กะเพรา

กะเพรา

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้ชม 4,495

[16.4258401, 99.2157273, กะเพรา]

กะเพรา ชื่อสามัญ Holy basil, Sacred basil
กะเพรา ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum tenuiflorum L. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Ocimum sanctum L.) จัดอยู่ในวงศ์กะเพรา (LAMIACEAE หรือ LABIATAE)
สมุนไพรกะเพรา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กอมก้อ กอมก้อดง (เชียงใหม่), ห่อกวอซู ห่อตูปลู อิ่มคิมหลำ (แม่ฮ่องสอน), กะเพราขน กะเพราขาว กะเพราแดง (ภาคกลาง), อีตู่ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เป็นต้น
         กะเพราเป็นไม้ล้มลุกที่มีความสูงของต้นประมาณ 30-60 เซนติเมตร โคนต้นออกแข็ง กะเพราแดงจะมีลำต้นสีแดงอมเขียว กะเพราขาวมีลำต้นสีเขียวอมขาว และยอดอ่อนมีขนสีขาว มีใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียวรูปรีออกตรงข้ามกัน ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบแหลม ขอบใบเป็นจักฟันเลื่อยและเป็นคลื่น แผ่นใบมีขนสีขาว ส่วนดอกกะเพราจะออกเป็นช่อที่ปลายยอด ดอกสีขาวแกมม่วงแดงมีจำนวนมาก กลีบเลี้ยงโคนจะเชื่อมติดกัน ปลายเรียวแหลม ด้านนอกมีขน กลีบดอกแบ่งเป็น 2 ปาก ปากบน 4 แฉก ปากล่าง 1 แฉกและยาวกว่าปากบน มีขนประปราย เกสรตัวผู้มี 4 อัน ส่วนผลเป็นผลแห้ง เล็ก เมื่อแตกออกจะมีเมล็ดสีดำถึงน้ำตาลคล้ายรูปไข่กะเพราจัดเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีสรรพคุณทางยาช่วยรักษาโรคได้หลายชนิด ทั้งตำรับยาไทยและ
         ต่างประเทศก็ระบุว่ากะเพราเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณหลายด้าน อย่างตำราสมุนไพรไทยบ้านเราก็บรรยายสรรพคุณของกะเพราเอาไว้ว่า รสฉุน ร้อน ช่วยขับลมแก้ซาง แก้ท้องขึ้น จุกเสียดแน่นท้อง ปวดท้อง ช่วยในการย่อยอาหาร และช่วยบำรุงธาตุ เป็นต้น และในต่างประเทศก็มีการใช้กะเพราในการรักษาโรคกันอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าบ้านเราเสียอีก โดยเฉพาะประเทศอินเดีย เขาถือว่ากะเพราเป็นยารักษาโรคได้ทุกโรค และยังจัดเป็นราชินีแห่งสมุนไพร (The Queen of herbs) หรือเป็นยาอายุวัฒนะ (The Elixir of life) เลยก็ว่าได้
         กะเพรามีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ กะเพราแดงและกะเพราขาว โดยกะเพราแดงจะมีฤทธิ์ที่แรงกว่ากะเพราขาว ในสรรพคุณทางยาจึงนิยมใช้กะเพราแดง โดยส่วนที่นำมาใช้ทำเป็นยาสมุนไพรก็ได้แก่ ส่วนของใบ ยอดกะเพรา (ทั้งสดและแห้ง) และทั้งต้น แต่ถ้านำมาใช้ประกอบอาหารจะนิยมใช้กะเพราขาวเป็นหลัก

