บานเย็น

บานเย็น

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้ชม 11,623

[16.4258401, 99.2157273, บานเย็น]

บานเย็น ชื่อสามัญ Marvel of peru, Four o’clock, False Jalap
บานเย็น ชื่อวิทยาศาสตร์ Mirabilis jalapa L. จัดในอยู่ในวงศ์บานเย็น (NYCTAGINACEAE)
สมุนไพรบานเย็น มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า บานเย็น (ทั่วไป), จำยาม จันยาม ตามยาม (ภาคเหนือ), ตีต้าเช่า (จีน), จีปักหลี (จีน-แต้จิ๋ว) เป็นต้น
คำว่า Mirabilis เป็นภาษาละตินที่มีความหมายว่า "สวยงาม" ส่วนคำว่า Jalapa นั้นเป็นชื่อเมืองแห่งหนึ่งในประเทศเม็กซิโก จุดเด่นของดอกไม้ชนิดนี้ก็คือ ดอกจะบานในช่วงบ่ายแก่ ๆ หรือในช่วงเย็นเป็นต้นไป จึงเป็นที่มาของชื่อไทยว่า "บานเย็น" หรือในภาษาอังกฤษจะเรียกว่า "ดอกสี่โมง" (Four o'clock flower) เมื่อดอกบานจะมีกลิ่นหอม ส่วนในประเทศจีนจะเรียกดอกบานเย็นว่า "ดอกสายฝน" (Shower flower) หรือเรียกว่า "ดอกหุงข้าว" (Rice boiling flower) สำหรับในฮ่องกง จะเรียกดอกบานเย็นว่า "มะลิม่วง" (Purple jasmine) และความน่าสนใจของดอกบานเย็นอีกอย่างหนึ่งก็คือ เป็นไม้ดอกที่สามารถมีดอกได้หลายสีอยู่บนต้นเดียวพร้อม ๆ กันได้ แต่ละดอกอาจมีหลายสีปนกันอยู่ก็ได้ และดอกยังสามารถเปลี่ยนสีได้เมื่อต้นมีอายุมากขึ้น เช่น พันธุ์ดอกเหลืองจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีชมพูเข้ม หรือพันธุ์ดอกขาวจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีม่วงอ่อน เป็นต้น

