วัดพระสี่อิริยาบถ หรือ วัดพระยืน

วัดพระสี่อิริยาบถ หรือ วัดพระยืน

เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้ชม 8,680

[16.501357, 99.514672, วัดพระสี่อิริยาบถ หรือ วัดพระยืน]

            วัดพระสี่อิริยาบถหรือวัดพระยืน ตั้งอยู่ที่ ถนน อบจ. กพ. 1040 ตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง อยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 20-22 เป็นวัดขนาดใหญ่และมีโบราณสถานที่เป็นเอกลักษณ์ คือ มณฑปพระสี่อิริยาบถ ซึ่งเป็นรูปแบบเหมือนดังที่พบที่ วัดเชตุพนและวัดพระพายหลวง จ.สุโขทัย จากจารึกลานเงินของพระมหามุนีรัตนโมลี สมเด็จพระสังฆราชเมืองกำแพงเพชรกล่าวถึง พระยาสอยหรือเจ้าแสนสอยดาวเสวยราชย์ในเมืองกำแพงเพชร และสมเด็จพระมหามุนีรัตนโมลีได้สร้างวัดนี้ถวาย ครั้งแรกเรียกว่า วัดพระยืน เพราะเห็นพระยืนเพียงองค์เดียว ต่อมาเรียกพระสี่อิริยาบถ เพราะว่ามีทั้งสี่ด้าน คือ ยืน เดิน นั่ง นอน มีพระพุทธรูปในอริยาบถที่คงสภาพค่อนข้างสมบูรณ์และมีความงดงามทางด้านศิลปะ ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและเป็นแหล่งศึกษาทางประวัติศาสตร์        
             เป็นวัดที่ทำจากศิลาแลง มีมณฑปจตุรมุขเป็นที่ประทับของพระพุทธรูปขนาดใหญ่มี สี่อริยาบถ พบหลักฐานว่ามีการลงรักปิดทองทั้งองค์ ลักษณะสกุลช่างกำแพงเพชรในศิลปะสุโขทัย มีบ่อน้ำและที่อาบน้ำอยู่หน้า วัดเช่นเดียวกับวัดพระนอน กำแพงเป็นศิลาแลงปักตั้งล้อม 4 ด้าน ด้านหน้าวัดมีวิหารที่ก่อด้วยศิลาแลงขนาดใหญ่ยกฐานสูง 2 เมตร กว้าง 17 เมตร ยาวกว่า 29 เมตร นับเป็นวิหารที่ใหญ่ที่สุดในอุทยานประวัติศาสตร์ เสาวิหารมี 4 เสา เป็น 5 ห้อง 2 แถว รวม 7 ห้อง มีเสาลูกกรง เป็นศิลาแลงเหลี่ยม และมีทับหลังบนมุขหน้าวิหาร สิ่งสำคัญของวัดได้แก่ มณฑปจัตุรมุข แต่ละทิศประดิษฐาน พระพุทธรูป 4 ปาง คือ เดิน นั่ง ยืน และนอน อยู่โดยรอบทั้ง 4 ทิศตามลำดับ ปัจจุบันเหลือเพียง พระยืนขนาดใหญ่ที่สวยงาม พระพักตร์เป็นลักษณะพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย แบบกำแพงเพชรคือ พระนลาฏกว้าง และพระหนุเสี้ยม โบราณสถานสำคัญภายในวัด ประกอบด้วย
             พระมหาวิหาร เป็นวิหารขนาดใหญ่ตั้งอยู่ด้านหน้าสุด พระวิหารตั้งอยู่บนฐาน 2 ชั้น ฐานไพทีชั้นล่าง ซึ่งก่อด้วยศิลาแลง เป็นฐานแบบบัวลูกแก้วอกไก่ รอบลานประทักษิณ ประดับด้วยราวลูกกรงศิลาแลงโดยรอบ ฐานวิหารชั้นบน มีมุขเด็จทั้งด้านหน้า และด้านหลัง ด้านบนมีแท่นอาสนะสงฆ์ และฐานชุกชี สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป
             มณฑปพระสี่อิริยาบถ เป็นมณฑปแบบจัตุรมุขขนาดใหญ่ ก่อด้วยศิลาแลงและอิฐ ใช้แทนเจดีย์ประธาน ตั้งอยู่ด้านหลังพระวิหาร ล้มรอบด้วยกำแพงแก้ว รอบมณฑปประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นทั้งสี่ด้าน ประกอบด้วย อิริยาบถยืน (ปางประทานอภัย) อิริยาบถเดิน (ปางลีลา) องค์พระได้ชำรุดไปมาก มีเพียงพระอูรุปรากฏให้เห็น อิริยาบถนั่ง (ปางมารวิชัย) สภาพชำรุดมากเหลือเพียงส่วนของฐานและอิริยาบถนอน (ปางไสยาสน์) สภาพชำรุดหมด จนไม่เห็นองค์พระโดยปัจจุบันเหลือเพียงอิริยาบถยืน (ปางประทานอภัย) พระพักตร์อิ่มเอิบ พระโมลีขมวดใหญ่ ที่สภาพค่อนข้างสมบูรณ์กว่าอิริยาบถอื่นๆ
             พระเจดีย์ประจำมุม เป็นพระเจดีย์ ทรงปราสาทยอดระฆัง ตั้งอยู่มุมทั้งสี่ของมณฑป ต่อเนืองกับกำแพงแก้ว
             บ่อตัดศิลาแลง ตั้งอยู่ด้านหน้าวัด เป็นบ่อที่ใช้ในการตัดศิลาแลงให้เป็นรูปทรงต่างๆ ก่อนที่จะนำไปใช้ในการสร้างวัด 
             ที่ตั้ง : อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 62000 ตามทางหลวงหมายเลข 101 ถึงหลัก กม.ที่ 360 เลี้ยวซ้ายเข้าอุทยานฯ เปิดให้บุคคลทั่วไปได้เข้าชมทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. หรือสอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 055-711921, 055-712528 

