เต็งหนาม

เต็งหนาม

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้ชม 3,696

[16.4258401, 99.2157273, เต็งหนาม]

เต็งหนาม ชื่อวิทยาศาสตร์ Bridelia retusa (L.) A.Juss. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Bridelia spinosa (Roxb.) Willd., Clutia retusa L., Clutia spinosa Roxb.)[1],[2] ปัจจุบันจัดอยู่ในวงศ์มะขามป้อม (PHYLLANTHACEAE)
สมุนไพรเต็งหนาม มีชื่อเรียกอื่นว่า เปาหนาม (ลำปาง), ฮังหนาม (นครพนม), รังโทน (นครราชสีมา), เต็งหนาม (ราชบุรี), จาลีลึกป๊วก (เขมร-สุรินทร์), ว้อโบ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) เป็นต้น

ลักษณะของเต็งหนาม
        ต้นเต็งหนาม จัดเป็นพรรณไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นผลัดใบ ลำต้นตั้งตรง มีความสูงได้ถึง 20 เมตร เรือนยอดไม่แน่นอน เปลือกต้นอ่อนเป็นสีเทาอ่อนหรือสีน้ำตาลเทา ผิวเรียบ ส่วนต้นแก่เปลือกต้นจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแก่ แตกเป็นร่องยาวและมีหนามแข็งขนาดใหญ่ขึ้นบริเวณลำต้น พบขึ้นทั่วไปในป่าดิบแล้ง ป่าผลัดใบ ที่โล่งแจ้ง และที่รกร้างว่างเปล่า ทั่วทุกภาคของประเทศ ที่ระดับความสูงประมาณ 600-1,100 เมตร
        ใบเต็งหนาม ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรีแกมขอบขนาน ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-9 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-20 เซนติเมตร ขนาดใบที่ปลายกิ่งจะมีขนาดเล็กลงกว่าใบที่อยู่ถัดใบ ใบเรียงตัวในแนวระนาบ ยอดอ่อนมีขนสีเทา แต่ใบแก่ด้านบนเกลี้ยง ยกเว้นบนเส้นใบ ส่วนด้านล่างมีขนหรือเรียบเกลี้ยง มีเส้นใบข้างตรงและขนานกัน 16-24 คู่ เส้นใบข้างจรดกับเส้นใบย่อยที่ขอบใบ เนื้อใบหนา ท้องใบมีขนนุ่มสีขาว ใบเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลออกชมพูก่อนทิ้งใบ ก้านใบยาวประมาณ 0.6-1.2 เซนติเมตร ไม่มีต่อม มีหูใบแหลมขนาดประมาณ 2 มิลลิเมตร หลุดร่วงได้ง่าย
         ดอกเต็งหนาม ออกดอกเป็นช่อเชิงลดแยกแขนงตามซอกใบ และมักออกตามปลายยอดกิ่งที่ใบหลุดร่วงเป็นส่วนใหญ่ ช่อดอกมีลักษณะยาวเรียว ช่อแน่น มีดอกย่อยจำนวนมากประมาณ 8-15 ดอก ดอกมีขนาดเล็ก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5 เซนติเมตร ดอกเป็นแบบแยกเพศ กลีบดอกเป็นสีเขียวหรือสีเขียวออกเหลือง อาจพบที่มีประสีส้มหรือสีแดงบ้าง กลีบดอกมี 5 กลีบ ปลายแตกออกเป็นซี่ ๆ ก้านดอกมีลักษณะอ้วน ขนาดสั้นกว่า 2 มิลลิเมตร ดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้ แต่เกสรเพศเมียเป็นหมันเชื่อมเป็นแท่งตรงกลางดอก ขนาดประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตร ปลายแท่งแผ่ออกเป็น 5 อับเรณู ส่วนดอกเพศเมียมีก้านชูเกสร 2 อัน ที่ปลายแยก รังไข่มีขนาดเล็กกว่า 1.5 มิลลิเมตร มีส่วนของหมอนรองดอกเป็นรูปคนโทปิดไว้ ส่วนกลีบเลี้ยงหนา มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม มีขนาดประมาณ 1.5-2 มิลลิเมตร ออกดอกในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน
          ผลเต็งหนาม ผลเป็นผลสด ฉ่ำน้ำ ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมหรือรูปไข่ แข็งและไม่แตก มีขนาดประมาณ 0.5-0.9 เซนติเมตร ผลเมื่ออ่อนจะเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีดำหรือสีฟ้าอมม่วง เนื้อในบาง เป็นผลเมล็ดเดียว เมล็ดค่อนข้างกลม มีสีน้ำตาลแดง ขนาดประมาณ 0.4-0.5 เซนติเมตร จะติดผลในช่วงประมาณเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม

