พุดซ้อน

พุดซ้อน

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้ชม 12,428

[16.4258401, 99.2157273, พุดซ้อน]

พุดซ้อน ชื่อสามัญ Cape jasmine, Gareden gardenia, Gerdenia, Bunga cina (มาเลเซีย), Kaca piring

พุดซ้อน ชื่อวิทยาศาสตร์ Gardenia jasminoides J.Ellis (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Gardenia augusta Merr., Gardenia florida L., Gardenia grandiflora Siebold ex Zucc., Gardenia radicans Thunb.) จัดอยู่ในวงศ์เข็ม (RUBIACEAE)

สมุนไพรพุดซ้อน มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า เค็ดถวา แคถวา (เชียงใหม่), พุดป่า (ลำปาง), พุทธรักษา (ราชบุรี), พุดฝรั่ง (กรุงเทพฯ), พุดสา พุดสวน พุดจีบ (ภาคกลาง), พุด, พุดจีน พุดใหญ่ พุดซ้อน (ไทย), กีจื้อ จือจื่อ สุ่ยจือจื่อ (จีนกลาง) เป็นต้น

ลักษณะของพุดซ้อน

  • ต้นพุดซ้อน มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน บ้างก็ว่าจัดเป็นพรรณไม้ดั้งเดิมของบ้านเรานี่เอง โดยจัดเป็นไม้พุ่มเตี้ยหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 1-2 เมตร มีลักษณะทั่วไปคล้ายต้นพุดจีบ แต่จะแตกต่างกันที่ว่าพุดซ้อนจะไม่มีสีขาวอยู่ในต้นและใบเหมือนพุดจีบ ลำต้นแตกกิ่งก้านมาก ลำต้นและกิ่งก้านเป็นสีเขียว ใบขึ้นดกหนาทึบ ส่วนรากใต้ดินเป็นสีเหลืองอ่อน นิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่ง เนื่องจากเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด ต้องการแสงแดดจัดและความชื้นสูง หากปลูกในที่มีแสงแดดไม่เพียงพอจะทำให้ไม่ค่อยออกดอก และการตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งจะช่วยทำให้ดอกมีขนาดใหญ่ขึ้นได้ โดยมักพบขึ้นในป่าดงดิบทางภาคเหนือ 
  • ใบพุดซ้อน พุดซ้อนเป็นไม้ที่ออกใบหนาแน่น ทำให้ดูทึบ โดยใบจะเป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามหรือประกอบเป็นใบ 3 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปมนรีหรือรูปหอก ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบ เป็นขอบสีขาว ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 7-14 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบมันเป็นสีเขียวเข้ม เนื้อใบหนา ก้านใบสั้น มีหูใบ 2 อันอยู่ระหว่างก้านใบด้านละอัน ลักษณะของใบทั่วไปคล้ายใบพุดจีบ แต่จะแตกต่างกันตรงที่ไม่มียางสีขาวเท่านั้น 
  • ดอกพุดซ้อน โดยมากแล้วจะออกดอกเป็นดอกเดี่ยว โดยจะออกตามง่ามใบและปลายกิ่ง ดอกมีขนาดใหญ่ ลักษณะของดอกคล้ายกับดอกพุดจีบ ดอกของพุดซ้อนจะเป็นสีขาวและมีกลีบดอกซ้อนกันหลายชั้น โคนกลีบแหลม ปลายกลีบมนรี มีกลีบดอกประมาณ 5-7 กลีบ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7 เซนติเมตร เนื้อนุ่มและมีกลิ่นหอมแบบอ่อน ๆ ดอกมีเกสรเพศผู้ 6 ก้านรูปแถบ ติดที่ปลายหลอดกลีบดอก เกสรเพศเมีย ก้านเกสรยาว ยอดเกสรเป็นกระจุกแน่น รังไข่จะอยู่ใต้ฐานรองดอก ส่วนกลีบเลี้ยงมีประมาณ 5-8 แฉก ก้านดอกสั้นหรือไม่มีก้านดอก
  • ผลพุดซ้อน ผลมีลักษณะกลมเป็นรูปไข่ ออกแบบหัวทิ่มลง ผลอ่อนเมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทองหรือเป็นสีส้มถึงแดง ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-1.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร เปลือกผลมีเหลี่ยมตามยาว ประมาณ 5-7 เหลี่ยม ภายในมีเมล็ดอยู่ประมาณ 3-6 เมล็ด เมล็ดจะมีเนื้อเยื่อหุ้มเป็นสีแดง 