ภาพโดย : http://gotravelstation.igetweb.com/index.php?mo=3&art=42079701

คำสำคัญ : วัดพระสี่อิริยาบถ วัดพระยืน วัดเชตุพน

ที่มา : http://oknation.nationtv.tv/blog/guidepong/2011/03/16/entry-2

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). วัดพระสี่อิริยาบถ หรือ วัดพระยืน. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?code_db=610009&code_type=01&nu=pages&page_id=269

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=269&code_db=610009&code_type=01

Google search

Mic

วัดบาง

วัดบาง

หลวงพ่อเพชร วัดบาง เป็นหนึ่งในพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดกำแพงเพชรอีกองค์หนึ่ง ซึ่งประดิษฐานอยู่ในวิหารที่วัดบาง โดยปกตินั้นจะไม่ให้บุคคลทั่วไปเข้าไปสักการบูชา แต่ปัจจุบันได้มีการเปิดให้กับผู้ที่เลื่อมใสได้เข้าไปสักการบูชา 

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 5,101

วัดพระสี่อิริยาบถ หรือ วัดพระยืน

วัดพระสี่อิริยาบถ หรือ วัดพระยืน

มณฑปจตุรมุข ซึ่งมีรูปแบบเหมือนดังที่พบที่วัดเชตุพนและวัดพระพายหลวง จ.สุโขทัย จากจารึกลานเงินที่พบบริเวณเจดีย์รอบมณฑปได้กล่าวไว้ว่าพระมหามุนีรัตนโมลีเป็นผู้สร้างและเสด็จพ่อพระยาสอยเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรในยุคนั้น โดยโบราณสถานแห่งนี้ มีเอกลักษณ์ตรงที่แต่ละทิศเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป 4 ปางหรือ 4 อิริยาบถ อันได้แก่ อิริยาบถยืน (ปางประทานอภัย)  อิริยาบถเดิน (ปางลีลา) อิริยาบถนั่ง (ปางมารวิชัย) และอิริยาบถนอน (ปางไสยาสน์) โดยปัจจุบันเหลือเพียงอิริยาบถยืน (ปางประทานอภัย) ที่สภาพค่อนข้างสมบูรณ์กว่าอิริยาบถอื่นๆ กล่าวคือพระพักตร์เป็นลักษณะพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยแบบกำแพงเพชร คือพระนลาฏกว้างพระหนุเสี้ยม

