ผักขวง

ผักขวง

เผยแพร่เมื่อ 27-05-2020 ผู้ชม 4,164

[16.4258401, 99.2157273, ผักขวง]

ผักขวง ชื่อวิทยาศาสตร์ Glinus oppositifolius (L.) Aug.DC. จัดอยู่ในวงศ์สะเดาดิน (MOLLUGINACEAE)
สมุนไพรผักขวง มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า ผักขี้ขวง (ภาคเหนือ, ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), สะเดาดิน ผักขวง (ภาคกลาง), ขี้ก๋วง, ส่วนในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 เรียกสมุนไพรชนิดนี้ว่า "ขวง" เป็นต้น

ลักษณะของผักขวง
        ต้นผักขวง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีลำต้นเตี้ยหรือทอดเลื้อยแตกแขนงแผ่ราบไปกับพื้นดิน แตกกิ่งก้านสาขาแผ่กระจายออกไปรอบ ๆ ต้น ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจ้า เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด ทนแล้งได้ดี พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะทางภาคเหนือ โดยมักขึ้นได้ในบริเวณที่ชื้นแฉะ ตามไร่นา และตามสนามหญ้าทั่วไป
        ใบผักขวง ใบเป็นใบเดี่ยว ใบมีขนาดเล็ก แตกใบออกตามข้อต้น ซึ่งในแต่ละข้อจะมีใบอยู่ประมาณ 4-5 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรี ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.3-0.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว ก้านใบสั้น 
        ดอกผักขวง ออกเป็นดอกเดี่ยวรวมกันอยู่ตามข้อของลำต้นใกล้ ๆ กับใบ ในข้อหนึ่งจะมีดอกประมาณ 4-6 ดอก ดอกเป็นสีขาวอมเขียว มีกลีบดอก 5 กลีบ แต่ละกลีบมีขนาดยาวประมาณ 0.3 เซนติเมตร ส่วนก้านดอกยาวกว่ากลีบดอก โดยจะมีความยาวประมาณ 0.6-1.2 เซนติเมตร
        ผลผักขวง ลักษณะของผลเป็นรูปยาวรี มีขนาดยาวประมาณ 0.2 เซนติเมตร เมื่อผลแก่จะแตกออกเป็น 3 แฉก ทำให้เห็นเมล็ดที่อยู่ภายในผลได้ชัดเจน เมล็ดมีจำนวนมาก สีน้ำตาลแดง มีขนาดเท่ากับเม็ดทราย 