สรรพคุณของเต็งหนาม
1. ตำรายาไทยจะใช้เปลือกต้นเต็งหนาม นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาฝาดสมานอย่างแรง และใช้รากเข้ายาสมานท้อง แก้บิด แก้ท้องร่วง และใช้เป็นยาห้ามเลือด (เปลือกต้น, ราก)
2. ยาพื้นบ้านทางภาคอีสานจะนำเปลือกต้นเต็งหนามมาปิ้งไฟ แล้วแช่น้ำเกลือ ใช้ดื่มเป็นยาแก้ท้องร่วง (เปลือกต้น)
3. ตำรายาอายุรเวทของอินเดียจะนำใบเต็งหนามมาต้มกินเป็นยารักษาบิด และใช้ใบเป็นยารักษาโรคติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะ (ใบ)
4. น้ำต้มจากเปลือกใช้กินเป็นยาสลายนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (เปลือกต้น)
5. เปลือกต้นใช้ต้มกินเป็นยาคุมกำเนิดสำหรับสตรี (เปลือกต้น)
6. ใบเต็งหนามใช้ร่วมกับพืชอื่นและน้ำมันละหุ่ง น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันขิง ใช้เป็นยาทารักษาแผล (ใบ)
7. เปลือกต้นใช้ตำผสมกับผักเสี้ยนผีทั้งต้น และหัวแห้วหมู ทำเป็นลูกประคบแก้ปวดหัวเข่า (เปลือกต้น)
8. ยางจากเปลือกต้นนำมาผสมกับน้ำมันงา ใช้เป็นยาทาถูนวดแก้อาการปวดข้อ (ยางจากเปลือกต้น)
9. ในประเทศศรีลังกาจะใช้เปลือกต้นและรากเต็งหนามเป็นยารักษาโรคข้อรูมาติซึม และใช้เป็นยาฝาดสมาน (เปลือกต้น, ราก)

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของเต็งหนาม
1. เปลือกต้นเต็งหนามพบสารในกลุ่ม bisabolane sesquiterpenes ได้แก่ (E)-4-(1,5-dimethyl-3-oxo-1-hexenyl) benzoic acid, (E)-4-(1,5-dimethyl-3-oxo-1,4-hexadienyl) benzoic acid, (R)-4-(1,5-dimethyl-3-oxo-4-hexenyl) benzoic acid, (-)-isochaminic acid, (R)-4-(1,5-dimethyl-3-oxohexyl) benzoic acid (ar-todomatuic acid) และสารอื่น ๆ ที่พบ ได้แก่ 5-allyl-1,2,3-trimethoxybenzene (elemicin), (+)-sesamin and 4-isopropylbenzoic acid (cumic acid)
2. สารสกัดแอลกอฮอล์จากเปลือกต้นเต็งหนาม มีฤทธิ์ลดความดันโลหิต ต้านเนื้องอก ไม่มีความเป็นพิษเฉียบพลันในสัตว์ทดลอง
3. สารสกัดแอลกอฮอล์จากใบและต้นเต็งหนาม มีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว และต้านเชื้อไวรัสเอดส์ได้โดยการยับยั้งเอนไซม์ reverse transcriptase ในหลอดทดลอง
4. สารสกัดเมทานอลจากใบเต็งหนาม มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคทางเดินปัสสาวะ ดังนี้ Staphylococcus aureus, Enterococcus faecalis, Enterobacter aerogenes, Acinetobacter baumannii และ Pseudomonas aeruginosa โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่ฆ่าเชื้อได้ (MBC) เท่ากับ 1.51, 3.41, 3.41, 4.27 และ 9.63 mg/ml ตามลำดับ
5. สารสกัดจากเปลือกต้นมีฤทธิ์ต้านเชื้อราที่ก่อโรคพืช (Cladosporium cladosporioides)
6. สารไอโซฟลาโวนจากใบเต็งหนาม มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียทั้งแกรมลบและแกรมบวกได้หลายชนิด

ประโยชน์ของเต็งหนาม
1. ผลมีรสฝาด รับประทานได้ และเป็นอาหารของนก
2. ใบใช้เป็นอาหารสำหรับสัตว์
3. เปลือกต้นมีสารแทนนินที่ใช้ในทางเภสัชกรรม เพราะมีคุณสมบัติเป็นสารต่อต้านไวรัสบางชนิด
4. เนื้อไม้เต็งหนามมีสีแดงขุ่น สามารถนำมาใช้ในงานการก่อสร้างได้ เช่น การใช้ทำเสา รวมไปถึงเครื่องมือเครื่องใช้ทางอุตสาหกรรม

