วัดเตาหม้อ

วัดเตาหม้อ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 2,156

[16.4960313, 99.4398593, วัดเตาหม้อ]

              เมื่อได้ยินชื่อวัดเตาหม้อ จะไม่มีใครรู้สึกว่าเป็นวัดสำคัญ คิดว่าเป็นวัดขนาดเล็กวัดหนึ่ง ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร แต่เมื่อได้มีโอกาสเข้าชมแล้วจะรู้สึกถึงความมหัศจรรย์ ของวัดเตาหม้อ เมื่อแรกเข้าไปศึกษาในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จะมองไม่เห็นวัด เตาหม้อเลย เพราะจะถูกปกคลุมด้วย ป่าไม้ ไม่สามารถเดินเข้าไปชมได้ นอกจากผู้ที่มีอาชีพขุดพระเท่านั้น ที่ยังเข้าไปขุดค้นสมบัติอยู่ได้เข้ามาชม วัดเตาหม้อเป็นครั้งที่สาม เมื่อย่างเข้าไปในเขตวัด เห็นพระวิหารขนาดใหญ่มาก มีขนาดกว้าง ประมาณ 30 เมตร ยาวประมาณ 40เมตร บนวิหารมีพระพุทธรูปที่ก่อด้วยศิลาแลง ขนาด นั่งสมาธิ หน้าตักกว้างประมาณ 6 เมตร สูงประมาณ 10 เมตร สภาพยังเห็นเป็นองค์พระได้อย่างชัดเจน 1 องค์ ส่วนอีกองค์หนึ่งที่ประทับนั่งคู่กัน ได้ถูกนักเลงขุดพระทำลายไปเสียแล้ว เห็นเพียงฐานพระ ขนาดเท่ากับองค์ที่เหลือ ตั้งตระหง่านอย่างงดงาม คู่กันอย่างบนวิหาร ด้านหลังของพระประธาน ได้ถูกเจาะเพื่อหาสมบัติ น่าเสียดายถ้าไม่รีบบูรณะพระพุทธรูปจะพังลงมาก่อน จะมองไม่เห็นความงาม ของพระพุทธรูปขนาดยักษ์ทั้งสององค์หลังพระวิหารเจดีย์ประธานสัณฐานมณฑป ขนาดใหญ่มาก ยอดของเจดีย์ประธานยังหักตกลงมาให้เห็นเป็นหลักฐาน ภายในเจดีย์ประธานถูกขุดค้นอย่างไม่มีชิ้นดี เพื่อหาพระพุทธรูป พระเครื่องและสมบัติ ที่คนโบราณฝังไว้ ถัดไปเป็นเจดีย์อีกองค์หนึ่งซึ่งอยู่ติดกับ เจดีย์ประธาน แต่ขนาดย่อมลง ด้านหลังเป็นเจดีย์รายขนาดใหญ่จำนวนมาก แต่ละองค์ถูกขุดค้นไปอย่างไม่มีชิ้นดี?.ในเจดีย์รายโดยรอบมีบ่อกรุ ที่ทำด้วยศิลาแลงแท่งขนาดใหญ่มาก ขนาดแท่งศิลาวัดพระนอน ขนาดบ่อ กว้างยาวด้านละประมาณ 4 เมตร ทำไว้อย่างแข็งแรง สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นกรุ มหาสมบัติ ที่รวมของมีค่าอยู่ในวัดซึ่งถูกขุด ค้นอย่างไม่มีชิ้นดี หลังจากสำรวจครั้งนี้แล้ว กรมศิลปากรสมควรบูรณะปฏิสังขรณ์ เพื่อมิให้เสียหายไปกว่านี้วัดเตาหม้อ มีหลักฐานเตาถลุงเหล็กขนาดใหญ่อยู่ 4 เตา พังไปแล้ว 2 เตา กำลังจะพัง 1 เตา สมบูรณ์ดีเรียบร้อยอยู่ 1 เตา บริเวณเตามีแร่เหล็ก ที่ผ่านการถลุงอยู่เป็นจำนวนมาก ตกอยู่เกลื่อนกลาด คาดว่า จะเป็นแหล่งถลุงเหล็กที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดกำแพงเพชร เพราะเมืองกำแพงเพชร มีเหล็กที่มีคุณภาพ นำไปผลิตอาวุธ และหล่อพระ จากวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ได้พูดถึงการทำดาบฟ้าฟื้นว่า ได้นำเหล็กเมืองกำแพง ไปเป็นวัตถุสำคัญในการตีดาบและการที่มีเตาขนาดใหญ่นี่เอง ทำให้วัดนี้ได้รับการขนานนามว่าวัดเตาหม้อมาจนปัจจุบันเมื่อสังเกตอย่างถ้วนถี่ วัดเตาหม้อนี้ น่าจะเป็น วัดแห่งยุทธศาสตร์ ในการผลิตอาวุธ ไว้ป้องกันเมืองกำแพงเพชร หรือส่งขาย ทั่วไป ในช่วง 600 ? 700 ปี ที่ผ่านมา น่าสงสัยนักว่าทำไม ไม่มีใครสนใจ หรือใส่ใจในวัดเตาหม้อ เลย ทั้งที่เกือบทุกวัดในอุทยานประวัติศาสตร์ ล้วนได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์แล้วเกือบทั้งสิ้น วัดขนาดใหญ่อย่างวัดเตาหม้อหลงหูหลงตาไปได้อย่างไร มันเป็นปริศนาที่น่าสนใจยิ่งนักวัดเตาหม้อ แหล่งถลุงเหล็กที่ใหญ่มากในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร วัดที่สำคัญที่สุดแห่งเราชาวกำแพงเพชร
              ที่ตั้ง : อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 62000 ตามทางหลวงหมายเลข 101 ถึงหลัก กม.ที่ 360 เลี้ยวซ้ายเข้าอุทยานฯ เปิดให้บุคคลทั่วไปได้เข้าชมทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. หรือสอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 055-711921, 055-712528
              รายละเอียด และ อัตราค่าธรรมเนียมต่าง ๆ : อัตราค่าธรรมเนียมเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
              