สรรพคุณของผักขวง
1. ในประเทศอินเดียจะใช้ผักขวงเป็นยาบำรุงธาตุ (ทั้งต้น)
2. ต้นสดนำมาตำผสมกับขิงใช้เป็นยาสุมกระหม่อมเด็ก จะช่วยแก้อาการปวดศีรษะ แก้หวัดคัดจมูก (ทั้งต้น)
3. ผักขวงทั้งต้นมีรสขมเย็น ใช้ปรุงเป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้ทั้งปวง (ทั้งต้น)
4. ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้หวัด แก้ไอ (ทั้งต้น)
5. ใช้เป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ ระงับความร้อน (ทั้งต้น)
6. ทั้งต้นใช้ผสมกับน้ำมันละหุ่ง แล้วนำไปอุ่นใช้เป็นยาหยอดหูแก้อาการปวดหู (ทั้งต้น)
7. ในประเทศอินเดียจะใช้ผักขวงทั้งต้นปรุงเป็นยาระบาย (ทั้งต้น)
8. ผักขวงมีสรรพคุณช่วยบำรุงน้ำดี (ทั้งต้น)
9. ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้คัน เป็นยาทาแก้โรคผิวหนัง หรือเป็นยาฆ่าเชื้อ (ทั้งต้น)
10. ใช้เป็นยาทาแก้อาการฟกช้ำบวมอักเสบ (ทั้งต้น)
11. ผักขวงจัดอยู่ในพระคัมภีร์ธาตุวิวรณ์ ซึ่งเป็นตำรับยาแก้ไข้เพื่อดี (ไข้ที่เกิดจากดีพิการ มีอาการปวดศีรษะ ไข้สูง) อันประกอบไปด้วยตัวยา 7 สิ่ง ได้แก่ ผักขวง, เครือเขาด้วย, รากขี้กา,
      รากขัดมอน, ต้นผีเสื้อ, หญ้าเกล็ดหอย และน้ำผึ้ง
12. ในพระคัมภีร์โรคนิทาน มีตำรับยาที่เข้าด้วยผักขวง 1 ตำรับ คือ ยาสุมกระหม่อมในช่วงฤดูฝน (แก้อาการปวดศีรษะและจมูกตึง) ระบุให้ใช้ผักขวง, ใบหญ้าน้ำดับไฟ, ใบหางนกยูง, ฆ้อง
      สามย่าน, เทียนดำ, ไพล, หัวหอม, ดอกพิกุล และดินประสิวขาว นำมาบดสุมกระหม่อมแก้ปวดศีรษะและจมูกตึง
13. ส่วนในพระคัมภีร์ปฐมจินดาร์ ซึ่งเป็นตำราว่าด้วยการปฏิสนธิของทารกในครรภ์ การคลอด และโรคเด็กต่างๆ ก็มีกล่าวถึงตำรับยาที่เข้าด้วยใบผักขวงและรากผักขวงอีก 7 ตำรับด้วยกัน
      อันได้แก่
         - ยาแก้เตโชธาตุพิการ(เป็นอาการของธาตุไฟทั้ง 4 พิการ คือ ปรินามัคคี (ร้อนอกร้อนใจ ไอ ท้องขึ้น บวมตามมือตามเท้า เกิดมองคร่อ), ปริทัยมัคคี (มือเท้าเย็น ร้อนใน เย็นนอก ชีพจรเต้นผิดจังหวะ), ชรัคคี (หนักหัว ตาฟาง หูตึง จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รู้รส ชาตามเนื้อตามตัว), สันตัปปัคคี (เย็นในอก กินอาหารไม่ได้ อาหารจุกในท้อง เกิดลม 6 จำพวก พัดปั่นป่วนภายใน หายใจขัด หรือถึงกับเป็นลมสลบไป)) ท่านให้เอารากผักขวง, รากช้าพลู, รากเจตมูลเพลิง, รากมะแว้งทั้งสอง, ก้านสะเดา และบอระเพ็ด อย่างละเท่ากัน นำมาต้มเคี่ยว 3 ส่วน เอา 1 ส่วน ใช้กินเป็นยา ถ้าไม่หายให้เพิ่มยาเข้าไปอีก 8 สิ่ง ได้แก่ โกฐเขมา, ไคร้ต้น, ผักแพวแดง, ผลมะขามป้อม, ว่านเปราะ, รากสวาด, หญ้ารังกา และอบเชยเทศ อย่างละเท่ากัน นำมาบรรจบเข้ากับยาเดิมเป็นขนานเดียวกัน แล้วนำมาต้มเคี่ยว 3 ส่วน เอา 1 ส่วน ใช้เป็นยาแก้ธาตุไฟพิการ
