อุโลก

อุโลก

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้ชม 2,597

[16.4258401, 99.2157273, อุโลก]

อุโลก ชื่อวิทยาศาสตร์ Hymenodictyon orixense (Roxb.) Mabb. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Hymenodictyon excelsum (Roxb.) Wall., Hymenodictyon excelsum (Roxb.) DC.) จัดอยู่ในวงศ์เข็ม (RUBIACEAE)

สมุนไพรอุโลก มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ลาตา (ตรัง), ลุ ส้มลุ (สุราษฎร์ธานี), ส้มกบ ส้มเห็ด (ภาคเหนือ, ภาคอีสาน), ส้มลุ ลุ ลาตา (ภาคใต้), สั่งเหาะ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ถู่เหลียนเชี่ยว (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของต้นอุโลก

  • ต้นอุโลก จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 10-20 เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนออกเป็นทรงพุ่มกลมโปร่ง กิ่งแขนงแตกออกจากลำต้นเป็นวงรอบที่ปลายกิ่ง เปลือกต้นหนาแตกลอนเป็นสะเก็ด เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลปนเทาบางทีมีสีเทาปนน้ำตาล ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด และวิธีการตอนกิ่ง มักขึ้นตามป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณผสม และตามป่าดงดิบแล้งทั่วไปทางภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้
  • ใบอุโลก ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ เป็นกระจุกตามปลายกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปรี รูปไข่ หรือรูปโล่ ปลายใบมนมีติ่ง โคนใบสอบเข้าหาก้านใบ ส่วนขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-12 เซนติเมตร และยาวประมาณ 12-25 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นลอนเล็กน้อย หลังใบและท้องใบมีขนนุ่มทั้งสองด้าน แผ่นใบหนา เส้นใบเห็นได้ชัดเป็นร่างแห มีเส้นแขนงใบประมาณ 7-9 คู่ ก้านใบมีสีแดงอ่อน ยาวประมาณ 6 เซนติเมตร มีหูใบอยู่ระหว่างก้านใบ
  • ดอกอุโลก ออกดอกเป็นช่อแบบแยกแขนง โดยจะออกตามซอกใบและปลายกิ่ง ในแต่ละช่อมีดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกเป็นสีขาวขนาดมีขนาดใหญ่กว่ากลีบฐานดอก ดอกมีกลิ่นหอม กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปกรวย ปลายแยกเป็นแฉก 5 แฉก กว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-8 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน อยู่ใจกลางดอก มีรังไข่ 2 ห้อง กลีบเลี้ยงมีเส้นใบคล้ายกับตาข่ายเป็นสีเขียว
  • ผลอุโลก ผลพบได้ในดอก ลักษณะของผลเป็นรูปทรงรีขนาดเล็ก มีร่อง 2 ร่อง เมื่อสุกผลตะแตกได้ ผิวเปลือกผลแข็งบางเป็นสีน้ำตาลแดง ยาวได้ประมาณ 2-3 เซนติเมตร อยู่รวมกันเป็นพวงห้อยลง แต่ปลายผลชี้ย้อนขึ้นไปทางโคนช่อ ภายในผลมีมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดมีครีบหรือปีกบางๆ ที่ปลาย 

สรรพคุณของอุโลก

  1. ราก แก่นและเปลือกต้น มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้พิษต่างๆ ช่วยระงับความร้อน ใช้เป็นยาขับพิษร้อนถอนพิษไข้ แก้ไข้ตัวร้อน ไข้หวัด แก้ไข้จับสั่น (ราก,แก่น,เปลือกต้น)
  2. ใช้เป็นยาแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ (ราก,แก่น,เปลือกต้น)
  3. ช่วยแก้อาการไอ (ราก,แก่น)
  4. ช่วยขับเสมหะ (ราก,แก่น)
  5. ใบและรากใช้เป็นยาดูดพิษฝีหนอง (ใบและราก)
  6. ใบและราก ใช้เป็นยาภายนอกแก้ไขข้ออักเสบ แก้ปวดบวมแดงตามข้อ (ใบและราก)

หมายเหตุ : วิธีการใช้ตาม [3] ถ้าเป็นยาแห้งให้ใช้ครั้งละ 15-30 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน ใช้ภายนอกให้ใช้ยาสดได้ตามปริมาณที่ต้องการ

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของอุโลก

  • เปลือกต้นและใบอุโลกพบสารหลายชนิด ได้แก่ Aesculin, Scopoletin ส่วนรากอุโลกพบสาร Rubiadin, Lucidin, Damnacanthal, Morindon, Nordamnacanthal, 2-Benzylxanthopurpurin, 6-Methyllalizarin และ Anthragallol เป็นต้น

ประโยชน์ของอุโลก

  • ใบอ่อนมีรสเปรี้ยว ใช้รับประทานเป็นผักสดหรือลวก ต้มกินกับน้ำพริก
  • เนื้อไม้ของต้นอุโลก สามารถนำมาใช้งานเบาๆ ได้ เช่น ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ หรือทำฝาบ้าน เป็นต้น

คำสำคัญ : อุโลก

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). อุโลก. สืบค้น 28 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1782&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1782&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