ชาวไทย 20 บาท : ชาวต่างประเทศ 100 บาท 
              
อัตราค่ายานพาหนะ
              
รถจักรยานสองล้อ  คันละ 10 บาท/คัน
              รถจักรยานยนต์ คันละ 20 บาท/คัน
              รถจักรยานสามล้อ คันละ 20 บาท/คัน
              รถจักรยานยนต์สามล้อ คันละ 30 บาท/คัน
              รถยนต์ทุกชนิด คันละ 50 บาท/คัน

ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=223&code_db=DB0011&code_type=F001

คำสำคัญ : วัดเตาหม้อ

ที่มา : http://www.sunti-apairach.com

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). วัดเตาหม้อ. สืบค้น 29 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=306&code_db=610009&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=306&code_db=610009&code_type=01

Google search

Mic

บ้านโบราณสมัยรัชกาลที่ 5

บ้านโบราณสมัยรัชกาลที่ 5

เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง รูปแบบไทยผสมตะวันตก ประดับด้วยไม้ฉลุลายอย่างประณีต เป็นบ้านของ พะโป้ คหบดีชาวพม่า ซึ่งมีอาชีพค้าไม้ที่บริเวณปากคลองสวนหมาก เมืองนครชุม ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยได้ซื้อบ้านมาจากพระยาราม ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จประพาสต้น เมืองกำแพงเพชร เมื่อปี พ.ศ. 2449 ได้เสด็จเยือนบ้านพะโป้ จนเป็นที่มาของชื่อ บ้านห้าง ร.5 ตามประวัติกล่าวว่า มองสุภอ หรือ พระยาตะก่า พี่ชายพะโป้ ได้เข้ามาขอรับเช่าทำการค้าไม้ จากพระยากำแพงเพชร (อ่อง) ในราวปลายรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2418 จนถึงปี พ.ศ. 2418 ได้ถึงแก่กรรม