        - ยาแก้มูกเลือดตานโจร(ตานขโมยหรือตานซาง เป็นอาการของเด็กอายุ 5-13 ขวบ ที่เกิดจากพยาธิต่าง ๆ ทำให้เด็กมีอาการซูบซีด ผอมแห้งแรงน้อย พุงโรก้นปอด หัวโต นอนผวา ตกใจง่าย ขี้อ้อน) ท่านให้เอาใบผักขวง, ใบเทียน, ใบทับทิม และขมิ้นอ้อย อย่างละเท่ากัน นำมาบดทำเป็นแท่งละลายกับน้ำเปลือกแคต้มดื่ม
        - ยาแดงแก้ลงท้องท่านให้เอาใบผักขวง, ใบระงับ, กรักขี, จันทน์ทั้งสอง, ผลจันทน์, ดอกจันทน์, ผลเบญกานี, เนระพูสี, สน, สัก, สังกรณี, ว่านกีบแรด, ว่านร่อนทอง, ฤาษีประสมแล้ว และสีเสียดทั้งสอง อย่างละเท่ากัน นำมาบดให้เป็นผง ใช้เหล้าเป็นกระสายทำแท่ง ใช้กินกับน้ำเปลือกแคแดง แก้อาการลงท้อง
        - ยาแก้ทรางสกอเจ้าเรือนและทรางกระตัง(เป็นทรางจร) ท่านให้เอาใบผักขวง, ใบการ่อน, ใบชุมเห็ดเทศ, ใบฝ้ายเทศ, ใบเพกา, ใบฟักข้าว, ใบน้ำเต้า, ใบมะระ, ใบระงับพิษ และขมิ้นอ้อย อย่างละเท่ากัน นำมาบดปั้นเป็นแท่งไว้ละลายน้ำซาวข้าว ใช้เป็นยาชโลมแก้พิษต่าง ๆ ที่เกิดทรางสกอและทรางกระตัง (ทรางสะกอ เป็นซางประจำวันพุธ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์มารดาแล้วเป็นต่อเนื่องจนอายุได้ขวบเศษ มีอาการที่เกิดต่อเนื่องสลับซับซ้อน ส่วนทรางกระตัง เป็นซางที่เกิดขึ้นหลังคลอด เกิดเขม่าเมื่อมีอายุได้ 1 เดือน จากนั้นแม่ซาง 3 ยอด จึงจะทยอยขึ้นพร้อมบริวาร และมีอาการอย่างอื่นทั้งข้างในและข้างนอกเรื่อยมาจนถึงอายุ 11 เดือน ซึ่งจะเกิดอาการตกมูกเลือด ลงท้อง)
        - ยาประจำท้องกุมารอายุ 2 เดือน(นับแต่วันคลอด) ท่านให้เอาใบผักขวง, ใบสะเดา, ใบขอบชะนางแดง, ใบคนทีสอ, และบอระเพ็ด นำมาบดละลายกับน้ำร้อนกินเป็นยาประจำท้องกันสำรอกใน 2 เดือน (แต่อายุของทารกเพิ่มขึ้น ตัวยาจะเปลี่ยนไปด้วย)
        - ยาจันทรรัศมีเป็นตำรับยาที่นำมาบดทำแท่งกินตามกำลังของทารก เพื่อแก้หืด แก้ปวง แก้คลั่ง แก้ลมบ้าหมู แก้ตัวพยาธิ แก้อาการฟกบวม และแก้ตามเสมหะ ท่านให้เอาใบผักขวง, ใบขี้กาแดง, ใบผักบุ้งขัน, ใบพุทรา, ใบมะกรูด, ใบมะนาว, ใบมะงั่ว, ใบมะยมตัวผู้, ใบประคำไก่, ใบส้มซ่า, กุ่มทั้งสอง, กระชาย, กระทือ, กระเทียม, ข่า, ขมิ้นอ้อย, ตรีกะฏุก, จันทน์ทั้งสอง, ไพล, หอมแดง, เมล็ดพรรณผักกาด, ว่านกีบแรด, และว่านร่อนทอง อย่างละเท่ากัน และเอาพริกไทยเท่าทั้งหลาย นำยาทั้งหมดมาบดให้เป็นจุณแล้วทำเป็นแท่งไว้ให้กุมารกินกับน้ำกระสายต่าง ๆ ตามแต่โรคที่รักษา กล่าวคือ ละลายน้ำส้มซ่า (แก้สันนิบาต), ละลายน้ำขิง (แก้ป่วง), ละลายน้ำดอกไม้ (แก้คลั่ง), ให้แซกดีงูเหลือม (แก้ตานเสมหะและแก้ตัวพยาธิ), ละลายน้ำเหล้า (เป็นยาทาแก้อาการฟกบวม)
        - ยาน้ำดับไฟซึ่งเป็นตำรับยาชโลมดับพิษทางผิวกาย ท่านให้เอาผักขวง, ใบโคกกะออม, ใบน้ำเต้า, ใบสะเดา, ใบตำลึงตัวผู้, ใบสมี, ใบมะลิ, ใบมะม่วงกะล่อน และขมิ้นอ้อย นำมาบดทำเป็นแท่งไว้ละลายน้ำมะลิสด ใช้เป็นยาชโลมดับพิษได้ดีนัก