ลักษณะของต้นบานเย็น
        ต้นบานเย็น มีถิ่นกำเนิดในประเทศเปรู เม็กซิโก อเมริกากลาง และมีเขตการกระจายพันธุ์เฉพาะในทวีปอเมริกาใต้ และบางครั้งอาจขึ้นเป็นวัชพืช โดยจัดเป็นไม้พุ่มเนื้ออ่อนมีอายุหลายปี มีเหง้าหรือหัวอยู่ใต้ดิน ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร มีลำต้นสีแดงออกนวลเล็กน้อย แตกกิ่งก้านจำนวนมาก เป็นทรงพุ่มแผ่กว้าง เป็นไม้ที่เลี้ยงง่าย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ควรปลูกไว้กลางแจ้งและดินที่ปลูกควรเป็นดินร่วนมีธาตุอาหารสมบูรณ์ ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
        รากบานเย็น มีลักษณะพองเป็นหัว หรือเรียกว่าเหง้า มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10 เซนติเมตร
        ใบบานเย็น ใบออกเป็นคู่ ๆ สลับกันไปตามลำต้น ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่ หรือเป็นรูปใบหอก หรือเป็นรูปสามเหลี่ยม และมีขนประปราย ใบมีความกว้างประมาณ 2-9 เซนติเมตรและยาวประมาณ 5-15 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ส่วนโคนใบตัดหรือเป็นรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ มีเส้นกลางใบเป็นสีเหลืองอ่อนเห็นได้ชัดเจน และก้านใบมีความยาวประมาณ 1-4 เซนติเมตร[1],[2],[3] โดยในใบจะประกอบด้วยสาร B-sitosterol, 12-tricosanone, n-hexacosanol, กรดไขมัน (Tetracosanoic acid), กรดอะมิโน (Alanine, Glycine, Leucin, Tryptophan, Valine) และกรดอินทรีย์ (Citric acid, Tartaric acid)
        ดอกบานเย็น ดอกมีกลิ่นหอม ออกดอกติดกันเป็นกลุ่ม ๆ ลักษณะของดอกที่ยังไม่บานจะเป็นรูปหลอด เมื่อบานแล้วจะเป็นรูปแตร ปลายแยกเป็น 5 กลีบ โดยดอกบานเต็มที่จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-5 เซนติเมตร ดอกมีกลีบประดับเป็นรูประฆังติดอยู่ที่ฐาน มีความยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ดอกเกือบไร้ก้าน แต่ละช่อดอกมีดอกอยู่ประมาณ 4-5 ดอก ดอกจะบานตอนเย็นเรื่อยไปจนถึงตอนเช้าแล้วจะหุบ ส่วนวงกลีบหรือกลีบดอกมีหลายสีขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ที่ปลูก เช่น ดอกสีชมพู สีม่วง สีแดง สีขาว สีเหลือง สีส้ม สีด่าง หรือแม้กระทั่งมีสองสีในดอกเดียวกัน มีความยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร โดยปากกลีบจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวประมาณ 2.5-3 เซนติเมตร ดอกมีเกสรตัวผู้ 5 ก้าน ยื่นยาวออกมาประมาณ 1 เซนติเมตร มีก้านเกสรเป็นสีแดง ส่วนอับเรณูมีลักษณะเป็นทรงกลม รังไข่เป็นรูปรี ส่วนก้านเกสรตัวเมียจะยาวเท่ากับก้านเกสรตัวผู้ และมีสีแดง ปลายเกสรเป็นตุ่ม เป็นพูตื้น ๆ และสามารถออกดอกได้ตลอดปี[1],[2],[4],[5] โดยในดอกจะสารจำพวกฟลาโวนอยด์ และสาร Betaxanthins
         ผลบานเย็น หรือ เมล็ดบานเย็น มีลักษณะทรงกลม มีสีดำ ผิวขรุขระหยาบ ๆ มีขนาดยาวประมาณ 0.5-0.9 เซนติเมตร เปลือกบาง มีสัน 5 สัน ภายในจะมีแป้งอยู่เป็นจำนวนมาก โดยประกอบไปด้วยไขมันประมาณ 4.3%, linolenic acid ประมาณ 15.1% และยังประกอบด้วยสาร Kaempferol glycoside และสาร Quercetin