กระทือ

กระทือ

ต้นกระทือไม้ล้มลุกอายุหลายปี ลำต้นเทียมสูงได้ถึง 1 เมตร มีเหง้าใต้ดิน แตกแขนงเป็นกอ เปลือกเหง้าสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม จะแทงหน่อใหม่ช่วงฤดูฝน ใบกระทือใบเดี่ยว เรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปใบหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ หลังใบสีเขียวเป็นมัน ท้องใบสีเขียวนวล ก้านใบสั้นมาก ยาวประมาณ 5 เซนติเมตร กาบใบเรียงตัวกันแน่น หุ้มเป็นลำต้นเทียม ดอกช่อ แบบช่อเชิงลด ก้านช่อดอกยาว 14-45 เซนติเมตร ตั้งตรง แทงออกมาจากเหง้าใต้ดิน ดอกทรงกระบอก ปลายมน ใบประดับสีเขียวแล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 2,231

ฟักแม้ว

ฟักแม้ว

ฟักแม้ว หรือต้นมะระหวาน จัดเป็นเถาไม้เลื้อย ลักษณะทั่วไปจะคล้ายกับพืชที่อยู่ในตระกูลแตง แต่มีลักษณะหลายอย่างที่แตกต่างกัน เช่น ลักษณะของลำต้น ใบ ยอด และมือจับ คล้ายต้นแตงกวาผสมฟักเขียว มีระบบรากสะสมขนาดใหญ่ ลำต้นฟักแม้วมีลักษณะเป็นเหลี่ยม เจริญเป็นเถา มีความยาวประมาณ 15-30 ฟุต มีเถาแขนง 3-5 เถา มีมือเกาะเจริญที่ข้อ

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 5,880

จิก

จิก

จิก (Indian oak) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคใต้เรียก จิกนา ส่วนหนองคายเรียก กระโดนน้ำ หรือกระโดนทุ่ง ภาคเหนือเรียก ดอง และเขมรเรียก เรียง เป็นต้น มักขึ้นในพื้นที่ชุ่มน้ำ ทนต่อภาวะน้ำท่วมขังได้เป็นอย่างดี ส่วนใหญ่มักนำไปต้นจิกนี้ไปปลูกอยู่ริมน้ำหรือในสวน ด้วยเพราะมีช่อดอกที่มีสวยงามมองแล้วสดชื่น

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 2,855

บานเย็น

บานเย็น

บานเย็น มีถิ่นกำเนิดในประเทศเปรู เม็กซิโก อเมริกากลาง และมีเขตการกระจายพันธุ์เฉพาะในทวีปอเมริกาใต้ และบางครั้งอาจขึ้นเป็นวัชพืช โดยจัดเป็นไม้พุ่มเนื้ออ่อนมีอายุหลายปี มีเหง้าหรือหัวอยู่ใต้ดิน ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร มีลำต้นสีแดงออกนวลเล็กน้อย แตกกิ่งก้านจำนวนมาก เป็นทรงพุ่มแผ่กว้าง เป็นไม้ที่เลี้ยงง่าย ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ควรปลูกไว้กลางแจ้งและดินที่ปลูกควรเป็นดินร่วนมีธาตุอาหารสมบูรณ์ ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 10,981

มะตาด

มะตาด

มะตาด จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 10-20 เมตร เป็นไม้ไม่ผลัดใบ ลักษณะต้นเป็นทรงเรือนยอดทรงพุ่มกลมหรือรูปไข่ เป็นทรงพุ่มทึบ ลำต้นของมะตาดมักคดงอ ไม่ตั้งตรง และมักมีปุ่มปมปรากฏอยู่บนลำต้น ซึ่งจะเกิดจากร่องรอยของกิ่งแก่ที่หลุดร่วง ส่วนเปลือกต้นเป็นเปลือกหนา มีสีน้ำตาลอมแดงหรือสีทองแดง เมื่อแก่เปลือกต้นจะเปลี่ยนเป็นสีเทา และหลุดล่อนออกเป็นแผ่นบาง ๆ ส่วนการแตกกิ่งก้านของลำต้นจะไม่สูงจากพื้นดินมากนัก และการแตกกิ่งย่อยจะเกิดที่ส่วนปลายของยอดกิ่งหลัก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและกิ่งตอน ต้นไม้มะตาดเป็นไม้ที่ทนต่อความแห้งแล้งและน้ำท่วมได้ดี 