ประโยชน์ของผักขวง
1. ผักขวงเป็นผักที่มีรสขมคล้ายสะเดา บางแห่งจึงเรียกผักชนิดนี้ว่า "สะเดาดิน" โดยชาวบ้านตามชนบทจะใช้ผักขวงเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริกและรับประทานร่วมกับลาบ บ้างนำมาลวกจิ้มกับ
    น้ำพริกหรือนำมาแกงรวมกับผักอื่น ๆ แกงแค แกงเมือง หรือแกงกับปลาทูนึ่งรับประทาน
2. คุณค่าทางโภชนาการของผักขวง 100 กรัม จะประกอบไปด้วยพลังงาน 30 กิโลแคลอรี, น้ำ 3%, โปรตีน 3.2 กรัม, ไขมัน 0.4 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 3.4 กรัม, ใยอาหาร 1.1 กรัม, เถ้า 1.7
    กรัม, แคลเซียม 94 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 1.8 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 4 มิลลิกรัม, วิตามินบี 1 0.03 มิลลิกรัม, วิตามินบี 2 0.45 มิลลิกรัม, วิตามินบี 3 2.7 มิลลิกรัม, วิตามินซี 19 มิลลิกรัม

คำสำคัญ : ผักขวง

ที่มา : ้https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ผักขวง. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1604

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1604&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ตะคร้อ

ตะคร้อ

ตะคร้อเป็นไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่ สูงประมาณ 15-25 เมตร ลำต้นสั้น ไม่กลมเหมือนไม้ยืนต้นชนิดอื่น เป็นปุ่มปมและพูพอน แตกกิ่งแขนงต่ำ กิ่งแขนงคดงอ เปลือกสีน้ำตาลแดง น้ำตาลเทา แตกเป็นสะเก็ดหนา เปลือกในสีน้ำตาลแดงเรือนยอดเป็นพุ่มแผ่กว้าง รูปกรวยหรอรูปร่มทึบ กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีเทา ใบอ่อนสีแดงเรื่อๆ ใบออกเป็นช่อ เรียงสลับตามปลายกิ่ง ช่อใบยาว 20-40 ซม. แต่ละช่อมีใบย่อยรูปรี รูปไข่กลับออกจากลำต้นตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย 1-4 คู่ คู่ปลายสุดของช่อใบจะมีขนาดยาวและใหญ่สุด ขนาดใบกว้าง7-8 ซม. ยาว 16-24 ซม. แผ่นใบลักษณะ เป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวใบเรียบ เนื้อใบหนา ปลายใบมน

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 23,911

ข่า

ข่า

ข่า (Galanga, Creater Galanga, False Galanga) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเหง้า จัดอยู่ในตระกูลเดียวกับขิง ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคกลางเรียกข่าตาแดง ภาคเหนือเรียกข่าหยวก, ข่าหลวง, ข่าใหญ่ หรือกฎุกกโรหินี ส่วนชาวกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอนเรียกสะเออเคย เป็นต้น ซึ่งข่าที่นิยมในปัจจุบันมีอยู่หลายสายพันธุ์ เช่น ข่าหยวก, ข่าป่า และข่าตาแดง มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด แต่มักนิยมนำข่าตาแดงมาทำเป็นยา