สรรพคุณของบานเย็น
1. ช่วยแก้ไข้ ระงับความร้อนในร่างกาย (หัว)
2. หัวบานเย็นใช้รับประทานเป็นยาขับเหงื่อ (หัว)
3. หัวหรือรากช่วยแก้โรคเบาจืด (หัว)
4. ช่วยแก้อาเจียนเป็นเลือด แก้กระอักเลือด (ดอก, หัว)[5],[6]ด้วยการใช้ดอกสดประมาณ 120 กรัม นำมาคั้นเอาแต่น้ำผสมกินแก้อาการ
5. ช่วยแก้ต่อมทอนซิลอักเสบ ด้วยการใช้รากหรือหัวสดนำมาคั้นเอาแต่น้ำใช้กวาดคอ (หัว)
6. หัวหรือรากบานเย็น มีสาร "Alkaloid Trigonelline" ที่มีฤทธิ์เป็นยาถ่าย ยาระบาย (หัว)
7. ช่วยขับปัสสาวะ (หัว, ใบ)
8. เชื่อว่ารากหรือหัวของบานเย็นช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้ (หัว)
9. ใบนำมาใช้ภายในเป็นยารักษาโรคหนองในได้ หรือจะใช้รากหรือหัวจากต้นดอกสีขาวนำมาหั่นเป็นแผ่น ผสมกับโป่งรากสน นำมาต้มกินก่อนอาหารวันละ 2 เวลา (หัว, ใบ)
10. ช่วยแก้อาการตกขาวของสตรี ด้วยการใช้รากหรือหัวจากต้นดอกสีขาวนำมาหั่นเป็นแผ่น ผสมกับโป่งรากสน นำมาต้มกินก่อนอาหารวันละ 2 เวลา (หัว)
11. ช่วยรักษาอาการบวมน้ำ (หัว)
12. น้ำคั้นจากใบใช้ชะล้างบาดแผลหรือแผลฟกช้ำให้หายเร็วยิ่งขึ้นได้ (ใบ)
13. ใบสดนำมาตำพอกหรือคั้นเอาแต่น้ำมาทาเป็นยารักษากลากเกลื้อน (ใบ)
14. ใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียด แล้วนำไปอุ่นไฟให้ร้อนพอทนได้ นำมาใช้พอกรักษาฝี แผลมีหนองต่าง ๆ ช่วยทำให้หนองออกมา แก้ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ (ใบ)
15. ช่วยรักษาแผลเรื้อรังได้ (ใบ, หัว)[5]หากเป็นแผลเรื้อรังบริเวณหลังให้ใช้รากหรือหัวสดจากต้นดอกสีแดง ผสมกับน้ำตาลทรายแดงพอประมาณ นำมาตำแล้วพอก และให้หมั่นเปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง[6] และหัวยังช่วยรักษาหนองได้อีกด้วย (หัว)
16. แป้งจากเมล็ดใช้รักษาแผลมีน้ำเหลือง ผิวหนังพองมีน้ำเหลือง ด้วยการใช้เมล็ดนำมาแกะเอาเปลือกออก แล้วเอาแป้งมาบดเป็นผงให้ละเอียด นำใช้ทาถูภายนอก (เมล็ด)
17. น้ำคั้นจากใบใช้ทารักษาผื่นแดงที่มีอาการคัน ใช้ทาช่วยบรรเทาอาการคัน และยังลดอาการแสบร้อนได้ด้วย (ใบ)
18. ใบบานเย็นช่วยลดอาการอักเสบได้ (ใบ)
19. ช่วยแก้บวม แก้อักเสบ (หัว)
20. รากหรือหัวจากต้นดอกสีแดงนำมาใช้รักษาอาการปวดตามข้ออย่างเฉียบพลันได้ ด้วยการเอาขาหมูหรือเต้าหู้นำมาต้มกิน (หัว)
21. หัวใช้รับประทานจะทำให้ผิวหนังชา อยู่คงกระพันเฆี่ยนตีแล้วไม่แตกกลับทำให้รู้สึกคัน (หัว)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของบานเย็น
1. สารสกัดที่ได้จากใบ (เรซิน) มีฤทธิ์ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาอาการบวมน้ำ และมีฤทธิ์เป็นยาถ่าย
2. ส่วนรากก็มีสารเรซินที่มีฤทธิ์ระคายเยื่อเมือก เยื่อบุผนังลำไส้
3. ดอกมีกลิ่นหอมฉุน อาจทำให้เกิดอาการมึนเมาได้ จึงสามารถใช้ไล่ยุงและแมลงได้
4. น้ำสกัดจากใบหรือทั้งต้น เมื่อนำมาใส่เอทานอลลงไปจะตกตะกอน แล้วกรองเอาน้ำสกัดที่ได้จะมีตัวยาเทียบเท่ากับยาสด เมื่อนำมาใช้ฉีดกระต่าย มีผลทำให้หัวใจกระต่ายเต้นเร็วขึ้น มีการบีบตัวแรงขึ้น แต่กลับสู่สภาพปกติอย่างรวดเร็ว เมื่อนำมาฉีดเข้าไปในหลอดเลือดแมว พบว่ามีความดันเลือดสูงขึ้นประมาณ 75% และจะกลับสู่สภาพปกติอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ฤทธิ์ดังกล่าวจะไม่มีผลอะไรต่อลำไส้เล็กของหนูตะเภา ส่วนลำไส้เล็กของกระต่ายจะมีผลเป็นการยับยั้งการบีบตัวของกล้ามเนื้อลำไส้เล็ก และจากการตรวจสอบทางเคมีของน้ำสกัดจะไม่พบสารอัลคาลอยด์
5. นักวิจัยฮ่องกงได้ทำการแยกสาร MAPs อีกตัวหนึ่งที่อยู่ในรากของบานเย็น โดยพบว่ามีฤทธิ์เป็น Antiviral และยังพบว่ามีฤทธิ์ทำให้แท้งในหนู, ยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีน ยับยั้งการเจริญเติบโตของ Tumor cell และรบกวนกระบวนการอื่น ๆ ในเซลล์ของไวรัส และยังพบว่าในส่วนของเมล็ดมี Peptide บางชนิดที่มีฤทธิ์คล้ายกับพิษแมงมุม
6. ในปี 2001 นักวิจัยได้ค้นพบสารประกอบ Phenolic ที่มีฤทธิ์ต้าน Candida albican เมื่อทดลองในหลอดทดลอง และจากการสกัดดอก ใบ และรากด้วยน้ำร้อนจะได้สารที่ออกฤทธิ์เป็น Antifungal ในการทดลองอื่น ๆ และในการวิจัยอื่น ๆ ในส่วนของใบบานเย็นและกิ่งก้านของต้นไม่มีการยืนยันว่ามีฤทธิ์ Antimicrobial ดังนั้นคุณสมบัตินี้อาจมีอยู่แค่เพียงในรากเท่านั้น
7. สารสกัดจากส่วนรากด้วยน้ำและ Ethanol จะแสดงฤทธิ์ Mild uterine stimulant ในหนูทดลอง และ Antispasmodic ใน Guinea pigs

ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรบานเย็น
1. เมล็ดบานเย็นส่วนใหญ่จะมีความเป็นพิษมาก (สาร Neurotoxic) ไม่ควรนำมารับประทาน หากได้รับพิษอาจทำให้เกิดอาการอาเจียนและมีอาการท้องเสีย หากได้รับในปริมาณมากอาจทำให้เสียชีวิตได้
2. ไม่ควรใช้สมุนไพรบานเย็นในหญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากมีรายงานพบว่ามันทำให้เกิดการแท้งบุตรได้

ประโยชน์ของบานเย็น
1. ต้นไม้บานเย็นนิยมใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป โดยเฉพาะต้นที่มีดอกสีชมพูและดอกสีขาว
2. แป้งจากเมล็ดใช้ทารักษาสิว ฝ้า ลบรอยด่างดำบนใบหน้าได้ โดยภายในเมล็ดจะมีแป้งสีขาวเป็นผงละเอียด หญิงไทยในอดีตจะนำมาใช้ผัดหน้า ให้ผิวสวย และไม่เป็นสิว นอกจากนี้ยังมีหลักฐานว่าหญิงชาวจีนและญี่ปุ่นก็เคยใช้แป้งชนิดนี้เพื่อผัดหน้าแก้สิวเช่นกัน
3. เมล็ดของบานเย็นบางสายพันธุ์ เมื่อนำมาบดละเอียดเป็นผงแล้วสามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมในสีย้อม ในเครื่องสำอาง
4. ผงจากรากนำมาใช้ผสมกับแป้งข้าวเจ้าและผงไม้จันทน์ นำมาทำเป็นเครื่องสำอางได้
5. ใบบานเย็นสามารถรับประทานแบบสุกได้ แต่ควรรับประทานเมื่อยามจำเป็นเท่านั้น
6. ดอกนิยมนำมาใช้ทำเป็นสีผสมอาหาร โดยจะให้สีแดงเข้ม ซึ่งมักนำมาใช้ในการแต่งสีเค้กและเจลลี
7. เมล็ด ราก และยอดอ่อน มีสาร Mirabilis antiviral proteins (MAPs) ที่ช่วยปกป้องพืชจากพวกไวรัสที่ก่อโรคในพืชและเชื้อราบนดินได้ มีประสิทธิภาพในการช่วยป้องกันพืชผลทางเศรษฐกิจที่สำคัญได้หลายชนิด เช่น ข้าวโพด ยาสูบ จาก มันฝรั่ง เป็นต้น

คำสำคัญ : บานเย็น

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). บานเย็น. สืบค้น 1 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1653

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1653&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ทองพันชั่ง

ทองพันชั่ง

ต้นทองพันชั่ง เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 1-2 เมตร โคนของลำต้นเป็นเนื้อไม้แกนแข็ง มีกิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ใบทองพันชั่ง ใบเป็นเป็นเดี่ยว ลักษณะใบเป็นรูปไข่ ปลายใบและโคนใบแหลม ยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ออกดอกเป็นช่อตรงซอกมุมใบ กลีบดอกมีสีขาว กลีบรองดอกมี 5 กลีบและมีขน กลีบดอกติดกัน โคนเป็นหลอด