สรรพคุณของกะเพรา
1. ใช้ทำเป็นยาอายุวัฒนะ (the elixir of life)
2. ช่วยทำให้ร่างกายอบอุ่นและป้องกันอาการหวัดได้ (ใบ)
3. กะเพราเป็นส่วนประกอบของยาสมุนไพรหลายชนิด เช่น ยารักษาตานขโมยสำหรับเด็ก ยาแก้ทางเด็ก ฯลฯ
4. รากแห้งนำมาชงหรือต้มกับน้ำร้อนดื่ม ช่วยแก้โรคธาตุพิการ (ราก)
5. ช่วยบำรุงธาตุไฟ (ใบ)
6. ช่วยแก้อาการคลื่นเหียนอาเจียน (ใบ)
7. ช่วยแก้อาการปวดด้วยการใช้ใบกะเพรานำมาคั้นรับประทานสด 1 ถ้วยตะไล จะช่วยแก้อาการปวดมวนท้องได้เป็นอย่างดี (ใบ)
8. ช่วยขับลมแก้อาการปวดท้องอุจจาระ (ใบ)
9. ใบกะเพรามีสรรพคุณช่วยขับลมในกระเพาะ (ใบ)
10. ช่วยแก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง (ใบ)
11. ช่วยแก้ลมซานตาง (ใบ)
12. น้ำสกัดจากทั้งต้นของกะเพรามีฤทธิ์ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ (น้ำสกัดจากทั้งต้น)
13. ช่วยย่อยไขมัน (น้ำสกัดจากทั้งต้น)
14. ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร (น้ำสกัดจากทั้งต้น)
15. กะเพรามีสรรพคุณช่วยขับน้ำดี (น้ำสกัดจากทั้งต้น)
16. ช่วยแก้ลมพิษ ด้วยการใช้ใบกะเพราประมาณ 1 กำมือนำมาตำผสมเหล้าขาวแล้วนำมาทาบริเวณที่เป็นลมพิษ (ใบ)
17. ใช้ทำเป็นยารักษากลากเกลื้อน ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 20 ใบนำมาขยี้ให้น้ำออกมา แล้วนำมาใช้ทาบริเวณที่เป็นวันละ 2-3 ครั้งจนกว่าจะหาย (ใบ)
18. ใช้เป็นยารักษาหูด ด้วยการใช้ใบกะเพราแดงสดนำมาขยี้แล้วทาบริเวณที่เป็นหูดเช้า-เย็น จนกว่าหัวหูดจะหลุดออกมา โดยระวังอย่าให้เข้าตาและถูกบริเวณผิวที่ไม่ได้เป็นหูด เพราะจะ
      ทำให้เนื้อดีเน่าเปื่อยและรักษาได้ยาก (ใบสด)
19. ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้ ด้วยการใช้ใบกะเพรานำมาตำผสมกับเหล้าขาว แล้วนำมาทาบริเวณที่ถูกกัด ห้ามนำมารับประทานเด็ดขาดเพราะจะมีสารยูจีนอล (Eugenol) ซึ่งอาจ
      จะทำให้เกิดการระคายเคืองในกระเพาะอาหารและอาจถึงขั้นโคม่าได้ (ใบ)
20. ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคและช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์บางชนิดได้ (น้ำมันใบกะเพรา)
21. มีงานวิจัยพบว่ากะเพราสามารช่วยยับยั้งสารอะฟลาทอกซิน (Aflatoxin) ซึ่งเป็นสารพิษที่มักพบเจือปนในอาหารซึ่งเป็นสารก่อโรคมะเร็งได้ (สารสกัดจากกะเพรา)
22. ใบกะเพรามีฤทธิ์ในการช่วยขับไขมันและน้ำตาลส่วนเกินออกจากร่างกาย ช่วยลดระดับไขมันในร่างกายและช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันโรคเบาหวานได้ โดยมีการใช้ใบ
      กะเพราในกระต่ายทดลอง โดยให้กระต่ายกินใบกะเพราติดต่อ 4 สัปดาห์พบว่าระดับไขมันโดยรวมลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งไขมันเลว (LDL) ลดลง แต่ไขมันชนิดดี (HDL) กลับเพิ่มขึ้น
23. ช่วยเพิ่มน้ำนมให้สตรีหลังคลอดบุตร ด้วยการใช้ใบกะเพราสดประมาณ 1 กำมือ นำมาใส่แกงเลียงรับประทานบ่อย ๆ ในช่วงหลังคลอด (ใบ)
24. นำเมล็ดไปแช่น้ำจะพองตัวเป็นเมือกขาว นำมาใช้พอกบริเวณตา เมื่อมีฝุ่นละอองหรือเศษผงเข้าตา ผงหรือฝุ่นละอองก็จะหลุดออกมา โดยไม่ทำให้ตาของเรานั้นช้ำอีกด้วย (เมล็ด)
25. ใบและกิ่งสดของกะเพรามีการนำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหยด้วยการต้มกลั่นจนได้น้ำมันหอมระเหยร้อยละ 08 - 0.1 โดยมีราคาประมาณกิโลกรัมละหนึ่งหมื่นบาท
26. ใช้ไล่ยุงหรือฆ่ายุง ด้วยการใช้ทั้งใบสดและกิ่งสด เอาใบมาขยี้แล้ววางใกล้ตัว ๆ จะช่วยไล่ยุงและแมลงได้ โดยน้ำมันกะเพราที่สกัดมาจากใบจะมีคุณสมบัติช่วยไล่ยุงได้ดีกว่าต้นสด
      (ใบสด, กิ่งสด)
27. น้ำมันสกัดจากใบสด ช่วยล่อแมลง ทำให้แมลงวันทองบินมาตอมน้ำมันนี้ (น้ำมันสกัดจากใบสด)
28. ใช้ในการประกอบอาหารและช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ ในเมนูกะเพราสุดโปรด เช่น ผัดกะเพรา แกงเลียง แกงป่า แกงคั่ว แกงเขียวหวาน แกงส้มมะเขือขื่น ผัดกบ ผัดหมู ผัดปลาไหล
      พล่าปลาดุก พล่ากุ้ง หรือจะนำใบกะเพรามาทอดแล้วใช้โรยหน้าอาหารเมนูต่างๆ ก็ได้ ฯลฯ
29. ใบกะเพราสามารถช่วยดับกลิ่นปากอันไม่พึงประสงค์ได้ (ใบ)