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 4,117

ผักแว่น

ผักแว่น

ผักแว่น จัดเป็นไม้น้ำล้มลุกจำพวกเฟิร์น มีลำต้นสูงได้ถึง 20 เซนติเมตร เจริญเติบโตในน้ำตื้นๆ มีลำต้นเป็นเหง้าเรียวยาวทอดเกาะเลื้อย และแตกกิ่งก้านไม่เป็นระเบียบ มีขนสีน้ำตาลอ่อนๆ ขึ้นปกคลุมและใบอยู่เหนือน้ำ โดยต้นอ่อนจะมีสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเป็นสีน้ำตาล ส่วนของรากสามารถเกาะติดและเจริญอยู่ได้ทั้งบนพื้นดินหรือเจริญอยู่ในน้ำก็ได้ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เถา ไหล สปอร์ โดยผักแว่นมีเขตกระจายพันธุ์ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงประเทศญี่ปุ่น สามารถพบได้ทั่วไปตามหนองน้ำที่ชื้นแฉะหรือตามทุ่งนาในช่วงฤดูฝน

เผยแพร่เมื่อ 13-07-2020 ผู้เช้าชม 12,759

ผักปลาบ

ผักปลาบ

ผักปลาบ จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นมีลักษณะทอดเลื้อยแต่ชูขึ้น ชูได้สูงประมาณ 65-85 ลำต้นเป็นสีเขียวอวบน้ำ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.1-3.5 มิลลิเมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก ตามกิ่งก้านมีขนอ่อนๆ ขึ้นปกคลุม ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้งจำพวกวัชพืช มักขึ้นทั่วไปตามที่ว่างเปล่าและไม่เลือกดิน พบทั่วไปในภูมิภาคเขตศูนย์สูตร ตามริมน้ำ ทุ่งหญ้า และขึ้นในที่ลุ่มชื้นแฉะทั่วไป เช่น จังหวัดนครราชสีมา แม่ฮ่องสอน ที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 330-357 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 9,695

ตับเต่านา

ตับเต่านา

ต้นตับเต่านา จัดเป็นพืชลอยน้ำ มีอายุหลายฤดู ลำต้นมีลักษณะเป็นไหลทอดเลื้อย หากน้ำตื้นจะหยั่งรากลงยึดดินใต้น้ำ มักขึ้นในน้ำนิ่งทั่วไป เช่น ตามนาข้าวหรือบริเวณหนองน้ำ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแตกไหลและอาศัยเมล็ด โดยต้นตับเต่านาเป็นพืชที่มีเขตการกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปยุโรปและเอเชีย สามารถพบได้ตามแหล่งน้ำตื้น ๆ ที่ระดับใกล้น้ำทะเลจนถึงระดับ 1,200 เมตร

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 3,869

ตดหมูตดหมา

ตดหมูตดหมา

ตดหมูตดหมา เป้นต้นไม้เลื้อยอายุยืนหลายปี ระบบรากแก้ว ลำต้นเป็นเถาขนาดเล็ก เนื้อแข็ง และเหนียวสีเขียวอ่อน ลำต้นทอดเลื้อยขึ้นครอบคลุมต้นไม้อื่น ใบเป็นใบเดี่ยวรูปหัวใจ หรือรูปไข่ค่อนข้างยาว ปลายใบแหลม ออกจากลำต้นแบบตรงข้าม ใบและก้านใบมีหูใบ ดอกออกเป็นช่อไซม์โมส (cymose) ออกตรงบริเวณซอกใบอ่อนปลายยอดดอกย่อยมีขนาดเล็ก กลีบดอกหลอมรวมกัน เป็นหลอดปลายกลีบ ดอกแยกเป็น 5 กลีบ มีสีม่วงอมเทาหรือม่วงอมชมพู  ผลรูปไข่เปลือกบาง ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาล  พบขึ้นในบริเวณบ้าน ริมรั้ว ตามที่รกร้างและริมทางทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 7,888

มะลิลา

มะลิลา

มะลิลาเป็นไม้พุ่ม บางพันธุ์เป็นไม้รอเลื้อย สูง 0.3-3 เมตร ใบเรียงตรงข้าม เป็นใบประกอบชนิดที่มีใบย่อย ใบเดี่ยว รูปไข่ กว้าง 3-6 ซม. ยาว 5-10 ซม. ดอกดอกเป็นช่อเล็ก ๆ มีทั้งดอกลาและดอกซ้อน ดอกสีขาว โคนดอกติดกันเป็นหลอด สีเขียวอมเหลือง ดอกกลางบานก่อน กลีบเลี้ยงแยกเป็นส่วน 7-10 ส่วน มีขนละเอียด ยาว 2 1/2-7ซม. โคนกลีบดอกเชื่อมเป็นหลอด ยาว 7-15 มม. ส่วนปลายแยกเป็นส่วนรูปไข่ แกมรี สีขาว อาจมีสีม่วงด้านนอกหรือเมื่อดอกร่วงยาว 8-15 มม. ดอกอาจซ้อนหรือลา