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 10,789

มะปราง

มะปราง

มะปราง มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย ลาว พม่า และมาเลเซีย จัดเป็นไม้ผลที่มีทรงของต้นค่อนข้างแหลมถึงทรงกระบอก มีรากแก้วที่แข็งแรง มีกิ่งก้านสาขาค่อนข้างทึบ ลำต้นสูงประมาณ 15-30 เมตร ลักษณะของใบมะปรางจะคล้ายใบมะม่วงแต่มีขนาดเล็กกว่า และใบเป็นใบเรียวยาว มีสีเขียว ขอบใบเรียบ แผ่นใบเหนียว มีเส้นใบเห็นเด่นชัด ใบอ่อนมีสีม่วงแดง ยาวประมาณ 14 เซนติเมตร กว้างประมาณ 3.5 เซนติเมตร ส่วนดอกมะปราง จะออกดอกเป็นช่อ ออกบริเวณปลายกิ่งแขนง ดอกเมื่อบานจะมีสีเหลือง เป็นดอกสมบูรณ์เพศ และช่อดอกจะยาวประมาณ 8-15 เซนติเมตร

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 11,583

ต้นแดง

ต้นแดง

ต้นแดง (Iron wood) หรือที่รู้จักกันว่า ไม้แดง จัดเป็นไม้ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของไทย มีชื่อเรียกท้องถิ่นหลากหลายชื่อได้แก่ แดง จะลาน จาลาน ตะกร้อม ผ้าน คว้าย ไคว เพร่ เพ้ย เป็นต้น จัดเป็นพันธุ์ไม้ตระกูลเดียวกับกระถิน ชะเอมไทย สะตอ ไมยราบ ฯลฯ มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 1,899

อุโลก

อุโลก

อุโลก จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 10-20 เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนออกเป็นทรงพุ่มกลมโปร่ง กิ่งแขนงแตกออกจากลำต้นเป็นวงรอบที่ปลายกิ่ง เปลือกต้นหนาแตกลอนเป็นสะเก็ด เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลปนเทาบางทีมีสีเทาปนน้ำตาล ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด และวิธีการตอนกิ่ง มักขึ้นตามป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณผสม และตามป่าดงดิบแล้งทั่วไปทางภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 2,692

งาขาว

งาขาว

งาขาว (White Sesame Seeds) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น งาขาว, งาดำ ซึ่งงานั้นเป็นพืชสมุนไพรที่เรารู้จักกันดี และงานั้นมักจะโรยอยู่ในขนมต่างๆ มีกลิ่นหอมชวนรับประทาน แถมยังมีคุณค่าทางด้านโภชนาการสูงอีกด้วย จนแทบไม่น่าเชื่อว่างาเม็ดเล็กๆ อย่างนี้จะสามารถอัดแน่นไปด้วยคุณค่ามากมายถึงเพียงนี้ได้อย่างไร และมีการใช้เมล็ดงาเพื่อประกอบอาหารกันมากโดยเฉพาะในแถบตะวันออกกลาง และเอเชีย

เผยแพร่เมื่อ 30-04-2020 ผู้เช้าชม 6,427

พุทรา

พุทรา

ลักษณะทั่วไป   ต้นไม้ยืนต้นสูง 5-10 เมตร  ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปไข่แกมวงรี กว้าง 2-6 ซม. ยาว 3-8 ซม. ท้องใบมีขนสีน้ำตาลหรือขาว หลังใบสีเขียวเข้ม  ดอกช่อออกเป็นกระจุกที่ซอกใบกลีบดอกสีเขียวอ่อน หรือเหลืองอ่อน  ผลสด รูปทรงกลม สุกสีเหลืองกินได้  ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด  ประโยชน์ใช้ผลแห้งหรือใบปิ้งไฟก่อน ชงน้ำดื่ม แก้ไอ