เผยแพร่เมื่อ 16-02-2018 ผู้เช้าชม 5,884

วัดปราสาท (เมืองโบราณบ้านโคน)

วัดปราสาท (เมืองโบราณบ้านโคน)

สถานที่สำคัญในการศึกษาประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งของกำแพงเพชร นอกเหนือไปจากอุทยานประวัติศาสตร์แล้ว ยังมีอีกที่หนึ่งที่รวบรวมปูชนียวัตถุ ปูชนียสถานเอาไว้ สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือเป็นถิ่นกำเนิดของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จากตัวเมืองกำแพงเพชรใช้ถนนสายเล็กๆ หมายเลข 1084 เป็นถนนขนานกับแม่น้ำ เชื่อมต่อหลายอำเภอของกำแพงเชรและนครสวรรค์ 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,464

วัดมะคอก

วัดมะคอก

เป็นวัดที่สำคัญอีกวัดหนึ่ง ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งชื่อตามชื่อต้นไม้ในบริเวณวัดคือต้นมะคอก เป็นวัดขนาดกลางที่ยังมิได้ขุดแต่ง วัดหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ไม่พบกำแพงด้านนอกวัดทั้งสี่ด้าน อาจเป็นเพราะวัดมะคอก อาจสร้างก่อนวัดอื่นๆในบริเวณเดียวกัน

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,504

วัดสว่างอารมณ์

วัดสว่างอารมณ์

หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์ จัดเป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสน ที่มีพุทธลักษณะงดงามหาใดเปรียบ และมีขนาดใหญ่ที่สุดในกำแพงเพชร โดยมีหน้าตักกว้าง 2 เมตร สูงเกือบ 3 เมตร ถือเป็นหลักฐานสำคัญยืนยันความสัมพันธ์ระหว่างกำแพงเพชรและหัวเมืองฝ่ายเหนือ  เป็นวัดตั้งอยู่ที่ตำบลนครชุมภายในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงและเป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองกำแพงเพชร คือหลวงพ่ออุโมงค์ เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน มีพุทธลักษณะงดงามเชื่อกันว่าพบหลวงพ่ออยู่ในดินลักษณะคล้ายจอมปลวก จากการขุดคล้ายหลวงพ่ออยู่ภายในอุโมงค์จึงเรียกกันว่าหลวงพ่ออุโมงค์ นอกจากนี้โดรอบวัดมีบรรยากาศที่ไม่แออัด จอแจ ภายในวัดยังมีพระพุทธรูปยืน “หลวงพ่อประทานพร” ประดิษฐานอยู่บริเวณด้านหน้าหอระฆัง หลังคาของหอระฆังได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมทางเหนือ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของกำแพงเพชร ในฐานะหัวเมืองฝ่ายเหนือ

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 4,503

วัดบาง

วัดบาง

หลวงพ่อเพชร วัดบาง เป็นหนึ่งในพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดกำแพงเพชรอีกองค์หนึ่ง ซึ่งประดิษฐานอยู่ในวิหารที่วัดบาง โดยปกตินั้นจะไม่ให้บุคคลทั่วไปเข้าไปสักการบูชา แต่ปัจจุบันได้มีการเปิดให้กับผู้ที่เลื่อมใสได้เข้าไปสักการบูชา 

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 4,751

วัดตะแบกคู่

วัดตะแบกคู่

เป็นอีกวัดหนึ่ง ที่อยู่ในเขตอรัญญิกเมืองกำแพงเพชร อยู่ถัดจากวัด เพการามไปประมาณ 20 เมตร  มีต้นตะแบกขนาดใหญ่ยืนตระหง่านอยู่หน้ากำแพงพระวิหาร อายุของต้นตะแบกนี้ราว 200 ปี 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,044

