไข่เปลือกบาง ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาล  พบขึ้นในบริเวณบ้าน ริมรั้ว ตามที่รกร้างและริมทางทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 7,804

กระเบียน

กระเบียน

ต้นกระเบียน จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เรือนยอดค่อนข้างเล็ก ไม่เป็นรูปทรง เปลือกต้นเป็นสีเทาเข้มแกมน้ำตาลหรือเป็นสีน้ำตาลหม่น ล่อนออกเป็นแผ่นบางๆ กิ่งก้านแข็งแรงหรืออาจมีหนามตรงออกเป็นคู่ที่ข้อ มักขึ้นเป็นกลุ่มหรือขึ้นประปรายในป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ใบเป็นรูปไข่กลับ กลม หรือรูปรี ปลายใบมนหรือแหลมเป็นติ่งสั้น ๆ โคนใบสอบเรียวไปจนถึงก้านใบ ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ท้องใบมีขนนุ่ม ก้านใบสั้นมาก มีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบเป็นรูปสามเหลี่ยม 1 คู่ อยู่ตรงข้ามกัน

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 4,907

ขมิ้นอ้อย

ขมิ้นอ้อย

ต้นขมิ้นอ้อย จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกมีอายุหลายปีที่มีเหง้าอยู่ใต้ดินและมีรากเล็กน้อยที่บริเวณเหง้า มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับขมิ้นชันแต่มีลำต้นที่สูงกว่า ขนาดเหง้าและใบใหญ่กว่า โดยต้นขมิ้นอ้อยจะมีความสูงประมาณ 1-1.2 เมตร เหง้ามักโผล่ขึ้นมาเหนือดินเล็กน้อย เหมือนเจดีย์ทรงกลมสูงหลายชั้นๆ (บ้างเรียกว่าขมิ้นขึ้นหรือขมิ้นเจดีย์) ลักษณะของเหง้ามีลักษณะเป็นรูปกลมรี มีความยาวประมาณ 18-24 เซนติเมตร และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7-11 เซนติเมตร ผิวด้านนอกเป็นสีขาวอมเหลือง

เผยแพร่เมื่อ 19-05-2020 ผู้เช้าชม 5,303

กรรณิการ์

กรรณิการ์

กรรณิการ์ หรือกันลิกา (Night Blooming Jasmine, Night Jasmine) นั้นเป็นพืชจำพวกต้นชนิดหนึ่งซึ่งมีอยู่ทั้งในอินเดีย ชวา สุมาตรา รวมทั้งไทยด้วย โดยของไทยเราจะมีกรรณิการ์อยู่ 2 ชนิดด้วยกัน ได้แก่ กรรณิการ์ที่มักนำมาปลูกเป็นไม้ประดับอย่าง Nyctanthes arbor-tristis L. ส่วนกรรณิการ์อีกชนิดหนึ่งนั้นได้สูญพันธุ์ไปจากไทยแล้วคือ Nyctanthes Aculeate Craib ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายมาก

เผยแพร่เมื่อ 28-04-2020 ผู้เช้าชม 6,135

โมกมัน

โมกมัน

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง เปลือกสีขาวหรือเทาอ่อน อ่อนนิ่ม คล้ายจุกไม้ค็อร์ค  ใบมน ปลายยาวเรียว โคนแหลม  ดอกออกเป็นช่อสั้นๆ เมื่อเริ่มบานภายนอกมีสีเขียวอ่อน ด้านในสีขาวอมเหลือง ใกล้ร่วงเป็นสีม่วงแกมเหลืองหรือม่วงแดง  ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอก ผิวขรุขระ เมล็ดคล้ายเมล็ดโมกหลวง  ขึ้นตามป่าโปร่ง และป่าเบญจพรรณทั่วไป  การขยายพันธุ์ใช้เมล็ดและตอนกิ่ง

 