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 4,615

มะเขือขื่น

มะเขือขื่น

ต้นมะเขือขื่น สันนิษฐานว่า มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในบริเวณเขตร้อนของทวีปเอเชีย ซึ่งก็รวมถึงประเทศไทยด้วย โดยจัดเป็นไม้ล้มลุกกึ่งไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงของลำต้นประมาณ 1-3 เมตร ตามลำต้นมีหนามสั้น ลำต้นและกิ่งก้านเป็นรูปทรงกระบอกตั้งตรง มีสีม่วงทั้งลำต้น กิ่งก้านและใบมีขนอ่อนละเอียดขึ้นอยู่ทั่วไป มีขนรูปดาวยาวได้ประมาณ 2 มิลลิเมตร และยังพบขนชนิดมีต่อม มีขนสั้นปกคลุมทั้งลำต้น มีหนามตรงหรือโค้งขนาดประมาณ 1-5 x 2-10 มิลลิเมตร โคนต้นแก่มีเนื้อไม้แข็ง สำหรับการปลูกมะเขือขื่นนั้นจะขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 7,187

พริกขี้หนู

พริกขี้หนู

พริกขี้หนูเป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นมีความสูงประมาณ 45-75 ซม. ใบพริกขี้หนูเป็นใบเดี่ยว ออกตรงกันข้ามกัน ลักษณะใบจะกลมรี ตรงปลายจะแหลม ดอกพริกขี้หนูจะออกตรงง่ามใบเป็นกลุ่มประมาณ 1-3 ดอก เป็นสีขาว มีกลีบดอกประมาณ 5 กลีบ ส่วนเกสรตัวผู้จะมีอยู่ 5 อัน จะขึ้นสลับกบกลีบดอก เกสรตัวเมียมี 1 อันและมีรังไข่ประมาณ 2-3 ห้อง ผลพริกขี้หนูผลสุกจะเป็นสีแดง หรือแดงปนน้ำตาล ลักษณะผลมีผิวลื่นเป็นมัน ภายในผลนั้นจะกลวง และมีแกนกลาง รอบ ๆ แกนจะมีเมล็ดเป็นสีเหลืองเกาะอยู่มากมาย และเมล็ดจะมีรสเผ็ด

เผยแพร่เมื่อ 27-05-2020 ผู้เช้าชม 12,262

คันทรง

คันทรง

ต้นคันทรง จัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลางกึ่งไม้เลื้อย ลำต้นตั้งตรงและมีความสูงของต้นประมาณ 2-3 เมตร บ้างว่าสูงได้ประมาณ 1-9 เมตร แตกกิ่งก้านมากตั้งแต่โคนต้น กิ่งก้านมีขนาดเล็กกลมสีเขียว กิ่งก้านสีเขียวเข้มเป็นมัน เปลือกต้นเป็นสีเทา มีรอยแตกเป็นร่องตื้น ๆ ถี่ ๆ และตามลำต้นจะมีตาที่ทิ้งใบเป็นตุ่มห่าง ๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและวิธีการปักชำลำต้น มักขึ้นเองตามป่าราบ ป่าดงดิบ ป่าละเมาะ หรือที่รกร้างข้างทางทั่วไป โดยจะพบได้มากทางภาคเหนือ บ้างว่าพบได้มากตามชายทะเลหรือชายหาดหินปูน

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 1,607

คำแสด

คำแสด

คำแสดเป็นไม้ต้น พุ่มขนาดเล็ก มีลำต้นสูงประมาณ 3-8 เมตร บริเวณยอดเป็นพุ่มกลม หนาทึบ แตกกิ่งก้านสาขามากมาย เป็นใบเดี่ยว ออกแบบเรียงเวียนรอบๆ ต้น รูปทรงไข่ ตรงโคนมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ บาง เกลี้ยง และนุ่ม สีเขียวเหลือบแดง ออกเป็นช่อตรงบริเวณปลายกิ่ง ช่อหนึ่งจะมีดอกอยู่ประมาณ 5-10 ดอก ส่วนกลีบดอกเป็นรูปไข่ สีชมพูอ่อน กลีบดอกมีทั้งหมด 5 กลีบ ส่วนผลเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมปลายแหลม มีขนสีแดงคล้ายผลเงาะ เมื่อผลแก่จะแตกออก 2 ซีก ภายในมีเมล็ดเล็กๆ สีน้ำตาลอมแดงจำนวนมากหลายเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 3,769