คำสำคัญ : เต็งหนาม

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เต็งหนาม. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1631

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1631&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

กระทืบยอบ

กระทืบยอบ

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ล้มลุก สูงไม่เกิน 30 ซม. ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ แก่นกลางใบประกอบยาว 7-17 ซม. มีขนสีน้ำตาล  มีใบย่อย 18-27 คู่  ใบย่อยคู่อื่น รูปแคบยาวขอบขนาน ช่อดอก มี 2-9 ดอก ก้านช่อดอกยาว 0.5-2 ซม.  ก้านดอกยาว 0.5-1.7 ซม. กลีบดอกสีขาว โคนกลีบสีเหลือง ผลรีกว้าง 2-3 มม. ยาว 3-4 มม. ผิวเรียบ มีเมล็ด 10-15 เมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2018 ผู้เช้าชม 1,716

พุดซ้อน

พุดซ้อน

พุดซ้อน มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน บ้างก็ว่าจัดเป็นพรรณไม้ดั้งเดิมของบ้านเรานี่เอง โดยจัดเป็นไม้พุ่มเตี้ยหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 1-2 เมตร มีลักษณะทั่วไปคล้ายต้นพุดจีบ แต่จะแตกต่างกันที่ว่าพุดซ้อนจะไม่มีสีขาวอยู่ในต้นและใบเหมือนพุดจีบ ลำต้นแตกกิ่งก้านมาก ลำต้นและกิ่งก้านเป็นสีเขียว ใบขึ้นดกหนาทึบ ส่วนรากใต้ดินเป็นสีเหลืองอ่อน นิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง เนื่องจากเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด ต้องการแสงแดดจัดและความชื้นสูง หากปลูกในที่มีแสงแดดไม่เพียงพอจะทำให้ไม่ค่อยออกดอก และการตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งจะช่วยทำให้ดอกมีขนาดใหญ่ขึ้นได้ โดยมักพบขึ้นในป่าดงดิบทางภาคเหนือ 

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 13,949

ผักกวางตุ้ง

ผักกวางตุ้ง

กวางตุ้ง เป็นผักที่นิยมนำมาประกอบอาหาร ไม่ว่าจะผัดหรือต้มเป็นแกงจืด ให้รสชาติหวานกรอบ โดยเฉพาะเมนูบะหมี่หมูแดงหรือเกี๊ยวก็จะมีผักชนิดนี้แซมอยู่เสมอ โดยสามารถรับประทานได้ทั้งลำต้น ใบ และดอก ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริโภค แต่จะนิยมนำมาปรุงให้สุกก่อนนำมารับประทาน ตามธรรมชาติแล้วผักกวางตุ้งจะมีเส้นใยเหนียวๆ เคี้ยวยากสักหน่อย

เผยแพร่เมื่อ 09-07-2020 ผู้เช้าชม 12,833

หมาก

หมาก

หมาก มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชียเขตร้อน จัดเป็นไม้ยืนต้นจำพวกปาล์ม ลำต้นตั้งตรง เป็นต้นเดี่ยวไม่แตกกิ่งก้าน ลักษณะของลำต้นเป็นรูปทรงกระบอก เปลือกลำต้นเป็นรอยขวั้นรอบๆ ขึ้นไปตลอดลำต้น ในระยะแรกจะเจริญเติบโตด้านกว้างและด้านสูง แต่หลังจากหยุดการเจริญเติบโตจะเจริญเติบโตด้านความสูง ต้นหมากมีตายอดส่วนปลายสุดของลำต้น ถ้ายอดตายหมากจะตาย ตายอดจะเป็นที่เกิดของใบหลังจากใบร่วงหล่นจะทิ้งรอยติดของใบไว้ เรียกว่าข้อ ข้อของต้นหมากสามารถคำนวณหาอายุหมากได้ 1 ปี โดยหมากจะมีใบหรือข้อเพิ่มขึ้น 5 ใบ หรือ 5 ข้อ ต้นหมากจะมีเนื้อเป็นเสี้ยนยาวจับตัวกันแน่นบริเวณเปลือกนอกลึกเข้าไปประมาณ 2 เซนติเมตร 

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 28,026

ติ้วขาว

ติ้วขาว

ต้นติ้วขาว จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลาง มีความสูงของต้นเฉลี่ยประมาณ 3-12 เมตร และอาจสูงได้ถึง 35 เมตร เรือนยอดเป็นทรงพุ่มกลม โคนต้นมีหนาม กิ่งก้านเรียว ส่วนกิ่งอ่อนมีขนนุ่มอยู่ทั่วไป เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลแดง แตกล่อนเป็นสะเก็ด ส่วนเปลือกด้านในเป็นสีน้ำตาลแกมเหลือง ลำต้นมีน้ำยางสีเหลืองปนแดงซึมออกมาเมื่อถูกตัดหรือเกิดแผล ขยายพันธุ์วิธีการใช้เมล็ด เป็นต้นไม้ที่ทนแล้งได้ดี พบได้ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทางภาคใต้ตอนเหนือ โดยจะขึ้นตามป่าดิบแล้ง ป่าโปร่ง ป่าเต็งรัง ป่าตามเชิงเขา และตามป่าเบญจพรรณ