         
         

เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 8,680

วัดนาควัชรโสภณ (วัดช้าง)

วัดนาควัชรโสภณ (วัดช้าง)

วัดนาควัชรโสภณ เดิมชื่อ วัดช้าง สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยตอนปลาย ประมาณหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เป็นวัดที่มีความสำคัญ ตั้งอยู่หน้าเมืองด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตรงข้ามกับวัดเจ้าเมือง กำแพงเพชร เป็นวัดอยู่ในกลุ่มอรัญญิกด้านทิศตะวันออก รูปแบบสภาพแวดล้อมทั้งหมดได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะสมัยลพบุรีหรือขอม นอกจากนี้ยังพบร่องรอยของถนนพระร่วงตัดผ่านหน้าวัดนี้ด้วย วัดช้างนับเป็นวัดเก่าแก่สร้างมาประมาณ ๗๐๐ ปีเศษ ลักษณะสภาพโดยทั่วไปของกลุ่มโบราณสถานจะถูกล้อมรอบด้วยคูน้ำกว้างประมาณ ๑๐ เมตร ยาวประมาณ ๕๐๙ เมตร มีเนื้อที่ตั้งวัด ๖๒ ไร่ การคมนาคมสะดวก บริเวณวัดสะอาด ร่มรื่นด้วยต้นไม้ สวยงามตามธรรมชาติ  วัดช้าง เป็นวัดที่ร้างจากพระสงฆ์มาประมาณ ๔๐๐ - ๕๐๐ ปี ครั้นลุถึงปีพุทธศักราช พ.ศ. ๒๕๐๙ พระวิชัย ปสนฺโน

เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้เช้าชม 2,848

บ้านโบราณสมัยรัชกาลที่ 5

บ้านโบราณสมัยรัชกาลที่ 5

เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง รูปแบบไทยผสมตะวันตก ประดับด้วยไม้ฉลุลายอย่างประณีต เป็นบ้านของ พะโป้ คหบดีชาวพม่า ซึ่งมีอาชีพค้าไม้ที่บริเวณปากคลองสวนหมาก เมืองนครชุม ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยได้ซื้อบ้านมาจากพระยาราม ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จประพาสต้น เมืองกำแพงเพชร เมื่อปี พ.ศ. 2449 ได้เสด็จเยือนบ้านพะโป้ จนเป็นที่มาของชื่อ บ้านห้าง ร.5 ตามประวัติกล่าวว่า มองสุภอ หรือ พระยาตะก่า พี่ชายพะโป้ ได้เข้ามาขอรับเช่าทำการค้าไม้ จากพระยากำแพงเพชร (อ่อง) ในราวปลายรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2418 จนถึงปี พ.ศ. 2418 ได้ถึงแก่กรรม

เผยแพร่เมื่อ 16-02-2018 ผู้เช้าชม 6,339

วัดเตาหม้อ

วัดเตาหม้อ

วัดเตาหม้อ เมื่อได้ยินชื่อวัดเตาหม้อ จะไม่มีใครรู้สึกว่าเป็นวัดสำคัญ คิดว่าเป็นวัดขนาดเล็กวัดหนึ่ง ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร แต่เมื่อได้มีโอกาสเข้าชมแล้วจะรู้สึกถึงความมหัศจรรย์ ของ วัดเตาหม้อ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,361