วัดมหาโพธิ์มงคล

วัดมหาโพธิ์มงคล

วัดมหาโพธิ์มงคล เดิมเป็นวัดร้างเก่าแก่ กล่าวกันว่า เมื่อ พ.ศ. 2499 ได้มีประชาชน 60-70 ครอบครัว อพยพมาจากอุบลราชธานี เพื่อมาทำมาหากิน ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร และได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่าทุ่งโพธิ์ทะเล ซึ่งเขตท่ี่ตั้งหมู่บ้านนี้ มีพระอุโบสถเก่าแก่หลังหนึ่ง และพระพุทธรูปเก่าๆ ซึ่งมีกระเบื้อง ก่้อนอิฐ ศิลาแลงปรักหักทับถมอยู่ พระครูวิบูย์ศิลาภรณ์ ได้นำญาติโยมซึ่งมีความศรัทธาอย่างแรงกล้าในบวรพุทธศาสนา ก่อตั้งสำนักสงฆ์ นามว่าสำนักสงฆ์ใหญ่ชัยมงคล

เผยแพร่เมื่อ 09-01-2020 ผู้เช้าชม 1,887

วัดบ่อเงิน

วัดบ่อเงิน

วัดบ่อเงิน ตั้งอยู่เลขที่ 264 หมู่ที่ 12 ตำบลเทพนคร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชรโดยสำนักพุทธศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ อนุญาตให้ตั้งเป็นวัดบ่อเงิน ตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2525 หลักฐานที่ดินในการตั้งวัดบ่อเงิน เป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เล่มที่ 13 (3) หน้า 53 จากที่ดินอำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร เดิมวัดบ่อเงิน ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 7 ตำบลคณฑี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 1,151

วัดเชิงหวาย

วัดเชิงหวาย

วัดเชิงหวาย เป็นวัดร้าง ที่อยู่นอกเขตอุทยานประวัติศาสตร์ เป็นวัดขนาดใหญ่ มีเจดีย์ประธานทรงลังกา ที่มีรูปทรงชะลูดงดงาม ฐานมี 4 เหลี่ยม ซ้อนกัน 4 ชั้น ยอดเจดีย์พังตกลงมา มีประวัติเล่ากันต่อมาว่า ผู้ขุดค้นและทำลายเจดีย์   เมื่อ 70 ปีก่อนนั้น ได้นำหวาย ในบริเวณวัด คล้องยอดเจดีย์กับต้นไม้ขนาดใหญ่ และโค่นต้นไม้นั้น ทำให้แรงดึงของต้นไม้ทำให้ยอดเจดีย์พังตกลงมาด้วย เหตุที่เรียกว่า วัดเชิงหวาย เพราะ บริเวณนี้ อาจเป็นส่วนหนึ่งของดงหวาย 

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 1,672

วัดอุทุมพร

วัดอุทุมพร

วัดอุทุมพร ตั้งอยู่ที่ ตำบลท่าขุนราม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 7 ไร่ 80 ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือยาว 72 วา ติดต่อกับลำคลองสวนหมาก ทิศใต้ยาว 72 วา ติดต่อกับที่ดินของนายพูล สุวรรณดี ทิศตะวันออกยาว 40 วา ติดต่อกับที่ดินของนางเทอม ขำแนม ทิศตะวันตกยาว 40 วา ติดต่อกับคลองซอย และที่ดินของนายยม ป้อมภา มีที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 2 ไร่ 1 งาน พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบ อยู่ริมคลองสวนหมาก อาคารเสนาสนะต่างๆ มี ศาลาการเปรียญกว้าง 14 เมตร ยาว 58 เมตร สร้าง พ.ศ. 2522 กฎีสงฆ์ จำนวน 4 หลัง สำหรับปูชนียวัตถุมีพระประธานรูปปั้น 1 องค์ (หลวงพ่อสัมฤทธิ์)

เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 861