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 4,616

ผักหวานป่า

ผักหวานป่า

ผักหวานป่า (Melientha Suavis Pierre) เป็นพืชผักสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งที่นิยมนำมารับประทานทั้งในแบบผักปกติและในแบบสมุนไพรเพื่อรักษาโรคต่างๆ ผักหวานป่าเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ที่มีใบและยอดสีเขียวอ่อน ประโยชน์ของผักหวานป่านั้นมีมากมาย อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ โดยมีโปรตีน วิตามินและใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย เนื่องจากความนิยมบริโภคผักหวานป่าที่สูงขึ้น ปัจจุบันจึงที่การนำผักหวานป่ามาปลูกเป็นสวนเกษตร ทำให้สามารถหารับประทานได้ง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก

เผยแพร่เมื่อ 12-05-2020 ผู้เช้าชม 2,371

กำลังพญาเสือโคร่ง

กำลังพญาเสือโคร่ง

ต้นกำลังพญาเสือโคร่งนี้เป็นไม้ยืนต้นสูงขนาดใหญ่ โดยมีความสูงของลำต้นประมาณ 20-40 เมตร เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลอมเทาเหลือบดำ และมีต่อมระบายอากาศอยู่มีลักษณะเป็นจุดเล็กๆ สีขาว ทรงกลมหรือรีกระจายกันอยู่ โดยมีกลิ่นคล้ายกับการบูร สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด ส่วนใบมีรูปทรงไข่แกมรูปหอก ใบบางหรือหนาด้านใต้มีตุ่มอยู่ ขอบใบหยักเป็นแบบฟันเลื่อย 2 ถึง 3 ชั้น โคนใบป้าน และปลายเรียวแหลม ส่วนดอกนั้นจะคล้ายหางกระรอก โดยออกดอกตามง่ามใบ และต้นกำลังพญาเสือโคร่งนี้จะออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ และมีจะมีลักษณะแบน ผลแก่มักร่วงหล่นจากต้นได้ง่าย โดยออกผลในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 4,127

รุ่งอรุณ

รุ่งอรุณ

รุ่งอรุณ จัดเป็นไม้เลื้อย สามารถเลื้อยไปได้ไกลถึง 6 เมตร มีรากพิเศษที่ออกเป็นกระจุกอยู่รอบข้อ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการปักชำกิ่ง เป็นต้นไม้ที่ชอบแสงแดดจัด ดินร่วนและระบายน้ำได้ดี จึงควรปลูกในบริเวณที่มีแสงแดดจัด เพราะจะช่วยทำให้ดอกดกและออกดอกได้ตลอดทั้งปี

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 3,298

ทองพันชั่ง

ทองพันชั่ง

ต้นทองพันชั่ง เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 1-2 เมตร โคนของลำต้นเป็นเนื้อไม้แกนแข็ง มีกิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ใบทองพันชั่ง ใบเป็นเป็นเดี่ยว ลักษณะใบเป็นรูปไข่ ปลายใบและโคนใบแหลม ยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ออกดอกเป็นช่อตรงซอกมุมใบ กลีบดอกมีสีขาว กลีบรองดอกมี 5 กลีบและมีขน กลีบดอกติดกัน โคนเป็นหลอด

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 10,937

ตะขบ

ตะขบ

ต้นตะขบ จัดเป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านแผ่ขนานกับพื้นดิน เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีเทา ตามกิ่งอ่อนมีขนนุ่มขึ้นปกคลุม ตะขับหรือตะขบฝรั่งนี้มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ พบปลูกเป็นไม้ประดับหรือไม้ผลทั่วไปในเขตร้อน ในประเทศพบปลูกเป็นไม้ประดับหรือไม้ผล และมักพบขึ้นเป็นวัชพืชตามที่รกร้างว่างเปล่าตามป่าโปร่งทั่วไป หรือมักขึ้นเองตามธรรมชาติที่นกและสัตว์ขนาดเล็กถ่ายมูลเมล็ดตะขบทิ้งไว้ สามารถขยายพันธุ์ได้เองโดยวิธีการเพาะเมล็ด ออกดอกและติดผลได้ตลอดทั้งปี

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 22,470