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,048

มะเดื่อปล้อง

มะเดื่อปล้อง

มะเดื่อปล้อง จัดเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็กถึงขนาดกลางหรือใหญ่ มีความสูงของต้นได้ประมาณ 10 เมตร และอาจสูงได้ถึง 12 เมตร ลำต้นตั้งตรง เปลือกลำต้นเรียบหนาเป็นสีน้ำตาลหรือสีเทาปนดำ ตามลำต้นมีรอยเป็นข้อปล้องห่างๆ คล้ายรอยควั่นเป็นข้อๆ ตลอดถึงกิ่ง กิ่งก้านอ้วนสั้น กิ่งอ่อนและลำต้นอ่อนกลวง ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาวข้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการปักชำ เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ชอบดินร่วนอุดมสมบูรณ์ ระบายน้ำได้ดี ชอบความชุ่มชื้น 

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 4,732

ผักแพว

ผักแพว

ผักแพว จัดเป็นพืชล้มลุก มีลำต้นสูงประมาณ 30-35 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรง มีข้อเป็นระยะๆ ตามข้อมักมีรากงอกออกมา หรือลำต้นเป็นแบบทอดเลื้อยไปตามพื้นดินและมีรากงอกออกมาตามส่วนที่สัมผัสกับพื้นดิน เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในที่ชื้นแฉะ เช่น ในบริเวณห้วย หนอง คลอง บึง หรือตามแอ่งน้ำต่าง ๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการใช้ลำต้นปักชำ (เมล็ดงอกยาก นิยมใช้กิ่งปักชำมากกว่า) พรรณไม้ชนิดนี้เป็นพืชล้มลุก พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย เพราะเกิดได้เองตามธรรมชาติ

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 7,691

มะพลับ

มะพลับ

มะพลับ เปลือกต้นและเนื้อไม้ รสฝาด เปลือกต้นและเนื้อไม้ ต้มเอาน้ำดื่ม บำรุงธาตุ เจริญอาหาร เปลือกและผลแก่มีสรรพคุณ ลดไข้ แก้บิด แก้ท้องร่วง ขับลม แก้ไข้มาเลเรีย รักษาแผลในปาก แก้คออักเสบ เป็นยาสมาน และใช้ห้านเลือดได้ นอกจากนี้ เปลือกมะพลับยังให้น้ำฝาดสำหรับฟอกหนัง ผลดิบให้ยางสีน้ำตาลใช้ละลายน้ำ แล้วนำไปย้อมผ้า แห อวน เพื่อให้ทนทาน ไม่ทำให้เส้นด้ายแข็งกรอบ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,031

กระโดน

กระโดน

ต้นกระโดนไม้ยืนต้น ขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 10-20 เมตร เปลือกต้นสีดำ หรือสีน้ำตาลดำหนา แตกล่อนเป็นแผ่น มีกิ่งก้านสาขามาก เนื้อไม้สีแดงเข้มถึงสีน้ำตาลแกมแดง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม แน่นทึบ เปลือกหนา แตกล่อน ใบกระโดนเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับเวียนเป็นกลุ่มตามปลายกิ่ง รูปไข่กลับ กว้าง15-25 เซนติเมตร ยาว 30-35 เซนติเมตร ปลายใบมน มีติ่งแหลมยื่น ฐานใบสอบเรียว ขอบใบหยักเล็กน้อยตลอดทั้งขอบใบ ผิวใบทั้งสองด้านเกลี้ยง เนื้อใบหนา ค่อนข้างนิ่ม ก้านใบอวบ ยาว 2-3 เซนติเมตร หน้าแล้งใบแก่ท้องใบเป็นสีแดง แล้วทิ้งใบเมื่อออกใบอ่อน ยอดอ่อนเป็นสีน้ำตาลแดง 

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 5,735

กุ่มบก

กุ่มบก

กุ่มบก (Sacred Barnar) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคอีสานเรียกผักก่าม เขมรเรียกถะงัน หรือสะเบาถะงัน เป็นต้น ซึ่งกุ่มบกนั้นมีแหล่งกำเนิดอยู่ในประเทศญี่ปุ่น, ออสเตรเลีย, เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดจนภาคกลางและใต้ของไทย รวมทั้งในพุทธประวัติยังได้กล่าวไว้ว่าขณะที่พระพุทธเจ้าทรงนำห่อบังสุกุลที่ห่อศพนางมณพาสีไปซักแล้วนำไปตากไว้ที่ต้นกุ่ม และเทวดาที่สถิตอยู่ในต้นกุ่มก็ได้น้อมกิ่งลงมาให้พระพุทธเจ้าได้ทรงตากจีวรอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 3,511