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 8,621

ตะโกนา

ตะโกนา

ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นไม้ยืนต้นสูง 8-15 ม. ลำต้นมีเปลือกสีดำ แตกเป็นสะเก็ดหนา ๆ ทรงพุ่มที่ยอดลักษณะกลมรี  ใบเดี่ยวเรียงสลับปลายใบโค้งมน และเป็นติ่งสั้นมีรอยหยักเว้าเข้าเล็กน้อย ฐานใบสอบเข้าหรือป้อมมนเนื้อในค่อนข้างหนา เหนียว ด้านบนจะเกลี้ยง ด้านล่างมีขนนุ่ม ปกคลุม เส้นกลางใบจะแห้งมีสีแดงเรื่อ ๆ  ดอกตัวผู้ออกเป็นช่อเล็กตามกิ่งช่อหนึ่งมีดอกย่อย 3 ดอก กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ แยกเป็นแฉกเล็ก ๆ เกสรตัวผู้มี 14-15 อัน มีรังไข่ไม่เจริญ 1 อัน มีสีน้ำตาลปกคลุมผิวหนาแน่น ดอกตัวเมียออกตรงซอกใบ มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกเหมือนกับดอกตัวผู้ มีเกสรตัวผู้เทียมหรือไม่เจริญ 8-10 อัน เกสรตัวเมียมี 1 อัน รูปร่างป้อม ๆ ติดอยู่เหนือฐานของดอกมี 8-10 ห้อง ออกดอกเดือน มีนาคม-เมษายน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 4,317

ผักโขมหนาม

ผักโขมหนาม

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพันธุ์ไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นตั้งตรง และแตกกิ่งก้านสาขามากมาย ตามโคนต้น    จะเรียบ และเป็นมันแต่ส่วนปลายนั้นจะมีขนปกคลุมอยู่บ้างประปราย ลำต้นมีสีเขียวเป็นมัน แต่บางที่ก็มีสีแดง สูงประมาณ 1 – 2 ฟุต เป็นพรรณไม้ที่มีอายุแค่ปีเดียว ใบเป็นไม้ใบเดี่ยว ออกสลับกันไปตามข้อต้น ลักษณะของใบจะเป็นหอกปลายแหลม โคนใบสอบเข้าหาก้านใบ ขอบใบเป็นคลื่นทั้งสองด้านและที่สังเกตได้ง่ายคือที่โคนก้านใบจะมีหนามแข็งแรงอยู่ 1 คู่ ใบกว้างประมาณ 0.5 – 1.5 นิ้ว ยาว 1.5 – 4 นิ้วมีสีเขียว ดอกจะมีออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและตามง่ามใบ ซึ่งดอกนี้เพศผู้และเมีย จะแยกกันอยู่คนละดอก ดอกเพศเมียจะออกอยู่จะออกอยู่ตรงง่ามใบในลักษณะเป็นกลุ่ม ส่วนเพศผู้ออกตรงปลายกิ่ง เป็นเส้นกลีบดอกมีกลีบอยู่ 5 กลีบ สีเขียวอ่อนสีขาวหรือสีเขียว

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,886

ผักปลาบช้าง

ผักปลาบช้าง

ผักปลาบช้าง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นตั้งตรง ส่วนโคนของลำต้นจะทอดราบกับพื้นก่อน แล้วจึงชูตั้งขึ้น ลำต้นมีลักษณะเป็นข้อปล้อง ลำต้นอ่อนเป็นสีเขียวเมื่อแก่เป็นสีม่วงอ่อน ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่ชอบความชุ่มชื้น ดินที่ปลูกจึงควรมีความชื้นให้มาก ในประเทศไทยพบได้ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมักพบขึ้นตามที่ชุ่มชื้นหรือลุ่มน้ำขังบริเวณชายป่าดิบที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,000-1,800 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 1,937

ชะพลู

ชะพลู

ชะพลู (Wildbetal Leafbush) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคใต้เรียก นมวา ส่วนภาคอีสานเรียก ผักอีไร หรือช้าพลูต้น และภาคเหนือเรียก ผักปูนก, พลูนก หรือพลูลิง เป็นต้น ซึ่งต้นชะพลูนี้หลายๆ คนอาจเข้าใจผิดคิดว่าเป็นต้นพลูที่ไว้รับประทานกับหมาก ด้วยชื่อและลักษณะที่คล้ายกัน แต่ในความจริงแล้วเป็นคนละชนิดกัน ต้นชะพลูนั้นจะมีขนาดเล็กกว่าต้นพลู ส่วนใบพลูจะมีรสจัดกว่าชะพลู โดยต้นชะพลูนี้มักชอบขึ้นในพื้นที่ลุ่มที่มีความชื้น และขยายพันธุ์โดยการปักชำ

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 4,400

ตรีผลา

ตรีผลา

ตรีผลา (Triphala) (อ่านออกเสียงว่า ตรี-ผะ-ลา) คืออะไร ? คำว่าตรี แปลว่า สาม ส่วนคำว่าผลานั้นหมายถึงผลไม้ จึงหมายถึงผลไม้ 3 อย่าง ซึ่งประกอบไปด้วยลูกสมอพิเภก (Terminalia belerica (Gaertn.) Roxb.), ลูกสมอไทย (Terminalia chebula Retz.), ลูกมะขามป้อม (Phyllanthus emblica Linn.) สรุปก็คือ ตรีผลาเป็นยาสมุนไพรที่เป็นส่วนผสมของสมอพิเภก สมอไทย และมะขามป้อม เมื่อผลไม้ทั้งสามตัวนี้มารวมกันก็จะมีสรรพคุณทางยาที่ช่วยควบคุมและกำจัดสารพิษในร่างกาย ซึ่งจะส่งเสริมสรรพคุณซึ่งกันและกันเป็นอย่างดี

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 2,223