สรรพคุณของพุดซ้อน

  1. รากและผลมีรสขม เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อหัวใจและตับ ใช้เป็นยาดับพิษร้อนถอนพิษไข้ ช่วยแก้อาการร้อนใน ขับน้ำชื้น ทำให้เลือดเย็น แก้ตัวร้อน มีไข้สูง (ราก, ผล)
  2. เนื้อไม้เป็นยาเย็น ช่วยลดพิษไข้ (เนื้อไม้) ปลือกต้นและรากเป็นยาแก้ไข้ (เปลือกต้น, ราก)
  3. ช่วยกระจายเลือดที่อุดตัน (ผล)
  4. ช่วยแก้อาการกระสับกระส่ายนอนไม่หลับ (ผล)
  5. ช่วยแก้ตาอักเสบ (ผล)
  6. ช่วยแก้เลือดกำเดา (ผล)
  7. ใบใช้ตำพอกแก้อาการปวดศีรษะได้ (ใบ)
  8. ช่วยแก้อาการเหงือกบวม ปวดฟัน (ผล)
  9. ช่วยรักษาปากและลิ้นเป็นแผล (ผล)
  10. ช่วยแก้อาเจียนเป็นเลือด (ผล)
  11. รากช่วยแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ (ราก)
  12. เปลือกต้นเป็นยาแก้บิด แก้ปวดท้อง (เปลือกต้น)
  13. ผลเป็นยาขับพยาธิและขับปัสสาวะ (ผล) ส่วนน้ำจากต้นใช้เป็นยาขับพยาธิ (น้ำจากต้น)
  14. ช่วยแก้ปัสสาวะเป็นเลือด (ผล)
  15. ตำรับยาแก้ตับอักเสบเฉียบพลันเนื่องจากการติดเชื้อและมีอาการตัวเหลือง ระบุให้ใช้รากพุดซ้อนสด 70 กรัม, รากใบไผ่เขียว, หญ้าคา และเปลือกต้นหม่อนอย่างละ 35 กรัม นำมารวมกันต้มกับน้ำรับประทาน (ราก)
  16. รากใช้ตำพอกแผลสด ห้ามเลือด ช่วยสมานบาดแผล (ราก)
  17. น้ำคั้นจากดอกนำมาผสมกับน้ำมันใช้เป็นยาทารักษาโรคผิวหนัง หรือจะใช้เฉพาะน้ำคั้นจากดอกเพียงอย่างเดียวก็ได้ (น้ำจากดอก)
  18. ช่วยแก้ผื่นคันตามผิวหนัง (ราก)
  19. ช่วยแก้ฝีหนองอักเสบ (ราก)
  20. ช่วยแก้อาการปวดบวม (ราก)
  21. ตำรับยาแก้เคล็ดขัดยอกระบุให้ใช้ผลพุดซ้อนแห้ง 250 กรัม, โกฐเชียง, คำฝอย และเมล็ดลูกท้ออย่างละ 150 กรัม นำมารวมกันบดเป็นผง แล้วนำไปเคี่ยวกับวาสลิน 250 กรัม และผสมกับน้ำส้มสายชูอีก 500 ซีซี แล้วเคี่ยวจนให้เข้ากันดี ใช้เป็นยาทาภายนอกบริเวณที่มีอาการ (ผล)

หมายเหตุ : วิธีใช้ตาม [3] ถ้าเป็นยาแห้งให้ใช้ครั้งละ 3-10 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน หากเป็นยาสดให้ใช้ครั้งละ 35-70 กรัม นำมาตำคั้นเอาแต่น้ำรับประทาน หรือใช้ตำพอกแผลภายนอก

สรรพคุณของผลพุดซ้อนตามตำราการแพทย์แผนจีน

  1. กีจื้อ (ผลพุดซ้อน) มีรสขมเย็น มีฤทธิ์ขับความร้อน ระบายความร้อน แก้ไข้ แก้หงุดหงิดกระวนกระวาย ช่วยเสริมความชื้น ทำให้เลือดเย็น แก้เลือดกำเดาไหล แก้ปัสสาวะและอาเจียนเป็นเลือด (เนื่องจากเลือดมีพิษร้อน) แก้ดีซ่าน (ตัวเหลืองจากความร้อนหรือร้อนชื้นของตับและถุงน้ำดี) มีฤทธิ์บรรเทาอาการพิษอักเสบ แก้พิษอักเสบของแผล ฝีอักเสบ อาการบวมจากการกระทบกระแทก ลดบวมจากการอักเสบ ช่วยระงับอาการปวด แก้อาการอักเสบบวมแดง
  2. กีจื้อผัดและกีจื้อผลพุดซ้อนผัดเกรียมมีวิธีใช้และสรรพคุณที่เหมือนกัน แต่จะใช้ในกรณีที่ระบบกระเพาะอาหารและม้ามพร่อง
  3. กีจื้อถ่านมีฤทธิ์ห้ามเลือดและทำให้เลือดเย็น ช่วยแก้อาการไอเป็นเลือด เลือดกำเดาไหล อาเจียนเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด

หมายเหตุ : สำหรับวิธีใช้ ให้ใช้ประมาณ 6-9 กรัมนำมาต้มเอาแต่น้ำดื่ม

ข้อควรระวัง ผลพุดซ้อนไม่เหมาะสำหรับนำมาใช้กับคนธาตุอ่อน อุจจาระเหลว

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของพุดซ้อน

  • สารที่พบ ได้แก่ Jasminodin, Geniposide, Crocin, Shanzhiside, Genipin-1-B-gentiobioside, Dipentene, Gardonin และยังพบ Gum, Tanin เป็นต้น
  • สารสกัดด้วยน้ำหรือแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ในการกระตุ้นน้ำดีให้มีการไหลออกมากขึ้น และจากการทดลองกับกระต่ายก็พบว่า สารสกัดดังกล่าวสามารถช่วยยับยั้ง Bilirubin ของเม็ดเลือดที่อยู่ในเส้นเลือดได้
  • เมื่อนำน้ำที่ต้มได้จากผลพุดซ้อนหรือสารที่สกัดได้จากผลพุดซ้อนด้วยแอลกอฮอล์มาทดลองกับสัตว์ทดลอง เช่น หนู แมว หรือกระต่าย พบว่ามีฤทธิ์ทำให้ความดันของสัตว์ทดลองลดลงได้นานพอสมควร
  • ผลพุดซ้อนมีฤทธิ์เป็นยาห้ามเลือดและช่วยสมานบาดแผล
  • สารหลัก Linalool มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา มีฤทธิ์สงบประสาท และการอักเสบ

ประโยชน์ของพุดซ้อน

  1. ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับสวนบริเวณบ้านทั่วไป ตัดแต่งทรงพุ่มและปลูกเป็นแนวรั้วได้ดี[1]สามารถควบคุมการออกดอกได้ด้วยการควบคุมการให้น้ำและการใส่ปุ๋ยที่เหมาะสม อีกทั้งดอกพุดซ้อนยังมีความหมายที่เป็นมงคลอีกด้วย โดยตามความหมายของไทยจะหมายถึงความแข็งแรง สมบูรณ์ ความเจริญมั่นคง ส่วนตามความหมายของฝรั่งจะหมายถึงรักแท้
  2. ดอกนำมาปักแจกันไหว้พระหรือนำไปร้อยเป็นพวงมาลัยสำหรับบูชาพระ ส่วนในประเทศจีนจะใช้ดอกพุดมาอบใบชาให้มีกลิ่นหอม
  3. ดอกสามารถนำมาสกัดทำเป็นน้ำมันหอมระเหย ใช้แต่งกลิ่นเครื่องสำอางได้
  4. ผลและเมล็ดเมื่อนำมาบดจะให้สารสีเหลืองทองชื่อ Gardenia ใช้เป็นสีสำหรับแต่งสีอาหารให้เป็นสีเหลือง (เช่น การใช้ย้อมสีด้านนอกของเต้าหู้แข็ง แต่งสีน้ำเก๊กฮวย ส่วนในประเทศจีนใช้เป็นสีย้อมผ้า) และยังให้สารสีน้ำตาลแดงชื่อ Corcin ใช้สำหรับแต่งอาหารให้มีสีน้ำตาลแดง
  5. เนื้อไม้สามารถนำมาใช้ทำธูป ทำกรอบรูป และทำหัวน้ำหอมได้

คำสำคัญ : พุดซ้อน

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). พุดซ้อน. สืบค้น 29 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1754&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1754&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