คำสำคัญ : กะเพรา

ที่มา : https://medthai.com/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). กะเพรา. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610010&code_type=01&nu=pages&page_id=1564

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1564&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

ผักเป็ดน้ำ

ผักเป็ดน้ำ

ผักเป็ดน้ำ จัดเป็นพรรณไม้น้ำหรือพรรณไม้ล้มลุก มีอายุราว 1 ปี ชอบขึ้นตามแอ่งน้ำรกร้างหรือริมน้ำทั่วไป มีลำต้นอยู่บนผิวน้ำ ลำต้นมีความสูงประมาณ 1 เมตร เลื้อยทอดไปตามผิวน้ำหรือพื้นดิน แตกกิ่งก้านสาขามาก ส่วนรากจะติดอยู่ตามข้อต้น ลำต้นกลมเป็นข้อๆ ภายในของลำต้นกลวง ขยายพันธุ์ด้วยการแยกต้นไปปลูกลงในแอ่งน้ำ

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 4,483

แคดอกแดง

แคดอกแดง

แคดอกแดง (Cork Wood Tree) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้น ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคกลางเรียกแค หรือแคบ้านดอกแดง ส่วนเชียงใหม่เรียกแคแดง เป็นต้น แคดอกแดงนี้เป็นไม้พื้นบ้านเนื้ออ่อน นิยมนำมาปลูกเพื่อเป็นรั้วบ้านเรือน สามารถปลูกได้ในทุกพื้นที่ สามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยเมล็ดที่แก่จัด และจะยืนต้นตายมีอายุได้ไม่นาน

เผยแพร่เมื่อ 30-04-2020 ผู้เช้าชม 10,228

ผักแพว

ผักแพว

ผักแพว จัดเป็นพืชล้มลุก มีลำต้นสูงประมาณ 30-35 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรง มีข้อเป็นระยะๆ ตามข้อมักมีรากงอกออกมา หรือลำต้นเป็นแบบทอดเลื้อยไปตามพื้นดินและมีรากงอกออกมาตามส่วนที่สัมผัสกับพื้นดิน เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในที่ชื้นแฉะ เช่น ในบริเวณห้วย หนอง คลอง บึง หรือตามแอ่งน้ำต่าง ๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการใช้ลำต้นปักชำ (เมล็ดงอกยาก นิยมใช้กิ่งปักชำมากกว่า) พรรณไม้ชนิดนี้เป็นพืชล้มลุก พบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย เพราะเกิดได้เองตามธรรมชาติ

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 7,793

เถาเอ็นอ่อน

เถาเอ็นอ่อน

เถาเอ็นอ่อน (Cryptolepis buchanani Roem. & Schult.) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกเถา ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ภาคเหนือเรียก ตีนเป็ดเครือ ส่วนเชียงใหม่เรียก เครือเขาเอ็น หรือเครือเจน สุราษฎร์ธานีเรียก หม่อนตีนเป็ด หรือเมื่อย และปัตตานีเรียก หญ้าลิเล เป็นต้น ซึ่งพืชสมุนไพรอย่างต้นเถาเอ็นอ่อนนั้นมักมีการขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ส่วนใหญ่ชอบขึ้นอยู่ตามป่าราบหรือในพื้นที่รกร้าง โดยเฉพาะในจังหวัดหวัดสระบุรี สำหรับปัจจุบันนอกจากการนำต้นเถาเอ็นอ่อนมาใช้เป็นยาสมุนไพรแล้ว ยังมีการนำมาปลูกเป็นไม้ประดับตามบ้านอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 9,681