เผยแพร่เมื่อ 27-05-2020 ผู้เช้าชม 3,322

กระพี้เขาควาย

กระพี้เขาควาย

ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบสูง 15 - 25 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมยาว ค่อนข้างโปร่ง เปลือกสีเทานวลๆ เปลือกในสีน้ำตาลแดง กระพี้สีน้ำตาลอ่อน กิ่งอ่อนยอดอ่อนมีขน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ยาว 10 - 15 ซม. มีใบย่อย รูปขอบขนานแกมไข่กลับ กว้าง 2 - 2.5 ซม. ยาว 6 – 7.5 ซม. ส่วนกว้างที่สุดค่อนไปทางปลายใบมนโค้งหยักเว้าเห็น  ได้ชัด โดนฐานใบสอบเข้าเป็นรูปลิ่มหรือมนกลม เนื้อใบค่อนข้างหนา ใบแก่เกลี้ยง ดอกออกเป็นช่อ  มีลักษณะเป็นกระจุกคล้ายรังผึ้งสีขาวอมชมพูอ่อนๆ ออกที่กิ่งข้างตาและปลายยอด ฐาน กลีบดอกเชื่อมติดกันรูปถ้วยกลีบดอกบานแล้วขอบกลีบดอกม้วนขึ้น

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 6,550

นนทรี

นนทรี

ต้นนนทรี เป็นต้นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดียภาคตะวันออกและภาคใต้ รวมไปถึงประเทศศรีลังกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทยไปจนถึงประเทศฟิลิปปินส์ และทวีปออสเตรเลียตอนเหนือ โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นค่อนข้างเปลาตรง มีความสูงของต้นประมาณ 8-15 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทรงเรือนยอดแผ่กว้างเป็นรูปร่มหรือเป็นทรงกลมกลาย ๆ เปลือกลำต้นเป็นสีเทาอมสีดำ เปลือกค่อนข้างเรียบ และอาจแตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ ตามกิ่งก้านอ่อนมีขนละเอียดสีน้ำตาลแดงปกคลุมอยู่ ส่วนกิ่งแก่เกลี้ยง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ขึ้นได้ในดินทั่วไป ชอบความชื้นปานกลางและแสงแดดเต็มวัน เป็นต้นไม้ที่มักผลัดใบเมื่อมีอากาศแห้งแล้ง ชอบขึ้นตามป่าชายหาด

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 6,273

ต้นตะเคียน

ต้นตะเคียน

ต้นตะเคียนทอง จัดเป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดใหญ่ ลำต้นเปลาตรง มีความสูงของต้นประมาณ 20-40 เมตร วัดรอบได้ถึงหรือกว่า 300 เซนติเมตร ลักษณะของเรือนยอดเป็นทรงพุ่มทึบ กลม หรือเป็นรูปเจดีย์แบบต่ำๆ เปลือกต้นหนาเป็นสีน้ำตาลดำ แตกเป็นสะเก็ด กะพื้นเป็นสีน้ำตาลอ่อน ส่วนแก่นไม้ตะเคียนเป็นสีน้ำตาลแดง ลักษณะของไม้ตะเคียน เนื้อไม้เป็นสีเหลืองหม่นหรือสีน้ำตาลอมสีเหลือง มักมีเส้นสีขาวหรือเทาขาวผ่านเสมอ ซึ่งเป็นท่อน้ำมันหรือยาง เนื้อไม้มีความละเอียดปานกลาง 

เผยแพร่เมื่อ 01-06-2020 ผู้เช้าชม 12,505