วัดหลวงพ่อโตพุทธศรีมงคล

วัดหลวงพ่อโตพุทธศรีมงคล

วัดหลวงพ่อโตพุทธศรีมงคล เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่ง ตั้งอยู่ในหมู่บ้านวังโบสถ์ มีสภาพที่ทรุดโทรมมาก เห็นเพียงเนินดินและพระพุทธรูปโกลนศิลาแลงปรักหักพังอยู่บนฐานแลง สันนิษฐานว่า น่าจะสร้างราวพุทธศักราช 1900 หลักฐานการค้นพบ จากคำบอกเล่าของนายเย็น รอดโต ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน ได้เล่าให้ลูกหลานฟังว่า เมื่อประมาณพุทธศักราช 2504 ได้ซื้อที่ดินบริเวณวังโบสถ์ และได้มาหักร้างถางพง พบว่าเนื้อที่ที่ซื้อไว้ มีวัดเก่าสมัยโบราณอยู่ในบริเวณที่ดินด้วย พบเนินดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และพบพระพุทธรูปเก่าแก่

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 1,139

วัดเจดีย์กลม

วัดเจดีย์กลม

เป็นวัดที่อยู่ห่างจากทุกวัดในบริเวณเดียวกัน ทางเข้าอยู่ตรงข้ามวัดสิงห์ เลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 400 เมตร ในป่าค่อนข้างทึบ ห่างไกลผู้คน ไปสำรวจหลายครั้งแล้วยังไม่เคยพบผู้คนเข้าไปท่องเที่ยวในบริเวณเจดีย์กลม อาจเป็นเพราะถ้ามองภายนอกแล้วเหมือนเนินดินที่ยังไม่มีการขุดแต่งแต่ประการใด

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,879

วัดช้างรอบ

วัดช้างรอบ

"วัดช้างรอบ" ซึ่งเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร วัดช้างรอบ เป็นวัดใหญ่ตั้งอยู่บนเนินสูง มีพระเจดีย์ใหญ่ตั้งอยู่กลางลานสี่เหลี่ยมที่ฐานเป็นรูปช้างครึ่งตัวเห็นแต่ 2 ขาหน้า หันศรีษะออกจากฐานรายรอบเจดีย์ เป็นช้างทรงเครื่อง จำนวน 68 เชือก

เผยแพร่เมื่อ 02-02-2017 ผู้เช้าชม 9,943

วัดพระนอน

วัดพระนอน

วัดพระนอน อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ๒๑ (พ.ศ. ๒๑๐๐ – พ.ศ. ๒๒๙๙) เป็นวัดขนาดใหญ่ที่มีแผนผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตั้งอยู่นอกเมืองทางทิศเหนือ หรือบริเวณที่เรียกว่าอรัญญิก หันหน้าไปทางทิศตะวันออก กำแพงวัดก่อด้วยศิลาแลงเฉพาะด้านทิศตะวันออกและด้านทิศใต้ หน้าวัดมีศาลา บ่อน้ำ และห้องน้ำ ภายในวัดแบ่งพื้นที่ออกเป็น ๒ ส่วน คือ เขตพุทธาวาส และเขตสังฆาวาส มีกำแพงแก้วก่อด้วยศิลาแลง สิ่งก่อสร้างสำคัญในเขตพุทธาวาสประกอบด้วย พระอุโบสถ วิหารพระนอน เจดีย์ทรงระฆังขนาดใหญ่ และมณฑปประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย เขตสังฆาวาสตั้งอยู่ด้านเหนือของเขตพุทธาวาส เป็นบริเวณที่พักอาศัยของสงฆ์ มีกุฏิ ศาลา บ่อน้ำ และเว็จกุฎิ (ห้องส้วม) และได้พบใบเสมาหินชนวนจำหลักลวดลาย ปัจจุบันนำไปแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 6,401

วัดรามรณรงค์

วัดรามรณรงค์

วัดรามรณรงค์ ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เมืองมรดกโลก ใกล้กับวัดป่าแลง วัดหมาผี วัดตะแบก และวัดเตาหม้อ ในบริเวณนี้มีวัดที่มีชื่อที่น่าสนใจวัดหนึ่ง คือวัดรามรณรงค์

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 1,535