มะลิลา

มะลิลา

มะลิลาเป็นไม้พุ่ม บางพันธุ์เป็นไม้รอเลื้อย สูง 0.3-3 เมตร ใบเรียงตรงข้าม เป็นใบประกอบชนิดที่มีใบย่อย ใบเดี่ยว รูปไข่ กว้าง 3-6 ซม. ยาว 5-10 ซม. ดอกดอกเป็นช่อเล็ก ๆ มีทั้งดอกลาและดอกซ้อน ดอกสีขาว โคนดอกติดกันเป็นหลอด สีเขียวอมเหลือง ดอกกลางบานก่อน กลีบเลี้ยงแยกเป็นส่วน 7-10 ส่วน มีขนละเอียด ยาว 2 1/2-7ซม. โคนกลีบดอกเชื่อมเป็นหลอด ยาว 7-15 มม. ส่วนปลายแยกเป็นส่วนรูปไข่ แกมรี สีขาว อาจมีสีม่วงด้านนอกหรือเมื่อดอกร่วงยาว 8-15 มม. ดอกอาจซ้อนหรือลา

เผยแพร่เมื่อ 27-05-2020 ผู้เช้าชม 3,322

จันทน์เทศ

จันทน์เทศ

จันทน์เทศ (Nutmeg Tree, Myristica) เป็นพืชสมุนไพรจำพวกต้นขนาดกลาง ที่มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ฉาน-แม่ฮ่องสอนเรียก จันทน์บ้าน เป็นต้น ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ในหมู่เกาะโมลุกกะ ประเทศอินโดนีเซีย และสามารถปลูกขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด แต่ดินที่เหมาแก่การเจริญเติบโตมากที่สุดคือดินร่วนปนทรายที่มีอินทรียวัตถุสูง และเจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อนชื้นโดยเฉพาะภาคตะวันออกและภาคใต้ของไทย มักนิยมขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 30-04-2020 ผู้เช้าชม 2,745

สะเดา

สะเดา

สะเดามีสรรพคุณบำรุงธาตุไฟ สร้างภูมิต้านทานให้ร่างกาย และแก้ไข้ อีกทั้งรสขมของสะเดายังช่วยเรียกน้ำย่อย และช่วยให้ขับน้ำดีตกลงสู่ลำไส้มากขึ้น ทำให้ร่างกายเกิดความอยากอาหาร ช่วยย่อยอาหาร ช่วยให้อุจจาระละเอียดขับถ่ายคล่อง และช่วยให้นอนหลับสบายอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 1,763

อุโลก

อุโลก

อุโลก จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางผลัดใบ มีความสูงของต้นประมาณ 10-20 เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนออกเป็นทรงพุ่มกลมโปร่ง กิ่งแขนงแตกออกจากลำต้นเป็นวงรอบที่ปลายกิ่ง เปลือกต้นหนาแตกลอนเป็นสะเก็ด เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลปนเทาบางทีมีสีเทาปนน้ำตาล ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด และวิธีการตอนกิ่ง มักขึ้นตามป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณผสม และตามป่าดงดิบแล้งทั่วไปทางภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 2,724

การะเกด

การะเกด

สำหรับต้นการะเกดนั้นเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ต้น มีความสูงของลำต้นประมาณ 3-7 เมตร โดยแตกกิ่งก้านมีรากยาวและใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน 3 เกลียวตรงปลายกิ่ง คล้ายรูปรางน้ำ บริเวณขอบใบมีหนามแข็งๆ อยู่ และดอกนั้นจะแยกเพศอยู่ต่างต้นกัน โดยดอกจะออกตามปลายยอดจำนวนมาก ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีกาบสีนวลๆ หุ้มอยู่ กลิ่นหอมเฉพาะตัว และผลออกเบียดกันแน่นเป็นก้อนกลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10-20 เซนติเมตร ผลสุกมีกลิ่นหอม มีสีเหลืองตรงโคน ส่วนตรงกลางจะเป็นสีแสด และตรงปลายจะมีสีน้ำตาลอมเหลือง

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 3,048

กุหลาบมอญ

กุหลาบมอญ

กุหลาบมอญเป็นไม้พุ่ม เป็นดอกไม้ที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีเมื่อปลูกกลางแจ้งในดินที่มีอาหารเพียงพอและระบายน้ำได้ดี โดยมีลำต้นตั้งตรง ความสูงของลำต้นประมาณ 1-2 เมตร เปลือกของลำต้นเรียบ มีการแตกกิ่งก้านตั้งแต่บริเวณโคน มีหนามแหลมขึ้นมามากตามลำต้นและกิ่ง และความยาวของหนามนี้จะไม่เท่ากัน หนามอ่อนสีน้ำตาลแกมแดง เมื่อหนามแก่จะกลายเป็นสีเทา สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง หรือปักชำ ส่วนใบนั้นจะเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ ใบย่อยรูปทรงไข่ โคนมน ปลายแหลม และขอบใบเป็นจักแบบฟันเลื่อย

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 5,968