จิก

จิก

จิก (Indian oak) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคใต้เรียก จิกนา ส่วนหนองคายเรียก กระโดนน้ำ หรือกระโดนทุ่ง ภาคเหนือเรียก ดอง และเขมรเรียก เรียง เป็นต้น มักขึ้นในพื้นที่ชุ่มน้ำ ทนต่อภาวะน้ำท่วมขังได้เป็นอย่างดี ส่วนใหญ่มักนำไปต้นจิกนี้ไปปลูกอยู่ริมน้ำหรือในสวน ด้วยเพราะมีช่อดอกที่มีสวยงามมองแล้วสดชื่น

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 2,856

ใบเงิน ใบทอง ใบนาก

ใบเงิน ใบทอง ใบนาก

ต้นใบเงิน มีถิ่นที่อยู่ในประเทศนิวกินี ส่วนต้นใบนาก มีถิ่นกำเนิดในเขตมรสุมในเมืองร้อน ใบเงิน ใบทอง และใบนากเป็นพรรณไม้ชนิดเดียวกัน โดยจัดเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร เปลือกลำต้นเรียบ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำ เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและระบายน้ำได้ดี โดยจัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบอยู่ในที่ร่มรำไร มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ต้องการแสงแดดเป็นบางเวลา และทั้งใบเงิน ใบทอง และใบนาก ต่างก็มีสรรพคุณทางยาเช่นเดียวกัน 

 

เผยแพร่เมื่อ 04-06-2020 ผู้เช้าชม 12,915

ดองดึง

ดองดึง

ดองดึง (Superb Lily, Turk’s cap, Climbing Lily) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกหัว ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคอีสานเรียก พันมหา, หัวขวาน, หัวฟาน หรือดาวดึง ซึ่งต้นดองดึงนั้นเป็นพืชที่อยู่ในแถบทวีปแอฟริกาเขตร้อนและเอเชียเขตร้อน รวมทั้งในประเทศไทยของเราด้วย โดยต้นดองดึงนั้นเป็นพืชสมุนไพรที่ชอบขึ้นอยู่ตามชายป่า ที่โล่ง หรือดินปนทราย ส่วนใหญ่มักจะนิยมนำต้นดองดึงมาปลูกไว้เป็นไม้ประดับเพื่อตกแต่ง และนำไปทำเป็นยาสมุนไพร รวมถึงใช้ในการรักษามะเร็งได้ด้วย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 1,323

บวบเหลี่ยม

บวบเหลี่ยม

บวบเหลี่ยม เชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย เนื่องจากพบต้นที่มีลักษณะเป็นพืชป่าในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย และมีเขตการกระจายพันธุ์และนิยมบริโภคกันมากในประเทศเขตร้อน เช่น ไทย จีน ฮ่องกง และอินเดีย โดยจัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกมีอายุเพียงปีเดียว ชอบเลื้อยพาดพันไปตามต้นไม้อื่นหรือทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ยอดอ่อนนุ่ม เถาหรือลำต้นเป็นเหลี่ยม ตามข้อเถามีมือสำหรับใช้ยึดเกาะเป็นเส้นยาว บางทีแยกเป็นหลายแขนง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ทนแล้ง ทนฝนได้ดี โรคและเมล็ดไม่มารบกวน พรรณไม้ชนิดนี้มักขึ้นตามที่รกร้าง ตามริมห้วย หนอง คลอง และตามบึงทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 9,583

ตะไคร้

ตะไคร้

ตะไคร้ (Lemon Grass) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกหญ้า ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก เยี่ยงเฮื้อ และภาคอีสานเรียก สิงไค เป็นต้น ซึ่งตะไคร้นั้นเป็นพืชสมุนไพรที่กำเนิดขึ้นในประเทศอินเดีย อิน พม่า ศรีลังกา อินโดนีเซีย และไทย โดยนิยมนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหารต่างๆ รับประทาน นับเป็นสมุนไพรไทยที่หลายๆ คนนิยมปลูกในบ้าน เรียกได้ว่าเป็นพืชผักสวนครัวก็ว่าได้ เนื่องจากเป็นทั้งยารักษาโรคแถมยังมีวิตามินที่สำคัญต่อร่างกายอีกมากมายเลยทีเดียว โดยเฉพาะเป็นส่วนประกอบในอาหารของไทยอย่างต้มยำที่หลายๆ คนชอบรับประทานกัน

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 5,379

ยางนา

ยางนา

ยางนาเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบหรือผลัดใบระยะสั้น สูงได้ถึง 50 เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกต้นสีออกเทาอ่อน เกลี้ยง หลุดลอกออกเป็นชิ้นกลมๆ โคนต้นมักเป็นพูพอน เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ทึบ ตามกิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขน และมีรอยแผลใบเห็นชัด ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 6-14 เซนติเมตร ยาว 12.5-25 เซนติเมตร ใบมีขนปกคลุม ใบด้านท้องใบมีขนรูปดาวสั้นๆ เนื้อใบหนาและเหนียว ย่นเป็นลอน โคนใบมนกว้าง ปลายใบสอบทู่ๆ ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบอ่อนมีขนสีเทา ใบแก่เกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง ก้านใบยาว 3-4 เซนติเมตร มีขนประปราย ใบมีหูใบขนาดใหญ่

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,496

กระดอม

กระดอม

ต้นกระดอมเป็นไม้เถา ลำต้นเป็นร่อง และมีมือเกาะ (tendril) ใบกระดอมเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ มีรูปร่างต่างๆ กัน มีตั้งแต่รูปไตจนถึงรูปสามเหลี่ยม ห้าเหลี่ยม หรือเป็นแฉก โคนเว้าลึกเป็นรูปหัวใจ โคนใบเว้าลึกเป็นรูปหัวใจ ดอกกระดอมดอกแยกเพศ อยู่บนต้นเดียวกัน ใบประดับยาว 5-2 ซม. ขอบจักเป็นแฉกลึกแหลม ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อ กลีบเลี้ยงติดกันเป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็นแฉกรูปใบหอก 5 แฉก กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว โคนติดกันเล็กน้อย เกสรเพศผู้ 3 อัน ดอกเพศเมียออกเดี่ยวๆ กลีบเลี้ยง และกลีบดอกมีลักษณะเหมือนดอกเพศผู้ รังไข่มีช่อเดียว ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 3 แฉก

เผยแพร่เมื่อ 13-05-2020 ผู้เช้าชม 3,227

มะปราง

มะปราง

มะปราง มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย ลาว พม่า และมาเลเซีย จัดเป็นไม้ผลที่มีทรงของต้นค่อนข้างแหลมถึงทรงกระบอก มีรากแก้วที่แข็งแรง มีกิ่งก้านสาขาค่อนข้างทึบ ลำต้นสูงประมาณ 15-30 เมตร ลักษณะของใบมะปรางจะคล้ายใบมะม่วงแต่มีขนาดเล็กกว่า และใบเป็นใบเรียวยาว มีสีเขียว ขอบใบเรียบ แผ่นใบเหนียว มีเส้นใบเห็นเด่นชัด ใบอ่อนมีสีม่วงแดง ยาวประมาณ 14 เซนติเมตร กว้างประมาณ 3.5 เซนติเมตร ส่วนดอกมะปราง จะออกดอกเป็นช่อ ออกบริเวณปลายกิ่งแขนง ดอกเมื่อบานจะมีสีเหลือง เป็นดอกสมบูรณ์เพศ และช่อดอกจะยาวประมาณ 8-15 เซนติเมตร

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 11,256

ผักปลัง

ผักปลัง

ผักปลัง มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของเอเชียและแอฟริกา โดยจัดเป็นไม้เถาเลื้อยล้มลุก ลำต้นอวบน้ำ เกลี้ยง กลม ไม่มีขน แตกกิ่งก้านสาขามาก มีความยาวประมาณ 2-6 เมตร หากลำต้นเป็นสีเขียวจะเรียกว่า "ผักปลังขาว" ส่วนชนิดที่ลำต้นเป็นสีม่วงแดงจะเรียกว่า "ผักปลังแดง" ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการปักชำเถาแก่ เจริญเติบโตได้ดีในที่ชื้นระบายน้ำได้ดี ชอบแสงแดดรำไร สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ ตามป่าทุ่ง ที่รกร้าง หรือตามที่ชุ่มชื้นทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 5,377

กำจาย

กำจาย

ต้นกำจาย จัดเป็นพรรณไม้พุ่มรอเลื้อย มีความสูงได้ประมาณ 2.5-10 เมตร ลำต้นและก้านใบมีหนามแหลมแข็งและโค้งคล้ายหนามกุหลาบ ตามกิ่งอ่อนมีขนสั้นขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ส่วนใหญ่จะไม่นิยมปลูกต้นกำจายไว้ตามบ้าน เนื่องจากต้นกำจายเป็นไม้ที่มีหนามแหลมและเป็นไม้เถาเลื้อย แต่จะมีปลูกไว้เพื่อใช้ประโยชน์ทางยาตามสวนยาแผนไทย 

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 3,837